Skip to main content

ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม


ในงาน “The problem of innovation in technoscientific capitalism: data rentiership and the policy implications of turning personal digital data into private asset” Birch ได้นำเสนอคำถามว่า “อะไร (นโยบายใด) คือสิ่งที่เปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเรา ให้กลายไปเป็นสินทรัพย์ส่วนตัว กระทั่งกลายไปเป็นทรัพยากรทางการเมืองและเศรษฐกิจ” เพื่อที่จะเข้าใจว่าทำไมถึงมีการปล่อยให้บิ๊กเทคอย่าง Facebook, Google, Amazon, Apple เพียงไม่กี่เจ้าที่ได้รับความยินยอมฝ่ายเดียวและควบคุมพฤติกรรมผู้ใช้จากข้อมูล


ต้นทศวรรษ 2000 มีข้อตกลงการค้าและการลงทุนทวิภาคีหลายฉบับซึ่งเปลี่ยนทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุนกลับไม่ได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ แต่เป็นการใช้กฎหมายการลงทุนระหว่างประเทศมาบังคับแทน


กระบวนการคุ้มครองการลงทุนทางการเงินในทรัพย์สินทางปัญญาในที่นี้หมายความครอบคลุมถึง การคุ้มครองทางการเงิน ข้อผูกพันทางการเงิน ความเสี่ยง ละความคาดหวังของนักลงทุน เป็นผลให้กลุ่มทุนสามารถปกป้องการร่วมทุนในฐานะทรัพย์สินทางปัญญาได้  กล่าวคือ กระบวนการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมันตอบสนองต่อผลตอบแทนทางการเงินที่แทนที่จะส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวม

การขยายระบบข้อมูลดิจิทัลจะนำไปสู่การสร้าง "ประสิทธิภาพทางเครือข่าย" ซึ่งใช้ประโยชน์เพื่อการจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล  (ตัวอย่างนี้ปรากฎให้เห็นผ่านแพลตฟอร์มเทคโนโลยี เช่น Facebook, Uber, Amazon, Google ) ดังนี้ จึงเห็นได้ว่าเทคโนโลยีถูกสร้างขึ้นและกำหนดโดยตรรกะทางการเงิน ความรู้ และแนวทางปฏิบัติ กระทั่งรับรองอิทธิพลของการลงทุนทางการเงิน เพื่อสะสมข้อมูลให้ได้จำนวนมาก


ผลที่ตามมาคือ ระบบทุนนิยมทางเทคโนโลยีถูกสร้างขึ้นมากขึ้นจากศักยภาพและมูลค่าที่ถูกดึงออกมาจากข้อมูล จากมูลค่าทางการเงินในตัวข้อมูลที่ถูกแปรผลออกมาได้ด้วยนวัตกรรม กล่าวคือ กระบวนการและความสามารถในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในรูปแบบชีวิตมนุษย์ เช่น ความสัมพันธ์ส่วนตัว และในข้อมูลอื่นเช่นกระบวนการทางสิ่งแวดล้อมและจิตใจของผู้ใช้ ให้กลายมาเป็นทรัพยากรที่สามารถกำหนดมูลค่าเป็นทรัพย์สิน และสามารถนำไปใช้เป็นรายได้ในอนาคต

แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นสินทรัพย์ของข้อมูล เรียกได้ว่าเป็น "ด้านมืด" ของนวัตกรรมในระบบทุนนิยมเทคโนโลยี ข้อถกเถียงเกี่ยวกับความเป็นสินทรัพย์ของสิ่งต่าง ๆ มีส่วนเกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายประการ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายของการผลิตนวัตกรรม แต่บทความแสดงให้เห็นว่าเป้าหมายของการกำหนดนโยบายในระบบเศรษฐกิจร่วมสมัยในปัจจุบันนี้ก็ยังคงยึดโยงอยู่กับผลกำไรในรูปของ ‘มูลค่าของรายได้ที่คาดหวัง’ ซึ่งความคาดหวังนี้หมายถึงผลกำไรจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นการปกป้องรายได้และจัดการต่อความเสี่ยงในการลงทุนที่อาจส่งผลกระทบธุรกิจ และด้วยเหตุนี้ มูลค่าของข้อมูลจึงมีความยากลำบากในการที่จะประเมินมูลค่าสินทรัพย์


Birch ทำการเสนอว่า ปัญหาของนวัตกรรมคือการมุ่งที่จะตอบสนองต่อผลกำไร มากกว่าที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรับรองสังคม ดังนี้นวัตกรรมจึงไม่ใช่เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากในการแสวงหาผลประโยชน์นี้ ข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกทำให้กลายไปเป็นสินทรัพย์ของเจ้าของนวัตกรรม

การพัฒนาระบบเศรษฐกิจจึงควรแก้ไขนโยบายให้หนีพ้นไปจากการสะสมทุน แต่เป็นไปเพื่อรับรองสังคมให้พร้อมต่อการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี โดยจะกล่าวถึงข้อเสนอ 2 ประเด็นคือ
1.นวัตกรรมแบบเปิด,
2.การสร้างแรงจูงใจในผู้ประกอบการ

1) นวัตกรรมแบบเปิด
การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้นำไปสู่การขยายตัวของทรัพย์สินทางปัญญาและแนวทางการกำหนดนโยบายที่เน้นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งอาจขัดขวางภาพรวมของตลาด เนื่องจากมันจะยับยั้งการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งจะเป็นการเพิ่มต้นทุนที่จำกัดว่า ‘ใครสามารถดำเนินการ มีส่วนร่วม และ ได้รับประโยชน์จากการวิจัยและผลพลอยได้ของมัน’ และ การจำกัดว่า ‘ใครเป็นเจ้าของผลงานที่เกิดขึ้นผ่านสิทธิบัตร’ ภายใต้ข้อตกลงฝ่ายเดียวที่จะรับรองการถ่ายโอน และข้อตกลงไม่เปิดเผยข้อมูล 
การตอบสนองต่อข้อจำกัดเหล่านี้คือการผลักดันให้เปิดกระบวนการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมโดยการลดต้นทุนในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล  ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกันทางเทคโนโลยีในวงกว้างระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แตกต่างกัน และลดต้นทุนของการวิจัยและนวัตกรรม โดยมีตัวอย่าง ได้แก่ การเผยแพร่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในฐานะสาธารณสมบัติ เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น เพื่อลดค่าใช้จ่ายการวิจัยที่ซ้ำซ้อนและลดอุปสรรคที่เกิดจากเครื่องมือและความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นกรรมสิทธิ์  เช่น Structural Genomics Consortium (SGC)
การเปิดกว้างที่เพิ่มขึ้นนี้จะเป็นขั้นตอนแรกในการลดอัตราการผูกขาดข้อมูล (ด้วยการอ้างความเป็นเจ้าของ) ภายใต้ข้ออ้างที่จะคุ้มครองนวัตกรรม

2) การพัฒนาสถานะผู้ประกอบการ entrepre-neurial
Mariana Mazzucato  เสนอว่าการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจสามารถวัดค่าได้จากการพิจารณาการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและการสร้างผลกระทบของเครือข่ายแพลตฟอร์ม และทิศทางตลาดที่ตามมาจากกระบวนการสร้างแรงจูงใจต่อบรรดาบรรษัทผู้ประกอบการ  ตัวอย่างเช่น การมอบรางวัลให้แก่ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมแทนที่จะสร้างเงินทุนใหม่สำหรับการวิจัยและนวัตกรรม มันเป็นวิธีการให้รางวัลแก่นักลงทุนทางการเงินผ่านการพิจารณาต่อมูลค่าหุ้นเท่านั้น   เนื่องจาก กลยุทธ์องค์กรที่สำคัญการจัดการธุรกิจภายใต้นโยบายทางนวัตกรรม กลับประกอบไปด้วยกลยุทธ์ทางการเงิน และความสามารถทางเศรษฐกิจ
การมองรอบวัลทางนวัตกรรมแก่ภาคเอกชน จึงเป็นการสร้างแรงจูงใจในนวัตกรรมเทคโนโลยีรูปแบบน "รัฐผู้ประกอบการ entrepre-neurial " ภายใต้แนวคิดที่จะรักษาคุณค่าทางการลงทุนและการร่วมทุนให้มั่นคงต่อไป แต่ การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจภายใต้แนวความคิดแบบ "รัฐผู้ประกอบการ" นี้เป็นปฎิปักษ์ต่อนโยบายของกลุ่มเสรีนิยมใหม่  และแสดงให้เห็นถึงความหวาดกลัวของภาคผู้ประกอบการที่จะแบกรับความเสี่ยงทางการเงินฝ่ายเดียว
กล่าวโดยสรุป Mariana Mazzucato มองว่ารัฐที่มีความเป็น entrepre-neurial อยู่สูงในภาคผู้ประกอบการ จะมีแนวโน้มว่าการสร้างนวัตกรรมและการลงทุนที่มีความเสี่ยงทางการเงินสำหรับการสร้างผลิตภัณฑ์และกระบวนการใหม่จะต้องถูกดำเนินการโดยรัฐเป็นอันดับแรก 

อ้างอิง
Kean Birch, Margaret Chiappetta, and Anna Artyushina, “The Problem of Innovation in Technoscientific Capitalism: Data Rentiership and the Policy Implications of Turning Personal Digital Data into a Private Asset,” Policy Studies 41, no. 5 (2020): 468-487.
Andrew Keen, The Internet Is Not the Answer (new york, united states: Atlantic Monthly Press, 2015).
Fabian Muniesa et al, Capitalization: A Cultural Guide (Paris: Presses des Mines, 2017).
Rochelle Dreyfuss and Susy Frankel, “From Incentive to Commodity to Asset: How International Law Is Reconceptualizing Intellectual Property,” University of Michigan Law School Scholarship Repository, last modified 2015, accessed September 23, 2022, https://repository.law.umich.edu/mjil/vol36/iss4/1.
Arti K. Rai and Rebecca S. Eisenberg, “Bayh-Dole Reform and the Progress of Biomedicine,” Law and Contemporary Problems 66, no. 1 (2002): 289-314.
Henry Chesbrough, Open Innovation (Boston: Harvard Business School Press. , 2003).
Donna M. Gitter, “The Challenges of Achieving Open Source Sharing of Biobank Data,” Comparative Issues in the Governance of Research Biobanks, (2013): 165-189. edited by G. Pascuzzi, U. Izzo, and M. Macilotti, Berlin, Heidelberg: Springer.
Mariana Mazzucato, The Value of Everything (London, United Kingdoms: Allen Lane, 2018).

*ปรับปรุงจากบททบทวนวรรณกรรม โดย ภาณุพงศ์ จือเหลียง ใน วิจัย โครงการสังเคราะห์องค์ความรู้ทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนการแบ่งปันผลประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัลอย่างเป็นธรรม, 2565. โดย สถาบันพระปกเกล้า.

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,