Skip to main content

คลินิกกฎหมาย ฉบับสมบูรณ์ 41 ตอน พร้อมเชิงอรรถอ้างอิงข้อกฎหมายเป๊ะๆ วางแผงแล้ว
 

หนังสือ “คลินิกกฎหมาย” ที่เขียนขึ้นนี้ ออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนที่เคยเจอปัญหาทางกฎหมายแล้วแก้ไม่ได้ตอบไม่ถูก สามารถนำหลักการทางกฎหมายมาปรับใช้แก้ไขวิกฤตชีวิตทั้งหลายที่ท่านอาจพบได้ในชีวิตประจำวัน     

กรณีศึกษาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่บอกเล่าในเล่มได้รวบรวมขึ้นจากเรื่องราวในชีวิตจริงที่หลายคนประสบมากับตัวเอง   และผู้เขียนนำมาบอกเล่าโดยคงการเนื้อเรื่องหลักเอาไว้   และได้พยายามจับประเด็นปัญหาไว้เป็นข้อๆ ก่อนที่จะนำหลักกฎหมายมาตอบทุกข้อสงสัย ทั้งยังชี้ช่องทางในการเรียกร้องสิทธิ หรือแก้ปัญหาไว้ด้วย  

หนังสือจึงมิได้จำกัดวงอยู่แต่ในผู้อ่านนักกฎหมาย  !

แต่ด้วยความสมบูรณ์ของเชิงอรรถในหนังสือเล่มนี้ ทำให้มีลักษณะเป็น “คู่มือสำหรับนักกฎหมาย” ในการนำไปใช้งานที่ต้องรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนทั่วไป หรือรับปรึกษาคดีความทั้งหลาย  

เนื่องจากได้ทำการสรุปเรื่องให้เห็นประเด็นทางกฎหมายอย่างชัดเจนว่าข้อขัดแย้งอยู่ในขอบเขตของกฎหมายเรื่องใดบ้าง  เพราะในหลายครั้งนักกฎหมายอาจหลงลืมไปแล้วว่าปัญหามากมายอาจใช้หลักกฎหมายง่ายๆ เข้าไปแก้ไขได้ แต่เรานึกไม่ออกเหมือน “เส้นผมบังภูเขา”   หลักกฎหมายที่นำมาใช้จะมีการอ้างอิงมาตรา บทบัญญัติกฎหมาย ไว้ในเชิงอรรถด้านล่างเพื่อประโยชน์ในการสืบค้นต่อ

แต่ไม่ทำให้คนทั่วไปเกิดความเหนื่อยล้าจากการอ่าน!

กรณีศึกษาที่เลือกมานั้นจะเป็นตัวแทนประเด็นกฎหมายต่างๆให้มีความหลากหลายครอบคลุมปัญหาทางกฎหมายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้จริง   เพื่อประโยชน์แก่ผู้อ่านซึ่งกำลังแสวงหาทางออกให้กับปัญหาของตน ก็จะพบเรื่องราวที่คล้ายคลึงกับตนหรือมีปัญหาข้อกฎหมายเช่นเดียวกับตน และสามารถเรียนรู้ได้จากกรณีศึกษานั้นๆเป็นบทเรียน โดยอาจใช้ข้อเสนอแนะทางกฎหมายไปปรับใช้แก้ปัญหาจริงของตนได้ทันที

ยิ่งไปกว่านั้นมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาจำนวนมากได้เปิดสอนวิชากฎหมายในชีวิตประจำวันเพื่อใช้สอนนักศึกษาจำนวนมาก   ดังนั้นหนังสือฉบับนี้จึงอาจตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้

เช่นเดียวกับการเป็นคู่มือให้กับศูนย์ให้คำปรึกษาทางกฎหมายในหน่วยงานต่างๆ และประกอบการเรียนการสอนวิชาคลินิกกฎหมายในหลายๆ มหาวิทยาลัย

ถามหา "คลินิกกฎหมาย" จากสำนักพิมพ์นิติธรรม ที่แผงหนังสือ หรือติดต่อสั่งสำนักพิมพ์ได้แล้วครับ

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,