Skip to main content

Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ
1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,
2.ข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับการประเมินมูลค่าทางการเงินบนพื้นฐานของมูลค่าในอนาคตที่คาดว่าจะมอบให้กับผู้ถือ ซึ่งในไปสู่การสะสมและผูกขาดการครอบครองข้อมูล,
3.ข้อมูลส่วนบุคคลถือเป็นสินทรัพย์ สิ่งสำคัญคือต้องค้นหาว่าใครเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้น,
4.ความยินยอมในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเป็นประเด็นที่ควรพิจารณา,
5.อัลกอริธึมและข้อมูลส่วนบุคคลกำลังจัดระเบียบชีวิตของเรามากขึ้น ไม่ใช่แค่เป็นสื่อกลางในความสัมพันธ์แต่ยังรวมถึงการควบคุมพฤติกรรมของผู้บริโภค

1) ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลที่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม
ในแง่หนึ่ง ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสินทรัพย์ส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรมทำโดยถูกต้องตามกฎหมายในรูปแบบธุรกิจใหม่และแพลตฟอร์มเทคโนโลยีเศรษฐกิจ  เหตุผลก็คือการรวมและการสะสมของข้อมูลส่วนบุคคลได้กลายเป็นกลยุทธ์และการแย่งชิงความได้เปรียบระหว่างกัน และเป็นรูปแบบธุรกิจที่โดดเด่นมากขึ้น 
ข้อมูลส่วนบุคคลคาดว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญของความสำเร็จทางธุรกิจในอนาคต ดังนี้ การสะสมข้อมูลจึงเป็นหนทางสู่ความมั่งคั่ง โดยมูลค่าทางการเงินนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการสะสม การประมวลผล และการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล 
การครอบงำของ Big Tech นั้นแสดงให้เห็นการควบคุมตลาด ในอีกด้านหนึ่ง Facebook, Google, Amazon และ Apple ใช้เงินหลายหมื่นล้านดอลลาร์เพื่อซื้อบริษัทใหม่และข้อมูลของบริษัทในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เช่น การซื้อ Instagram และ WhatsApp ของ Facebook  
  ตัวอย่างการผูกขาดประการสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกือบทุกคนเป็นลูกค้าของ Google ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เนื่องจาก Google ควบคุมการค้นหาออนไลน์ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ในประเทศส่วนใหญ่   รวมถึงเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มวิดีโอยอดนิยมของโลก (YouTube) ระบบปฏิบัติการมือถือที่โดดเด่น (Android) และเบราว์เซอร์ที่ใช้มากที่สุด (Google Chrome)  Google ยังเข้าถือหุ้นในตลาดแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟน โดย Google Maps และ Google Play เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลก บริษัท Google ยังเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลผ่านข้อตกลงกับรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ ตัวอย่างเช่น ในปี 2016 หน่วยงานบริการสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักรได้ให้ DeepMind เข้าถึงข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย 1.6 ล้านคน 

2) ข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับการประเมินมูลค่าทางการเงินบนพื้นฐานของมูลค่าในอนาคตที่คาดว่าจะมอบให้กับผู้ถือ ซึ่งในไปสู่การสะสมและผูกขาดการครอบครองข้อมูล
ข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับการประเมินมูลค่าทางการเงินบนพื้นฐานของมูลค่าในอนาคตที่คาดว่าจะมอบให้กับผู้ถือ ซึ่งอธิบายว่าทำไมบริษัทที่มีการสะสมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้อยู่มากเช่น Google, Facebook จึงถูกมองมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสำหรับนักลงทุนทางการเงิน 
การเข้าสะสมข้อมูลและดึงมูลค่าจากนวัตกรรม กลายมาเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้นั้นสามารถสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ โมเดลธุรกิจรูปแบบนี้แอบอิงยู่กับความคาดหวังที่จะรอดพ้นปฏิบัติการทางกฎหมายจากการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 
นอกเหนือไปจากอำนาจในแพลตฟอร์ม กลุ่มทุน Big Tech ยังมีอิทธิพลทางการเมืองที่จะสกัดกั้นโยบายที่พวกเขาไม่เห็นด้วย (ขัดขวางการสะสมมข้อมูลของแพลตฟอร์ม) ตัวอย่างนี้คือ บริษัทที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ใช้เงินหลายล้านดอลลาร์เพื่อคัดค้านผ่านองค์กรล็อบบี้ 40 แห่งเพื่อคัดค้านการตรากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคแคนาดา California Consumer Privacy Act (CCPA) ปี 2018 

ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล


3) หากข้อมูลส่วนบุคคลถือเป็นสินทรัพย์ สิ่งสำคัญคือต้องค้นหาว่าใครเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้น
เนื่องจากข้อมูลส่วนบุคคลถือเป็นทรัพย์สินส่วนตัว สิ่งสำคัญคือต้องค้นหาว่าใครเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้น บางคนโต้แย้งว่าข้อมูลส่วนบุคคลควรเป็นของผู้ใช้แต่ละรายเพราะจริง ๆ แล้วพวกเขาเป็นผู้สร้างข้อมูล  กล่าวคือแต่ละบุคคลที่มีการติดตามกิจกรรม รวมถึงประวัติการค้นหาเว็บที่ผู้ใช้สนใจ สิ่งที่ผู้ใช้ชอบและไม่ชอบ ข้อมูลตำแหน่งแห้งที่ของผู้ใช้ ดังนี้ สิทธิในข้อมูลจึงควรเป็นของเจ้าของข้อมูล
อีกด้านหนึ่ง บางคนโต้แย้งว่าเราควรจะสามารถ "สร้างรายได้" จากข้อมูลส่วนบุคคลของเราเองได้ ในทางกลับกัน อีกฝ่ายโต้แย้งว่าเราจำเป็นต้องพัฒนากรอบนโยบายเพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นทางสังคม social solidary เนื่องจากคุณค่าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้นสอดคล้องกับมิติทางสังคมและส่วนรวมโดยปริยาย กล่าวคือ ข้อมูลมีประโยชน์โดยการเปรียบเทียบระหว่างบุคคลเท่านั้น แต่ปัญหาคือ ข้อมูลส่วนบุคคลในสายตาของกฎหมายทั่วไปในปัจจุบันไม่ได้ถูกกำหนดให้กับบุคคล แต่จะได้รับการปฏิบัติเสมือนเป็นของนิติบุคคล ซึ่งมักจะเป็นของภาคเอกชนที่รวบรวมและประมวลผลข้อมูล  
Elettra Bietti นำเสนอแนวทางที่เป็นไปได้ คือ “ข้อมูลเป็นกรรมสิทธิ์ ข้อมูลเป็นการชดเชย; และข้อมูลเป็นการแบ่งปันผลกำไร data as ownership; data as compen-sation; and data as profit-sharing.” ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนมุมมองเชิงบรรทัดฐานว่ากลไกตลาดสามารถให้ค่าตอบแทนที่ยุติธรรมแก่ผู้ใช้สำหรับข้อมูลของตน โดยไม่จำเป็นต้องหยุดการสอดแนมที่แพร่หลายและการค้าของขอบเขตของชีวิตมนุษย์ที่ไม่เคยเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางการเงินมาก่อน (เช่น การศึกษา มิตรภาพ งานอดิเรก) 
Prainsack นำเสนอรูปแบบความเป็นปึกแผ่น ซึ่งประชาชนได้ยินยอมพร้อมใจที่จะบริจาคข้อมูลของตนให้กับส่วนรวม เช่น การบริจาคข้อมูลเพื่อวิจัยความผิดปกติทางพันธุกรรม 
Scassa เสนอว่าข้อมูลทั้งหมดควรอยู่ในโดเมนสาธารณะเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ ในรูปแบบ pool of commons

4) ความยินยอมในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเป็นประเด็นที่ควรพิจารณา
ความยินยอมในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทำให้เกิดประเด็นต่างๆ ที่ควรพิจารณา แง่มุมที่สำคัญของการยินยอมมันอยู่ภายใต้กฎหมายสัญญา ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่สมมาตรระหว่างบุคคลและองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่
ข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกรวบรวมตามข้อตกลงและความยินยอมของเราผ่านการลงนามใน "ข้อกำหนดและเงื่อนไข" ที่ผู้ใช้ต้อง "ยอมรับ" เพื่อเข้าใช้บริการดิจิทัล สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงขอบเขตที่ข้อตกลงตามสัญญาเหล่านี้ขยายการรวบรวมและการสะสมข้อมูลส่วนบุคคลมากกว่าที่จะจำกัดการจัดเก็บข้อมูล 
ในการจัดเจ็บข้อมูลบางประเภทอาจเป็นการยากที่จะได้รับความยินยอมที่ก่อนทำการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าและเมืองอัจฉริยะ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตอาจละเมิดสิทธิพลเมือง  และทำให้เกิดการสอดส่องรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน

5) อัลกอริธึมและข้อมูลส่วนบุคคลกำลังจัดระเบียบชีวิตของเรามากขึ้น ไม่ใช่แค่เป็นสื่อกลางในความสัมพันธ์แต่ยังรวมถึงการควบคุมพฤติกรรมของผู้บริโภค
ประการสุดท้าย อัลกอริธึมและข้อมูลส่วนบุคคลกำลังจัดระเบียบชีวิตของเรามากขึ้น ไม่ใช่แค่เป็นสื่อกลางในความสัมพันธ์ของเรา ตัวอย่างเช่น พวกเขากำหนดค่าจ้างแรงงานในแพลตฟอร์ม การตัดสินใจจ้างงานในแพลตฟอร์ม และความน่าเชื่อถือทางเครดิตการเงิน
การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจจากข้อมูลนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการคาดการณ์และจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งไม่เพียงแต่สะท้อนรายได้จากโฆษณาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการควบคุมพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วย


อ้างอิง
Paul Langley and Andrew Leyshon, “Platform Capitalism: The Intermediation and Capitalization of Digital Economic Circulation,” Finance and Society 3, no. 1 (2017): 11-31.
Kean Birch, Margaret Chiappetta, and Anna Artyushina, “The Problem of Innovation in Technoscientific Capitalism: Data Rentiership and the Policy Implications of Turning Personal Digital Data into a Private Asset,” Policy Studies 41, no. 5 (2020): 468-487.
Jathan Sadowski, “When Data Is Capital: Datafication, Accumulation, and Extraction,” Big Data & Society 6, no. 1 forthcoming, (2019).
Sai Krishna Kamepalli, Raghuram Rajan, and Luigi Zingales, “Kill Zone,” unpublished manuscript. (2020). https://faculty. chicagobooth.edu/raghuram.rajan/research/papers/Kill%20zone_nov.pdf.
Statista. “Worldwide Desktop Market Share of Leading Search Engines from January 2010 to April 2019.” Statista. (2019) https://www.statista.com/statistics/216573/worldwide-market-share-of-search-engines/
Jeff Desjardins, “How Google Retains More than 90% of Market Share,” Business Insider (Business Insider, April 23, 2018), last modified April 23, 2018, accessed April 23, 2022, https://www.businessinsider.com/how-google-retains-more-than-90-of-market-share-2018-4. Liliana Doganova, “Discounting and the Making of the Future,” Oxford Scholarship Online (2018), edited by J. Beckert and R. Bronk,: 278–297. Oxford: Oxford University Press.
Hal Hodson, “Revealed: Google AI Has Access to Huge Haul of NHS Patient Data,” New Scientist (New Scientist, May 6, 2016), last modified May 6, 2016, accessed April 23, 2022, https://www.newscientist.com/article/2086454-revealed-google-ai-has-access-to-huge-haul-of-nhs-patient-data/.
Rochelle Dreyfuss and Susy Frankel, “From Incentive to Commodity to Asset: How International Law Is Reconceptualizing Intellectual Property,” University of Michigan Law School Scholarship Repository, (2015): accessed September 23, 2022, https://repository.law.umich.edu/mjil/vol36/iss4/1.
Issie Lapowsky, “The Fight over California's Privacy Bill Has Only Just Begun,” Wired (Conde Nast, August 29, 2018), last modified August 29, 2018, accessed April 23, 2022, https://www.wired.com/story/california-privacy-bill-tech-lobbying/.
Kevin Mellet and Thomas Beauvisage, “‘Datassets: Assetizing and Marketizing Personal Data.’ ,” Assetization:Turning Things into Assets in Technoscientific Capitalism (2020). edited by K. Birch and F. Muniesa. Cambridge MA: MIT Press.
Shoshana Zuboff, The Age of Surveillance Capitalism: The Fight for a Human Future at the New Frontier of Power (New York: Public Affairs, 2019).
Barbara Prainsack, “Data Donation: How to Resist the Ileviathan,” Philosophical Studies Series 137 (2019): 9-22. edited by J. Krutzinna and L. Floridi, (Cham: Springer). In Kean Birch, Margaret Chiappetta, and Anna Artyushina, “The Problem of Innovation in Technoscientific Capitalism: Data Rentiership and the Policy Implications of Turning Personal Digital Data into a Private Asset,” Policy Studies 41, no. 5 (2020): 468-487.
Teresa Scassa, “Open Data and Privacy,” SSRN, last modified October 17, 2018, accessed May 23, 2022, https://papers.ssrn.com/abstract=3255581.
Kean Birch, “Automated Neoliberalism? The Digital Organisation of Markets in Technoscientific Capitalism,” New Formations 100, no. 100 (2019): 10-27, https://www.academia.edu/39114905/ Automated_Neoliberalism_Bureaucracy_and_the_Organization_of_Markets_in_ Technoscientific_Capitalism.
Andrew Keen, The Internet Is Not the Answer (new york, united states: Atlantic Monthly Press, 2015).
Fabian Muniesa et al, Capitalization: A Cultural Guide (Paris: Presses des Mines, 2017).


*ปรับปรุงจากบททบทวนวรรณกรรม โดย ภาณุพงศ์ จือเหลียง ใน วิจัย โครงการสังเคราะห์องค์ความรู้ทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนการแบ่งปันผลประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัลอย่างเป็นธรรม, 2565. โดย สถาบันพระปกเกล้า.

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว