Skip to main content

บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว่างบุคคลทั้งหลายให้เกิดความเป็นธรรมหรือไม่

จากคำถามวิจัยว่า
1) ข้อมูลเป็นทรัพย์สินหรือไม่
2) ใครเป็นเจ้าของข้อมูล และ
3) ใครมีสิทธินำข้อมูลไปแสวงหาผลกำไร

เมื่อสำรวจกฎหมาย เอกสารคำแนะนำ และแนวนโยบายทั้งในระดับระหว่างประเทศและในระดับประเทศของประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว พบว่าอาจนำมาแยกแยะออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
1) กฎหมายเดิมที่มีอยู่แล้ว (เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา) ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่านำมาปรับใช้กับข้อมูลได้หรือไม่ อย่างไรบ้าง และยังรวมถึงกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับหลักที่เกี่ยวกับสิทธิในข้อมูล
2) การริเริ่มเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ ธรรมาภิบาลข้อมูล และรวมถึงกฎหมายและแนวนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมการเข้าถึงและแบ่งปันข้อมูล ในขณะที่ก็ยังคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและสิทธิในความเป็นส่วนตัวในเวลาเดียวกัน

กฎหมายระดับระหว่างประเทศ

1) United Nations Commission on International Trade Law (UNCITRAL)
The United Nations Commission on International Trade Law (UNCITRAL) หรือคณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ เป็นองค์กรของสหประชาชาติที่แต่งตั้งขึ้นโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1966 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเอกภาพให้แก่กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ เพื่อลดอุปสรรคในการค้าระหว่างประเทศที่เกิดจากกฎหมายการค้าของแต่ละประเทศ
ผลงานที่สำคัญของ UNCITRAL ได้แก่การตราอนุสัญญาและกฎหมายแม่แบบ (model laws) ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ โดยที่ควรนำมาใช้พิจารณาเนื่องจากอาจเกี่ยวข้องกับ “ข้อมูล” ได้แก่ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (The United Nations Convention on Contracts for the International Sale of Goods) (CISG)
และนอกจากนี้ UNCITRAL ยังจัด Commission Sessions ขึ้นในทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่นเพื่อสรุปและประกาศใช้เอกสารต่าง ๆ ที่ถูกร่างขึ้นโดยคณะทำงานย่อย (working groups) พิจารณาความก้าวหน้าของงานที่คณะทำงานย่อยกำลังเตรียมขึ้น รวมถึงการเลือกหัวข้อสำหรับการค้นคว้าและวิจัยในอนาคตต่อไป ซึ่งปรากฏว่าที่ผ่านมา คณะทำงานได้ร่างเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลอยู่หลายฉบับ เช่น ในปี 2022 มีการประกาศเอกสารเรื่อง Legal issues related to digital economy – proposal for future work on data transactions หรือในปี 2021 มีการประกาศเอกสาร Revised draft legal taxonomy – revised section on data transactions และ Revised draft legal taxonomy – revised section on online platforms ส่วนในปี 2020 เรื่อง Legal issues related to the digital economy - data transactions เป็นต้น โดยเอกสารเหล่านี้มีการวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจและการค้าในปัจจุบันในการที่จะนำมาปรับใช้กับข้อมูลและเศรษฐกิจดิจิทัล และรวมถึงเสนอการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ดังกล่าว และการเสนอประเด็นที่จะต้องทำการศึกษาค้นคว้าต่อไปด้วย

2) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (CISG)
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ หรือ CISG เป็นอนุสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบกฎหมายสำหรับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศที่เป็นเอกภาพ ทันสมัย และเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม CISG นั้นปรับใช้ได้กับเฉพาะกับกรณีที่เป็นการซื้อขายที่สถานประกอบธุรกิจของคู่สัญญาอยู่ต่างรัฐกัน และต้องเป็นสัญญาซื้อขายสินค้าเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจเท่านั้น ไม่สามารถปรับใช้ได้กับกรณีที่เป็นการซื้อขายสินค้าสำหรับการใช้งานส่วนตัวหรือภายในครอบครัว  ดังนั้นหากต้องการจะนำ CISG มาปรับใช้ ก็จะปรับใช้ได้เฉพาะกับสัญญาระหว่างแพลตฟอร์มกับผู้ใช้งานที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ ไม่สามารถนำมาปรับใช้กับสัญญาระหว่างแพลตฟอร์มกับผู้ใช้งานซึ่งเป็น end users ได้ ส่วนจะนำมาปรับใช้กับสัญญาหรือธุรกรรมเกี่ยวกับข้อมูลได้หรือไม่ จะอธิบายในลำดับต่อไป

CISG สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกรรมเกี่ยวกับข้อมูล (data transactions) ได้หรือไม่
โดยปกติแล้ว CISG ปรับใช้ได้กับสัญญาซื้อขายสินค้า (contract of “sale” of “goods”) เท่านั้น จึงมีประเด็นปัญหาว่า CISG สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกรรมเกี่ยวกับข้อมูล (data transactions) ได้หรือไม่ ในประเด็นนี้ UNCITRAL ไม่ได้ตอบไว้โดยชัดเจน แต่ได้ยกข้อถกเถียงเกี่ยวกับซอฟต์แวร์มาเทียบเคียง โดยอธิบายว่า UNCITRAL Secretariat เคยระบุว่า CISG นั้นน่าจะใช้ได้เฉพาะกับ “สินค้า” ซึ่งเป็นวัตถุจับต้องได้เท่านั้น กล่าวคือในสัญญาซื้อขายซอฟต์แวร์ CISG จะปรับใช้ได้กับตัวดิสก์หรือวัตถุที่เป็นสื่อกลางซึ่งบรรจุข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ไม่สามารถปรับใช้ได้กับโค้ดคอมพิวเตอร์ กล่าวคือ secretariat อาจกำลังสื่อว่า CISG นั้นไม่สามารถปรับใช้กับข้อมูลที่ไม่ใช่วัตถุจับต้องได้
อีกประเด็นหนึ่งคือ สัญญาซื้อขายซอฟต์แวร์ ถือเป็นสัญญา “ซื้อขาย” (contract of sale) หรือไม่ the Secretariat เคยอธิบายไว้ว่า การซื้อขายตาม CISG จะต้องมีองค์ประกอบของการส่งมอบสินค้า (transfer of property) อย่างไรก็ตามการซื้อขายหรือส่งมอบซอฟต์แวร์ไม่ได้มีองค์ประกอบของการ “ส่งมอบ” (transfer) ข้อมูล เพียงแต่เป็นการทำซ้ำ (copy) ข้อมูล จึงเข้าข่ายเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้ (licence) และไม่ใช่การซื้อขาย (อย่างไรก็ตาม ศาลในประเทศเนเธอร์แลนด์เคยตัดสินไว้ในคดี Corporate Web Solutions v. Dutch company and Vendorlink B.V. ในปี 2015 ว่าสัญญาอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายตาม CISG เนื่องจากในสัญญาไม่ได้ระบุระยะเวลาในการใช้ที่จำกัด และการโอนหรือส่งมอบก็เป็นผลมาจากการจ่ายเงินครั้งเดียว ไม่ได้จ่ายเป็นรายเดือน
นอกจากนี้ UNCITRAL ยังอธิบายต่อว่า ถึงแม้ว่าจะปรับใช้ CISG กับข้อมูลได้ แต่ก็จะมีความไม่เหมาะสมหลายประการ เช่น CISG ข้อ 38 และ 39 เกี่ยวกับระยะเวลาในการตรวจสอบสินค้า ซึ่งหากนำมาปรับใช้กับธุรกรรมเกี่ยวกับข้อมูลก็จะไม่สมเหตุสมผล หรือข้อ 85 และ 86 เกี่ยวกับการเก็บรักษาสินค้า ซึ่งมุ่งหมายให้ใช้กับสินค้าที่เป็นวัตถุจับต้องได้มากกว่าและไม่น่าจะปรับใช้ได้กับข้อมูล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม UNCITRAL ก็เห็นว่า CISG อาจนำมาใช้เป็นตัวแบบในการพัฒนาระบบกฎหมายในเรื่องนี้ได้
กล่าวโดยสรุป secretariat ไม่ได้ตอบชัดเจนว่า CISG สามารถปรับใช้กับข้อมูลได้หรือไม่ แต่ยกแนวคิดว่า CISG ปรับใช้กับสัญญาซื้อขายซอฟต์แวร์ไม่ได้มาเทียบเคียงแทน ซึ่งอาจเป็นการพยายามอธิบายว่า CISG อาจนำมาปรับใช้กับการซื้อขายข้อมูลไม่ได้ และอธิบายอีกว่าสัญญาซื้อขายซอฟต์แวร์ แท้จริงแล้วมีองค์ประกอบของสัญญาอนุญาตให้ใช้หรือ licensing agreement มากกว่า อีกทั้งหากจะปรับใช้ CISG กับธุรกรรมเกี่ยวกับข้อมูลแล้วก็จะก่อให้เกิดความไม่เหมาะสมหลายประการ จึงจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาระบบกฎหมายสำหรับธุรกรรมเกี่ยวกับข้อมูลต่อไป
แผนการศึกษาเกี่ยวกับสิทธิในข้อมูลในอนาคต
UNCITRAL มีแผนที่จะพัฒนาองค์ความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับข้อมูล เช่น อาจมีการสั่งให้ secretariat ทำการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิในข้อมูล (data rights) โดยมุ่งศึกษาการริเริ่มเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับผู้เล่นฝ่ายต่าง ๆ ที่มีสิทธิในข้อมูล (classes of rightholders) และเนื้อหาของสิทธิในข้อมูลที่กฎหมายรับรอง และนอกจากนี้ก็ยังเริ่มที่จะศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับ co-generated data หรือข้อมูลที่ร่วมกันสร้างขึ้นด้วย ซึ่งการค้นคว้าเหล่านี้จะนำไปสู่การพัฒนากฎหมายแม่แบบเกี่ยวกับสิทธิในข้อมูลต่อไป


ดังนั้น สำหรับคำถามว่า 1) ข้อมูลเป็นทรัพย์สินหรือไม่ secretariat ไม่ได้ตอบไว้ชัดเจนว่าข้อมูลเป็นทรัพย์สินที่จะนำ CISG มาปรับใช้ได้หรือไม่ แต่ระบุไว้อย่างระมัดระวังว่าไม่น่าจะปรับใช้ได้ ส่วน 2) ใครเป็นเจ้าของข้อมูล และ 3) ใครมีสิทธินำข้อมูลไปแสวงหาผลกำไร UNCITRAL ยังไม่ได้ตอบไว้ แต่ระบุว่าจะศึกษาเรื่องสิทธิในข้อมูล (data rights) ในอนาคต ซึ่งเมื่อมีการศึกษาเรื่อง data rights แล้วอาจตอบคำถามเหล่านี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น


2. องค์การการค้าโลก
องค์การการค้าโลกหรือ World Trade Organization (WTO) ได้ตราขึ้นซึ่งสนธิสัญญาหลายฉบับ หนึ่งในนั้นได้แก่ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services: GATS) ซึ่งกำกับเกี่ยวกับบริการที่ทำขึ้นระหว่างรัฐภาคี โดย Part II ซึ่งเป็นเรื่องหน้าที่ต่าง ๆ ของรัฐภาคี ข้อที่สำคัญ เช่น เรื่องการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-favored nation treatment – MFN) หรือเรื่องการบัญญัติกฎระเบียบภายในประเทศที่ต้องไม่ขัดแย้งกับเสรีทางการค้าบริการ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ข้อ 14 ของ Part II เรื่องหน้าที่ต่าง ๆ ของรัฐภาคีนี้ กำหนดเกี่ยวข้อยกเว้นให้รัฐภาคีไม่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ต่าง ๆ ได้ หากเป็นไปเพื่อเหตุผลประการต่าง ๆ ตามที่ข้อ 14 กำหนดไว้ ซึ่งรวมถึง ความจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย (ซึ่งต้องไม่ขัดแย้งกับบทบัญญัติต่าง ๆ ของ GATS) เพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลและการส่งต่อหรือเผยแพร่ข้อมูล และการคุ้มครองความลับของข้อมูลส่วนบุคคล
กล่าวโดยสรุป GATS มีการระบุเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่ไม่ได้ระบุว่าข้อมูลเป็นทรัพย์สินหรือไม่ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล และใครมีสิทธิในการนำข้อมูลไปแสวงหาผลประโยชน์


อ้างอิง
United Nations, Convention on Contracts for the International Sale of Goods, (1988).
United Nations, General Assembly (United Nations Commission on International Trade Law Fifty-third session).
Legal issues related to the digital economy – data transactions, A/CN.9/1012/Add.2 (Accessed 12 May 2022).

*ปรับปรุงจากบทวิเคราะห์ทางกฎหมาย โดย วัชรพล ศิริ ใน วิจัย โครงการสังเคราะห์องค์ความรู้ทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนการแบ่งปันผลประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัลอย่างเป็นธรรม, 2565. โดย สถาบันพระปกเกล้า.

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว