Skip to main content

การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วย โดยจะเน้นย้ำลักษณะเฉพาะของปัญหาที่เกิดขึ้นกับแต่ละกลุ่มอย่างชัดแจ้งในประเด็นดังต่อไปนี้

1. สตรี
การปรับการร่างกฎหมายที่เหมาะสมพร้อมด้วยมาตรการอื่น ๆ ตลอดจนบทลงโทษที่เหมาะสม โดยปราศจากการเลือกประติบัติจะกลายเป็นการรับรองให้เกิดความเท่าเทียมกันของทั้ง ชายและหญิง เมื่อต้องขึ้นสู่กระบวนการทางศาล  โดยในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบยังกำหนดให้มีคณะกรรมมาธิการเพื่อส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิของสตรีไปยังเลขาธิการขององค์การสหประชาชาติด้วย  อีกทั้งอนุสัญญายังกำหนดให้สตรีมีความสามารถในการลงคะแนนการทำประชามติสาธารณะซึ่งเป็นการเลือกที่มีความเหมาะสม  ตลอดจนความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ถือว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่สามีหรือ ภรรยาย่อมเท่าเทียมกันและยังรวมไปถึงสิทธิในการเลือกชื่อสกุล ตลอดจนการประกอบอาชีพ  สิทธิและความรับผิดชอบที่เหมือนกันในการเป็นผู้พิทักษ์หรือเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์และการรับเลี้ยงเด็กยังมีความคล้ายคลึงในทุกสถาบันอันมีที่มามาจากแนวคิดจากกฎหมายของรัฐที่จะคำนึงถึงผลประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ   รัฐภาคีควรจะมีมาตรการที่เหมาะสมในการกำจัดการเลือกประติบัติต่อสตรีในทุก ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมเพื่อรับรองว่ามีความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรีและรวมไปถึงสิทธิจากผลประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งส่วนของครอบครัว หรือไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการกู้ยืมเงินจากจากธนาคาร หรือ ระบบทางการเงินอื่น ๆ และรวมไปถึงสิทธิในการมีส่วนร่วมในการสร้างกิจกรรมต่าง ๆ
และด้วยความเท่าเทียมทั้งเรื่องการเป็นเจ้าของทรัพย์สินเพียงผู้เดียวก็เปรียบเสมือนเป็นการร่วมกลุ่มกับบุคคลอื่นแล้วเช่นกัน การมีส่วนร่วมในองค์กรพัฒนาเอกชน ถือเป็นหนึ่งในมาตรการที่เหมาะสมในการกำจัดการเลือกประติบัติต่อสตรีและทำให้สตรีมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายในทุกระดับ ตั้งแต่เรื่องที่เกี่ยวกับสาธารณะ จนไปถึงในระกับการเมือง 

2. เด็ก
เด็กมีเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความเชื่อ หรือ การนับถือศาสนาของตนแต่อาจจะมีข้อจำกัดที่ถูกกำหนดโดยกฎหมายโดยคำนึงถึงการคุ้มครองความปลอดภัยของสาธารณะ สุขภาพ หรือ ศีลธรรมตลอดจน สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลอื่น  และในกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้นรัฐจำเป็นต้องจัดเตรียมการช่วยเหลือทางกฎหมาย ในคดีที่เกี่ยวกับการบังคับอุ้มหายที่เกี่ยวข้องกับเด็กซึ่งถือว่าเป็นเงื่อนไขที่กฎหมายภายในของรัฐนั้น ๆ ต้องจัดเตรียมไว้เสมอ และเมื่อเด็กทุกคนขาดเสรีภาพย่อมที่จะมีสิทธิในการเข้าถึงการช่วยเหลือทางกฎหมาย หรือ ได้รับการช่วยเหลืออื่น ๆ ที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที ความท้าทายทางกฎหมายเมื่อเด็กเหล่านั้นขาดเสรีภาพยังเกิดขึ้นได้ในทุกกระบวนการตั้งแต่กระบวนการก่อนศาล หรือ กระบวนการอื่น ๆ  และในกรณีเด็กถูกจับกุมอย่างไม่เป็นทางการไม่ว่าจะโดยตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะฉับไวเพียงใด บิดามารดารวมไปถึง ผู้พิทักษ์ตามกฎหมายย่อมได้รับการช่วยเหลือทางกฎหมายหรือ การช่วยเหลืออื่นที่เหมาะสมในการจัดเตรียมหลักฐานในการแก้ต่างให้กับเด็กเหล่านั้น  ซึ่งเด็กเหล่านั้นจะไม่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ต้องหาที่ละเมิดกฎหมายอาญาทั้งการกระทำ หรือ ละเว้นไม่กระทำการใด ๆ ที่ไม่ได้เป็นตามที่กฎหมายของรัฐ หรือกฎหมายระหว่างประเทศทีได้ยอมรับ

3. กลุ่มเชื้อชาติ
สิทธิและเสรีภาพในการร่วมกลุ่มอย่างสันติ  เป็นสิทธิทางการเมืองโดยเฉพาะสิทธิในการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งต้องดำเนินภายใต้หลักการสากลและเท่าเทียมและการเข้าไปมีส่วนร่วมในรัฐบาลในกิจการสาธารณะในทุกระดับนั้นย่อมต้องมีความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการสาธารณะด้วยเช่นเดียวกัน    อนุสัญญาใดก็ตามไม่สามารถที่จะตีความให้เกิดผลกับการจัดเตรียมกฎหมายไม่ว่าจะทางใดทางหนึ่งอันเกี่ยวเนื่องกับ สัญชาติ การเป็นพลเมือง หรือ สภาวะธรรมชาติต่าง ๆ ทางเชื้อชาติ ซึ่งการจัดเตรียมเหล่านั้นไม่มีการเลือกประติบัติต่อกลุ่มคนสัญชาติใดเป็นการเฉพาะ  และรัฐภาคีต้องให้การรับรองว่า บุคคลทุกคนที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลของรัฐภาคีนั้น ๆ จะได้รับการคุ้มครองและการเยียวยาจากกระบวนการศาลหรือสถาบันอื่น ๆ โดยต้องไม่เป็นการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติ เพราะถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานอันขัดต่ออนุสัญญา รวมไปถึงสิทธิทีได้รับจากศาลหรือสถาบันอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การเยียวยาอันเป็นที่พึงพอใจและเป็นธรรมย่อมเพียงพอสำหรับความเสียหายใด ๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นจากการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติ  และการกระทำใด ๆ ของผู้ที่มีอำนาจในสถาบันของรัฐทุกระดับจะไม่เป็นการส่งเสริมการเลือกประติบัติในทุกกรณี

4. แรงงานอพยพ
และในส่วนของแรงงานที่อพยพนั้นจำเป็นต้องอาศัยความคุ้มครองในระดับระหว่างประเทศที่เหมาะสม  และความคุ้มครองจากกฎหมายภายในรัฐ มักจะเกี่ยวของกับเรื่องสาธารณะทั้งเรื่องสุขภาพและศีลธรรมสำหรับแรงงานอพยพ  และในกรณีทรัพย์สินของแรงงานอพยพซึ่งมักมีปัญหาในการถือครอง แต่การรวมกลุ่มกับบุคคลอื่นถือว่ากฎหมายให้การคุ้มครองอย่างเป็นธรรมเช่นเดียวกัน  การมีส่วนร่วมของแรงงานอพยพและครอบครัวย่อมมีสิทธิในการมีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องกับกิจการสาธารณะผ่านการเลือกตั้งภายใต้กฎหมายของรัฐนั้น ๆ  และการป้องกันตนเองผ่านการช่วยเหลือทางกฎหมายยังรวมไปถึงแรงงานอพยพด้วยเช่นเดียวกัน   แรงงานอพยพและครอบครัวย่อมที่จะมีสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม หรือกระบวนการทางศาลที่เท่าเทียมกับประชาชนในประเทศนั้น ๆ และเมื่อมีการจับกุมในคดีอาญาสำหรับแรงงานอพยพหรือครอบครัวต่างมีสิทธิและหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดและสามารถเข้าสู่กระบวนพิจารณาทางกฎหมายภายใต้ระบบศาลทีมีอิสระและเป็นกลางอย่างยุติธรรมตามกฎหมายนั้น ๆ  โดย บุคคลเหล่านั้นจะต้องถูกนำตัวไปพบผู้พิพากษาหรือเจ้าหน้าที่อื่นที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบตามกฎหมายระบุไว้โดยทันที และยังมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีในเวลาอันเหมาะสม หรือ ถูกปล่อยตัวและในระหว่างรอการพิจารณาบุคคลเหล่านั้นจะไม่ถูกควบคุมตัวหรือกักขังแต่ว่าการปล่อยตัวนั้นจะเป็นการรับประกันว่าบุคคลเหล่านั้นจะปรากฏตัวในชั้นพิจารณาคดีชั้นต่อไป  และเพื่อรับรองว่าแรงงานอพยพหรือคนในครอบครัวผู้ใดก็ตามที่ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพตามที่ได้รับการยอมรับในอนุสัญญาจะต้องได้รับการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียมแม้ว่าการละเมิดนั้นจะเกิดขึ้นโดยบุคคลที่กระทำการตามกฎหมายก็ตาม และเพื่อให้แน่ใจว่าบุคคลเหล่านั้นสามารถแสวงหาการเยียวยาจากการอ้างสิทธิที่ได้รับการรับรองจากศาล หรือจากฝ่ายปกครอง โดยถือว่าเป็นการเยียวยาที่เป็นไปได้  ในกรณีของแรงงานอพยพและครอบครัวแม้จะไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดทางอาญาไม่ว่าจะเป็นการกระทำการหรือละเว้นกระทำการอะไรก็ตามที่ไม่ได้ระบุว่าเป็นความผิดอาญาทั้งในรัฐหรือ ในทางระหว่างประเทศและบทลงโทษนั้นจะไม่มีการกำหนดโทษที่รุนแรงกว่า  และไม่ว่ารัฐใดจะบอกเลิกความเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญานั้น ๆ ย่อมไม่มีผลในการปลดเปลื้องภาระหน้าที่ในช่วงเวลาปัจจุบันได้ไม่ว่าจะเป็นการกระทำการหรือละเว้นกระทำการ ก่อนวันที่มีการบอกเลิกความเป็นรัฐภาคีจนกว่าการบอกเลิกความรัฐภาคีนั้นจะเป็นผล

5. ผู้พิการ
รัฐภาคีมีความรับผิดชอบอันก่อให้เกิดหน้าที่ในการคุ้มครองและ สนับสนุนสิทธิมนุษยชนของผู้พิการให้เกิดขึ้นในทุกแนวนโยบายและแนวปฏิบัติการ  โดยที่รัฐภาคีต้องตระหนักถึงว่าประชาชนทุกคนย่อมมีความเท่าเทียมกันภายใต้เนื้อหาของกฎหมายปราศจากการเลือกประติบัติและยังส่งเสริมความเท่าเทียมพร้อมกับต่อต้านการเลือกประติบัติอันเนื่องมาจากความพิการและต้องรับรองให้ คนพิการทุกคนได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายโดยปราศจากการเลือกประติบัติในทุกระดับ.  ตลอดจนสร้างมาตรการที่มีความจำเป็นในการรับรองการคุ้มครองคนพิการในทุกสถานการณ์ที่เกิดความเสี่ยง  รวมไปถึงการคุ้มครองคนพิการจากการคุกคามในกรณีต่าง ๆ  โดยผู้พิการนั้นสามารถมีส่วนร่วมกับทั้งองค์กรของรัฐและองค์กรภาคเอกชนที่มีเกี่ยวข้องกับวิถีทางการเมืองและ วิถีสาธารณะของประเทศได้   และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของคนพิการได้ไม่ว่าจะเป็นทั้งความช่วยเหลือในการเดินทาง อุปกรณ์ในการช่วยเหลือต่าง ๆ ตลอดจนเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเอื้ออำนวยต่อคนพิการ  พร้อมกับเคารพซึ่งความแตกต่าง และ ยอมรับว่า คนพิการถือเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายของมนุษย์และ เป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติ  การพัฒนา การประกาศใช้ และการเฝ้าติดตามถือว่าเป็นการปรับใช้สำหรับมาตรฐานต่ำสุดและรวมถึงแนวทางในการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสาธารณะ  สำหรับ แรงงานที่เป็นผู้พิการในภาคส่วนต่าง ๆ  รวมถึงเรื่องการลงคะแนนในการเลือกตั้งหรือประชามติต่าง ๆ ผู้พิการต้องสามารถลงได้อย่างอิสระปราศจากการข่มขู่ในรูปแบบต่าง ๆ และรัฐภาคีควรจะมีการรับรองให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพและความเท่าเทียมเฉกเช่นเดียวกับบุคคลปกติอื่น ๆ โดยสิทธิของผู้พิการในการตัดสินใจย่อมเป็นอิสระและรับผิดชอบต่อพื้นที่ของเด็กในการเข้าถึงข้อมูลที่เหมาะสม รวมถึงได้รับการศึกษาที่เพียงพอเพื่อให้เกิดความสามารถตามสิทธิที่ได้ถูกจัดเตรียมไว้  และต้องตระหนักว่าการเลือกประติบัติต่อบุคคลบนพื้นฐานของความพิการถือว่าเป็นความรุนแรงต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ติดตัวมาของบุคคล  และ วิธิการต่าง ๆ ที่ทำให้ ผู้พิการเผชิญกับอุปสรรคในการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกับบุคคลอื่นในสังคมถือว่าเป็นความรุนแรงต่อสิทธิมนุษยชนในทุกภาคส่วนของโลก 


อ้างอิง
United Nations, Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women, (United Nations General Assembly, 1981).
United Nations, Convention on the Rights of the Child, (United Nations General Assembly, 1990).
United Nations, International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination, (United Nations General Assembly, 1969).
United Nations, International Convention on the Protection of the Rights of All Migrant Workers and Members of Their Families, (United Nations General Assembly, 1990).
United Nations, International Convention on the Rights of Persons with Disabilities, (United Nation General Assembly, 2007),


*จากบทวิเคราะห์กรอบทางกฎหมาย ค้นคว้าโดย เทิดภูมิ เดชอำนวยพร ในวิจัย การลดความเหลื่อมล้ำด้านความยุติธรรมต่อกลุ่มเสี่ยงโดยศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย, 2565. สนับสนุนทุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว