Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์
“น้ำใจให้น้องปิ่น” เด็กหญิงพิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ทุกคนในครอบครัวยังมีความหวังและมองโลกในแง่ดีเสมอ อ่านเรื่องของน้องปิ่นกับแม่ได้ที่นี่ สนับสนุนเงินทุนช่วยเหลือตามกำลังศรัทธาได้ที่หมายเลขบัญชี 05-3405-20-093267-0น.ส.สีไวย คำดา เพื่อ ด.ญ.วรัญญา ฟินิวัตร์ธ ออมสิน สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่“สมทบทุนค่าอาหารและรักษาพยาบาลหมาแมวพิการ ป่วยไข้ ถูกทอดทิ้ง ตามกำลังศรัทธา”เลขที่บัญชี 1210101483 น.ส. นันท์ธนัตถ์ จิตประภัสสร ธ กรุงไทย สาขาบางบัวทองหรือจะส่งเป็นอาหารหมาแมวก็ได้ค่ะ ที่97 หมู่ 2 บ้านหนองคาง ต.หนองราชวัตร อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี 72240 สำหรับคนที่อยากขอคำพยากรณ์จากไพ่เป็นการส่วนตัว ตอนนี้มีรับพยากรณ์ทางอีเมล์นะคะ ติดต่อที่ parinyasin@hotmail.com ได้ค่ะ แต่บอกก่อนนิดนึงว่ามีค่าบำรุงเด้อค่า
new media watch
อยากรู้ไหมว่าตัวคุณเป็น 'ซ้ายไร้เดียงสา' หรือ 'ขวาตกขอบ' เป็น 'จอมเผด็จการ' หรือ 'อนารยชน' ที่ politicalcompass.com หรือ 'เข็มทิศการเมือง' มีคำตอบ! แค่คุณตอบแบบสอบถามที่ให้มา แล้วระบบจะประมวลผลจากคำตอบที่เลือก เพื่อหาว่าจุดยืนและแนวคิดทางการเมืองของคุณเป็นอย่างไร...เพียงแค่ตอบคำถามง่ายๆ ไม่กี่สิบข้อ (แต่มีข้อแม้ว่าต้องสันทัดภาษาอังกฤษพอสมควร หรือถ้าไม่เชี่ยวชาญ และอยากรู้จริงๆ แนะนำให้ทำแบบทดสอบโดยเปิดดิกชีนนารีไปด้วย ไม่งั้นผลที่ได้อาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง) และคำถามส่วนใหญ่ออกแนวลองเชิงลองใจว่าคุณให้ความสำคัญกับเรื่องไหนบ้าง มีทั้งศีลธรรมจรรยา ระบบถ่วงดุลและตรวจสอบ ชอบหรือไม่ชอบรัฐสวัสดิการ หรือว่าควรจัดการกับคนจนที่คุณเห็นว่า 'ไร้ประโยชน์' ออกไปจากสังคมเสียให้หมด! (โอ้ว...แม่เจ้า)ถึงแม้ว่าคำตอบที่ให้เลือกจะมีแค่ 'เห็นด้วยอย่างมาก' 'เห็นด้วย' 'ไม่เห็นด้วย' และ 'ไม่เห็นด้วยอย่างมาก' แต่หากต้องตอบกันจริงๆ แบบทดสอบนี้ก็ค่อนข้างแม่นำพอสมควร แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ...เราเชื่อว่าจุดยืนและแนวคิดของคนเราแตกต่างและละเอียดอ่อนซับซ้อนกว่าแบบทดสอบนี้จะประเมิออกมาได้ทั้งหมเ ภาพสะท้อนที่ออกมาจึงอาจไม่ใช่ตัวตนที่แท้ของคุณก็ได้ แม้กระทั่งคนที่คิดว่าตัวเองช่างเป็นพวกเสรนิยม จริงๆ แล้วอาจเป็นเผด็จการโดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้ลองทำแบบทดสอบดูก็คงไม่เสียหาย ถึงแม้ว่ามันจะบอกตัวตนและความคิดของใครแต่ละคนไม่ได้ทั้งหมดก็ตามที แต่อย่างน้อย คนเราก็ควรจะได้ตรวจสอบจุดยืนตัวเองในเรื่องที่เกี่ยวพันกับมนุษย์คนอื่นๆ ในสังคมบ้างhttp://politicalcompass.org  
new media watch
อาจดูเหมือนไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่กลุ่มผู้ก่อตั้งสถานีอินเทอร์เน็ตแห่งนี้บอกชัดเจนว่า "ไม่ใช่การนำรายการที่ออกอากาศในโทรทัศน์มาฉายซ้ำในช่องทางอินเทอร์เน็ต" แต่เป็นช่องทางนำเสนอรายการแบบ on-demand ที่เน้นความสร้างสรรค์ แตกต่าง และหลากหลาย ที่สำคัญ มีการจัดอบรมวิธีผลิตรายการบนสถานีอินเตอร์เน็ตด้วย...หัวเรี่ยวหัวแรงหลักๆ ของสถานี suki flix มีแค่ 3 คนเท่านั้น คือ บารมี นวนพรัตน์สกุล, ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์, ชัยณรงค์ อุตตะโมท - 3 หนุ่ม 3 สามมุมที่แปรรูปความฝันให้กลายเป็นสิ่งที่มองเห็นและจับต้องได้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่นอกจากรายการเกี่ยวกับไอที (Geek Freak) ไลฟ์สไตล์ ( Story of the Month) ศิลปะ บันเทิง วัฒนธรรม ฯลฯ บางครั้งบางคราวก็มีการถกประเด็นสังคมและการเมืองพอหอมปากหอมคอ แต่สิ่งที่ได้รับคำชมอย่างท่วมท้น เห็นจะได้แก่ หลักสูตร Flix Production 1.0 หรือ "การผลิตรายการบนสถานีอินเทอร์เน็ต รุ่นที่ 1" ที่เปิดให้คนรุ่นใหม่ (หรือคนรุ่นเก่าที่ยังมีไฟ) ได้เรียนรู้และทดลองทำรายการในสไตล์ Flix หรือ Clip สำหรับเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตด้วยตัวเอง แบบที่ใครๆ ก็พูดว่า "ทำเองก็ได้....ง่ายจัง"http://www.sukiflix.com
new media watch
เรื่องราวเกี่ยวกับ iPod, iPhone ทั้งข่าวสาร ข้อมูลอัพเดท ข่าวลือ สามารถหาได้จากเว็บบล็อกแห่งนี้ siampod.com เริ่มต้นให้บริการประมาณต้นปี 2006 โดยเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับ iPod จากต่างประเทศโดยเฉพาะ - แต่บางครั้งก็มีข่าวของ Apple Macintosh หลงมาบ้างประปราย
new media watch
กระแส 'ถุงผ้า' อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกำลังมาแรง แต่ชาวญี่ปุ่นมีวิธีประหยัดถุงพลาสติก ถุงผ้า หรือแม้แต่กระเป๋าเดินทาง มาตั้งนานแล้ว!เวบ 'กระทรวงสิ่งแวดล้อม' สัญชาติญี่ปุ่น ขอนำเสนอ Furoshiki หรือ วิธีพับผ้าเป็นสัมภาระบรรจุสิ่งของที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ หรือคนยุคปัจจุบันจะดัดแปลงเป็นการห่อของขวัญก็ได้ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษาญี่ปุ่นก็สามารถเข้าใจ 'ฟุโรชิกิ' เพราะเวบนี้เขาใช้ 'ภาษาภาพ' เป็นเครื่องมือสื่อสาร ลองเข้าไปดูแล้วทำตามยามว่างๆ ก็คงเพลินดีhttp://www.env.go.jp/en/focus/attach/060403-5.html
new media watch
"divland.com" สำหรับเว็บบล็อกที่จะแนะนำคราวนี้ อาจจะเป็นบล็อกเชิงเทคนิคสักนิด แต่สำหรับคนที่ออกแบบเว็บไซต์น่าจะพอเข้าใจชื่อ divland.com มาจากคำสั่ง <div> และ </div> ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ใช้บ่อยมาก ในการออกแบบเว็บไซต์ด้วยภาษาโปรแกรม XHTML และ CSS ในการออกแบบเว็บไซต์ ที่ผ่านมาในอดีตไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป หรือการเขียนเว็บเพจด้วยโปรแกรม Text Editor มีการใช้งาน HTML ที่ไม่ควรใช้เยอะมากจนเกินความจำเป็น ปัจจุบันการออกแบบเว็บไซต์ทำได้ง่ายขึ้น โดยการใช้ภาษาโปรแกรมรุ่นใหม่ XHTML และ CSS เพื่อช่วยลดความซับซ้อน และเกิดเป็นมาตรฐานเว็บสมัยใหม่การออกแบบเว็บไซต์ให้ได้มาตรฐานนั้นไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะในการทำงานที่สะดวกขึ้น แต่ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการทางสายตาได้อีกด้วยสามารถทดสอบความเป็นมาตรฐานของเว็บไซต์ได้ที่ validator.w3.org
new media watch
ใครว่าบล็อกยี่ห้อ WordPress ใช้งานยาก "keng.com" ขอเถียง สำหรับคนที่เพิ่งเคยได้ยินชื่อ keng.com (เก่งดอทคอม) คงนึกไปว่าเว็บนี้เป็นเว็บบล็อกส่วนตัวของนายเก่งคำตอบคือ ถูกครึ่งเดียว...เพราะนี่คือเว็บของ เก่ง - กติกา สายเสนีย์ ที่ไม่ใช่เว็บบล็อกส่วนตัวอย่างเดียว แต่เป็นเว็บบล็อกสอนการใช้งาน WordPress ที่เป็นระบบเว็บบล็อกที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน * keng.com เริ่มเปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี 1999 ในช่วงแรกๆ เป็นการบันทึกข้อมูลทั่วไป แต่อยู่มาวันหนึ่ง keng.com ก็ปรับเปลียนตัวเอง ให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยเป็นการเขียนบทความเกี่ยวกับการใช้งานบล็อกเป็นหลักไม่ว่าคุณจะเพิ่งศึกษาหาข้อมูล เพิ่งเริ่มใช้งาน หรือใช้งาน WordPress อยู่เป็นประจำแต่พบปัญหา คุณสามารถเข้ามาหาคำตอบได้ที่นี่ขอเรียก keng.com ว่าเป็น WordPress Guru ของไทยคนหนึ่งเลยก็แล้วกัน-----* WordPress มีให้บริการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน1) ให้บริการบล็อกฟรีที่เว็บไซต์ www.wordpress.com 2) และให้บริการดาวน์โหลดโปรแกรมเว็บบล็อกสำเร็จรูป www.wordpress.org
new media watch
ไม่ใช่ 'เชลล์ชวนชิม' ออนไลน์ แต่เป็นพื้นที่ส่วนตัวของ 'มนตรี ศรียงค์' กวีหนุ่ม เจ้าของรางวัลซีไรต์ประจำปี 2550 ที่ใช้เวลานอกเหนือจากการแต่งกวี ในฐานะ 'เจ้าของร้านบะหมี่เป็ดแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา'เนื้อหาข้างในบล็อกไม่ได้สอนวิธีทำบะหมี่เป็ดหรือขายแฟรนไชส์ แต่มีทั้งบทกวีและคำทักทายมิตรรักแฟน (คลับ) กวี รวมไว้ให้นักอ่านได้ลิ้มรสไม่ว่าวิวาทะเรื่องรางวัลซีไรต์จะลงเอยอย่างไร ถ้าสุภาษิตที่ว่า "ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน" ยังใช้การได้ ขอเชิญไปทัศนาและพินิจพิเคราะห์กันเอาเองที่ http://www.softganz.com/meeped/index.php
new media watch
เว็บข่าวไอทียุคใหม่ Blognone "บล็อกนัน" หรือ "บล็อกนั้น" ตามคำออกเสียงของหนึ่งในผู้ก่อตั้ง เป็นเว็บข่าวไอทีทันสมัย และอัพเดทเร็วที่สุด (ของไทย)ในยุคนี้ และมีผู้รายงานข่าว(สายไอที) มากที่สุดก็ว่าได้ ด้วยสโลแกนที่ว่า "Tech News Thai's Worth" อันเป็นที่มาของ blognoneblognone เกิดจากนักศึกษา 2 คนที่เบื่อข่าวไอทีจากเว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์ของไทย ที่รายงานข่าวแบบขอไปที ทำการแปลข่าวจากเว็บภาษาอังกฤษแบบคำต่อคำ"ลิ่ว" และ "มาร์ค" แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบในการประคับประคองให้ blognone เป็นไปในแนวทางที่ตั้งใจไว้ คือทุกคนสามารถเป็นผู้รายงานข่าวได้ เพียงแค่สมัครสมาชิกและเขียนข่าวตามแม่แบบ (เนื้อหา ความเห็น และที่มาของข่าว) ไม่ว่าคุณจะสนใจเรื่องไอทีในแง่มุมไหนก็ตามด้วยความที่อยากให้ทุกคนที่สนใจเป็นผู้รายงานข่าว สามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างสะดวก CMS ของเว็บบล็อกอย่าง WordPress ก็เป็นตัวเลือกแรกในการใช้งาน แต่ต่อมาพบว่า CMS ที่น่าจะเหมาะกับเว็บไซต์รายงานข่าวแบบนี้น่าจะเป็น Drupal (2 ผู้ก่อตั้งเป็นนักศึกษาสายไอที)blognone เริ่มต้นโพสต์ข่าวแรกในเดือนสิงหาคม 2004 และได้รับความนิยมจากผู้อ่าน และผู้รายงานข่าวมากขึ้นเป็นลำดับ จนปลายปี 2006 เป็นช่วงหนึ่งที่ blognone ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลามในกรณี "จดหมายเปิดผนึกถึงรมว.ไอซีที" ที่อธิบายถึงความสำคัญของ Open Source Softwareหากจะให้ระบุคำนิยามของ blognone คำกล่าวที่ว่า "เว็บไซต์สรุปข่าวไอทีอันดับหนึ่งของไทย" ก็คงไม่เพี้ยนไปจากนี้
new media watch
นี่คือเว็บไซต์ที่ชวนคนมา "เอา" กันเรื่องราวเริ่มต้น เมื่อหนุ่มน้อยไอทีสองนาย กล้า (กล้า ตั้งสุวรรณ) และออย (ณัฐวัฒน์ ปาลกะวงษ์ ณ อยุธยา) เกิดแรงบ้าขึ้นมา อยากลองของว่าถ้าจู่ๆ ลุยทำ ‘ทีวีออนไลน์' ขึ้นมา เริ่มต้นแบบง่ายๆ ตั้งแต่ยุคที่ไม่ค่อยมีใครทำ แถมคนทำก็โนเนม ผลการทดลองนั้นจะเป็นอย่างไรDuocore.tv จึงเกิดขึ้น ภายใต้สโลแกนที่ว่า "ผลักดันวงการไอทีในบ้านเรา" เป็นรายการ IT แนวใหม่สำหรับยุค Hi-Speed สะท้อนมุมมองของวงการ IT บ้านเราและต่างประเทศ พร้อมข่าวสาร Update เจ๋งๆ ในรอบสัปดาห์เนื้อหาดูโอคอร์ ที่ผ่านมา ค่อนข้างเน้นไปทางข่าวไอที ด้วยหลายๆ สาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเพราะข่าวไอทีที่ให้ติดตามได้สนุกๆ ยังมีน้อย ทุกวันนี้มีเพียง blognone.com นอกจากนี้ อาจเพราะวงการทีวีออนไลน์ยังถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนส่วนใหญ่ การบุกตลาดช่วงแรกจึงเป็นที่สนใจในหมู่คนแวดวงไอทีโดยเฉพาะมาปัจจุบัน duocore มีอายุ 36 สัปดาห์ กับวิดีโอทั้งหมด 36 ตอน การถ่ายทำเริ่มขึ้นอย่างง่ายๆ จัดโซฟา หามุมเหมาะภายในบ้าน ตั้งกล้อง แล้วเริ่มถ่ายทำ ! ทีมงานทั้งหมดรวม 4 คน คือ กล้า (พิธีกร), ออย (พิธีกร), ตาล (ตากล้อง), จิ้งจุ่น (ตัดต่อ)กล้าเล่าว่า ผ่านพ้นมา 36 เทป ในวันนี้ถ้าย้อนไปดูที่เทปแรก "อายมาก ทำออกมาได้ยังไง" เขาเล่าว่าอัดรายการช่วงแรกๆ นั้น ทั้งฝืด ทั้งเกร็ง แถมเดดแอร์เต็มไปหมด เพราะส่งมุขกันไม่ทันแต่เรื่องน่าสนใจที่เปลี่ยนไป นับจากเทปแรกมาจนเทปล่าสุดคือ ที่มาของเนื้อหา จากเดิมที่จะหยิบข่าวจากต่างประเทศมาพูด ซึ่งเป็นข่าวที่ถูกคัดมาจากทีมงานเท่านั้น แนวทางช่วงหลังก็เปลี่ยนมาเปิดพื้นที่ให้สมาชิกคนอ่านช่วยกัน "ส่งข่าว" ได้ แต่แค่เข้ามาอ่าน ไม่พอเพราะต้องมา "เอา" กันด้วย นั่นคือ อ่านข่าวไหน ชอบข่าวไหน ก็ช่วยกันคลิก "เอา" ข่าวที่คนนิยมที่สุดจะถูกดันเด้งมาที่หน้าแรก ซึ่งพบว่านี่เป็นระบบที่ทำให้เนื้อหาข่าวหลากหลายกว่าจากเดิม"ผมกับออย หาเรื่องได้ไม่ดีเท่ากับที่ทุกๆ คนช่วยกันหาหรอก" กล้าบอก นอกจากนี้ การมีพื้นที่ให้คนส่งข่าวเอาข่าว ยังเพิ่มกิจกรรมให้คนมีส่วนร่วมได้มากขึ้น แทนที่เว็บ duocore จะเป็นเพียงรายการรายสัปดาห์ที่ดูได้เพียงครึ่งชั่วโมงต่ออาทิตย์ เมื่อเป็นแบบนี้ คนดูก็จะได้ทำอะไรมากกว่านั้น ได้นั่งดู ได้ร่วมคอมเม้นท์ข่าวที่มีคน ‘เอา' มากที่สุด ทีมงานจะหยิบไปเล่าต่อในรายการรายสัปดาห์ทุกวันนี้ ดูโอคอร์ แม้จะมีข่าวด้านไอทีเยอะ แต่ก็แทรกเนื้อหาหลากหลาย ประเด็นอย่างเรื่อง "ค่าตัวนักเตะพรีเมียร์ลีกส์" หรือเรื่อง "มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ" ก็เคยเป็นประเด็นในรายการของสองหนุ่มนี้มาแล้วกล้าตั้งข้อสังเกตว่า ช่วงครึ่งปีให้หลัง มีคนสนใจทีวีออนไลน์มากขึ้น พบว่ามีคนทำวิดีโออัพขึ้นเว็บด้วยตัวเองมากขึ้น เว็บไซต์รายการทีวีก็มีให้เห็นมากขึ้นด้วยกล้าและออย เริ่มทำดูโอคอร์ โดยได้แรงบันดาลใจมาจากเว็บไซต์ diggnation ซึ่งก็เป็นรายการทีวีออนไลน์ว่าด้วยข่าวสารไอที ซึ่งมักหยิบประเด็นมาจากเรื่องที่ได้รับความสนใจจากการโหวตในเว็บไซต์ digg.com ในหมวดเทคโนโลยีถามกล้าว่า คนธรรมดาถ้าอยากทำทีวีออนไลน์บ้าง เขาต้องมี "อะไร"กล้าตอบทันทีว่า "พลังอึด เวลา และความสม่ำเสมอ" หาใช่เรื่องเทคนิค อุปกรณ์ เพราะเรื่องเทคนิค และอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ได้เป็นเรื่องยากอย่างที่คิด แถมยังสรรหาได้จากเพื่อนรอบข้าง (หรือจากห้างพันธุ์ทิพย์)จะรออยู่ใย ลองเยี่ยมชม ดูโอคอร์ หรือ ดูรายการย้อนหลัง รับรองฮา !
