Skip to main content
10_9_02


พ่อหมื่นแก่ฝายคนสุดท้าย นัดพบที่หน้าฝายพญาคำ ในวันเสาร์ที่ 13 กันยายน เวลา 10.00 . ร่วมทำพิธีสืบชะตาอีกครั้ง


ชาวบ้านยอมให้มีการสร้างประตูระบายน้ำแล้ว แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามทุบห้ามรื้อฝายโบราณทั้งสามฝาย หรือทดลองใช้ประตูระบายน้ำก่อนสองปี ว่าสามารถทดน้ำเข้าเหมืองเพื่อส่งเลี้ยงไร่นาได้หรือไม่ คือให้ลองดูว่าประตูน้ำทำหน้าที่แทนฝายหินทิ้งเก่าแก่ได้ดีแค่ไหน


การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝายจะถูกเปลี่ยนมือ จากการจัดการโดยชาวบ้านในระบบแก่ฝายมาเป็นจัดการโดยรัฐชลประทาน


ชาวบ้านผู้ใช้น้ำคิดอย่างไรถึงยินยอมทั้งที่ยื้อกันมานาน ถ้านับตั้งแต่ช่วงแรกที่จะมีการรื้อก็เกือบสิบปีแล้ว

10_9_02

 
ในช่วงแรกนี้มีเหตุผลชัดเจนคือจะเปิดทางเพื่อการท่องเที่ยวล่องเรือสำราญ แต่ไม่สามารถทำได้เหตุผลไม่พอ ต่อมาเมื่อน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ในปี
48 การรื้อฝายกลับมาอีก หาเรื่องใหม่ว่ารื้อฝายเพื่อป้องกันน้ำท่วมเพราะฝายหินทิ้งในแม่น้ำปิง ขวางทางน้ำทำให้น้ำไหลไม่สะดวก


ผู้ใช้น้ำจากระบบเหมืองฝาย ก็ยกเหตุผลขึ้นมากล่าวว่า ฝายหินทิ้งน้ำผ่านได้ตามร่องหินและเมื่อน้ำท่วมฝายก็อยู่ใต้น้ำ


สาเหตุที่น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่มีมากมายไม่ใช่ฝายและฝายมีความจำเป็นสำหรับทดน้ำเข้าไปใช้เพื่อการเกษตรทั้งในลำพูน และเชียงใหม่ อีกทั้งมีมานานตั้งแต่เริ่มมีเมืองเชียงใหม่นั้นแหละ เขาใช้ระบบเหมืองฝาย ถือเป็นภูมิปัญญาเดิมและมีกฎหมายมังรายศาสตร์รองรับด้วย คราวนี้ผู้จะทุบฝายก็มีเรื่องใหม่มานำเสนอนั่นคือ ทำประตูระบายน้ำเพื่อการเกษตร


คำถามคือเราจะจ่ายเงินห้าร้อยล้านเพื่อทำประตูน้ำเพื่อการเกษตรทำไม ในเมื่อฝายเก่าใช้ได้อยู่ เอาเงินภาษีของประชาชนมาผลาญเพื่อใคร ใครได้ใครเสีย มันคุ้มกันไหม


คราวนี้สำนักงานชลประทานกับสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดออกทำการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชน 7 ครั้ง และในที่สุดสรุปว่า ชาวบ้านยินยอมแล้วออกแถลงข่าวเลย


ชาวบ้านส่วนหนึ่งบอกว่า ที่ยินยอมก็เพราะเหนื่อยและเบื่อมาก ๆ สู้กันมาตั้งสี่ห้าปี และที่แน่ ๆ พวกเขาอยากสร้างจริงๆ ที่เขามาพูด มาทำความเข้าใจก็เพื่อเขาจะสร้างนั่นแหละ หาความชอบธรรม เพราะอย่างไรเขาก็สร้างอยู่แล้ว พวกเราเห็นสัญญาที่เขาทำกับบริษัทรับเหมาแล้ว และในสัญญาก็ระบุว่า โครงการสร้างประตูระบายน้ำและรื้อฝาย

10_9_01 10_9_04

 

ผู้ช่วยแก่ฝาย พ่อหลวงสมบูรณ์ บอกว่า บริษัทแนะนำว่า ถ้าให้เขาสร้างอย่างเดียวไม่รื้อฝายก็ให้ทำจดหมายไปถึงสำนักชลประทานเขาจะไม่รื้อ


ว่าไปแล้วมันไม่มีความหมายอะไรหรอก เพราะเขาสร้างประตูน้ำเพื่อรื้อฝายอยู่แล้ว เป็นการหลอก ๆ ไปอย่างนั้น และในที่สุดการทำให้ฝายพังไม่ใช่เรื่องยาก


อีกอย่างหนึ่งความเดือดร้อนไม่ใช่แค่ผู้ใช้น้ำเท่านั้น คนอื่นๆ ก็เดือดร้อนด้วย เพราะระดับน้ำที่จะส่งไปเหนือสุดนั่นต้องใช้แรงดันสูง ดังนั้นพื้นที่ต่ำๆ ก็ถูกน้ำล้นออกมาำท่วมสองฝั่งที่อยู่ระดับต่ำ

หลังจากนั้นเขาก็จะแก้ปัญหาโดยการทำผนังคอนกรีต พวกที่เคยคัดค้านไม่เอาผนังกั้นแม่น้ำปิง ขอบอกว่า เมื่อประตูระบายน้ำมา พนังคอนกรีตก็จะกลับมา และเมืองเชียงใหม่ก็จะเกิดน้ำขังในช่วงฤดูฝนเพราะน้ำฝนไม่สามารถไหลผ่านพนังไปได้เกิดน้ำขังจนเน่า เมืองเชียงใหม่ก็จะเน่า ถึงตอนนั้นอาจจะมีโรคระบาดด้วย ดังนั้นถือว่าเราจะได้รับกันถ้วนหน้าที่เดียว และเชียงใหม่ก็จะไม่ใช่เมืองน่าอยู่อีกต่อไป ถึงตอนนั้นใครจะมาล่องเรือสำราญ อวสานกันถ้วนหน้า

ถ้าไม่ทำจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ก็จะมีปัญหาคือ จะต้องมีการโดนปรับเพราะว่า มีงบประมาณมาแล้ว และมีการทำสัญญาว่าจ้างกันแล้ว


ในขณะเดียวกันพวกเขาลืมไปว่า ฝายภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นมีค่ามหาศาลถ้าตีเป็นเงินนับพันล้านเหมือนกัน ถ้าตีราคาการก่อสร้างในช่วงนี้ ค่าแรงงานเท่าไหร่ อาจนับ 100 ล้าน ค่าหินเท่าไหร่ 


ลองสอบถามแก่ฝายดูแกว่า ฝายหนึ่งใช้ก้อนหินประมาณหนึ่งหมื่นก้อน คิดเป็นค่าหินเท่าไหร่ สามฝายสามหมื่นก้อน คิดราคาก้อนละพัน และค่าภูมิปัญญา (ออกแบบ) อีกเท่าไหร่ ดังนั้นพันล้านจึงไม่ถือว่ามากไป ข้อนี้จะฟ้องร้องใครได้บ้าง เช่นฟ้องศาลเพ่ง จัรับฟ้องค่าเสียหายไหม


มีผู้ยินยอมเพราะเบื่อหน่าย เสียทั้งเงินทั้งเวลา บางคนไม่ได้เก็บลำไย เพราะมัวจะมาฟังบ้าง มายื่นหนังสือบ้าง ต่างจากหน่วยงานรัฐที่ได้เงินในการมาด้วย หรืออย่างน้อยก็ได้เงินเดือน แต่ชาวบ้านยิ่งค้านยิ่งไม่ได้ทำงาน

ผู้ที่ยังไม่ยินยอมอันได้แก่ แก่ฝาย และคนเฒ่าคนแก่จำนวนหนึ่ง

พวกท่าน ๆ แก่ฝาย ผู้ช่วยแก่ฝาย และผู้ใช้น้ำ รวมทั้งคนเชียงใหม่ทั่วไป จะมาทำบุญสืบชะตาฝายกันอีกครั้ง รวมทั้งพิธีสาปแช่งด้วย มีการออกแถลงการณ์ ในวันที่ 13 กันยายนนี้ เวลา 10.00 . แก่ฝายคนสุดท้าย พ่อหมื่นนัดพบค่ะ ฝากผ่านเชิญสื่อมวลชนด้วยค่ะ



 

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
บทความที่พยายามนำพาผู้อ่านฝ่าม่านมายาคติว่าด้วยการจัดการทรัพยากรป่าไม้ด้วยการป้องกันไฟป่าสู่รูปแบบการจัดการแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพด้วยการ"ชิงเผา"  
แพร จารุ
บน ฟ้า มี เมฆ ลอย บน ดอย มี เมฆ บัง มี สาว งาม ชื่อ ดัง อยู่ หลัง แดน ดง ป่า     เนื้อเพลงมิดะค่ะ สองบรรทัด....เพราะเหลือเกิน และเข้าไปอยู่ในหัวใจใครต่อใครได้ไม่ยาก บนฟ้ามีเมฆลอยบนดอยมีเมฆบัง ฟังเพียงแค่นี้ก็จินตนาการได้กว้างไกล หัวใจก็ลอยไปถึงไหน ๆ แล้ว  
แพร จารุ
 ฉันเชื่อว่า หากคนเรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทุกอย่างก็จะดีได้ไปกว่าครึ่ง บางคนบอกว่า ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน เช่น เรื่องทัศนคติที่มีต่อคนอื่น และตัดสินอย่างช้า ๆ   สามีของฉันบอกว่า จงรวดเร็วในการฟัง แต่จงเชื่องช้าในการตอบ คือให้ความสำคัญในการฟังมากๆ ก่อนจะตอบจึงจะดี จริงของเขาเพราะเดี๋ยวนี้มีแต่คนพูดและพูด แต่ไม่ค่อยฟังคนอื่น ฉันเอาเรื่องนี้มาเขียนเพราะได้แรงบันดาลใจมาจากไปสังเกตการณ์เขาพูดคุยทบทวนประสบการณ์การทำงานกันของโครงการ (CHAMPION/MSM) และสมาคมฟ้าสีรุ้ง    
แพร จารุ
  1   เหมือนเมืองบาป ฉันบอกเพื่อน ๆ จากเมืองกรุงว่า มาเชียงใหม่ อย่าลืมไปกินข้าวที่สุดสะแนนนะ อาหารหลายอย่างอร่อย และพบใครๆ ที่สุดสะแนนได้ไม่ยาก นักเขียน นักข่าว นักดนตรี นักร้อง ศิลปินวาดภาพ งานปั้น และคนที่ยังไม่มีงานทำและไม่อยากทำงานอะไรเลย
แพร จารุ
เก็บดอกไม้สีขาวแล้วไปฟังดนตรีกันค่ะ ใครมาเชียงใหม่ช่วงนี้ มีดอกไม้สีขาวบานรับ เช่น ดอกปีบ มองขึ้นไปออกดอกพราวเต็มต้น สวยงาม หอม ชวนเด็ก ๆ ไปเก็บดอกปีบที่ร่วงอยู่ตามพื้นมาร้อยมาลัยเล่น ปีบเป็นต้นไม้ที่ทนความแห้งแล้งได้ดียิ่ง เรียกว่าแทบไม่ต้องดูแลกันเลยทีเดียว ต้นไม้แกร่งแต่ให้ดอกขาวสวยบอบบางและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เดินไปที่ไหนทั่วเชียงใหม่ก็พบดอกปีบได้ไม่ยากค่ะ คราวนี้ ก็มาถึงฟังดนตรีค่ะ ดนตรีในเมืองเชียงใหม่ก็มีฟังทุกแห่งเหมือนกันค่ะ เรียกว่าหาฟังกันไม่ยาก เพราะนักดนตรีในเมืองเชียงใหม่มีเยอะ ไม่ต้องจ่ายเงินก็ฟังได้ เรียกว่ามีดนตรีฟรีอยู่ทั่วไป…
แพร จารุ
    อย่าเชื่อว่าผู้คนต้องการความร่ำรวยมากกว่าอย่ในบ้านของตัวเองอย่างเป็นสุข แต่ขออภัยก่อนฉันมัวแต่ปลูกต้นไม้ หน้าบ้านของฉันเป็นผืนดินที่มีต้นไม้หนาแน่น เมื่อที่ดินถูกเปลี่ยนมือเป็นของธนาคารกสิกรไทย มันถูกไถจนหมดสิ้นภายในวันเดียว ฉันจึงเริ่มปลูกต้นไม้ใหม่เป็นรั้วแทนกำแพงบ้านอีกชั้นหนึ่ง เพื่อหวังว่ามันจะช่วยให้คลายร้อนได้บ้าง
แพร จารุ
    เปิดเมล์พบข้อความนี้ถูกส่งเข้ามา *** หนูเป็นคนกรุงเทพฯ เคยมีแฟนเป็นหนุ่มกลายสมัยที่เรียนด้วยกัน เขาเคยชวนไปเที่ยวบ้านกลาย หนูอ่านเรื่องบ้านกลายที่พี่เขียนในประชาไท รู้สึกเดือดร้อนแม้ว่าหนูจะไม่ไปที่นั่นแล้ว เพราะหนุ่มกลาย คนที่หนูรักไม่น่ารัก ไม่ดี แต่ทะเลกลายดีสวยงาม อาหารทะเลมีมาก คนอื่น ๆ ที่กลายที่หนูรู้จักก็ดีค่ะ เขาดีกับหนูมาก คนใจดี หนูจึงอยาจะร่วมปกป้องด้วย หนูอ่านพบเรื่อง SSB และลองเขียนสรุปมาให้พี่ โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือในชื่อเต็มว่า การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard : SSB)…
แพร จารุ
  งานชั้นนี้ “แพรจารุ” ไม่ได้เขียนเองค่ะ เป็นของคุณวิชัย จันทวาโร ถือโอกาสเอามาลงที่นี่ เพราะตอนนี้อยู่ในช่วงเผยแพร่ให้ผู้อ่านรู้จักทะเลกลาย ทะเลไทย ที่กำลังถูกมือร้ายอย่างเซฟรอนบริษัทขุดเจาะน้ำมันข้ามชาติทำลาย ภายใต้นโยบายของรัฐไทย ***************
แพร จารุ
  บ้านกลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 30 สิงหาคม 2553              คุณหญิงที่รัก  
แพร จารุ
โลกนี้คนชั่วมากเหลือเกิน และบรรดาคนชั่ว ๆ ก็ล้วนเป็นผู้มีอำนาจ พวกเขามีอำนาจที่จะอนุมัติโครงการใหญ่ ๆ ทำลายฐานทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งอาหารที่คนพอจะทำมาหากินได้ พวก เขาขุดภูเขา ถมทะเล โดยไม่สนใจว่าเจ้าของเขาอยู่กันอย่างไร ต่อไปกะปิอร่อยๆ ที่ฉันเอามาฝากคุณก็จะไม่มีแล้ว เพราะที่บ้านฉันจะมี เซฟรอน คุณรู้ไหมมันคืออะไร คือบริษัทยักษ์ใหญ่ของต่างชาติ ที่เข้ามาถมทะเลสร้างท่าเรือ เพื่อขุดเจาะหาพลังงานไปขาย โดยไม่สนใจว่าเป็นแหล่งอาหารของชุมชน ป้าของฉัน แกบอกว่า นอนไม่หลับมานานแล้ว แกกังวลว่าจะอยู่อย่างไร แม่ของฉันอายุเก้าสิบปี ฉันไม่กลับบ้านมาสองปี แม่เก็บกระดาษไว้ให้ฉันสามแผ่น…