Skip to main content

สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้


1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ

1) การเมือง, ระบอบการปกครอง
ในประเทศที่การเมืองขาดเสถียรภาพ เช่น ปัญหาเรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศ ความขัดแย้งในประเทศ ปัญหาอาชญากรรมรุนแรง ในประเทศที่การเมืองขาดเสถียรภาพเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะจัดการปัญหาความไม่สงบในประเทศ โดยใช้วิธีการปราบปรามที่ละเมิดต่อหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงประเทศที่ปกครองในระบอบสังคมนิยม เช่น ประเทศเวียดนามและประเทศจีน ที่ถูกหล่อหลอมจากแนวคิดสังคมนิยมที่ไม่ศรัทธาสิทธิปัจเจก เช่น ระบบกรรมสิทธิ์ สิทธิพลเมือง (ยังมีประเทศที่ไม่ได้กล่าวถึงในกรณีศึกษาที่ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมและมีปัญหาเรื่องการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน เช่น คิวบา เกาหลีเหนือ ลาว)
ขณะที่ประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยและมีดัชนีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์โดยวัดจากตัวชี้วัดได้แก่ ความเป็นประชาธิปไตยในการกระบวนการเลือกตั้งและพหุนิยม การทำงานของรัฐบาล การมีส่วนร่วมทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมืองและเสรีภาพของพลเมือง  สัมพันธ์กับสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ต่ำ ได้แก่ประเทศนอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ สวีเดน นิวซีแลนก์ เดนมาร์ก แคนาดา เป็นต้น

2) การคอร์รัปชั่น, ผลประโยชน์
การคอร์รัปชั่นของรัฐรวมถึงผลประโยชน์ทับซ้อน ที่ขาดการตรวจสอบในเรื่องความโปร่งใส เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิและคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเปิดโปงการกระทำความผิดของรัฐหรือรณรงค์การออกมาเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาล เช่น ในประเทศฟิลิปปินส์ เม็กซิโก และ เปรู และสถานการณ์เลวร้ายลงเมื่อต้องเผชิญกับผู้นำที่ถืออำนาจเบ็ดเสร็จด้วย เช่น ประเทศซิมบับเว

3) สถาบันพระมหากษัตริย์
ยังคงมีประเทศที่มิให้มีการวิพากษ์วิจารณ์สถาบัน เช่น โมรอคโค ที่ถือว่าเป็นการกระทำความผิด สถานการณ์การละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิในกรณีนี้ ส่วนมากเป็นการละเมิดสิทธิของนักปกป้องสิทธิที่ออกมาเคลื่อนไหวในเรื่อง เสรีภาพการแสดงออก เสรีภาพในการพูด และเสรีภาพของสื่อที่ได้นำเสนอ หรือ วิพากษ์ วิจารณ์เกี่ยวกับสถาบัน โดยการวิพากษ์วิจารณ์ต่อสถาบันกษัตริย์ถือเป็นการท้าทายอำนาจของกษัตริย์ที่มาจากแนวคิดความเป็นสมมุติเทพ และ สิทธิมนุษยชนเองโดยสภาพที่เชื่อในเรื่องความเท่าเทียมกันของมนุษย์ขัดต่อการได้มาซึ่งอำนาจของกษัตริย์ที่อาศัยบุญญาบารมี หรือได้จากบรรพบุรุษอันเป็นการได้มาซึ่งอำนาจโดยสิทธิพิเศษหรือระบอบอุปถัมภ์

4) เศรษฐกิจ
ในประเด็นเรื่องการคุกคามนักปกป้องสิทธิที่สัมพันธ์กับเศรษฐกิจ
ประเด็นที่ 1 การไม่ต้องพึ่งพาระบบเศรษฐกิจภายนอก เช่น ประเทศจีน การพึ่งพาเศรษฐกิจภายนอกจำเป็นต้องรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีภาพลักษณ์ที่ดีเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าโดยเฉพาะหากเป็นคู่ค้าที่มาจากประเทศในสหภาพยุโรป ที่ต้องมีสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่ดีด้วย ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจลงทุน ดังนั้นประเทศที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาระบบเศรษฐกิจดังกล่าว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นที่ตั้งมากกว่าความมั่นคงในประเทศในปกครองในระบอบสังคมนิยม
ประเด็นที่ 2 ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงส่วนใหญ่แปรผันไปตามสถานการณ์ความเลวร้ายด้านสิทธิมนุษยชน เช่น ประเทศไทย, รัสเซีย,ตุรกี,อินเดีย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำต่ำอย่างเช่น สหภาพยุโรป เป็นต้น 
ประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงที่มีความสัมพันธ์กับการละเมิดสิทธิมนุษยชน กล่าวคือ ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำคือระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่ล้มเหลวต่อการสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในรัฐและนำมาซึ่งการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น รัฐที่เอื้อผลประโยชน์ให้แก่นายทุนและเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ย่อมเป็นที่มาของการเรียกร้องและเคลื่อนไหว เมื่อบวกกับรัฐนั้นที่มิได้ยึดหลักการนิติรัฐ ย่อมหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ได้เลย เมื่อรัฐต้องมีการปราบปรามต่อผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวนั้น

5)  ระบอบเผด็จการ
การคงอำนาจเบ็ดเสร็จของผู้นำเผด็จการ ทำให้โดยธรรมชาติแล้วเกลียดชังการวิพากษ์วิจารณ์ที่ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาต่อตนเอง จึงมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงต่อผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหว วิพากษ์วิจารณ์ตน โดยใช้อำนาจเบ็ดเสร็จของตนปราบปรามผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหว เช่น ประเทศจีน, ตุรกี เป็นต้น

6) ความรับรู้ในเรื่องสิทธิมนุษยชนของพลเมืองในประเทศ
โดยปกติ เรามักจะเห็นการเคลื่อนไหวในเรื่องสิทธิมนุษยชนเฉพาะคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่กระนั้นความสำเร็จของการเคลื่อนไหวประการหนึ่งคือ การรวมกลุ่มและเครือข่ายที่ทำให้มีแรงกระเพื่อมและมีอำนาจในการต่อรอง การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องต่อเรื่องใด ๆ หากเกิดขึ้นกับคนเพียงกลุ่มเดียวอาจไม่ได้ส่งผลกระทบที่สามารถกดดันให้รัฐพึงกระทำตามข้อเรียกร้องนั้นได้ แต่เมื่อการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นในลักษณะที่ฉันทามติ ย่อมทำให้เป็นที่จับตามองในระดับนานาอารยะประเทศ และทำให้รัฐไม่สามารถปฏิเสธต่อข้อเรียกร้องได้ทางหนึ่ง

 

2. สถานการณ์เรื่องสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาค
จากกรณีศึกษา ภูมิภาคในแถบแอฟริกาจะมีความตระหนักของเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองน้อยเมื่อเทียบกับสิทธิส่วนรวม เช่น ประเทศคองโก ซิมบับเว โมรอคโค ที่โดยพื้นฐานส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ยากจนและมีดัชนีของความเป็นประชาธิปไตยที่อยู่ในระดับต่ำ โดยในภูมิภาคแอฟริกาได้มีการรวมกลุ่มประเทศกันคือ สหภาพแอฟริกา (African Union) ซึ่งได้มีการใช้หลักการสิทธิมนุษยชนตามกฎบัตรแอฟริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมือง   ที่แม้ได้มีการกำหนดหลักการการปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่รัฐในสหภาพแอฟริกาได้ให้การรับรองไว้ แต่สถานการณ์สิทธิมนุษยชนก็ยังคงย่ำแย่

 

3. สถานการณ์เรื่องสิทธิมนุษยชนในระดับกลุ่มศาสนา
หลักการตามปฏิญญาสากลคือหลักการที่วางหลักไว้ว่า เพื่อเป็นหลักปฏิบัติพื้นฐานอย่างน้อยที่สุดที่รัฐควรปฏิบัติตาม แต่ทั้งนี้มีข้อจำกัดทางบริบทศาสนาที่ไม่อาจปฏิบัติตามหลักการตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ทุกข้อ เนื่องจากขัดต่อความเชื่อทางศาสนาที่ต้องเชื่อฟังและเคารพต่ออัลลอฮ์ในการเป็นมุสลิมที่ดี เช่น การใช้กฎหมายอิสลาม ความเท่าเทียมทางเพศ การมีสิทธิในการตัดสินในด้วยตนเอง ดังนั้นจึงได้มีหลักการสิทธิมนุษยชนเพื่อใช้ในประเทศมุสลิมที่ปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับความเชื่อและบริบททางศาสนา คือ  Cairo Declaration on Human Rights in Islam ที่มีการประกาศใช้เมื่อปี 1990

 


4. ประเภทของการคุกคามสิทธิของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

1) การคุกคามนักปกป้องสิทธิในระดับการรวมกลุ่ม/องค์กร
การเคลื่อนไหวในระดับกลุ่มหรือองค์กรเป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะการเรียกร้องต่อเหตุการณ์ที่กระทบต่อจิตใจของคนจำนวนมากเช่น โศกนาฏกรรมเรือเซวอล การปราบปรามเทียนอันเหมิน และการเรียกร้องที่เกี่ยวกับการกระทำของรัฐที่ละเมิดต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเช่น ในประเทศซิมบับเว และประเทศคองโก
การคุกคามสิทธิของนักเคลื่อนไหวแบบกลุ่มที่สนใจในประเด็นเดียวกัน ในกรณีนี้จะทำให้เป็นที่จับตามองจากประชาคมโลกและจากคนในประเทศด้วย ในแง่หนึ่งการปราบปรามของรัฐกับคนกลุ่มใหญ่หรือองค์กร เป็นการทำให้เอิกเกริก ซึ่งรัฐจะต้องพิจารณาถึงผลเสียหายที่ตามมาหากรัฐยังคงต้องพึ่งพาระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และความเชื่อมั่นในประชาคมโลก หรือ อาจเกิดการสูญเสียความชอบธรรมทางการเมือง

2) การคุกคามนักปกป้องสิทธิในระดับปัจเจก
การเคลื่อนไหวในระดับปัจเจกที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกคุกคามเนื่องจากรัฐมองว่าเป็นภัยคุกคาม โดยเฉพาะรัฐที่สถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในรัฐล้มเหลว การคุกคามนักปกป้องสิทธิฯในระดับปัจเจก หากมิได้เป็นคนมีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จัก อาจไม่ได้ส่งผลในแง่ของการรณรงค์มากนัก เช่น การถูกอุ้มหายหรือความตายของคนหนึ่งคนอาจไม่ได้ส่งผลอย่างไรเลย เนื่องจากไม่ได้เป็นที่รู้จัก อีกทั้งหากเป็นการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิโดยรัฐที่อาจมีการปกปิดการกระทำความผิดได้ โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นในประเทศที่ไม่ได้มีการตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นที่ตั้ง

*จากกรณีศึกษาผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนในต่างประเทศ ทบทวนโดย บงกช ดารารัตน์ ในวิจัย การลดความเหลื่อมล้ำด้านความยุติธรรมต่อกลุ่มเสี่ยงโดยศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย, 2565. สนับสนุนทุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,