Skip to main content

สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้


1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ

1) การเมือง, ระบอบการปกครอง
ในประเทศที่การเมืองขาดเสถียรภาพ เช่น ปัญหาเรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศ ความขัดแย้งในประเทศ ปัญหาอาชญากรรมรุนแรง ในประเทศที่การเมืองขาดเสถียรภาพเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะจัดการปัญหาความไม่สงบในประเทศ โดยใช้วิธีการปราบปรามที่ละเมิดต่อหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงประเทศที่ปกครองในระบอบสังคมนิยม เช่น ประเทศเวียดนามและประเทศจีน ที่ถูกหล่อหลอมจากแนวคิดสังคมนิยมที่ไม่ศรัทธาสิทธิปัจเจก เช่น ระบบกรรมสิทธิ์ สิทธิพลเมือง (ยังมีประเทศที่ไม่ได้กล่าวถึงในกรณีศึกษาที่ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมและมีปัญหาเรื่องการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน เช่น คิวบา เกาหลีเหนือ ลาว)
ขณะที่ประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยและมีดัชนีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์โดยวัดจากตัวชี้วัดได้แก่ ความเป็นประชาธิปไตยในการกระบวนการเลือกตั้งและพหุนิยม การทำงานของรัฐบาล การมีส่วนร่วมทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมืองและเสรีภาพของพลเมือง  สัมพันธ์กับสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ต่ำ ได้แก่ประเทศนอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ สวีเดน นิวซีแลนก์ เดนมาร์ก แคนาดา เป็นต้น

2) การคอร์รัปชั่น, ผลประโยชน์
การคอร์รัปชั่นของรัฐรวมถึงผลประโยชน์ทับซ้อน ที่ขาดการตรวจสอบในเรื่องความโปร่งใส เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิและคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเปิดโปงการกระทำความผิดของรัฐหรือรณรงค์การออกมาเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาล เช่น ในประเทศฟิลิปปินส์ เม็กซิโก และ เปรู และสถานการณ์เลวร้ายลงเมื่อต้องเผชิญกับผู้นำที่ถืออำนาจเบ็ดเสร็จด้วย เช่น ประเทศซิมบับเว

3) สถาบันพระมหากษัตริย์
ยังคงมีประเทศที่มิให้มีการวิพากษ์วิจารณ์สถาบัน เช่น โมรอคโค ที่ถือว่าเป็นการกระทำความผิด สถานการณ์การละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิในกรณีนี้ ส่วนมากเป็นการละเมิดสิทธิของนักปกป้องสิทธิที่ออกมาเคลื่อนไหวในเรื่อง เสรีภาพการแสดงออก เสรีภาพในการพูด และเสรีภาพของสื่อที่ได้นำเสนอ หรือ วิพากษ์ วิจารณ์เกี่ยวกับสถาบัน โดยการวิพากษ์วิจารณ์ต่อสถาบันกษัตริย์ถือเป็นการท้าทายอำนาจของกษัตริย์ที่มาจากแนวคิดความเป็นสมมุติเทพ และ สิทธิมนุษยชนเองโดยสภาพที่เชื่อในเรื่องความเท่าเทียมกันของมนุษย์ขัดต่อการได้มาซึ่งอำนาจของกษัตริย์ที่อาศัยบุญญาบารมี หรือได้จากบรรพบุรุษอันเป็นการได้มาซึ่งอำนาจโดยสิทธิพิเศษหรือระบอบอุปถัมภ์

4) เศรษฐกิจ
ในประเด็นเรื่องการคุกคามนักปกป้องสิทธิที่สัมพันธ์กับเศรษฐกิจ
ประเด็นที่ 1 การไม่ต้องพึ่งพาระบบเศรษฐกิจภายนอก เช่น ประเทศจีน การพึ่งพาเศรษฐกิจภายนอกจำเป็นต้องรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีภาพลักษณ์ที่ดีเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าโดยเฉพาะหากเป็นคู่ค้าที่มาจากประเทศในสหภาพยุโรป ที่ต้องมีสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่ดีด้วย ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจลงทุน ดังนั้นประเทศที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาระบบเศรษฐกิจดังกล่าว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นที่ตั้งมากกว่าความมั่นคงในประเทศในปกครองในระบอบสังคมนิยม
ประเด็นที่ 2 ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงส่วนใหญ่แปรผันไปตามสถานการณ์ความเลวร้ายด้านสิทธิมนุษยชน เช่น ประเทศไทย, รัสเซีย,ตุรกี,อินเดีย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำต่ำอย่างเช่น สหภาพยุโรป เป็นต้น 
ประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงที่มีความสัมพันธ์กับการละเมิดสิทธิมนุษยชน กล่าวคือ ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำคือระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่ล้มเหลวต่อการสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในรัฐและนำมาซึ่งการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น รัฐที่เอื้อผลประโยชน์ให้แก่นายทุนและเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ย่อมเป็นที่มาของการเรียกร้องและเคลื่อนไหว เมื่อบวกกับรัฐนั้นที่มิได้ยึดหลักการนิติรัฐ ย่อมหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ได้เลย เมื่อรัฐต้องมีการปราบปรามต่อผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวนั้น

5)  ระบอบเผด็จการ
การคงอำนาจเบ็ดเสร็จของผู้นำเผด็จการ ทำให้โดยธรรมชาติแล้วเกลียดชังการวิพากษ์วิจารณ์ที่ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาต่อตนเอง จึงมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงต่อผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหว วิพากษ์วิจารณ์ตน โดยใช้อำนาจเบ็ดเสร็จของตนปราบปรามผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหว เช่น ประเทศจีน, ตุรกี เป็นต้น

6) ความรับรู้ในเรื่องสิทธิมนุษยชนของพลเมืองในประเทศ
โดยปกติ เรามักจะเห็นการเคลื่อนไหวในเรื่องสิทธิมนุษยชนเฉพาะคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่กระนั้นความสำเร็จของการเคลื่อนไหวประการหนึ่งคือ การรวมกลุ่มและเครือข่ายที่ทำให้มีแรงกระเพื่อมและมีอำนาจในการต่อรอง การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องต่อเรื่องใด ๆ หากเกิดขึ้นกับคนเพียงกลุ่มเดียวอาจไม่ได้ส่งผลกระทบที่สามารถกดดันให้รัฐพึงกระทำตามข้อเรียกร้องนั้นได้ แต่เมื่อการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นในลักษณะที่ฉันทามติ ย่อมทำให้เป็นที่จับตามองในระดับนานาอารยะประเทศ และทำให้รัฐไม่สามารถปฏิเสธต่อข้อเรียกร้องได้ทางหนึ่ง

 

2. สถานการณ์เรื่องสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาค
จากกรณีศึกษา ภูมิภาคในแถบแอฟริกาจะมีความตระหนักของเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองน้อยเมื่อเทียบกับสิทธิส่วนรวม เช่น ประเทศคองโก ซิมบับเว โมรอคโค ที่โดยพื้นฐานส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ยากจนและมีดัชนีของความเป็นประชาธิปไตยที่อยู่ในระดับต่ำ โดยในภูมิภาคแอฟริกาได้มีการรวมกลุ่มประเทศกันคือ สหภาพแอฟริกา (African Union) ซึ่งได้มีการใช้หลักการสิทธิมนุษยชนตามกฎบัตรแอฟริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมือง   ที่แม้ได้มีการกำหนดหลักการการปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่รัฐในสหภาพแอฟริกาได้ให้การรับรองไว้ แต่สถานการณ์สิทธิมนุษยชนก็ยังคงย่ำแย่

 

3. สถานการณ์เรื่องสิทธิมนุษยชนในระดับกลุ่มศาสนา
หลักการตามปฏิญญาสากลคือหลักการที่วางหลักไว้ว่า เพื่อเป็นหลักปฏิบัติพื้นฐานอย่างน้อยที่สุดที่รัฐควรปฏิบัติตาม แต่ทั้งนี้มีข้อจำกัดทางบริบทศาสนาที่ไม่อาจปฏิบัติตามหลักการตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ทุกข้อ เนื่องจากขัดต่อความเชื่อทางศาสนาที่ต้องเชื่อฟังและเคารพต่ออัลลอฮ์ในการเป็นมุสลิมที่ดี เช่น การใช้กฎหมายอิสลาม ความเท่าเทียมทางเพศ การมีสิทธิในการตัดสินในด้วยตนเอง ดังนั้นจึงได้มีหลักการสิทธิมนุษยชนเพื่อใช้ในประเทศมุสลิมที่ปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับความเชื่อและบริบททางศาสนา คือ  Cairo Declaration on Human Rights in Islam ที่มีการประกาศใช้เมื่อปี 1990

 


4. ประเภทของการคุกคามสิทธิของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

1) การคุกคามนักปกป้องสิทธิในระดับการรวมกลุ่ม/องค์กร
การเคลื่อนไหวในระดับกลุ่มหรือองค์กรเป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะการเรียกร้องต่อเหตุการณ์ที่กระทบต่อจิตใจของคนจำนวนมากเช่น โศกนาฏกรรมเรือเซวอล การปราบปรามเทียนอันเหมิน และการเรียกร้องที่เกี่ยวกับการกระทำของรัฐที่ละเมิดต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเช่น ในประเทศซิมบับเว และประเทศคองโก
การคุกคามสิทธิของนักเคลื่อนไหวแบบกลุ่มที่สนใจในประเด็นเดียวกัน ในกรณีนี้จะทำให้เป็นที่จับตามองจากประชาคมโลกและจากคนในประเทศด้วย ในแง่หนึ่งการปราบปรามของรัฐกับคนกลุ่มใหญ่หรือองค์กร เป็นการทำให้เอิกเกริก ซึ่งรัฐจะต้องพิจารณาถึงผลเสียหายที่ตามมาหากรัฐยังคงต้องพึ่งพาระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และความเชื่อมั่นในประชาคมโลก หรือ อาจเกิดการสูญเสียความชอบธรรมทางการเมือง

2) การคุกคามนักปกป้องสิทธิในระดับปัจเจก
การเคลื่อนไหวในระดับปัจเจกที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกคุกคามเนื่องจากรัฐมองว่าเป็นภัยคุกคาม โดยเฉพาะรัฐที่สถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในรัฐล้มเหลว การคุกคามนักปกป้องสิทธิฯในระดับปัจเจก หากมิได้เป็นคนมีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จัก อาจไม่ได้ส่งผลในแง่ของการรณรงค์มากนัก เช่น การถูกอุ้มหายหรือความตายของคนหนึ่งคนอาจไม่ได้ส่งผลอย่างไรเลย เนื่องจากไม่ได้เป็นที่รู้จัก อีกทั้งหากเป็นการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิโดยรัฐที่อาจมีการปกปิดการกระทำความผิดได้ โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นในประเทศที่ไม่ได้มีการตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นที่ตั้ง

*จากกรณีศึกษาผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนในต่างประเทศ ทบทวนโดย บงกช ดารารัตน์ ในวิจัย การลดความเหลื่อมล้ำด้านความยุติธรรมต่อกลุ่มเสี่ยงโดยศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย, 2565. สนับสนุนทุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว