Skip to main content
 


 

“คดีโลกร้อน”
เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย 

ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี

ผมได้ยินเรื่องนี้มานานแล้ว แต่ไม่ได้ให้ความสนใจเพราะไม่ทราบรายละเอียดมากพอ  แต่หลังจากได้รับเชิญจากประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิชุมชน ทำให้ผมได้ทราบทั้งข้อมูล วิธีคิด รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการคิด  ผมจึงไม่ลังเลที่จะแสดงความเห็นในเรื่องนี้

ผมได้เปรียบเรื่องนี้กับภาพยนตร์ที่คนไทยคุ้นเคยคือ
“เทวดาท่าจะบ๊องส์” เพราะมันคล้ายคลึงกันมาก   โปรดติดตามครับ

มีคำถาม 2 ข้อที่จะต้องพิจารณา คือ (1) ค่าเสียหายดังกล่าวคืออะไรบ้าง และ (2) วิธีประเมินเป็นอย่างไร  คงไม่เหมือนการประเมินราคาที่ดินในเมืองที่ใช้ราคาตลาดเป็นเกณฑ์

ค่าเสียหายประกอบด้วย 5 รายการ รวมกันไร่ละ 150
,942.70   บาทต่อปี คือ (1) ค่าไม้และของป่า 40,825.10 บาท (2) ค่าดินสูญหาย 1,800.00 บาท (3) ค่าน้ำสูญหาย 58,800.00 บาท (4) ค่าปุ๋ยสูญหาย 4,064.15 บาท และ   (5)   ค่าทำให้อากาศร้อน 45,453.45 บาท

โปรดสังเกตว่า ตัวเลขค่าเสียหายออกมาละเอียดยิบจนถึงระดับสตางค์  ผมเคยสอนวิชา
“การวิเคราะห์เชิงตัวเลข” ถ้าเป็นเช่นนี้ผมจะถามว่า “คุณใช้เครื่องมือชนิดใด ถึงได้ละเอียดถึงเพียงนี้ ดัวยเครื่องมือที่ละเอียดเท่านั้น จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ละเอียด หรือเพราะว่าเครื่องคิดเลขให้มา”

อีกอย่างคือ ค่าเสียหายนี้เป็นค่าเสียหายต่อปี แต่เวลาศาลพิพากษาให้ชดใช้ทำไมคิดครั้งเดียวจบเลย ทำไมไม่คิดทุกปีจนกว่าสภาพป่าจะฟื้นกลับมาเหมือนเดิม

สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการคิดค่าเสียหาย กรมอุทยานฯ ซึ่งเป็นโจทก์ได้ใช้งานวิจัยของนักวิชาการในกรมเป็นเกณฑ์  โดยที่นักวิจัยได้ใช้สิ่งที่เรียกว่า
“แบบจำลองทางคณิตศาสตร์”    เป็นเครื่องมือ  

ผมได้เรียนต่อกรรมการสิทธิฯว่า การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อหาคำตอบที่เราอยากได้นั้น เราจำเป็นต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ของเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดีเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นกฎฟิสิกส์หรือชีววิทยา เช่น อะไรเป็นต้นเหตุ (อาจมีหลายเหตุ) แต่ละเหตุอาจมีปฏิสัมพันธ์กันเอง หรือมีปฏิสัมพันธ์กับผลลัพธ์ด้วย ถ้าเป็นอย่างนี้ก็เป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ ยากจริง ๆ  

ผมสอนวิชา
“การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์” มากว่าสิบปี ผมยังไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ของป่าไม้ ผมไม่สามารถวิจารณ์งานวิจัยนี้ได้มากนัก แต่โดยทั่วไปแล้วคนในวงการเขาพูดกันว่า “ถ้าใส่ขยะเข้าไปในโมเดล หรือโมเดลแบบขยะ ๆ  คำตอบที่โมเดลให้มาก็คือขยะ ไม่มีประโยชน์”

ดังนั้น การสร้างและการนำแบบจำลองไปใช้จึงต้องระมัดระวังมาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อศาลนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินคดี  ในที่นี้ผมขอวิจารณ์เฉพาะค่าทำให้อากาศร้อนเท่านั้น

วิธีคิดของนักวิชาการกลุ่มนี้ คือ วัดอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นที่ที่มีต้นไม้ปกคลุมที่ยังไม่ถูกบุกรุกแล้วเปรียบเทียบกับพื้นที่โล่งที่ถูกบุกรุกแล้ว ในช่วงเวลา 8.00 ถึง 18.00 น. จากนั้นก็คำนวณว่า ถ้าต้องการทำให้อุณหภูมิของพื้นที่โล่งกลับไปเท่าเดิมโดยใช้เครื่องปรับอากาศ (ที่เสียค่าไฟฟ้าหน่วยละ 2.10 บาท) นั้น ต้องเสียค่าไฟฟ้าเท่าใด ผลลัพธ์ที่ได้คือค่าเสียหายในประเด็นนี้

ผมไม่ได้เรียนถามนักวิจัยในที่ประชุม เพราะตามรายละเอียดไม่ทัน แต่หลังจากได้อ่านเอกสารนำเสนอแล้ว ผมมีคำถาม 3 ข้อครับ คือ

(1) ทำไมจึงเก็บข้อมูลเฉพาะในช่วง 8.00-18.00 น. เท่านั้น ทำไมไม่เก็บข้อมูลให้ตลอด 24 ชั่วโมง(และอาจต้องตลอดทุกฤดูกาลด้วย) เพราะในกลางคืนอุณหภูมิของอากาศในที่โล่งจะต่ำกว่าที่ที่มีไม้ปกคลุม ในช่วงกลางวันอาจเป็นจะจริงตามที่นักวิจัยว่า แต่ในช่วงกลางคืนกลับเป็นตรงกันข้าม
ดังนั้นเมื่อเฉลี่ยตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว อุณหภูมิของอากาศจะเท่าเดิมครับ ไม่ร้อนขึ้น

ถ้าท่านผู้อ่านคิดแย้งกับที่ผมกล่าวมา  ก็ลองออกไปนอนนอกบ้านตอนกลางคืนดูก็ได้จะรู้สึกว่าหนาวกว่าอยู่ในบ้าน  การปกคลุมของต้นไม้ก็คล้าย ๆ กับหลังคาบ้าน 

การขึ้นลงของอุณหภูมิอากาศมีหลายสาเหตุ เช่น กระแสลม เมฆ และความกดอากาศ เป็นต้น การคิดเฉพาะการมีหรือไม่มีต้นไม้  มันง่ายเกินไปครับ

(2) ถ้าอากาศร้อนขึ้นจริงแล้วมันเสียหายอย่างไร ผมไม่เข้าใจ โปรดอย่าสับสนระหว่าง
โลกร้อน (Global Warming)” กับ “พื้นที่ที่ร้อนขึ้น” 

โลกร้อนเป็นปัญหาระดับโลก (
Global) มีสาเหตุมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขึ้นไปทำหน้าที่เป็น “ผ้าห่มโลก” ไม่ให้ความร้อนที่มาจากดวงอาทิตย์หลุดออกไปจากชั้นบรรยากาศโลกได้

คนเราถ้าได้ห่มผ้าผืนเท่าฝ่ามือก็ไม่อาจทำให้อุ่นขึ้นมาได้  
“ผ้าห่มโลก” ที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์มาจากก๊าซ 3 ชนิด คือ (1) คาร์บอนไดออกไซด์ (จากเชื้อเพลิงฟอสซิล) 72%  (2) ก๊าซมีเทน (จากการเน่าเปื่อยของพืช) 18% และ (3) ไนตรัสออกไซด์ (จากปุ๋ยเคมี) 9 %

(3) นักวิจัยคิดค่าไฟฟ้าที่หน่วยละ 2.10 บาทนั้น ท่านได้ลืมบวกค่าเอฟทีอีก 80 กว่าสตางค์หรือไม่

ข้อคิดจากคดีนี้ คล้ายกับหนังที่ชาวพื้นเมือง (ชื่อนิเชา) เผ่าหนึ่งในแอฟริกาที่ไปพบขวดโค๊กที่คนมือบอนทิ้งลงมาจากเครื่องบินเล็ก ชาวพื้นเมืองคิดว่าเป็นสิ่งวิเศษที่พระเจ้าประทานมาให้ เอาไปใช้เพื่อบดแป้งก็ได้ผลดี ต่อมามีคนเอาไปใช้ตีหัวกัน จนนำไปสู่การทะเลาะวิวาทกลายเป็นสงคราม

แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ก็เช่นกัน ถ้าไม่รู้จักกฎของธรรมชาติ ไม่รู้จักสร้าง ไม่รู้จักใช้  ไม่รู้จักตั้งคำถาม ความเสียหายก็เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้

 

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์
ประสาท มีแต้ม
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด…
ประสาท มีแต้ม
  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วยนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาขายไม่ได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก นักการเมืองรวมทั้งว่าที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีค่าโอนบ้าน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ผมขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แต่ขอใช้หลักคิดเดียวกันนี้เพื่อตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการพืชน้ำมันซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ซึ่งโยงใยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่เจ้าของโรงงานจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมัน ( ปาล์มน้ำมัน อ้อย ฯลฯ ) เหล่านี้บ้างเล่า?
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว” ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ก่อนจะเริ่มต้นเนื้อหา เรามาดูรูปการ์ตูนสนุก ๆ แต่บาดใจและอาจจะบาดตากันก่อนครับ ความหมายในภาพนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากบอกว่านี่ไงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าโลกเราร้อนขึ้นจริง สำหรับภาพนี้บอกว่า ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นักวิชาการ (และนักการเมือง) กำลังระดมกันแก้ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ขอขอบคุณเจ้าของภาพทั้งสองด้วย คราวนี้มาเข้าเรื่องกันครับ ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ 4 ด้านพร้อม ๆ กัน คือ (1) วิกฤติภาวะโลกร้อน (2) วิกฤติพลังงานที่ทั้งขาดแคลน ราคาแพง ผูกขาดและก่อวิกฤติด้านอื่น ๆ (3) วิกฤติการเงินที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหยก ๆ…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ “...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551 ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพราง ๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมุติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริง ๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3…
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ขณะนี้มีผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึง "การเมืองใหม่" ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่ามันคืออะไรกันแน่ ทราบแต่ว่า "การเมืองเดิม" ซึ่งก็คือการเมืองแบบตัวแทน (representative democracy) กำลังมีปัญหาหลายอย่างและรุนแรงขึ้นทุกขณะบทความนี้จะนำเสนอความล้มเหลวของ "การเมืองแบบตัวแทน" อย่างสั้นๆ พร้อมกับนำเสนอ "การเมืองแบบไฮเพอร์ (hyperpolitics)" ให้พอเป็นประกายเบื้องต้น หากสังคมนี้สนใจก็มีช่องทางให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป2. สาเหตุความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทนเราท่องกันจนขึ้นใจมาตั้งแต่วัยเด็กแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการมี "การเมืองแบบตัวแทน" คือเป็นเพราะคนมันเยอะ…