Skip to main content
กลายเป็นเรื่องฮือฮาสำหรับการฉลองสงกรานต์ในปีนี้ (2554) เมื่อมีคนนำคลิปของเด็กสาวขึ้นเต้นโชว์เปลือยอกในการฉลองสงกรานต์ย่านสีลมที่มีผู้คนชมและเชียร์กันอย่างเมามันมาเผยแพร่กันอย่างแพร่หลายผ่านทางสังคมออนไลน์ รวมทั้งนักข่าวทุกสำนักก็ให้ความสนใจและนำเสนอกันอย่ากว้างขวาง มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากมายว่า นี่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือการกระทำที่ทำลายวัฒนธรรม บางคนถึงขั้นกล่าวหาเด็กสาวเหล่านี้ว่าเป็นโรคจิตด้วยซ้ำ

หลังเหตุการณ์ตำรวจก็มาควานหาเด็กสาวเหล่านี้กันให้วุ่นฐานที่กระทำผิดกฎหมาย การวิพากษ์วิจารณ์นั้นดูเหมือนจะมีความพยายามที่จะหาคนผิดและหาประเด็นการกระทำความผิดที่ปล่อยให้มีเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้น แน่นอนหากจะอ้างประเด็นกฎหมาย การกระทำดังกล่าวมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 388 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดกระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัล โดยเปลือยหรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอย่างอื่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท ซึ่งการกระทำลักษณะนี้เป็นเพียงความผิดลหุโทษและเป็นความผิดเฉพาะตัวบุคคล อันที่จริง กรณีการเต้นเปลือยอกแบบนี้ มีเพื่อนที่คร่ำหวอดอยู่ในย่านสีลม พัฒน์พงศ์ มานานนับสิบๆ ปีบอกว่าก็มีการเต้นกันทุกปี นี่ไม่ได้หมายรวมถึงการเต้นโชว์ในพื้นที่ปิดซึ่งมีการเต้นอย่างเปิดเผยเช่นเดียวกันนี้อยู่แล้ว    เพียงแต่ว่า ก่อนหน้านั้นไม่มีคนมาถ่ายคลิปมาเผยแพร่และสื่อมวลชนไม่ได้เอามาทำเป็นเรื่องเป็นราวเป็นข่าวให้ใหญ่โตขึ้นมา เรียกได้ว่านี่ก็เป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งทางเทคโนโลยีที่ทำให้ใครๆ ก็สามารถกระจายข่าวได้ การที่คลิปถูกนำมาแพร่และกลายเป็นข่าว ทำให้ตำรวจในพื้นที่เสียหน้าเลยต้องเอากฎหมายมาบังคับใช้เสียหน่อย พอไม่ให้ถูกกล่าวหาว่าละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ หรือทางเขตที่มาแจ้งความก็เกรงสังคมจะมาลงที่ตนเองในฐานะ ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ ทั้งๆ ที่จริงก็อาจไม่ได้คิดอะไรมาก

สำหรับโทษทางกฎหมายนั้นดูจะไม่หนักหนา ปรับเพียงเบาๆ แต่ประเด็นที่มากกว่านั้นคือสื่อหรือสาธารณชนจำนวนหนึ่งออกมาประณามว่านี่เป็นเรื่องเสื่อมเสียโดยแท้ และเด็กเหล่านี้กำลังจะทำให้วัฒนธรรมอันดีงามของไทยที่เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์เสียหาย

พอแบบนี้จึงสงสัยว่าแล้วทุกวันนี้ที่คนจำนวนหนึ่งอ้างการเล่นน้ำสงกรานต์โดยเอาน้ำมาราดใส่ผู้คนได้โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือการเที่ยวเอากระบอกหรือปืนฉีดน้ำมายิงใส่ผู้คนที่กำลังสัญจรไปมา หรือว่าขับขี่รถอยู่ทำให้เกิดอันตราย หรือเอาแป้งเหนียวๆ มาทาหน้าทาตัวคนอื่นเล่นนั้นกำลังรักษาประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของไทยหรือไม่ ทำไมคนเหล่านี้ไม่ถูกประณามว่าทำลายวัฒนธรรมเท่ากับการไปเต้นเปลือยอก หรือหากการเปลือยอกเป็นการทำลายวัฒนธรรมอันดีของชาติจริงๆ ทำไมการถ่ายแบบนู้ด หรือเปลือย หรือมีเสื้อผ้าน้อยชิ้นของดาราทั้งหลายกลับถูกมองว่าเป็นงานศิลปะ ไม่เป็นการทำลายศีลธรรมวัฒนธรรมอันดี  

มีคนไม่น้อยที่ออกมาตั้งตนเป็นไม้บรรทัดตรวจวัดศีลธรรมและวัฒนธรรมที่มาเถียงในประเด็นนี้ว่า ดาราที่ถ่ายนู้ดก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องการกระทำที่หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมเช่นกัน  อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมานี้ไม่ได้หมายความว่า ต้องไปจับคนที่เปลื้องผ้าให้หมด แต่เป็นเพียงข้อสงสัยว่า อะไรคือมาตรฐานของคำว่าวัฒนธรรมอันดีงามของไทย หรืออะไรที่ถือเป็นการกระทำอันควรขายหน้า หรือลามกตามที่กฎหมายกำหนด และการโชว์เรือนร่างแค่ไหนที่รับได้หรือรับไม่ได้ในบริบทของวัฒนธรรมไทย

ในการออกสื่อสาธารณะ เวลามีภาพโป๊หรือเปลือย เรามักจะเห็นมีการทำภาพเบลอตรงส่วนที่เรียกว่าหัวนม ซึ่งหมายความว่าเห็นส่วนอื่นได้ทั้งหมด แต่ถ้าเห็นส่วนนั้นถือเป็นภาพลามก ในขณะเดียวกัน การวิพากษ์ วิจารณ์ เรื่องการแต่งกายของผู้หญิงในยุคนี้ที่เปิดเผยเนื้อตัวมากขึ้นว่าไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย ข้อกล่าวหานี้เท่ากับการผลักภาระให้ผู้หญิงนั้นเป็นฝ่ายที่จะต้องรักษาวัฒนธรรมอยู่เพียงฝ่ายเดียวหรือไม่  อย่างไรก็ตาม ว่ากันตามจริงแล้ว การแต่งกายมิดชิดใช่วัฒนธรรมไทยจริงหรือ

วัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นและปฎิบัติต่อๆ กันมา มีความเลื่อนไหล และการแต่งกายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่เสมอ การแต่งกายแบบมิดชิดในสังคมไทยในยุคปัจจุบันนั้นเป็นการรับเอาการแต่งกายยุควิคตอเรียนเข้ามาเป็นมาตรฐานเมื่อครั้งที่ไทยคิดจะพัฒนาประเทศไปสู่ความศิวิไลซ์ในสมัยรัชกาลที่
5 แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นในเหล่าชาววังหรือชาวเมืองก่อน ในขณะที่ชาวบ้านก็ยังคงไม่ใส่เสื้อกันอยู่ และผู้คนในสมัยนั้นก็จะค่อนขอดคนที่แต่งกายแบบฝรั่งในยุคนั้นอยู่ไม่น้อย ต่อมาจึงแต่งกายกันแบบมิดชิด  ปัจจุบันคนรุ่นใหม่หันกลับมาแต่งกายเปิดเผยเนื้อตัวกันอีกครั้งก็กลายเป็นว่า การแต่งกายแบบนี้ตามแบบฝรั่งและทำลายวัฒนธรรมไทยไปอีกครั้ง นี่คือความเลื่อนไหลของวัฒนธรรมและการแต่งกาย
 
 

"แม่ญิงลานนาเมื่อ 100 ปี ที่แล้ว  ขัดใจผู้ตรวจการวัฒนธรรมไทยปัจจุบันหรือเปล่า"
 

เนื่องจากมีผู้คนจำนวนหนึ่งยังคงยึดถือหลักเกณฑ์ที่ผู้คนสมัยหนึ่งกำหนดเอาไว้ว่านี่คือวัฒนธรรมของไทย ดังนั้นการแต่งกายให้มิดชิดในระดับหนึ่งจึงถูกกำหนดว่าเป็นวัฒนธรรมการแต่งกายของคนไทย เมื่อใครก็ตามไม่ปฎิบัติตามเกณฑ์ที่วางไว้ก็เท่ากับเป็นพวกทำลายวัฒนธรรม ซึ่งมักถูกตัดสินในทางสังคมว่าเป็นคนไม่ดีได้ทันที และการกระทำแบบนี้อาจเทียบเท่าหรือมากกว่าการก่ออาญชากรรมร้ายแรงด้วยซ้ำ

อันที่จริงหากจะดูให้ลึกซึ้งถึงประเด็นวัฒนธรรม จากกรณีเด็กสาวเต้นเปลือยอกโชว์ในครั้งนี้ก็จะพบว่ามีเรื่องที่น่าสนใจอยู่ประการหนึ่งคือ แม้ว่าจะมีการเชียร์ให้มีการเปลือยอก ผู้ที่อยู่บริเวณนั้นต่างดูสนุกสนานเหมือนกำลังดูโชว์ชนิดหนึ่งที่ผู้ชมได้ใกล้ชิดกับนักแสดงอย่างยิ่ง แต่ก็ไม่เห็นว่ามีใครมีท่าทีที่จะเข้าไปจับต้องเนื้อตัวร่างกายหรือจับต้องของสงวนของเหล่าสาวๆ ที่กำลังโชว์อยู่  หากมองมุมบวก ถือเป็นความก้าวหน้าของบรรดาผู้ชมที่ยังคงเคารพในสิทธิในเนื้อตัวและร่างกายของผู้อื่น ซึ่งจุดนี้ควรจะถูกมาไฮไลท์ในการนำเสนอในสื่อหรือมาส่งเสริมให้จริงจังว่า ไม่ว่าเราจะแต่งตัวอย่างไร จะปิดอกหรือเปิดอกก็ไม่ควรจะมีใครมีสิทธิมาละเมิดในเนื้อตัวและร่างกายของเรา และตรงนี้ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล แน่นอนต้องแยกให้ออกจากประเด็นการกระทำผิดกฎหมายที่เจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายต้องมาดำเนินการไปตามกฎหมายของแต่ละประเทศ แต่บุคคลอื่นไม่มีสิทธิไปละเมิดในเนื้อตัวร่างกายของเขา กลุ่มผู้ชมตรงนั้นก็ได้แสดงให้เห็นถึงการยอมรับในการแสดงเปลือยอกแบบนั้นในฐานะของการดูโชว์โดยที่ไม่ได้เข้าไปละเมิดในสิทธิส่วนตัวของผู้แสดง จุดนี้ควรส่งเสริมให้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ กล่าวคือ “วัฒนธรรมการเคารพในสิทธิในเนื้อตัวและร่างกายของผู้อื่น
” และควรนำมาเป็นประเด็นที่นำมารณรงค์ในเกิดการปฏิบัติอย่างจริงจัง

การรณรงค์ให้เคารพในสิทธิในเนื้อตัวและร่างกายของบุคคลอื่นถือเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่ง เพราะในหลายประเทศในโลกนี้และแม้แต่ในประเทศไทยเองนั้นพบว่า ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยยังคงถูกลวนลามแม้จะแต่งตัวมิดชิดแล้วก็ตาม เนื่องจากบุคคลอื่นส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความเคารพในสิทธิในเนื้อตัวและร่างกายของผู้หญิง ในทางกลับกัน สำหรับประเทศไทยควรเลิกการณรงค์ที่บอกว่าห้ามผู้หญิงแต่งตัวเปิดเผยออกไปเล่นน้ำสงกรานต์ เพราะจะเป็นสาเหตุให้ถูกลวนลามได้ เพราะว่าการรณรงค์เช่นนั้นเท่ากับบอกว่า หากใครก็ตามไปลวนลามผู้หญิงที่แต่งตัวเช่นนั้นไม่ผิดแต่ผู้หญิงผิดเอง การรณรงค์เช่นนั้นจึงเป็นการรณรงค์เพื่อให้ร้ายผู้หญิงมากกว่าเพื่อป้องกันหรือ รับรองความปลอดภัยให้กับผู้หญิง
 ควรเปลี่ยนมาเป็นรณรงค์เรื่องการเคารพในสิทธิในเนื้อตัวและร่างกายของผู้อื่นแทน หวังอย่างยิ่งว่าประเทศไทยจะมีคนที่มีวัฒนธรรมในเรื่องของการเคารพในสิทธิในเนื้อตัวและ ร่างกายของบุคคลอื่น  

ส่วนคำถามข้างต้นที่ว่า เปลือยอกโชว์ผิดตรงไหน กล่าวโดยสรุปก็คือ ผิดตรงความสับสนและไม่ลงตัวทางความคิดในการกำหนดมาตรฐานความถูกผิดทางศีลธรรมของสังคมไทยที่ทำให้มีพื้นที่ที่ยังเบลอๆ อยู่มากว่า อะไรคือ วัฒนธรรมไทยแท้จริงในโลกปัจจุบัน รวมทั้งเป็นความสับสนของสังคมไทยที่ไม่ยอมรับและไม่ยอมเข้าใจ ว่าโลกกำลังจะเปลี่ยนไปแล้ว ในขณะที่คนบางกลุ่มนั้นปรับตัวตามไม่ทันและไม่ยอมปรับวิธีคิดให้อยู่ในพื้นฐานของความเป็นจริงของปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้การเต้นเปลือยอกในวันสงกรานต์ จึงกลายเป็นความผิดใหญ่ในฐานทำลาย วัฒนธรรมไทยในสายตาของคนบางกลุ่มและผู้ที่กระทำการฝืนกฎที่วางไว้ในยุคสมัยหนึ่งก็ต้องกลายเป็นจำเลย ของสังคมไป
 
 

 

บล็อกของ สุทธิดา มะลิแก้ว

สุทธิดา มะลิแก้ว
กลายเป็นเรื่องฮือฮาสำหรับการฉลองสงกรานต์ในปีนี้ (2554) เมื่อมีคนนำคลิปของเด็กสาวขึ้นเต้นโชว์เปลือยอกในการฉลองสงกรานต์ย่านสีลมที่มีผู้คนชมและเชียร์กันอย่างเมามันมาเผยแพร่กันอย่างแพร่หลายผ่านทางสังคมออนไลน์ รวมทั้งนักข่าวทุกสำนักก็ให้ความสนใจและนำเสนอกันอย่ากว้างขวาง มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากมายว่า นี่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือการกระทำที่ทำลายวัฒนธรรม บางคนถึงขั้นกล่าวหาเด็กสาวเหล่านี้ว่าเป็นโรคจิตด้วยซ้ำ
สุทธิดา มะลิแก้ว
    ญี่ปุ่น นับเป็นประเทศที่มีพัฒนาการอย่างมากในเรื่องของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าในทางวัตถุอย่างรวดเร็ว มีรถไฟหัวกระสุนที่มีความเร็วสูง มีตึกสูงๆที่สามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ หรือแม้แต่โรงปฎิกรณ์ปรมาณูนั้นก็ยืนยันว่ามีระบบความปลอดภัยเป็นเยี่ยม นอกจากนั้นยังเป็นประเทศที่มีประชากรที่มีระเบียบวินัยและคุณภาพที่พร้อมรับมือกับภัยร้ายๆได้อย่างดี ทว่า สุดท้ายแล้วเมื่อธรรมชาติพิโรธอย่างหนัก ประเทศระดับญี่ปุ่นเองก็ยังยากที่จะรับมือ ประสาอะไรกับประเทศที่ไร้ระเบียบและขาดการเตรียมการอีกหลายประเทศ เห็นภาพภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นแล้ว…
สุทธิดา มะลิแก้ว
  เป็นเวลานานหลายสิบปีที่พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตรซึ่งยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ชัดเจนนั้นไม่ได้ถูกให้ความสนใจ ประชาชนที่อาศัยอยู่ที่นั่น แม้ต่างตอบตัวเองได้ว่าตัวเองเป็นพลเมืองของชาติใดหากต้องติดต่อกับทางราชการแต่ก็อยู่ร่วมกันด้วยดี ถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกันและทำมาหากินร่วมกันมายาวนาน การเดินข้ามไปข้ามมาในบริเวณนั้นก็มิได้เป็นปัญหา มิได้คิดว่าใครจะเข้ามารุกล้ำดินแดนใคร และในการใช้ชีวิตนั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข ทว่า บัดนี้มาเกิดกรณีพิพาทอันเนื่องมาจากการอ้างสิทธิ์บนพื้นที่นี้เกิดขึ้นจากรัฐบาลทั้งสองประเทศและยังไม่อาจแน่ใจว่าข้อพิพาทนี้จะยุติลงได้เมื่อใด…
สุทธิดา มะลิแก้ว
    “พี่รีบๆไปดูเถอะ ตอนนี้ยังดีอยู่ ได้ข่าวว่านายทุนเข้าไปซื้อที่ตรงนั้นไปเยอะแล้ว ไม่ช้าก็คงจะเปลี่ยนไปแน่นอน” ผู้จัดการเกสต์เฮาส์แห่งหนึ่งใน อ.ปาย บอก เมื่อถามว่า อำเภอใหม่เป็นไงบ้าง เพราะว่าดูจะไม่ไกลจากปายมากนัก และในอนาคตอาจไม่เห็นความเป็นธรรมชาติของที่นั่นแล้ว  
สุทธิดา มะลิแก้ว
“การย้ายถิ่นไม่ได้เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติทางประวัติศาสตร์แต่เป็นมิติของการพัฒนาที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน” ตอนหนึ่งในรายงานการพัฒนามนุษย์ปี 2552 (Human Development Report 2009) จัดทำขึ้นโดยโครงการการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nation Development Programme –UNDP) ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้
สุทธิดา มะลิแก้ว
เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวว่า อินโดนีเซียมีความไม่พอใจมาเลเซียเป็นอย่างยิ่งที่มาเลเซียนำเพลง ราซา ซายัง เอห์ ( Rasa Sayang Eh) มาเป็นเพลงประกอบโฆษณาการท่องเที่ยว โดยระบุว่าเพลงนั้นเป็นเพลงของอินโดนีเซียและบอกว่าเนื้อเพลงที่ร้องนั้นเป็นภาษาท้องถิ่นของเกาะอัมบน
สุทธิดา มะลิแก้ว
ไม่ว่าการตัดสินคดีของอองซาน  ซูจีจะปรากฎออกมาเยี่ยงใดก็ตาม  มินท์ เมี้ยต รู้ดีว่า คงไม่ได้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายใดๆหรอก แต่คำตัดสินนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าผู้นำรัฐบาลทหารพม่าต้องการให้ออกมาเช่นไร ตัวเขาเองนั้นรู้ซึ้งในเรื่องนี้ดีเพราะเคยมีโอกาสได้เข้าไปสู่กระบวนการนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว และเขารู้ดีว่า ชะตากรรมของชาวพม่านั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายยิ่งกว่าพลิกฝ่ามือเสียอีก หากคนๆ นั้นบังเอิญไปทำอะไรขวางหูขวางตารัฐบาลเข้า เช่นเดียวกับตัวเขาและภรรยาที่เป็นวิศวกรอยู่ดีๆ ก็ต้องมากลายเป็นนักโทษ และสุดท้ายต้องมาลงเอยด้วยการเป็นแรงงานข้ามชาติอยู่ในประเทศไทย 
สุทธิดา มะลิแก้ว
ดูเหมือนเหตุการณ์จะประจวบเหมาะมากที่จู่ๆ ชายชาวอเมริกันคนหนึ่งได้เข้าไปบ้านพักของนางออง ซานซูจีจี ผู้นำพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ในช่วงที่นางจะหมดวาระการถูกกักบริเวณเพียงไม่กี่วัน และหากนางอองซาน ซูจีถูกตัดสินจำคุกก็เท่ากับว่านางและพรรคฝ่ายค้ายนั้นอาจไม่มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมกับแผน แผนปรองดองแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (Road Map for Democracy) เป็นแน่แท้ซึ่งเรื่องนี้ชาวโลกต่างให้ความสนใจว่า จริงๆ แล้วพม่ามีความจริงใจที่จะดำเนินการให้เกิดประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน
สุทธิดา มะลิแก้ว
1   ในระหว่างที่เห็นการนำเสนอข่าวอย่างครึกโครมเรื่องเด็กชายเคอิโงะ ลูกครึ่งญี่ปุ่นที่ออกมาตามหาพ่อ ก็คิดต่อทันทีว่า ไม่นานก็จะมีเด็กแบบเดียวกับเคอิโงะออกกันมาอีกแน่ๆ เพราะรู้ดีว่าเด็กแบบนี้ไม่ได้มีคนเดียวในประเทศไทยและยังคิดต่ออีกว่า หลังจากสื่อสามารถทำเรื่องชีวิตเด็กคนหนึ่งให้ฮือฮาได้แล้ว เรื่องของเด็กคนอื่นก็ไม่น่าสนใจอีกต่อไป แล้วทั้งรัฐและเอกชนที่โหมกระหน่ำความช่วยเหลืออย่างเช่นกรณีเคอิโงะก็จะหายไปด้วย
สุทธิดา มะลิแก้ว
ท่ามกลางเปลวแดดที่แผดเผาจนผิวไหม้เกรียมแทบจะกลายเป็นเนื้อแดดเดียว  แม้จะสี่โมงเย็นแล้วก็ยังไม่มีวี่แววว่าแสงแดดในบ้านเราจะยอมอ่อนแรงลงเลย  ยังคงสาดแสงอย่างเกรี้ยวกราดทำให้คนที่กำลังเดินอยู่นั่นแหละอ่อนแรงลงไปก่อน และแล้วก็ตั้งใจจะเรียกแท๊กซี่ (อีกแล้ว) แต่ก็ต้องยอมทนอีกนิดข้ามสะพานลอยไปเรียกรถอีกฝั่งหนึ่งดีกว่า เพื่อความสะดวกให้กับแท๊กซี่ไม่ต้องกลับรถ
สุทธิดา มะลิแก้ว
ตอนที่ 1 สุข-ทุกข์อยู่บนท้องถนนเห็นจะต้องยอมรับเสียทีว่า ตัวเองนั้นเป็นที่ใช้รถเปลืองมากๆ ส่วนใหญ่ถ้าวันไหนต้องออกจากบ้านก็คงจะใช้อย่างน้อย 2 คันทีเดียว ทั้งหมดนี้ไม่ได้อวดโอ้แต่ประการใด เพียงแต่ว่า พาหนะหลักในการเดินทางของผู้เขียนเวลาที่อยู่กรุงเทพฯ นั้นก็คือแท็กซี่ แม้จะใช้รถไฟฟ้าหรือใต้ดินบ้างก็ยังต้องนั่งแท๊กซี่ไปที่สถานีรถไฟฟ้าหรือใต้ดินอยู่ดี   ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีมานี้จึงได้พบเรื่องราวหลากหลายในระหว่างการนั่งรถแท๊กซี่ และผ่านบทสนทนากับคนขับแท๊กซี่ที่ผู้เขียนได้ใช้บริการไม่ว่าสีไหนก็ตาม (อันนี้หมายถึงสีของรถแท๊กซี่ไม่เกี่ยวกับสีในอุดมการณ์ของคนขับ)…
สุทธิดา มะลิแก้ว
"It's your responsibility" หรือ "คุณนั่นแหละต้องรับผิดชอบ" เป็นคำพูดที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนพูดย้ำหลายครั้งต่อหน้าผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 1 พันคนเมื่อบ่ายวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ห้องประชุมมหิตลาธิเบศร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเวทีมหกรรมภาคประชาชนอาเซียนครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 -22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา  สุรินทร์ พิศสุวรรณ กล่าวย้ำด้วยความภาคภูมิใจถึงการมีกฎบัตรอาเซียน โดยบอกว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถก้าวไปข้างหน้า เพราะถือเป็นกฎหมายสูงสุดที่ประเทศสมาชิกจะต้องปฎิบัติตาม การมีกฎบัตรจะทำให้อาเซียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล และสิ่งที่ ดร.สุรินทร์…