Skip to main content

1. คำนำ

ขณะนี้หลายท่านคงจะรู้สึกกังวลร่วมกันว่า ราคาน้ำมันกำลังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจนอาจถึงหรือสูงกว่าเมื่อกลางปี 2551 (ดูกราฟประกอบ-ต่ำสุดเดือนธันวาคม 2551 ที่ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จนมาถึงเกือบ 80 ในเดือนสิงหาคมปีนี้)   ซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาสู่เรามากน้อยแค่ไหนก็คงพอจะนึกกันออก

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ที่ผ่านมา วุฒิสภา โดยคณะกรรมาธิการ ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล  ซึ่งมีคุณรสนา โตสิตระกูล เป็นประธาน  ได้จัดให้มีการเสวนาและเสนอผลการศึกษาในประเด็นปัญหาพลังงาน โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการขึ้นมาศึกษา  การศึกษาใช้เวลาประมาณ 1 ปี มีประเด็นที่น่าสนใจ 3 อย่างที่เกี่ยวกับกิจการพลังงานในบ้านเรา  แต่เพื่อไม่ให้ประเด็นมันกว้างเกินไป คณะกรรมาธิการฯ ได้ยกประเด็นราคาน้ำมันขึ้นมานำเสนอต่อสาธารณะชนก่อน 

ผมเองได้รับเชิญไปร่วมให้ความเห็นและเสนอแนะ ผมจึงขอนำเรื่องนี้บางส่วนมาเล่าต่อในที่นี้ครับ  ผมถือโอกาสหยิบเอาหัวข้อการเสวนามาเป็นชื่อบทความนี้เสียเลย อย่างไรก็ตามผมคงเล่าได้ในบางประเด็นเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมดของการเสวนา

2. ความเป็นธรรมของใคร ?

ในฐานะอาจารย์คณิตศาสตร์  ผมจึงเริ่มตั้งคำถามให้ผู้ฟังช่วยกันคิดว่าเมื่อมองความเป็นธรรมนั้นเราคิดถึง "ความเป็นธรรมของใคร"   คงไม่ใช่หมายถึงระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการเพียงคู่เดียวเท่านั้น

ในรายงานผลการศึกษาของคณะฯ ระบุว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้ส่งออกทั้งน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบรวมกันปีละเกือบ 3 ล้านบาท มากกว่ามูลค่าข้าวส่งออกที่เป็นสินค้าหลักด้านการเกษตรของประเทศเสียอีก  ในปี 2551 ร้อยละ 22 ของน้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่นในบ้านเราถูกส่งออกไปขายต่างประเทศ  ขณะเดียวกันร้อยละ 20 ของน้ำมันดิบที่ขุดได้ในบ้านเราก็ถูกส่งออกเช่นกัน

เมื่อเป็นดั่งนี้ ผมเริ่มเท้าความว่า ตอนผมเป็นเด็กได้อ่านหนังสือเรียนพบว่า
"ประเทศไทยส่งออกไม้สัก ไม้เต็ง ฯลฯ เป็นอันดับหนึ่ง แต่แทบไม่มีป่าไม้ในประเทศให้คนรุ่นผมได้เห็นแล้ว"

ผมย้อนไปว่า  "เมื่อ 30 ปีที่แล้วประเทศไทยส่งออกแร่ดีบุกได้มากเป็นอันดับสองของโลก เราขายแร่แทนตาลัมที่มีราคาแพงมากและเป็นยุทธปัจจัยไปในราคาถูกราวกับเศษดิน ทุกวันนี้เราไม่มีดีบุกเหลือให้ลูกหลานแล้ว"

มาวันนี้  เราพบแหล่งปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเลคิดเป็นมูลค่าประมาณ 100 ล้านล้านบาท

หรือคิดเป็นมูลค่าเท่ากับงบประมาณแผ่นดินของประเทศไทยได้ถึง 50 ปี  นี่เป็นมรดกที่สะสมกันมานับล้านปี  ใจคอเราคิดจะขุดให้หมดภายใน 10 - 20 ปีข้างหน้านี้หรือ   เราไม่คิดจะเก็บไว้ให้ลูกหลานของเราได้ใช้บ้างเลยเชียวหรือ

หรือถ้าอยากจะขุดให้หมดจริงๆ  เราก็น่าจะเก็บภาษีน้ำมันเพื่อมาสร้างระบบขนส่งมวลชนเช่น รถไฟฟ้าไว้ให้คนรุ่นหลังได้ใช้บ้างจะดีไหม

ผมสรุปว่า "ถ้าขืนยังขุดและใช้น้ำมันกันอย่างฟุ่มเฟือยเช่นนี้ จะไม่เป็นธรรมกับคนรุ่นหลังอย่างแน่นอน"

นั่นเป็นมิติของความเป็นธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งในประเทศเดียวกัน  ผมเรียกความเป็นธรรมนี้โดยรวมว่า ความมั่นคงด้านพลังงาน (energy security) ซึ่งต้องมองกันยาว ๆ ไม่ใช่แค่ความมั่นคงเป็นรายเดือน รายปี หรือสิบปีเท่านั้น

นอกจากนี้ ผมได้กล่าวถึงความเป็นธรรมอีก 2  ประการ คือ ความเป็นธรรมต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุปตรงกันว่า สาเหตุที่ทำให้เกิด "สภาวะโลกร้อน" นั้น  ประมาณ 70 - 80 %  มาจาการใช้พลังงานฟอสซิล(หรือซากพืชซากสัตว์) ของมนุษย์นั่นเอง   สภาวะโลกร้อนได้นำภัยพิบัติมาสู่คนรุ่นเรามากขนาดไหนเราพอจะประเมินกันได้    แต่ในอนาคตภัยพิบัติเหล่านี้จะรุนแรงอย่างที่คนธรรมดา ๆ คาดไม่ถึง

ดังนั้น  การจะสร้างความเป็นธรรมต่อสภาพแวดล้อมก็คือ การลดใช้พลังงานฟอสซิล ซึ่งมีวิธีการลดได้ 3 ทางคือ หนึ่งหันไปใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น ถ้าพูดถึงน้ำมันก็ต้องหันไปหาน้ำมันจากพืชให้มากขึ้น สองเก็บภาษีน้ำมันให้มากขึ้นเพื่อให้คนใช้น้อยลง จะเรียกภาษีชนิดนี้ว่าภาษีสิ่งแวดล้อม น้ำมันพืชไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็ไม่ต้องเก็บภาษี น้ำมันจากฟอสซิลก็เก็บภาษีให้มากหน่อย เพื่อให้น้ำมันพืช เช่น ไบโอดีเซลสามารถแข่งขันได้  และ สามใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความเป็นธรรมประการสุดท้าย คือความเป็นธรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจ  ผมพูดถึงอย่างกว้าง ๆ ว่า เราต้องสนใจการสร้างงานและกระจายรายได้ที่เป็นธรรมด้วย ขณะเดียวกันพ่อค้าน้ำมันก็ต้องมีกลไกมาควบคุมไม่ให้ค้ากำไรเกินควร

ผมได้ยกตัวเลขให้เห็นว่า  เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ( พ.ศ. 2513) ประเทศไทยเรานำเข้าพลังงานเพียง 1 % ของรายได้ประชาชาติเท่านั้น  แต่พอถึงปี 2536 เราใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่าถึง 1 ใน 10 ของรายได้ประชาชาติ  ล่าสุดในปี 2551 พบว่า "รายได้ทุก ๆ 100 บาทที่คนไทยหามาได้ ต้องจ่ายเป็นค่าพลังงานถึงเกือบ 20 บาท หรือประมาณ 1 ใน 5 ของรายได้ต้องจ่ายไปเป็นค่าพลังงาน"

ถ้าเราไม่คิดจะแก้ไขอะไรกันเลย ในอีก 15 ปีข้างหน้า เราจะต้องจ่ายค่าพลังงานเป็นเท่าใด  จะเป็น 2 ใน 5 ไหม?

ผมได้คุยกับนักธุรกิจระดับพันล้านบาทท่านหนึ่งโดยบังเอิญ ท่านว่า "ธุรกิจใดที่มีค่าขนส่งเกิน 20% ธุรกิจนั้นต้องเจ๊งแน่ ๆ "    

ผมฟังแล้วรู้สึกเสียวกับ "ธุรกิจบริษัทประเทศไทย"

ถ้าเรากล่าวเฉพาะน้ำมันและไฟฟ้ารวมทั้งการจ้างงาน การกระจายรายได้ พบว่ามีสัญญาณอันตรายเพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัว ดังตารางข้างล่างนี้

  


ผมได้เรียนต่อวงเสวนาที่มีคนฟังประมาณ 100 คนว่า "ปัจจุบันคนในวัยทำงานมีประมาณ 34 ล้านคน แต่อยู่ในภาคไฟฟ้า น้ำมัน และปั๊มน้ำมัน ประมาณ 3.4 แสนคน หรือประมาณ 1% ของแรงงานทั้งหมด แต่คนเพียงร้อยละ 1  กลับมีส่วนเกี่ยวกับรายได้ถึงร้อยละ 15 ของรายได้ประชาชาติ"

ในเรื่องคนทำงาน 1% ที่มีรายได้ถึง 15 % ของรายได้ประชาชาตินี้  ผมได้รวมเด็กปั๊มประมาณ 2 แสนคนเข้าไปใน 1% นี้แล้ว เด็กปั๊มเหล่านี้มีรายได้แค่เพียงเดือนละ 4-5 พันบาทเท่านั้น

ดังนั้น ถ้าคิดให้ละเอียดจริงๆ ยิ่งน่ากลัวกว่าที่ได้กล่าวมาแล้ว

นอกจากความเป็นธรรมใน 3 ประการหลัก คือ (1) ความเป็นธรรมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (2)  ความมั่นคงด้านพลังงานและ (3) ความเป็นธรรมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ  ผมยังได้เสนอเรื่องความเป็นธรรมในการค้าขาย ทั้งการกลั่นและค่าการตลาดด้วย

3. ความเป็นธรรมเรื่องค่าการกลั่น

ผมได้เรียนต่อวงเสวนาว่า  ผมเองเป็นนักคณิตศาสตร์ ผมไม่ทราบหรอกว่า ค่าการกลั่นของโรงกลั่น (ที่มีอยู่ 7 โรงในประเทศไทย แต่ 85%ของกำลังการผลิตเป็นโรงกลั่นในเครือของบริษัท ปตท. จำกัด) นั้นถูกหรือแพงเกินไปหรือไม่ แต่ผมใช้วิธีการเปรียบกับโรงกลั่นของประเทศอื่น ๆ  พบว่า ค่าการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศไทยสูงกว่าของกลุ่มประเทศยุโรป และสิงคโปร์เยอะเลย

ในขณะ ที่ (ปี 2550) ของประเทศอื่นอยู่ที่ประมาณ 5.3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (ประมาณ 1.17 บาทต่อลิตร)  แต่โรงกลั่นในประเทศไทยคิดกับคนไทยในราคาประมาณ 9.2 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (ประมาณ 2.03 บาทต่อลิตร แพงไปถึง 86 สตางค์ต่อลิตร)

ในแต่ละปี คนไทยบริโภคน้ำมันประมาณ 4 หมื่นล้านลิตร  ดังนั้นส่วนที่คนไทยต้องแบกภาระค่าการกลั่นเกินที่ควรจะเป็นไปถึง 3.4 หมื่นล้านบาท

ไม่น้อยเลยครับ ถ้าเรานำมูลค่าส่วนเกินนี้ไปสร้างรถไฟฟ้า ระบบขนส่งมวลชนไว้ให้คนรุ่นหลังใช้ก็ได้ตั้งเยอะต่อปี

อนึ่ง กระทรวงพลังงานของไทยเราเคยนำเสนอข้อมูลค่าการกลั่นเฉลี่ยมาตลอด แต่นับจากปลายเดือนธันวาคม 2551 เป็นต้นมา กลับไม่มีข้อมูลนี้อีกเลย โดยไม่ทราบเหตุผลใด ๆ

การที่ผู้ประกอบการค้าไม่นำเสนอข้อมูลที่จำเป็นที่สะดวกต่อการทำความเข้าใจและมีความถูกต้องกับผู้บริโภค คิดเป็นอื่นไม่ได้นอกจาก  ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคอย่างแน่นอน

คราวนี้ลองมาพิจารณาค่าการกลั่นของโรงกลั่นไทยกันบ้างครับ

เนื่องจากกระทรวงพลังงานไม่ยอมนำเสนอค่าการกลั่นเฉลี่ย  ผมจึงนำราคาหน้าโรงกลั่นของน้ำมันสองชนิด คือ ดีเซลหมุนเร็ว (ที่คนใช้มากที่สุด) และน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 มาเขียนกราฟพร้อมกับราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยของกลุ่มประเทศโอเปก  ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม ถึง 5 สิงหาคม 2552 (ข้อมูลที่หายไปคือข้อมูลที่ไม่มีการนำเสนอ)

ผมทราบดีครับว่า การพิจารณาค่าการกลั่นต้องพิจารณากันตลอดทั้งปี  แต่ในที่นี้ผมต้องการชี้ให้เห็นถึงความผิดปกติเพียงบางช่วงเท่านั้น (คือในกรอบสี่เหลี่ยมสีเขียว)

 

จากกราฟ โดยส่วนมาก เราจะเห็นว่าราคาน้ำมันดิบกับราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นจะไปทำนองเดียวกัน แต่ในกรอบดังกล่าวทั้ง ๆ ที่ราคาน้ำมันดิบลดลงติดต่อกัน 2 วัน แต่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปกลับเพิ่มขึ้นติดต่อกันสองวัน

คำถามก็คือ ทำไม? และจะเกิดขึ้นอีกไหม? ไม่มีใครทราบ
เราอาจจะถามต่อไปได้อีกว่า รัฐบาลมีกลไกใดมาควบคุมราคาให้เกิดความเป็นธรรม
คำตอบคือ "ไม่มีในทางปฏิบัติ"

แต่ในทางทฤษฎี รัฐบาลได้ตั้ง "คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน"   มาจำนวน 7 คน แต่ละคนกินเงินเดือน ๆ ละ 2 ถึง 2.5 แสนบาท พร้อมค่าใช้จ่ายอีกไม่เกิน 25% ของเงินเดือน

ในจำนวนกรรมการ 7 ท่านนี้ บางท่านเคยเป็นบอร์ดของ ปตท. มาก่อน บางท่านเคยเป็นเลขานุการคณะทำงานแปรรูป ปตท. และบางท่านก็มีลูกเป็นฝ่ายวางแผนให้บริษัท ปตท.

ข้าราชการระดับสูงหลายคนที่กินเงินเดือนจากภาษีประชาชนได้เป็นบอร์ดของบริษัทค้าน้ำมัน แต่ผลประโยชน์ที่บริษัทค้าน้ำมันยื่นให้กลับสูงกว่าเงินเดือนหลายเท่าตัว

แล้วข้าราชการเหล่านี้จะรักษาผลประโยชน์ให้ใคร ?

นี่คือความไม่เป็นธรรมที่คณะกรรมาธิการ ฯ วุฒิสภาตั้งคำถาม

ยังมีอีกหลายประเด็นที่ผมยังไม่ได้กล่าวถึง แต่บทความชักจะยาวเกินไปแล้ว เอาไว้คราวต่อไปนะครับ 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
    “คดีโลกร้อน” เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย  ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
ประสาท มีแต้ม
    ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท…
ประสาท มีแต้ม
    คำนำ เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า “ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง “ความเหลื่อมล้ำ” …
ประสาท มีแต้ม
  “...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”   “ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”  
ประสาท มีแต้ม
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์  ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า 1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
ประสาท มีแต้ม
    คำว่า “ไฟต์บังคับ” เป็นภาษาในวงการมวย  หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้
ประสาท มีแต้ม
  ๑.  คำนำ บทความนี้ประกอบด้วย 6 หัวข้อย่อย ท่านสามารถอ่านหัวข้อที่ 6 ก่อนก็ได้เลย เพราะเป็นนิทานที่สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาได้ดี เรื่อง “โรงเรียนสัตว์”   ถ้าท่านรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของนิทานดังกล่าว (ซึ่งทั้งแสบ ทั้งคัน) จึงค่อยกลับมาอ่านหัวข้อที่ 2  จนจบ หากท่านไม่เกิดความรู้สึกดังกล่าว  ก็โปรดโยนทิ้งไปได้เลย ๒. ปัญหาของการศึกษากระแสหลักคืออะไร
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ชื่อบทความนี้อาจจะทำให้บางท่านรู้สึกว่าเป็นการทอนพลังของการปฏิรูป ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ผมขอเรียนว่า ไม่ใช่การทอนพลังครับ แต่เป็นการทำให้การปฏิรูปมีประเด็นที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ง่าย รวดเร็ว  เมื่อเทียบกับการปฏิรูปมหาวิทยาลัย ปฏิรูปการศึกษาที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ผมได้ตรวจสอบประเด็นของการปฏิรูปของคณะกรรมการชุดที่คุณหมอประเวศ วะสี เป็นประธานแล้วพบว่า ไม่มีประเด็นเรื่องนโยบายพลังงานเลย บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นว่า (1) ทำไมจะต้องปฏิรูปนโยบายพลังงานในทันที  (2) จะปฏิรูปไปสู่อะไร และ (3) ทำอย่างไร เริ่มต้นที่ไหนก่อน  …
ประสาท มีแต้ม
“ในการเดินทาง เรามักใช้ยานพาหนะช่วย   แต่ในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical) เราใช้อะไรเป็นเครื่องมือหรือเป็นพาหนะ”
ประสาท มีแต้ม
“คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้”   1.    คำนำ ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  
ประสาท มีแต้ม
1.    คำนำ เราคงยอมรับร่วมกันแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในระดับความคิด ความเชื่อทางการเมือง และวัฒนธรรมซึ่งนักสังคมศาสตร์จัดว่าเป็นโครงสร้างส่วนบน และความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่รวมศูนย์ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม  ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทั้งสองระดับนี้กำลังวิกฤติสุด ๆ จนอาจพลิกผันนำสังคมไทยไปสู่หายนะได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นปกหน้าและหลังของเอกสารขนาดกระดาษ A4 ที่หนาเพียง 16 หน้า แม้ว่าหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงที่ปรากฏ แต่ผมเชื่อว่าแววตาและท่าทางของเจ้าหนูน้อยในภาพคงทำให้ท่านรู้สึกได้ว่าเธอทึ่งและมีความหวัง บรรณาธิการกรุณาอย่าทำให้ภาพเล็กลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะจะทำให้เราเห็นแววตาของเธอไม่สดใสเท่าที่ควร เอกสารนี้จัดทำโดย “สภาเพื่ออนาคตโลก” หรือ World Future Council (WFC) ค้นหาได้จาก www.worldfuturecouncil.org