Skip to main content

คลินิกกฎหมาย ฉบับสมบูรณ์ 41 ตอน พร้อมเชิงอรรถอ้างอิงข้อกฎหมายเป๊ะๆ วางแผงแล้ว
 

หนังสือ “คลินิกกฎหมาย” ที่เขียนขึ้นนี้ ออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนที่เคยเจอปัญหาทางกฎหมายแล้วแก้ไม่ได้ตอบไม่ถูก สามารถนำหลักการทางกฎหมายมาปรับใช้แก้ไขวิกฤตชีวิตทั้งหลายที่ท่านอาจพบได้ในชีวิตประจำวัน     

กรณีศึกษาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่บอกเล่าในเล่มได้รวบรวมขึ้นจากเรื่องราวในชีวิตจริงที่หลายคนประสบมากับตัวเอง   และผู้เขียนนำมาบอกเล่าโดยคงการเนื้อเรื่องหลักเอาไว้   และได้พยายามจับประเด็นปัญหาไว้เป็นข้อๆ ก่อนที่จะนำหลักกฎหมายมาตอบทุกข้อสงสัย ทั้งยังชี้ช่องทางในการเรียกร้องสิทธิ หรือแก้ปัญหาไว้ด้วย  

หนังสือจึงมิได้จำกัดวงอยู่แต่ในผู้อ่านนักกฎหมาย  !

แต่ด้วยความสมบูรณ์ของเชิงอรรถในหนังสือเล่มนี้ ทำให้มีลักษณะเป็น “คู่มือสำหรับนักกฎหมาย” ในการนำไปใช้งานที่ต้องรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนทั่วไป หรือรับปรึกษาคดีความทั้งหลาย  

เนื่องจากได้ทำการสรุปเรื่องให้เห็นประเด็นทางกฎหมายอย่างชัดเจนว่าข้อขัดแย้งอยู่ในขอบเขตของกฎหมายเรื่องใดบ้าง  เพราะในหลายครั้งนักกฎหมายอาจหลงลืมไปแล้วว่าปัญหามากมายอาจใช้หลักกฎหมายง่ายๆ เข้าไปแก้ไขได้ แต่เรานึกไม่ออกเหมือน “เส้นผมบังภูเขา”   หลักกฎหมายที่นำมาใช้จะมีการอ้างอิงมาตรา บทบัญญัติกฎหมาย ไว้ในเชิงอรรถด้านล่างเพื่อประโยชน์ในการสืบค้นต่อ

แต่ไม่ทำให้คนทั่วไปเกิดความเหนื่อยล้าจากการอ่าน!

กรณีศึกษาที่เลือกมานั้นจะเป็นตัวแทนประเด็นกฎหมายต่างๆให้มีความหลากหลายครอบคลุมปัญหาทางกฎหมายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้จริง   เพื่อประโยชน์แก่ผู้อ่านซึ่งกำลังแสวงหาทางออกให้กับปัญหาของตน ก็จะพบเรื่องราวที่คล้ายคลึงกับตนหรือมีปัญหาข้อกฎหมายเช่นเดียวกับตน และสามารถเรียนรู้ได้จากกรณีศึกษานั้นๆเป็นบทเรียน โดยอาจใช้ข้อเสนอแนะทางกฎหมายไปปรับใช้แก้ปัญหาจริงของตนได้ทันที

ยิ่งไปกว่านั้นมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาจำนวนมากได้เปิดสอนวิชากฎหมายในชีวิตประจำวันเพื่อใช้สอนนักศึกษาจำนวนมาก   ดังนั้นหนังสือฉบับนี้จึงอาจตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้

เช่นเดียวกับการเป็นคู่มือให้กับศูนย์ให้คำปรึกษาทางกฎหมายในหน่วยงานต่างๆ และประกอบการเรียนการสอนวิชาคลินิกกฎหมายในหลายๆ มหาวิทยาลัย

ถามหา "คลินิกกฎหมาย" จากสำนักพิมพ์นิติธรรม ที่แผงหนังสือ หรือติดต่อสั่งสำนักพิมพ์ได้แล้วครับ

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี