Skip to main content

ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม


ในงาน “The problem of innovation in technoscientific capitalism: data rentiership and the policy implications of turning personal digital data into private asset” Birch ได้นำเสนอคำถามว่า “อะไร (นโยบายใด) คือสิ่งที่เปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเรา ให้กลายไปเป็นสินทรัพย์ส่วนตัว กระทั่งกลายไปเป็นทรัพยากรทางการเมืองและเศรษฐกิจ” เพื่อที่จะเข้าใจว่าทำไมถึงมีการปล่อยให้บิ๊กเทคอย่าง Facebook, Google, Amazon, Apple เพียงไม่กี่เจ้าที่ได้รับความยินยอมฝ่ายเดียวและควบคุมพฤติกรรมผู้ใช้จากข้อมูล


ต้นทศวรรษ 2000 มีข้อตกลงการค้าและการลงทุนทวิภาคีหลายฉบับซึ่งเปลี่ยนทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุนกลับไม่ได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ แต่เป็นการใช้กฎหมายการลงทุนระหว่างประเทศมาบังคับแทน


กระบวนการคุ้มครองการลงทุนทางการเงินในทรัพย์สินทางปัญญาในที่นี้หมายความครอบคลุมถึง การคุ้มครองทางการเงิน ข้อผูกพันทางการเงิน ความเสี่ยง ละความคาดหวังของนักลงทุน เป็นผลให้กลุ่มทุนสามารถปกป้องการร่วมทุนในฐานะทรัพย์สินทางปัญญาได้  กล่าวคือ กระบวนการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมันตอบสนองต่อผลตอบแทนทางการเงินที่แทนที่จะส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวม

การขยายระบบข้อมูลดิจิทัลจะนำไปสู่การสร้าง "ประสิทธิภาพทางเครือข่าย" ซึ่งใช้ประโยชน์เพื่อการจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล  (ตัวอย่างนี้ปรากฎให้เห็นผ่านแพลตฟอร์มเทคโนโลยี เช่น Facebook, Uber, Amazon, Google ) ดังนี้ จึงเห็นได้ว่าเทคโนโลยีถูกสร้างขึ้นและกำหนดโดยตรรกะทางการเงิน ความรู้ และแนวทางปฏิบัติ กระทั่งรับรองอิทธิพลของการลงทุนทางการเงิน เพื่อสะสมข้อมูลให้ได้จำนวนมาก


ผลที่ตามมาคือ ระบบทุนนิยมทางเทคโนโลยีถูกสร้างขึ้นมากขึ้นจากศักยภาพและมูลค่าที่ถูกดึงออกมาจากข้อมูล จากมูลค่าทางการเงินในตัวข้อมูลที่ถูกแปรผลออกมาได้ด้วยนวัตกรรม กล่าวคือ กระบวนการและความสามารถในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในรูปแบบชีวิตมนุษย์ เช่น ความสัมพันธ์ส่วนตัว และในข้อมูลอื่นเช่นกระบวนการทางสิ่งแวดล้อมและจิตใจของผู้ใช้ ให้กลายมาเป็นทรัพยากรที่สามารถกำหนดมูลค่าเป็นทรัพย์สิน และสามารถนำไปใช้เป็นรายได้ในอนาคต

แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นสินทรัพย์ของข้อมูล เรียกได้ว่าเป็น "ด้านมืด" ของนวัตกรรมในระบบทุนนิยมเทคโนโลยี ข้อถกเถียงเกี่ยวกับความเป็นสินทรัพย์ของสิ่งต่าง ๆ มีส่วนเกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายประการ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายของการผลิตนวัตกรรม แต่บทความแสดงให้เห็นว่าเป้าหมายของการกำหนดนโยบายในระบบเศรษฐกิจร่วมสมัยในปัจจุบันนี้ก็ยังคงยึดโยงอยู่กับผลกำไรในรูปของ ‘มูลค่าของรายได้ที่คาดหวัง’ ซึ่งความคาดหวังนี้หมายถึงผลกำไรจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นการปกป้องรายได้และจัดการต่อความเสี่ยงในการลงทุนที่อาจส่งผลกระทบธุรกิจ และด้วยเหตุนี้ มูลค่าของข้อมูลจึงมีความยากลำบากในการที่จะประเมินมูลค่าสินทรัพย์


Birch ทำการเสนอว่า ปัญหาของนวัตกรรมคือการมุ่งที่จะตอบสนองต่อผลกำไร มากกว่าที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรับรองสังคม ดังนี้นวัตกรรมจึงไม่ใช่เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากในการแสวงหาผลประโยชน์นี้ ข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกทำให้กลายไปเป็นสินทรัพย์ของเจ้าของนวัตกรรม

การพัฒนาระบบเศรษฐกิจจึงควรแก้ไขนโยบายให้หนีพ้นไปจากการสะสมทุน แต่เป็นไปเพื่อรับรองสังคมให้พร้อมต่อการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี โดยจะกล่าวถึงข้อเสนอ 2 ประเด็นคือ
1.นวัตกรรมแบบเปิด,
2.การสร้างแรงจูงใจในผู้ประกอบการ

1) นวัตกรรมแบบเปิด
การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้นำไปสู่การขยายตัวของทรัพย์สินทางปัญญาและแนวทางการกำหนดนโยบายที่เน้นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งอาจขัดขวางภาพรวมของตลาด เนื่องจากมันจะยับยั้งการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งจะเป็นการเพิ่มต้นทุนที่จำกัดว่า ‘ใครสามารถดำเนินการ มีส่วนร่วม และ ได้รับประโยชน์จากการวิจัยและผลพลอยได้ของมัน’ และ การจำกัดว่า ‘ใครเป็นเจ้าของผลงานที่เกิดขึ้นผ่านสิทธิบัตร’ ภายใต้ข้อตกลงฝ่ายเดียวที่จะรับรองการถ่ายโอน และข้อตกลงไม่เปิดเผยข้อมูล 
การตอบสนองต่อข้อจำกัดเหล่านี้คือการผลักดันให้เปิดกระบวนการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมโดยการลดต้นทุนในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล  ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกันทางเทคโนโลยีในวงกว้างระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แตกต่างกัน และลดต้นทุนของการวิจัยและนวัตกรรม โดยมีตัวอย่าง ได้แก่ การเผยแพร่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในฐานะสาธารณสมบัติ เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น เพื่อลดค่าใช้จ่ายการวิจัยที่ซ้ำซ้อนและลดอุปสรรคที่เกิดจากเครื่องมือและความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นกรรมสิทธิ์  เช่น Structural Genomics Consortium (SGC)
การเปิดกว้างที่เพิ่มขึ้นนี้จะเป็นขั้นตอนแรกในการลดอัตราการผูกขาดข้อมูล (ด้วยการอ้างความเป็นเจ้าของ) ภายใต้ข้ออ้างที่จะคุ้มครองนวัตกรรม

2) การพัฒนาสถานะผู้ประกอบการ entrepre-neurial
Mariana Mazzucato  เสนอว่าการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจสามารถวัดค่าได้จากการพิจารณาการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและการสร้างผลกระทบของเครือข่ายแพลตฟอร์ม และทิศทางตลาดที่ตามมาจากกระบวนการสร้างแรงจูงใจต่อบรรดาบรรษัทผู้ประกอบการ  ตัวอย่างเช่น การมอบรางวัลให้แก่ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมแทนที่จะสร้างเงินทุนใหม่สำหรับการวิจัยและนวัตกรรม มันเป็นวิธีการให้รางวัลแก่นักลงทุนทางการเงินผ่านการพิจารณาต่อมูลค่าหุ้นเท่านั้น   เนื่องจาก กลยุทธ์องค์กรที่สำคัญการจัดการธุรกิจภายใต้นโยบายทางนวัตกรรม กลับประกอบไปด้วยกลยุทธ์ทางการเงิน และความสามารถทางเศรษฐกิจ
การมองรอบวัลทางนวัตกรรมแก่ภาคเอกชน จึงเป็นการสร้างแรงจูงใจในนวัตกรรมเทคโนโลยีรูปแบบน "รัฐผู้ประกอบการ entrepre-neurial " ภายใต้แนวคิดที่จะรักษาคุณค่าทางการลงทุนและการร่วมทุนให้มั่นคงต่อไป แต่ การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจภายใต้แนวความคิดแบบ "รัฐผู้ประกอบการ" นี้เป็นปฎิปักษ์ต่อนโยบายของกลุ่มเสรีนิยมใหม่  และแสดงให้เห็นถึงความหวาดกลัวของภาคผู้ประกอบการที่จะแบกรับความเสี่ยงทางการเงินฝ่ายเดียว
กล่าวโดยสรุป Mariana Mazzucato มองว่ารัฐที่มีความเป็น entrepre-neurial อยู่สูงในภาคผู้ประกอบการ จะมีแนวโน้มว่าการสร้างนวัตกรรมและการลงทุนที่มีความเสี่ยงทางการเงินสำหรับการสร้างผลิตภัณฑ์และกระบวนการใหม่จะต้องถูกดำเนินการโดยรัฐเป็นอันดับแรก 

อ้างอิง
Kean Birch, Margaret Chiappetta, and Anna Artyushina, “The Problem of Innovation in Technoscientific Capitalism: Data Rentiership and the Policy Implications of Turning Personal Digital Data into a Private Asset,” Policy Studies 41, no. 5 (2020): 468-487.
Andrew Keen, The Internet Is Not the Answer (new york, united states: Atlantic Monthly Press, 2015).
Fabian Muniesa et al, Capitalization: A Cultural Guide (Paris: Presses des Mines, 2017).
Rochelle Dreyfuss and Susy Frankel, “From Incentive to Commodity to Asset: How International Law Is Reconceptualizing Intellectual Property,” University of Michigan Law School Scholarship Repository, last modified 2015, accessed September 23, 2022, https://repository.law.umich.edu/mjil/vol36/iss4/1.
Arti K. Rai and Rebecca S. Eisenberg, “Bayh-Dole Reform and the Progress of Biomedicine,” Law and Contemporary Problems 66, no. 1 (2002): 289-314.
Henry Chesbrough, Open Innovation (Boston: Harvard Business School Press. , 2003).
Donna M. Gitter, “The Challenges of Achieving Open Source Sharing of Biobank Data,” Comparative Issues in the Governance of Research Biobanks, (2013): 165-189. edited by G. Pascuzzi, U. Izzo, and M. Macilotti, Berlin, Heidelberg: Springer.
Mariana Mazzucato, The Value of Everything (London, United Kingdoms: Allen Lane, 2018).

*ปรับปรุงจากบททบทวนวรรณกรรม โดย ภาณุพงศ์ จือเหลียง ใน วิจัย โครงการสังเคราะห์องค์ความรู้ทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนการแบ่งปันผลประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัลอย่างเป็นธรรม, 2565. โดย สถาบันพระปกเกล้า.

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว