Skip to main content

 

หากใคร
ได้ไปเที่ยวเชียงใหม่ ได้มีโอกาสไปสักการะอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านตะวันออก ของหอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ เมื่อกราบเสร็จยืนขึ้น มองเฉียงไปทางซ้ายมือผ่านถนนไป จะเห็นวัดร้าง ที่เหลือให้เห็นเพียงเจดีย์และพระพุทธรูปองค์ใหญ่ วัดร้างนี้เดิมชื่อ “วัดสะดือเมือง” หรือ “วัดอินทขีล” สถานที่นี้ในปัจจุบันคือ หอประชุมติโลกราช ติดๆกันจะเป็นร้านข้าวมันไก่ลือชื่อของเชียงใหม่ วัดร้างนี้เดิมเป็นที่ตั้งของ “เสาอินทขีล” หรือ “สะดือเมือง”

 

สะดือเมือง
หมายถึงอะไร ผมถามตนเอง เหมือนสะดือทะเลไหมหนอ เป็นเรื่องน่าค้นหาคำตอบยิ่งนัก ก่อนนี้ผมไม่เคยสนใจสิ่งใกล้ตัว ไม่สนใจรากเหง้า ไม่มองดูบ้านเกิดของตน บรรพบุรุษของเราเป็นชนชาติใด ใครเป็นผู้สร้างบ้านแปงเมือง บ้านเมืองเรามีอะไรน่าภูมิใจน่ารักษา พม่าปกครองเมืองเชียงใหม่นานถึง 216 ปี นานถึงสามชั่วอายุคนทีเดียว ผมก็ไม่รู้สึกรู้สาอะไรมากมาย ระยะนี้ขลุกแต่เรื่องทางเหนือ ไปค้นที่หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต้องค้นหนังสือโดยคอมฯ ก็ไม่คล่อง กุกๆกักๆ ต้องถามบรรณารักษ์ ค้นอินเตอร์เน็ต หาหนังสืออ่าน ซื้อมาอ่านก็หลายเล่ม ยังไม่ได้อะไรมากจนพอใจ แต่ก็พอทราบพอสมควรว่า กำแพงเมืองเชียงใหม่กว้าง 800 วา ยาว 1000 วา เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หากลากเส้นจากทิศเหนือของกึ่งกำแพง ไปทิศใต้ตรงกึ่งกลางกำแพง แล้วลากเส้นจากกึ่งกลางกำแพงตะวันออกไปตะวันตก จะเกิดจุดตัดของสองเส้นนี้ ตรงจุดตัดคือกลางเมืองเชียงใหม่เรียกว่า “สะดือเมือง” เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมือง ซึ่งชาวเชียงใหม่เรียกเสานี้ว่า “เสาอินทขีล” บริเวณที่เสานี้ตั้งอยู่ ถือว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์

 

พระยาเม็งรายมหาราช ทรงสร้างเสาอินทขีล เมื่อครั้งสถาปนา “นพบุรีศรีนครเชียงใหม่” ขึ้นเมื่อปี พ .. 1839 เดิมเสานี้อยู่ที่วัด “สะดือเมือง” หรือ “วัดอินทขีล” ครั้นพระเจ้ากาวิละครองเมืองเชียงใหม่ จึงได้ย้ายมาประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง โดยสร้างขึ้นใหม่เป็นเสาปูน และมีพิธีบวงสรวงสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้ เสาหลักเมืองหรือที่ชาวเชียงใหม่เรียกว่าเสาอินทขีลนั้น จะมีการบูชาที่เรียกว่า “การขึ้นขันดอกอินทขีล” หรือ “การใส่ขันดอกอินทขีล” ราวเดือนพฤษภาคมต่อมิถุนายน ถือเป็นเสาศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เชื่อกันว่า หากใครมาบูชา ถ้าอธิษฐานจิตด้วยใจแน่วแน่ศรัทธา ก็จะได้ตามอธิษฐาน “การใส่ขันดอกอินทขีล หมายถึงการใส่บาตรด้วยดอกไม้ แทนที่จะใส่บาตรด้วยอาหาร ที่เขาทำเช่นนี้ก็เพราะเชื่อว่า ดอกไม้เป็นของที่ควรแก่การนำสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่น เสาอินทขีลเป็นอย่างยิ่ง” (จาก เล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย อสิธารา)


สมัยก่อน
ผู้มาใส่ขันดอก จะเก็บดอกไม้ที่เป็นมงคล เช่น ดอกเก็ดถะวา(ดอกพุดซ้อน) ดอกสบันงา ดอกมะลิ ดอกตะล้อม(ดอกบานไม่รู้โรย) ดอกแก้ว แต่ปัจจุบันตามแต่จะหาได้ คงเพื่อความสะดวก


ขอเพียงมีใจที่สะอาดและศรัทธา และตรงหน้าวิหารวัดเจดีย์หลวงนั้น เสาอินทขีลหรือเสาหลักเมือง ตั้งอยู่กึ่งกลางวิหารจัตุรมุขซึ่งเป็นหลังเล็ก ศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ เป็นเสาอิฐก่อปูนติดกระจก รอบเสาโต
5.67 เมตร สูง 1.30 เมตร แท่นพระบนเสาอินทขีลสูง 97 เซนติเมตร บนเสามีพระพุทธรูปทองสำริด ปางรำพึง และยังมีการอัญเชิญ “พระเจ้าฝนแสนห่า” มาประดิษฐานไว้ตรงวงเวียนหน้าวิหารวัดเจดีย์หลวงหลังใหญ่ เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ ชาวเชียงใหม่เชื่อกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีพุทธานุภาพ บันดาลให้ฝนตกตามฤดูกาล ผู้ศรัทธาแก่กล้า ไม่ว่าอยู่ใกล้หรือไกล ย่อมหาโอกาสไปร่วมงาน ที่มีเพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ผมได้ไปร่วมงานและถ่ายรูปมาฝากด้วยครับ.

 

 

 

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
                                                            
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง