Skip to main content

1. ประเด็นปัญหา


ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551)


นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)


ประเด็นสำคัญนอกเหนือจากการแนะให้ขึ้นราคาแล้วยังมีอีก 2 ประเด็น คือ


(1)
นายณัฐชาติบอกว่า จากความต้องการใช้ก๊าซแอลพีจี ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไทยต้องเปลี่ยนสถานะจากการเป็นประเทศผู้ส่งออกก๊าซแอลพีจี เปลี่ยนเป็นผู้นำเข้าแทน โดยในเดือน เม.. 2551 ไทยนำเข้าก๊าซแอลพีจี กว่า 2 หมื่นตัน ขณะที่เดือน ก.. 2551 ไทยนำเข้าก๊าซแอลพีจี แล้ว 2.2 หมื่นตัน และในช่วงปลายเดือนนี้ ไทยอาจจะต้องนำเข้าอีก 2.2 หมื่นตัน


(2)
นายณัฐชาติกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า หากราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นถึง 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ก็จะมีผลให้ราคาก๊าซแอลพีจี ในตลาดโลกพุ่งขึ้นถึง 1 พันดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ซึ่งหากไทยยังนำเข้าก๊าซแอลพีจี ในระดับสูง ก็จะทำให้ภาครัฐต้องแบกรับภาระมากขึ้น จึงเห็นว่า รัฐควรจะปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี หน้าโรงกลั่นใหม่ เพื่อลดภาระในการชดเชยราคาก๊าซแอลพีจี

ทั้งนี้ ในกรณีที่ภาครัฐลอยตัวราคาก๊าซแอลพีจี จะมีผลราคาก๊าซแอลพีจี ในภาคครัวเรือนปรับขึ้นจาก
18.13 บาทต่อกิโลกรัม มาอยู่ที่ 25 - 30 บาทต่อกิโลกรัม


บทความนี้ได้ทำการตรวจสอบเนื้อหาสำคัญใน 2 ประเด็นดังกล่าว พบว่า ในประเด็นแรกไม่เป็นความจริง สำหรับประเด็นที่สองพบว่าทาง ปตท. ให้ข้อมูลไม่ครบทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ แต่ก่อนจะตรวจสอบ ขอทำความเข้าใจในความรู้พื้นฐานของปัญหานี้ก่อนครับ


2. ความรู้พื้นฐานของปัญหา

 


อันที่จริงชื่อของก๊าซหุงต้ม
(หรือ แอลพีจี) ได้สร้างความสับสนให้กับคนทั่วไปมากทีเดียว เราค่อยๆ มาทำความเข้าใจกันใหม่ ดังนี้ครับ


ในระยะแรก ทั้งๆ ที่คนทั่วไปรู้จักก๊าซชนิดนี้ว่าคือ “ก๊าซหุงต้ม” แต่ได้มีการนำก๊าซชนิดนี้ไปใช้ในสี่ภาคส่วนใหญ่ๆคือ (1) ใช้หุงต้มทั้งในครัวเรือนและร้านอาหารแผงลอย (2) ใช้ในภาคอุตสาหกรรม เช่น ใช้ตัดโลหะ ระบบทำความเย็น เป็นต้น (3) ใช้ในรถโดยสารแท็กซี่โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรณีนี้มีการใช้มานานกว่า 20 ปีแล้ว และ (4) ใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในภาคอุตสาหกรรม


แต่ในระยะหลัง เมื่อราคาน้ำมันได้ทะยานสูงขึ้น รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่เคยใช้น้ำมันเบนซินก็หันมาติดตั้งก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงแทน และในช่วง 10 ปีมานี้ ทางกระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมให้ทั้งรถยนต์แท็กซี่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถประจำทาง หันมาใช้ก๊าซเอ็นจีวี (NGV- Natural Gas for Vehicle) ทีนี้แหละความสับสนยิ่งมากขึ้นอีกเป็นทวีคูณ เพราะได้มีชื่อก๊าซชนิดใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก


3. แหล่งที่มาของก๊าซทั้งสองชนิด


การผลิตก๊าซหุงต้มในประเทศไทย มาจาก 3 แหล่ง คือ (1) มาจากการกลั่นน้ำมันดิบ ปัจจุบันโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยมีทั้งหมดจำนวน 7 โรง ในจำนวนนี้ 5 โรง (แต่โรงใหญ่ๆ ทั้งนั้น) เป็นของบริษัท ปตท. จำกัด (2) มาจากโรงแยกก๊าซซึ่งในประเทศไทยมีโรงแยกก๊าซอยู่ 5 โรง 4 โรงแรกเป็นของ ปตท. ในขณะที่โรงที่ 5 อยู่ที่ อ. จะนะ จ. สงขลาเป็นการร่วมทุนระหว่างไทย-มาเลเซีย ซึ่งก๊าซจากโรงแยกนี้(เกือบ)ทั้งหมดถูกส่งไปใช้ในประเทศมาเลเซียเท่านั้น และ (3) มาจากคอนเดนเสตที่เป็นของเหลวได้จากการขุดเจาะก๊าซในทะเล คอนเดนเสตจะเป็นของเหลวถูกบรรทุกใส่เรือ ไปผ่านกระบวนการผลิตต่อไปจนได้ก๊าซหุงต้มและผลิตภัณฑ์อื่นๆ แต่จะไปผ่านกระบวนการที่ใดบ้าง ผมไม่ทราบชัดเจนนัก


สำหรับก๊าซเอ็นจีวี เกิดจากโรงแยกก๊าซที่เป็นของ ปตท. ทั้ง 4 โรง โดยสรุปก๊าซหุงต้มเกือบทั้งหมดอยู่ในกำมือของบริษัท ปตท. บริษัทอื่นๆมีส่วนร่วมบ้างแต่เป็นจำนวนน้อย ส่วนก๊าซเอ็นจีวีทั้ง 100% อยู่ในกำมือของบริษัท ปตท. แต่เพียงผู้เดียว


ในอดีต
(นานกว่า 20 ปีแล้ว) ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกก๊าซหุงต้มตลอดมา จากข้อมูลของกระทรวงพลังงาน ทำให้ทราบได้ว่า ในปี 2550 ประเทศไทยผลิตก๊าซหุงต้มได้ประมาณ 4.3 ล้านตัน มีการขายภายในประเทศ 3.7 ล้านตัน และส่งออก 0.3 ล้านตัน (ข้อสังเกต ไม่ทราบว่าก๊าซหายไปไหน 0.3 ล้านตัน หรือประมาณ 7% ของที่ผลิตได้ทั้งหมด)


กราฟข้างล่างนี้เป็นปริมาณการบริโภคก๊าซแอลพีจีในภาคส่วนต่างๆ ตั้งแต่ปี 2529 (1986) จนถึงปี 2550 (ข้อมูลจากกระทรวงพลังงาน)


15_7_04


ในอดีต รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยได้ให้การอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้มตลอดมา ส่งผลให้ราคาก๊าซหุงต้มต่ำกว่าราคาน้ำมันเบนซิน จึงส่งผลให้ผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลนิยมติดตั้งก๊าซหุงต้มกันมาก


ขณะเดียวกัน ทางบริษัท ปตท. ก็ได้เร่งการผลิตก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าเป็นจำนวนมากเกินไป ส่งผลให้ก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวีที่ผลิตได้มีมากกว่าที่จำเป็นต้องใช้


เมื่อการผลิตมีมากกว่าการบริโภค (ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ร้อยละ 84 ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า) ทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า “ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย (Take or Pay)” เป็นจำนวนมาก


เมื่อเป็นดังนี้ทางรัฐบาลและ บริษัท ปตท. ก็คิดโครงการก๊าซเอ็นจีวีขึ้น เพื่อให้คนหันมาใช้ก๊าซเอ็นจีวีแทนการใช้น้ำมัน ก็ได้ส่งเสริมด้วยการติดตั้งก่อนผ่อนทีหลัง (คันละประมาณ 5 หมื่นบาท) และได้ควบคุมราคาเอ็นจีวีไว้ที่กิโลกรัมละ 8.50 บาท แต่เนื่องจากปั๊มก๊าซเอ็นจีวีมีจำนวนน้อย ความนิยมจึงไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้


รัฐบาลปัจจุบัน (สมัคร สุนทรเวช) มีโครงการรถประจำทางติดก๊าซเอ็นจีวีจำนวน 6 พันคันในกรุงเทพมหานคร ขณะนี้กำลังถูกกล่าวหาว่ามีการติดสินบนกันด้วย


สาเหตุที่จำนวนปั๊มเอ็นจีวีมีน้อย ก็เพราะการลงทุนในปั๊มนี้ค่อนข้างแพงมาก


เมื่อโครงการเอ็นจีวีไม่เป็นไปตามแผน ผู้คนก็แห่ไปติดตั้งก๊าซแอลพีจีแทน เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ถามว่าทางบริษัท ปตท. จะทำอย่างไรต่อไป ท่านผู้อ่านคงคาดได้


5. จับเท็จ ปตท.


ข้อแรกเรื่องการนำเข้าก๊าซหุงต้มกว่า 2 หมื่นตัน ในเดือนเมษายน 2551 จากข้อมูลของกรมศุลกากร พบว่า ทั้งเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2551 ไม่ได้มีการนำเข้าก๊าซหุงต้มเลย ดังแผนภาพประกอบข้างล่างนี้


15_7_02a


นอกจากนี้ ข้อมูลของกระทรวงพลังงานซึ่งดูแลข้อมูลพลังงานอยู่ ก็ไม่พบว่าได้มีการนำเข้าแต่อย่างใด


ท่านอาจจะคิดว่า ข้อมูลของกรมศุลกากรยังไม่ทันสมัยมั๊ง คือยังไม่ update แต่เราก็พบว่าในส่วนของการส่งออกได้มีการปรับเปลี่ยนข้อมูลให้ทันสมัยจนถึงเดือนพฤษภาคมแล้ว นั่นคือ นอกจากจะไม่มีการนำเข้าตามคำบอกเล่าของผู้บริหาร ปตท. แล้ว ยังมีการส่งออกอีกต่างหาก ดังแผนภาพที่ถ่ายมาประกอบ


15_7_03a


ทั้งๆ ที่ ทางบริษัท ปตท. อ้างว่าก๊าซแอลพีจีกำลังขาดแคลน แต่จากข้อมูลของกรมศุลกากรพบว่า มีการส่งออกก๊าซแอลพีจี ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงพฤษภาคม 2551 ทุกเดือน รวมทั้งสิ้น 19.7 ล้านกิโลกรัม หรือเกือบ 2 หมื่นตัน ในราคาที่ท่าเรือ (FOB) กิโลกรัมละ 25.82 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาจำหน่ายภายในประเทศ (กิโลกรัมละ 20 บาท) ถ้าคิดราคาส่งออกเฉลี่ยในเดือนพฤษภาคม ราคากิโลกรัมละ 27.73 บาท สูงกว่าราคาภายในประเทศตั้งเยอะ เมื่อราคาต่างกันมากเช่นนี้ ถามว่า ปตท. จะทำอย่างไร


สำหรับความเห็นของคุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ “ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” เป็นที่สงสัยว่า คุณประเสริฐเอาตัวเลขนี้มาจากไหน เพราะตัวเลขนี้คิดเป็น 11% ของปริมาณที่มีการใช้ในปี 2550 ณะนี้เวลาได้ล่วงเลยมา 5 เดือนแล้ว(ตามข้อมูลกรมศุลกากร) ยังไม่มีการนำเข้าตามที่ ปตท. อ้างเลย


สำหรับการจับเท็จในข้อที่สอง ที่ว่า “นายณัฐชาติกล่าวว่า หากราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นถึง 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ก็จะมีผลให้ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกพุ่งขึ้นถึง 1 พันดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน”


ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้ให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ปกติราคาก๊าซหุงต้มจะขึ้นลงตามฤดูกาล ถ้าในฤดูที่อากาศหนาวราคาก๊าซก็จะขึ้นสูง อากาศร้อนราคาก๊าซก็จะลดต่ำลงอย่างมาก เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2550 ราคาก๊าซส่งออกต่ำสุดในเดือนพฤษภาคม ราคาตันละ 382 ดอลลาร์ แต่ในเดือนธันวาคมขึ้นสูงถึง 623 ดอลลาร์ต่อตัน นั่นคือการขึ้นลงของราคาในระหว่างปีมีการแปรผันเกือบเท่าตัว

จริงอยู่ราคาน้ำมันดิบในปี 2550 อยู่ที่ประมาณ 50-89 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 137 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และไม่มีใครทราบได้ว่า เมื่อไหร่จะถึง 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และก๊าซหุงต้มจะขึ้นไปอีกเท่าใด แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่การแปรผันระหว่างปีที่ราคาต่างกันเกือบเท่าตัว นี่เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน แต่จงใจให้ข้อมูลที่โน้มน้าวให้บริษัทได้ประโยชน์เพียงอย่างเดียว


6.
สรุป


นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทาง บริษัท ปตท. ได้ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จกับประชาชน สมควรอย่างยิ่งที่การเมืองภาคประชาชนต้องร่วมมือกันตรวจสอบอย่างใกล้ชิดกันต่อไปและตลอดไป.


บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เคยมีคนไปถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ว่า “ท่านคิดว่าสิ่งประดิษฐ์ใดของมนุษย์ที่มีอำนาจในการทำลายล้างมากที่สุด” ผู้ถามคงจะคาดหวังว่าไอน์สไตน์น่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์” เพราะเขามีส่วนเกี่ยวข้องในการประดิษฐ์คิดค้นอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย แต่ไอน์สไตน์กลับตอบว่า “สูตรดอกเบี้ยทบต้น”
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อกลางเดือนธันวาคม ปี 2552 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ในงานนี้ได้มีโอกาสฟังปาฐกถาจากประธานศูนย์ศึกษาประเทศภูฎาน คือท่าน Dasho Karma Ura
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ “รักเจ้าจึงปลูก” เป็นชื่อโครงการที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำลังครุ่นคิดเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ผมเองได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มา 2 ตอนแล้ว
ประสาท มีแต้ม
  1. คำนำ       ภาพที่เห็นคือบริเวณชายหาดชลาทัศน์ อ.เมือง จังหวัดสงขลา (ถ่ายเมื่อพฤศจิกายน 2552) หาดนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากของชาวเมืองสงขลา อยู่ทางตอนใต้ของหาดสมิหลาที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักดีประมาณหนึ่งกิโลเมตร สิ่งที่เห็นในภาพที่มีถุงทรายสีขาว ยางรถยนต์เก่ายึดด้วยไม้หลักปักทราย รวมทั้งรูปต้นสนล้ม คงสะท้อนทั้งความรุนแรงของปัญหาและความพยายามแก้ปัญหาของผู้ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม ในตอนที่ 1 ผมได้นำข้อมูลที่มาจากงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการที่พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นของประเทศไทย ทั้งระดับ ป.6 , ม.3 และมัธยมปลายมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งทุกวิชา โดยวิชาที่สอบได้คะแนนน้อยที่สุดคือวิชาคณิตศาสตร์ ได้เพียงร้อยละ 29.6 เท่านั้น ในตอนที่ 2 นี้ ผมจะกล่าวถึงปัญหาที่ได้ตั้งไว้ในชื่อบทความ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพการศึกษาเราตกต่ำ นอกจากนี้ ผมได้นำเสนอความคิดเห็นและความพยายามของผู้บริหารระดับสูงสุดของมหาวิทยาลัยด้วย
ประสาท มีแต้ม
๑. คำนำ ผมขอเรียนกับท่านผู้อ่าน “ประชาไท” ตามตรงว่า ผมใช้เวลานานมากในการคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี เขียนทิ้งเขียนขว้างไปหลายชิ้น ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเพราะว่าผมสับสนในตัวเอง ไม่ทราบว่าจะนำเสนออะไรดีให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง
ประสาท มีแต้ม
๑. ปัญหาในภาพเล็ก ที่ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่คือ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำลังคิดทำโครงการที่จะพัฒนานักศึกษานอกเหนือจากรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทำกันอยู่ตามปกติแล้ว โครงการยังไม่เป็นรูปเป็นร่างดีนัก แต่ชื่อโครงการก็ค่อนข้างจะเห็นตรงกันคือ “โครงการรักเจ้าจึงปลูก” ที่มาจากเนื้อเพลง “อิ่มอุ่น” ของ ศุ บุญเลี้ยง
ประสาท มีแต้ม
ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวิชาบังคับให้นักศึกษาต้องเรียนอยู่วิชาหนึ่งจำนวน 3 หน่วยกิต ชื่อว่า “วิชาวิทยาเขตสีเขียว (greening the campus)” วัตถุประสงค์หลักของวิชานี้ก็คือ ให้นักศึกษาลุกขึ้นมาศึกษาปัญหาส่วนรวมหรือปัญหาสาธารณะที่อยู่ในวิทยาเขตของตนเอง แต่โดยมากมักจะเน้นไปที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาขวดน้ำพลาสติกที่มีมากอย่างไม่น่าเชื่อ ปัญหาการประหยัดพลังงาน และกระดาษ เป็นต้น
ประสาท มีแต้ม
ทั้ง ๆ ที่ประเทศเรากำลังประสบกับวิกฤติหลายด้าน ทั้งความขัดแย้งทางการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นต้น แต่สื่อกระแสหลักก็ให้ความสำคัญกับข่าวความขัดแย้งในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมทั้งความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาลโดยไม่มีอะไรใหม่สร้างสรรค์ให้กับสังคม
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่กระแสสังคมส่งสัญญาณไม่พอใจกับราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ลดการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนของ ดีเซล ลิตรละ 2 บาท
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำขณะนี้หลายท่านคงจะรู้สึกกังวลร่วมกันว่า ราคาน้ำมันกำลังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจนอาจถึงหรือสูงกว่าเมื่อกลางปี 2551 (ดูกราฟประกอบ-ต่ำสุดเดือนธันวาคม 2551 ที่ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จนมาถึงเกือบ 80 ในเดือนสิงหาคมปีนี้)   ซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาสู่เรามากน้อยแค่ไหนก็คงพอจะนึกกันออก
ประสาท มีแต้ม
ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อ"ชี้แจงแสดงความคิดเห็น" เรื่อง ค่าการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อ 1 กรกฎาคม 52 คนนอกที่นอกจากผมแล้วก็มีอีก 6 -7 ท่าน ได้แก่ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนบริษัทบางจาก, บริษัท ปตท. นายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันแห่งประเทศไทย, คุณรสนา โตสิตระกูล และนักวิชาการปิโตรเลียม เป็นต้น