Skip to main content

1. คำนำ


เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว”


ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา


เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่

วันหนึ่งเมื่อเพื่อนบ้านมาขอคำปรึกษาว่า “จะทำอย่างไรดีกับบ้านของตนเองที่คับแคบและมีกลิ่นอับ”


นัสรูดินแนะนำว่า “ให้เอาแพะไปล่ามไว้ในบ้าน” เพื่อนบ้านก็ทำตาม แต่แล้ววันรุ่งขึ้นก็กลับมาร้องอีกว่า “ยังไม่ดีขึ้น” นัสรูดินก็แนะนำเพิ่มเติมว่า “ให้เอาลาเข้าไปเลี้ยงอีกตัว” วันถัดมาก็บอกว่า “ให้เพิ่มม้าเข้าไปอีกตัว”


เพื่อนบ้านผู้เชื่อฟังก็มาร้องขอคำปรึกษาอีกว่า “ไม่ดีขึ้นเลย กลับรุนแรงกว่าเดิม” นัสรูดินก็แนะว่า “งั้นให้เอาม้าออกไป” ความรู้สึกของเพื่อนบ้านก็ค่อย ๆ ดีขึ้น ๆ ทีละวัน ๆ จนวันสุดท้ายที่เอาแพะออกไป เพื่อนบ้านก็รู้สึกว่า “บ้านของตนเองกว้างขึ้น กลิ่นอับก็ลดลง” จึงรู้สึกสบายใจขึ้นมาก


ขณะนี้ ในกรณีราคาน้ำมัน คนไทยเราเป็นเหมือนเรื่องราวที่เล่ามานี้เปี๊ยบเลย


2. ถูกโกงอย่างไร?


ก่อนอื่น เรามาดูส่วนประกอบของราคาน้ำมันที่จำหน่ายตามสถานีบริการน้ำมัน เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เราจะสนใจเฉพาะราคาน้ำมันดีเซล H-DIESEL (0.035%S) ซึ่งเป็นน้ำมันที่มียอดจำหน่ายมากที่สุด (ประมาณ 42- 43 ล้านลิตรต่อวัน) โดยแบ่งราคาออกเป็น 3 ส่วน คือ

(1) ราคาต้นทุนน้ำมันดิบ ในที่นี้คิดจากราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น ลบด้วยค่าการกลั่นเฉลี่ย (Average Gross Refinery Margin)

(2) ค่าการตลาดของน้ำมันชนิดนี้รวมกับค่าการกลั่นเฉลี่ย เราจะกล่าวว่า ค่านี้คือรายได้ของบริษัทโรงกลั่นและบริษัทค้าน้ำมัน

(3) ค่าภาษีและค่ากองทุน ในที่นี้ได้รวมภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวม 6 รายการ สำหรับกองทุนได้แก่กองทุนน้ำมันและกองทุนอนุรักษ์พลังงาน


ผมสุ่มเอาข้อมูลในวันที่ 9 ตุลาคม 2551 พบว่าราคาน้ำมันชนิดนี้ที่ปั๊มน้ำมันในเขตกรุงเทพฯ เท่ากับ 28.14 บาท เมื่อแตกออกเป็น 3 รายการจะได้ ต้นทุนน้ำมันดิบ 18.07 บาท ค่ารายได้ของบริษัท 6.67 บาท ค่าภาษีและกองทุน 3.30 บาท


เมื่อนำมาคิดเป็นร้อยละจะได้ดังแสดงในธนบัตร ดังรูป คือ ต้นทุนน้ำมันดิบ 64% กำไร 24% และ ภาษีและกองทุน 12%



ปัญหาที่เราต้องตั้งคำถามต่อก็คือ สัดส่วนของค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นธรรมหรือไม่ ทั้งต่อผู้ประกอบการซึ่งหมายถึงบริษัทโรงกลั่นและบริษัทผู้ค้า และต่อผู้บริโภค และถ้าให้ดีกว่านี้ก็ต้องคำนึงถึงภาษีที่เป็นผลประโยชน์ต่อคนไทยทั้งประเทศด้วย


คำตอบคือเราไม่ทราบ เพราะเราไม่ได้อยู่วงการนี้ และไม่รู้ธรรมเนียมปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้จะหมดไปได้ระดับหนึ่ง เมื่อเรานำไปเทียบกับกิจการเดียวกันของประเทศอื่น ในที่นี้ผมขอเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีหน่วยงานที่ศึกษาเรื่องนี้คือ America’s Oil and Natural Gas Industry, The Truth About Oil and Gasoline: An API Primer ซึ่งเพิ่งออกมาเพื่อ 5 ธันวาคม 2551 นี้เอง ผมได้นำภาพมาลงในที่นี้ด้วย



เมื่อคิดราคาเป็นร้อยละ เราพบว่าค่าการตลาดและค่าการกลั่นของไทยสูงกว่าของสหรัฐอเมริกาถึงร้อยละ 7 ถ้าคิดเป็นตัวเงิน โดยใช้ราคาเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2551 เราพบว่า


ราคาน้ำมันดีเซลที่หน้าปั๊มของสหรัฐอเมริกา (หลังจากปรับอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว) อยู่ที่ลิตรละ 25.78 บาท โดยมีต้นทุนน้ำมันดิบอยู่ที่ร้อยละ 41 ของราคาหน้าปั๊ม ในขณะที่น้ำมันเบนซินลิตรละ 16.95 บาท (ต้นทุนน้ำมันดิบอยู่ที่ร้อยละ 62)


สำหรับราคาน้ำมันดีเซลในกรุงเทพฯ พบว่าราคาขายปลีกลิตรละ 21.04 บาท โดยมีค่าการตลาดและค่าการกลั่น(เฉลี่ย) ลิตร 5.52 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของราคาขายปลีก ในขณะที่น้ำมันเบนซิน 95 ราคาลิตรละ 27.19 บาท โดยมีค่าการตลาดและค่าการกลั่นเฉลี่ยรวมกันเท่ากับ 9.42 บาท หรือ 34.65% ของราคาขายปลีก


มันมากกว่าที่ผมสุ่มมาก่อนนี้เสียอีก


เราอาจจะสงสัยว่า ในทางสากลแล้ว ค่าการกลั่นน้ำมันควรจะเป็นเท่าใดจึงจะเหมาะสม ผมมีเอกสารของ UKPIA (United Kingdom Petroleum Industries Association (ฉบับ 2008) ผมขอคัดลอกมาให้ดูด้วยครับ



จากกราฟพบว่า ในช่วง พ.. 2543 ถึง 2550 ค่าการกลั่นเฉลี่ย ของกลุ่มประเทศยุโรปและประเทศสิงคโปร์ ราคาใกล้เคียงกันมาก คืออยู่ระหว่าง 2 ถึง 6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในขณะที่ในสหรัฐอเมริกามีราคาไล่เลี่ยกันมาตลอด แต่ได้กระโดดไปสูงมากไปถึง 13 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ด้วยเหตุผลของพายุเฮริเคนแคททรินา


อ้าว แล้วค่าการกลั่นในบ้านเราละ ผมเลือกสุ่มเอาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 พบว่า ค่าการกลั่นเฉลี่ยเท่ากับ U$10.98 ต่อบาร์เรล


หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ค่าการกลันเฉลี่ยคืออะไร ตอบสั้น ๆ ว่า คือ ราคาเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ทุกชนิดหน้าโรงกลั่นลบด้วยราคาน้ำมันดิบ


3. สรุป


ต้องขอเรียนย้ำอีกครั้งว่า ข้อมูลที่ผมหยิบขึ้นมานี้ บางส่วนเป็นข้อมูลสุ่ม บางส่วนเป็นข้อมูลที่มีการศึกษาอย่างละเอียดแล้ว ผมคิดว่า บทความนี้ได้ตอบโจทย์ที่ผมสงสัยแล้ว ถึงไม่ได้ใช้ข้อมูลทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็ได้ความจริงระดับหนึ่ง ว่าคนไทยเราถูกเอาเปรียบถูกค้ากำไรมากเกินไปแล้ว


ถ้าเราต้องการสังคมที่ดีกว่านี้ คุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้ ไม่มีอะไรดีไปกว่า การช่วยกันตรวจสอบตลอดเวลา สุดท้ายนึกประโยคเด็ดขึ้นมาได้ว่า “ตื่นเถิดชาวไทย อย่าหลับใหลลุ่มหลง” กับความรู้สึกว่าน้ำมันราคาถูกลงโดยไม่มีการวิเคราะห์ใด ๆ ครับ


บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เคยมีคนไปถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ว่า “ท่านคิดว่าสิ่งประดิษฐ์ใดของมนุษย์ที่มีอำนาจในการทำลายล้างมากที่สุด” ผู้ถามคงจะคาดหวังว่าไอน์สไตน์น่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์” เพราะเขามีส่วนเกี่ยวข้องในการประดิษฐ์คิดค้นอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย แต่ไอน์สไตน์กลับตอบว่า “สูตรดอกเบี้ยทบต้น”
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อกลางเดือนธันวาคม ปี 2552 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ในงานนี้ได้มีโอกาสฟังปาฐกถาจากประธานศูนย์ศึกษาประเทศภูฎาน คือท่าน Dasho Karma Ura
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ “รักเจ้าจึงปลูก” เป็นชื่อโครงการที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำลังครุ่นคิดเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ผมเองได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มา 2 ตอนแล้ว
ประสาท มีแต้ม
  1. คำนำ       ภาพที่เห็นคือบริเวณชายหาดชลาทัศน์ อ.เมือง จังหวัดสงขลา (ถ่ายเมื่อพฤศจิกายน 2552) หาดนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากของชาวเมืองสงขลา อยู่ทางตอนใต้ของหาดสมิหลาที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักดีประมาณหนึ่งกิโลเมตร สิ่งที่เห็นในภาพที่มีถุงทรายสีขาว ยางรถยนต์เก่ายึดด้วยไม้หลักปักทราย รวมทั้งรูปต้นสนล้ม คงสะท้อนทั้งความรุนแรงของปัญหาและความพยายามแก้ปัญหาของผู้ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม ในตอนที่ 1 ผมได้นำข้อมูลที่มาจากงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการที่พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นของประเทศไทย ทั้งระดับ ป.6 , ม.3 และมัธยมปลายมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งทุกวิชา โดยวิชาที่สอบได้คะแนนน้อยที่สุดคือวิชาคณิตศาสตร์ ได้เพียงร้อยละ 29.6 เท่านั้น ในตอนที่ 2 นี้ ผมจะกล่าวถึงปัญหาที่ได้ตั้งไว้ในชื่อบทความ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพการศึกษาเราตกต่ำ นอกจากนี้ ผมได้นำเสนอความคิดเห็นและความพยายามของผู้บริหารระดับสูงสุดของมหาวิทยาลัยด้วย
ประสาท มีแต้ม
๑. คำนำ ผมขอเรียนกับท่านผู้อ่าน “ประชาไท” ตามตรงว่า ผมใช้เวลานานมากในการคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี เขียนทิ้งเขียนขว้างไปหลายชิ้น ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเพราะว่าผมสับสนในตัวเอง ไม่ทราบว่าจะนำเสนออะไรดีให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง
ประสาท มีแต้ม
๑. ปัญหาในภาพเล็ก ที่ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่คือ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำลังคิดทำโครงการที่จะพัฒนานักศึกษานอกเหนือจากรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทำกันอยู่ตามปกติแล้ว โครงการยังไม่เป็นรูปเป็นร่างดีนัก แต่ชื่อโครงการก็ค่อนข้างจะเห็นตรงกันคือ “โครงการรักเจ้าจึงปลูก” ที่มาจากเนื้อเพลง “อิ่มอุ่น” ของ ศุ บุญเลี้ยง
ประสาท มีแต้ม
ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวิชาบังคับให้นักศึกษาต้องเรียนอยู่วิชาหนึ่งจำนวน 3 หน่วยกิต ชื่อว่า “วิชาวิทยาเขตสีเขียว (greening the campus)” วัตถุประสงค์หลักของวิชานี้ก็คือ ให้นักศึกษาลุกขึ้นมาศึกษาปัญหาส่วนรวมหรือปัญหาสาธารณะที่อยู่ในวิทยาเขตของตนเอง แต่โดยมากมักจะเน้นไปที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาขวดน้ำพลาสติกที่มีมากอย่างไม่น่าเชื่อ ปัญหาการประหยัดพลังงาน และกระดาษ เป็นต้น
ประสาท มีแต้ม
ทั้ง ๆ ที่ประเทศเรากำลังประสบกับวิกฤติหลายด้าน ทั้งความขัดแย้งทางการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นต้น แต่สื่อกระแสหลักก็ให้ความสำคัญกับข่าวความขัดแย้งในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมทั้งความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาลโดยไม่มีอะไรใหม่สร้างสรรค์ให้กับสังคม
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่กระแสสังคมส่งสัญญาณไม่พอใจกับราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ลดการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนของ ดีเซล ลิตรละ 2 บาท
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำขณะนี้หลายท่านคงจะรู้สึกกังวลร่วมกันว่า ราคาน้ำมันกำลังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจนอาจถึงหรือสูงกว่าเมื่อกลางปี 2551 (ดูกราฟประกอบ-ต่ำสุดเดือนธันวาคม 2551 ที่ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จนมาถึงเกือบ 80 ในเดือนสิงหาคมปีนี้)   ซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาสู่เรามากน้อยแค่ไหนก็คงพอจะนึกกันออก
ประสาท มีแต้ม
ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อ"ชี้แจงแสดงความคิดเห็น" เรื่อง ค่าการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อ 1 กรกฎาคม 52 คนนอกที่นอกจากผมแล้วก็มีอีก 6 -7 ท่าน ได้แก่ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนบริษัทบางจาก, บริษัท ปตท. นายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันแห่งประเทศไทย, คุณรสนา โตสิตระกูล และนักวิชาการปิโตรเลียม เป็นต้น