Skip to main content

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544


เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย


นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “บรรยากาศในเวทีก็มีบางช่วงดุเด็ดเผ็ดร้อน บางส่วนตอบคำถามซึ่งกันและกัน บางส่วนไม่ บางส่วนขัดแย้ง” ในขณะที่ผู้สื่อข่าวของ “ผู้จัดการออนไลน์” รายงานว่า “การเสวนาเริ่มร้อนระอุตั้งแต่เปิดประเด็นแรกเรื่องกำไรของปตท.มาจากไหน ผู้บริหารของ ปตท. และหลักทรัพย์ภัทร ได้แสดงสีหน้าท่าทีดูแคลนและโต้แย้งข้อมูลของผู้แทนองค์กรผู้บริโภคว่า ไม่รู้เอาข้อมูลมาจากไหน”


ในบทความนี้ผมจะให้ความสนใจเพียงประเด็นเดียวคือ ประเด็นท่อก๊าซของ ปตท. ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาไปแล้ว พอจะสรุปสั้นๆ ได้ความว่า “ท่อก๊าซและระบบท่อก๊าซที่ทาง ปตท.(ซึ่งเคยเป็นของรัฐ 100%) ได้ใช้ “อำนาจมหาชนของรัฐ” ไปจัดการเวนคืนที่ดินของเอกชนมา แต่เมื่อ ปตท.ถูกแปรรูปไปเป็นบริษัทเอกชนแล้ว ก็ให้จัดการคืนให้กับกระทรวงการคลังไปเสีย”


สิ่งที่ประชาชนให้ความสนใจก็คือว่า มีทรัพย์สินอะไรบ้างที่จะต้องคืนกลับให้กับกระทรวงการคลัง(หรือคืนให้รัฐ) แล้วในอนาคตจะจัดการกันอย่างไรต่อไปกับท่อก๊าซและทรัพย์สินเหล่านี้


ในบทความนี้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่ยังห่างไกลจากข้อมูลสามารถเข้าใจได้ ผมจึงขออนุญาตตั้งคำถามเองดังต่อไปนี้ และหากส่วนใดที่สอดคล้องกับการเสวนา ผมจะนำมาเสนอพร้อมๆ กัน


คำถามที่หนึ่ง บรรดาท่อส่งก๊าซที่วางอยู่ริมทางหลวงแผ่นดิน ใต้ถนน ในป่าไม้ แนวเสาไฟฟ้าแรงสูง ทะเล ตลอดจนที่สาธารณะอื่นๆ ล้วนแล้วแต่เป็นการ “ใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” มาจัดการเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ของสาธารณะใช่หรือไม่ ใครก็ตามที่ไม่มี “อำนาจมหาชนของรัฐ” ย่อมไม่สามารถกระทำได้ใช่หรือไม่


คำถามที่สอง ก่อนการแปรรูป คณะกรรมนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีมติให้แยกกิจการท่อส่งก๊าซออกมาจากธุรกิจของ ปตท. คณะรัฐมนตรีก็เห็นชอบตามข้อเสนอ (25 กันยายน 2544) ในระหว่างการดำเนินการแปรรูป หนังสือชี้ชวนของ ปตท. ก็ได้สัญญาว่าจะแยกกิจการท่อก๊าซออกมาภายในหนึ่งปี แต่ทำไม บริษัท ปตท. จึงไม่ทำตามสัญญา


ผมเองยังไม่ชัดเจนกับวัตถุประสงค์การแยกกิจการดังกล่าว แต่เข้าใจว่านอกจาก ”การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” แล้ว น่าจะเพื่อลดการผูกขาดกิจการก๊าซธรรมชาติได้ด้วย


เราลองคิดดูว่า ถ้ากิจการท่อส่งก๊าซเป็นของรัฐดังเดิม ผู้ใช้ก๊าซอาจจะมีอำนาจในการกำหนดค่าผ่านท่อได้บ้าง


คำถามที่สาม ท่อส่งก๊าซที่มีอยู่ในปัจจุบันเกือบทั้งหมดของประเทศ รวมทั้งท่อก๊าซไทย-พม่า,ไทย-มาเลเซีย นั้นได้สร้างก่อนการแปรรูป ปตท. (ตุลาคม 2544) ใช่หรือไม่ หลังการแปรรูปแล้ว ได้มีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซเพิ่มเติมซึ่งก็ถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับท่อส่งก๊าซที่มีอยู่ก่อนการแปรรูป แม้กระนั้นก็ตามท่อที่สร้างขึ้นใหม่นี้ยังคงสร้างในทะเลซึ่งก็ต้องใช้ “ใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ตามคำพิพากษาของศาล(14 ธันวาคม 2550) ด้วยใช่หรือไม่


ขอความกรุณาให้ทางบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แจกแจงซิว่ามีท่อก๊าซใดบ้างที่ไม่ได้ใช้ “อำนาจมหาชนของรัฐ” เข้าไปจัดการ


คำถามที่สี่ ก่อนการแปรรูป การลงทุนของ ปตท. มักจะควักกระเป๋ามาลงทุนเองประมาณ 30 % ของเงินลงทุนทั้งหมด และอีก 70% เป็นเงินกู้ที่รัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกัน ในวันที่แปรรูป โครงการท่อก๊าซต่างๆ ยังคงมีหนี้สินเท่าใด อัตราดอกเบี้ยร้อยละเท่าใด โปรดแจง


คำถามที่ห้า ขณะนี้ (16 พฤษภาคม 2551) ทางกระทรวงการคลัง โดยกรมธนารักษ์ และทางบริษัท ปตท. ได้ร่างสัญญาการใช้ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของท่อส่งก๊าซบนสาธารณะสมบัติของชาติ ปตท.ต้องชำระค่าใช้ที่ราชพัสดุ สรุปได้ว่าปีละไม่ต่ำกว่า 180 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 550 ล้านบาท


การคิดค่าใช้ที่ดังกล่าวตั้งอยู่บนหลักการอะไรบ้าง


คำถามที่หก ในการลงทุนโครงการท่อส่งก๊าซ ทาง ปตท. คิดผลตอบแทนการลงทุน(IRR) ร้อยละ 18 ต่อปี ใช่หรือไม่


อนึ่ง การแจกแจงรายละเอียดให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ในบทความสั้นๆ นี้ย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การบอกข้อมูลว่าในแต่ละปีที่ผ่านมา ทาง ปตท. (ก่อนแปรรูป)ได้ส่งเงินในโครงการท่อส่งก๊าซให้รัฐเท่าใด ก็สามารถทำให้ทราบได้ว่า ในอนาคตทาง บริษัท ปตท. ควรจะต้องจ่ายให้รัฐปีละเท่าใด


คำถามที่เจ็ด จากเอกสารแนบท้ายของ “คู่มือการคำนวณอัตราค่าผ่านท่อ” ซึ่งใช้ประกอบสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่าง การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (7 พฤศจิกายน 2539) ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ทำให้เราสามารถทราบข้อมูลเรื่องรายได้-รายจ่ายรวมทั้งรายได้ที่นำส่งให้รัฐจากค่าผ่านท่อ พอสรุปได้ดังต่อไปนี้


14_8_01

ก่อนจะกล่าวต่อไป ต้องขอหมายเหตุกับข้อมูลนี้ก่อน คือ (1) เป็นข้อมูลประมาณการในปี 2539 นั่นคือทำให้ข้อมูลในปี 2540 ไม่น่าจะห่างจากความจริงมากนัก แต่ข้อมูลในปี 2549 อาจน่าสงสงสัย แต่ก็สามารถตรวจสอบความถูกต้องกับข้อมูลอื่นบางอย่างได้ (2) ในปี 2540 ท่อก๊าซไทย-พม่า ยังไม่มีก๊าซผ่านท่อ (3) ท่อก๊าซไทย-มาเลเซียยังไม่ได้สร้าง


จากข้อมูลดังกล่าว เราพบว่า

(1) กำไรสุทธิหลังหักค่าดอกเบี้ยในปี 2540 และ 2549 อยู่ที่ 1, 688 และ 5,711 ล้านบาทบาท ตามลำดับ

สมมุติว่าเราต้องยึดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายคือระหว่างเจ้าของประเทศ(เจ้าของที่ดินสาธารณะ)กับผู้ถือหุ้น เราควรจะแบ่งเงินจำนวนนี้กันอย่างไร


ในความเห็นของผมคิดว่าควรจะแบ่งออกเป็นสามส่วนดังนี้คือ (1) ต้องแบ่งให้กับกระทรวงการคลังที่ควักกระเป๋าลงทุน 30% ตั้งแต่แรกก่อน (2) ต้องแบ่งให้เป็นค่าใช้ที่ราชพัสดุซึ่งขณะนี้เรายังไม่ทราบว่าควรจะเป็นเท่าใด และ (3) แบ่งให้ผู้ถือหุ้นหลังการแปรรูป


ผมยังสงสัยว่า ทำไม กระทรวงการคลังกับ บริษัท ปตท. จำกัด จึงคิดจะให้ค่าใช้ที่อยู่ระหว่าง 180 ถึง 550 ล้านบาทเท่านั้น


(2)
กำไรสุทธิหลังหักดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ถึง 12.7 ของเงินลงทุน ตัวเลขนี้ย่อมเป็นการยืนยันว่า ทางบริษัท ปตท. คิดผลตอบแทนการลงทุน(IRR)ประมาณ 18% จริง โดยมีดอกเบี้ยเงินกู้ประมาณ 7%


(3)
รายได้ที่ส่งให้รัฐอยู่ระหว่าง 506 ถึง 1,713 ล้านบาท โดยที่ปริมาณก๊าซผ่านท่อเพียง 882.96 และ 1,044.76 ล้านบีทียู นั่นหมายถึงว่า ค่าผ่านท่อขึ้นกับปริมาณก๊าซที่ผ่านด้วย


ในปี 2550 ปริมาณก๊าซที่ผ่านท่อทั้งหมดประมาณ 1,248 ล้านบีทียู (ไม่นับรวมท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย) ดังนั้น เงินที่ส่งให้รัฐจึงน่าจะเป็นประมาณ 2,046 ล้านบาท ถ้านับด้วยก็จะสูงกว่านี้อีก


นี่ยังไม่ได้คิดตามราคาก๊าซที่เพิ่มขึ้นไปอีกมาก เมื่อราคาก๊าซเพิ่มขึ้น ค่าผ่านท่อก็เพิ่มตามไปด้วย

ที่กล่าวมาแล้ว เป็นคำถามเจ็ดข้อสำหรับประเด็นการจัดการกับท่อส่งก๊าซหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ต่อไปนี้ผมขอนำบางตอนของการเสวนาที่ทาง “ประชาไท” นำเสนอ ซึ่งผมขอนำมาเรียงลำดับใหม่


ในขณะที่สังคมกำลังตั้งคำถามกับ ปตท. ว่า ที่ผ่านมาคุณคิดค่าผ่านต่อไปเท่าใดและในอนาคตคุณจะต้องจ่ายค่าเช่าเท่าใด ทางผู้บริหารของ ปตท. กลับตอบว่า

ถ้ากระทรวงการคลังจะคิดค่าผ่านท่อแพงๆ สุดท้ายก็ตกที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ทำให้ค่าไฟแพงเปล่าๆ”


ผมคิดว่า นี่เป็นคำตอบที่ไม่ตรงประเด็น เพราะขณะที่ ปตท. คิดกำไรสุทธิหลังหักดอกเบี้ยเงินกู้แล้วที่อัตรา 12.7% (กำไรเบื้องต้นสูงถึง 18%) ถามว่าในประเทศไทยขณะนี้ มีธุรกิจใดบ้างที่มีกำไรสุทธิหลังหักค่าดอกเบี้ยแล้วสูงเท่ากับกับกิจการท่อส่งก๊าซซึ่งเป็นกิจการผูกขาดรายเดียวของประเทศไทย


เดิมทีเดียว รัฐบาลได้จัดตั้งการปิโตรเลียมขึ้นมาเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ และเพื่อคานอำนาจกับบริษัทของเอกชนรายอื่น แต่แล้วก็เปลี่ยนเจตนารมณ์มาเป็นการแสวงหากำไรแบบผูกขาดรายเดียว

ค่าไฟฟ้าที่แพงอยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนหนึ่งก็มาจากค่าผ่านท่อที่แพงเกินเหตุอันควร ประเด็นปัญหาอยู่ที่คุณคิดราคาเขาแพง แล้วคุณคิดจะจ่ายค่าเช่าถูกๆ ต่างหากละ


ในขณะที่นักลงทุนท่านหนึ่งกล่าวว่า “ในการแปรรูป ปตท.ได้มีการตีความกฎหมายหมดแล้ว แต่เมื่อมีการฟ้องร้อง เมื่อศาลตัดสินในกรณีท่อก๊าซก็ต้องเคารพ ในฐานะนักลงทุน ตอนซื้อหุ้นรู้อยู่แล้วว่ามีธุรกิจท่อก๊าซ จึงซื้อ แต่เมื่อศาลตัดสินให้โอนสิทธิกลับก็เคารพ แต่ทำไมต้องคิดค่าเช่าตั้ง 3,000 ล้าน นักลงทุนคิดว่าไม่ควรคิดค่าเช่าเลย”


ปัญหาเรื่องท่อก๊าซ ปตท. เป็นสิ่งที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่านักลงทุน นักการเมือง ข้าราชการและทาง ปตท. จะคิดอย่างไร ตราบใดที่ความเป็นธรรมยังไม่เกิดขึ้น คำถามและการเคลื่อนไหวจะต้องดำรงอยู่ตลอดไป

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เคยมีคนไปถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ว่า “ท่านคิดว่าสิ่งประดิษฐ์ใดของมนุษย์ที่มีอำนาจในการทำลายล้างมากที่สุด” ผู้ถามคงจะคาดหวังว่าไอน์สไตน์น่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์” เพราะเขามีส่วนเกี่ยวข้องในการประดิษฐ์คิดค้นอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย แต่ไอน์สไตน์กลับตอบว่า “สูตรดอกเบี้ยทบต้น”
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อกลางเดือนธันวาคม ปี 2552 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ในงานนี้ได้มีโอกาสฟังปาฐกถาจากประธานศูนย์ศึกษาประเทศภูฎาน คือท่าน Dasho Karma Ura
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ “รักเจ้าจึงปลูก” เป็นชื่อโครงการที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำลังครุ่นคิดเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ผมเองได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มา 2 ตอนแล้ว
ประสาท มีแต้ม
  1. คำนำ       ภาพที่เห็นคือบริเวณชายหาดชลาทัศน์ อ.เมือง จังหวัดสงขลา (ถ่ายเมื่อพฤศจิกายน 2552) หาดนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากของชาวเมืองสงขลา อยู่ทางตอนใต้ของหาดสมิหลาที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักดีประมาณหนึ่งกิโลเมตร สิ่งที่เห็นในภาพที่มีถุงทรายสีขาว ยางรถยนต์เก่ายึดด้วยไม้หลักปักทราย รวมทั้งรูปต้นสนล้ม คงสะท้อนทั้งความรุนแรงของปัญหาและความพยายามแก้ปัญหาของผู้ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม ในตอนที่ 1 ผมได้นำข้อมูลที่มาจากงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการที่พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นของประเทศไทย ทั้งระดับ ป.6 , ม.3 และมัธยมปลายมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งทุกวิชา โดยวิชาที่สอบได้คะแนนน้อยที่สุดคือวิชาคณิตศาสตร์ ได้เพียงร้อยละ 29.6 เท่านั้น ในตอนที่ 2 นี้ ผมจะกล่าวถึงปัญหาที่ได้ตั้งไว้ในชื่อบทความ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพการศึกษาเราตกต่ำ นอกจากนี้ ผมได้นำเสนอความคิดเห็นและความพยายามของผู้บริหารระดับสูงสุดของมหาวิทยาลัยด้วย
ประสาท มีแต้ม
๑. คำนำ ผมขอเรียนกับท่านผู้อ่าน “ประชาไท” ตามตรงว่า ผมใช้เวลานานมากในการคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี เขียนทิ้งเขียนขว้างไปหลายชิ้น ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเพราะว่าผมสับสนในตัวเอง ไม่ทราบว่าจะนำเสนออะไรดีให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง
ประสาท มีแต้ม
๑. ปัญหาในภาพเล็ก ที่ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่คือ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำลังคิดทำโครงการที่จะพัฒนานักศึกษานอกเหนือจากรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทำกันอยู่ตามปกติแล้ว โครงการยังไม่เป็นรูปเป็นร่างดีนัก แต่ชื่อโครงการก็ค่อนข้างจะเห็นตรงกันคือ “โครงการรักเจ้าจึงปลูก” ที่มาจากเนื้อเพลง “อิ่มอุ่น” ของ ศุ บุญเลี้ยง
ประสาท มีแต้ม
ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวิชาบังคับให้นักศึกษาต้องเรียนอยู่วิชาหนึ่งจำนวน 3 หน่วยกิต ชื่อว่า “วิชาวิทยาเขตสีเขียว (greening the campus)” วัตถุประสงค์หลักของวิชานี้ก็คือ ให้นักศึกษาลุกขึ้นมาศึกษาปัญหาส่วนรวมหรือปัญหาสาธารณะที่อยู่ในวิทยาเขตของตนเอง แต่โดยมากมักจะเน้นไปที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาขวดน้ำพลาสติกที่มีมากอย่างไม่น่าเชื่อ ปัญหาการประหยัดพลังงาน และกระดาษ เป็นต้น
ประสาท มีแต้ม
ทั้ง ๆ ที่ประเทศเรากำลังประสบกับวิกฤติหลายด้าน ทั้งความขัดแย้งทางการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นต้น แต่สื่อกระแสหลักก็ให้ความสำคัญกับข่าวความขัดแย้งในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมทั้งความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาลโดยไม่มีอะไรใหม่สร้างสรรค์ให้กับสังคม
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่กระแสสังคมส่งสัญญาณไม่พอใจกับราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ลดการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนของ ดีเซล ลิตรละ 2 บาท
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำขณะนี้หลายท่านคงจะรู้สึกกังวลร่วมกันว่า ราคาน้ำมันกำลังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจนอาจถึงหรือสูงกว่าเมื่อกลางปี 2551 (ดูกราฟประกอบ-ต่ำสุดเดือนธันวาคม 2551 ที่ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จนมาถึงเกือบ 80 ในเดือนสิงหาคมปีนี้)   ซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาสู่เรามากน้อยแค่ไหนก็คงพอจะนึกกันออก
ประสาท มีแต้ม
ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อ"ชี้แจงแสดงความคิดเห็น" เรื่อง ค่าการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อ 1 กรกฎาคม 52 คนนอกที่นอกจากผมแล้วก็มีอีก 6 -7 ท่าน ได้แก่ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนบริษัทบางจาก, บริษัท ปตท. นายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันแห่งประเทศไทย, คุณรสนา โตสิตระกูล และนักวิชาการปิโตรเลียม เป็นต้น