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเคยรู้จักคนบางจำพวกที่มีลักษณะต่างจากคนธรรมดาทั่วไปอย่างเรา ๆ ท่าน อยู่ประการหนึ่ง นั่นคือคน-คนพวกนี้ไม่ว่าจะประสบกับปัญหาชีวิตมากน้อยหรือหนักหนาสาหัสเพียงใด เมื่อถึงเวลานอนหลับ…เขาสามารถที่จะปล่อยวางปัญหานั้น ๆ ออกไปจากความคิดจิตใจ และนอนหลับได้สนิท ราวกับว่าไม่มีปัญหาใด ๆ มาแผ้วพาน ครั้นเมื่อตื่นขึ้นมาในยามเช้าวันใหม่ เขาก็จะหยิบยกปัญหาต่าง ๆ มาครุ่นคิดพิจารณาหาทางแก้ไข ปัญหาใดที่แก้ไขได้…ก็จัดการแก้ไขให้เรียบร้อย ส่วนปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้เขาก็สามารถจะปล่อยวางปัญหานั้นเอาไว้ก่อน และหันไปทำธุระอื่น ๆ แทนที่จะเก็บมาหมกมุ่นครุ่นคิด เป็นทุกข์กังวลอยู่กับปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ เหมือนคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ มักจะเป็นกัน จนหลาย คนกลายเป็นโรคเครียดและนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นต้นตอของโรคร้ายอีกมากมายหลายชนิด หากจะเปรียบความพิเศษของคนพวกนี้ให้เห็นเป็นรูปธรรมที่เข้าใจ ได้ง่ายคนพวกนี้ก็เหมือนนักเดินทางที่แบกสัมภาระไว้บ่นบ่า เมื่อเดินทางไปจนเหนื่อยหนัก เขาก็สามารถสั่งให้ตัวเองหยุดพักและปลดวางสัมภาระลงจากบ่า พักผ่อนเอาแรง พอหายเหนื่อย…เรี่ยวแรงกลับคืนมา ก็ลุกขึ้นแบกสัมภาระเดินทางต่อ …สลับกันไป จนกระทั่งถึงจุดหมายปลายทางโดยราบรื่น นี่ คือเรื่องง่าย ๆ ของชีวิตที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าใจได้ และทำได้โดยง่ายแต่การแบกสัมภาระของชีวิตที่เป็นนามธรรมที่มีอยู่ในความคิดจิตใจของเรา น้อยคนนักที่จะสามารถสั่งให้ตัวเองหยุดพัก และปลดสัมภาระในหัวใจของตัวเองลงได้ง่าย ๆ เหมือนปลดสัมภาระที่เป็นวัตถุข้าวของลงจากบ่า – ในเวลาที่หัวใจของตัวเองเหนื่อยหนัก เช่นอย่างตัวผมนี่…บ่อยครั้ง-ทั้ง ๆ ที่รู้แก่ใจดีว่าปัญหาชีวิตบางอย่าง ยิ่งเก็บมาคิดยิ่งทำให้เกิดความเครียดและเป็นทุกข์กังวลแทบจะบ้า แต่ก็ไม่สามารถปลดมันออกจากหัวใจลงมาปล่อยวางได้ เพราะมันเป็นนามธรรมที่มองไม่เห็นด้วยตาจับต้องไม่ได้ด้วยมือ รู้แต่ว่ามันอยู่ในความคิดจิตใจ…รู้แต่ว่ามันทำให้เราเป็นทุกข์หนักเหมือนแบกโลกไว้ทั้งโลก แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรยกมันออกไปให้พ้น ๆ จากอกได้ผมจึงถือว่าคนที่มีลักษณะพิเศษแบบนี้เป็นคนเกิดมาโชคดีมีบุญ ถ้าหากพวกเขาไม่ได้รับการกล่อมเกลาทางจิตใจในเรื่องนี้มาจากครอบครัว-ตั้งแต่เล็กแต่น้อยจนเป็นนิสัย พวกเขาก็น่าจะได้รับพรจากสวรรค์มาตั้งแต่กำเนิดในชีวิตของผมเคยรู้จักและพบคนประเภทไม่ถึงสิบคน ผมเคยถามใครบางคนเกี่ยวกับความพิเศษของเขาว่าเป็นเพราะอะไร…ชีวิตของเขาจึงแทบไม่รู้จักความทุกข์กังวลกับปัญหาชีวิตใด ๆ เขากลับย้อนถามผมอย่างงง ๆ ง่า“มันเป็นอย่างไรนะความทุกข์กังวล”“ก้อ…คือการที่คนเราเก็บปัญหาโน่นปัญหานี่ของชีวิตมาคิดมากเกินไปจนเกิดความไม่สบายใจและเครียด…จนกินไม่ได้นอนไม่หลับยังล่ะ” “อ๋อ อย่างนั้นเหรอ ไม่รู้สิ …ผมไม่เคยเป็นอะไรถึงขนาดนั้นหรอก ไม่รู้เป็นเพราะอะไรคนอย่างผมนี่…ไม่ว่าชีวิตจะมีปัญหาเรื่องอะไร พอถึงเวลานอนหลับ…มันจะเลิกคิดและนอนหลับไปเองโดยอัตโนมัติ พอตื่นขึ้นมาพบเรื่องที่ยังแก้ไขไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคอขาดบาดตายขนาดไหนมันก็จะเลิกคิดของมันไปเอง ชีวิตก็ควรจะเป็นอย่างนี้มิใช่หรือ ไม่เห็นมีอะไรแปลก ขืนคิดไปก็บ้าเท่านั้น”ผมฟังแล้วอยากร้องไห้ เพราะมันเป็นคำตอบที่ผมรู้อยู่แก่ใจดี แต่ผมทำไม่ได้เท่านั้นเองแหละว่ะเรื่องของพวกเขามีอยู่เพียงแค่นี้เพราะพวกเขาไม่มีปัญหาอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีแต่คนธรรมดาอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ที่ต้องเผชิญหน้ากับมันต่อไป เรื่องนี้คนโบราณทางล้านนาได้ผูกเป็นภาษิตเตือนใจเอาไว้ว่า “หน่วยนักหักกิ่ง กิ๊ดนักหนักใจ๋”แปลเป็นภาษากลางตรงตัวได้ใจความว่า “ผลมากหักกิ่ง คิดมากหนักใจ”หมายความว่า คนเราไม่ควรเก็บปัญหาโน่นปัญหานี่ของชีวิตมาคิดมากเกินไป …จนเป็นทุกข์เกินเหตุ หาไม่เช่นนั้น สมองความคิดจิตใจอาจจะมีอันเป็นไปต้องเจ็บป่วย ต้องเข้าโรงพยาบาล เหมือนต้นไม้ที่ผลิดอกออกผลมากเกินไปจนกิ่งก้านหัก เพราะทานรับน้ำหนักมากไม่ไหว นอกจากภาษิตล้านนาแล้ว ยังมีภาษิตเก่าแก่ของอังกฤษบทหนึ่ง ที่พูดถึงเรื่องนี้ไว้อย่างงดงามราวกับบทกวีว่าความทุกข์ยากทุกอย่างในโลกนี้มีวิธีแก้ หรือไม่มีถ้ามี ขอให้พยายามหาวิธีแก้ถ้าไม่มี ก็อย่ากังวลหาครับ…ถึงแม้ว่าเราไม่ใช่คนพิเศษ แต่ผมเชื่อว่าภาษิตเตือนใจนี้ คงจะช่วยให้หลายท่านได้สติ…ผ่อนคลายความคิดที่ทำให้เกิดความคิดกังวลในชีวิตลงบ้าง ไม่มากก็น้อย แต่ถ้าหากท่านใดได้อ่านเรื่องนี้แล้ว เกิดรู้แจ้งเห็นจริง สามารถที่จะปล่อยวางหรือสลัดมันออกไปในทันทีทันใด ผมก็ขอแสดงความยินดีด้วยครับ.25 กันยายน 2550กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่
เงาศิลป์
“ฉันจะต้องไม่พิการ”ฉันคำรามหนักแน่นอยู่ในใจ ในคืนวันหนึ่ง เมื่อนอนอยู่ในท่าทีเอาขาขวาพาดไว้บนกำแพง เพื่อดัดขาไล่ความเมื่อยล้า จากงานหนักจากวันนั้น อะไรก็ตามที่ทำให้เข่าของฉันเจ็บน้อยลง ฉันจะทำทันที เริ่มจากการค้นหาวิธีแก้ไข ควบคู่ไปกับการยอมรับความเจ็บปวดของขาข้างขวาว่าเป็นคู่แท้ของชีวิตปีแรก ฉันเดินกะเผลกแบบคนขาเป๋ เพราะขาขวาสั้นกว่าขาซ้าย และยังไม่มีพละกำลัง เวลาเดินจึงเห็นว่าตัวเอียงมาก เป็นที่เวทนาตัวเองยามคนจ้องมอง ทำให้ฉันเข้าใจหัวอกคนพิการมากขึ้นแต่แล้ววันหนึ่ง เหมือนพระมาโปรด ฉันกลับมากรุงเทพฯ แล้วไปเยี่ยมเพื่อนๆที่มหาวิทยาลัย ขณะนั่งอยู่ริมสนามฟุตบอล มองคนอื่นๆเล่นกิฬา อย่างเสียดาย ห่อเหี่ยวในหัวใจพี่บลู นักฮอกกี้ทีมชาติ หันมาเห็น จึงหยุดวิ่ง แล้วเดินมาหาฉัน เมื่อเขารู้ว่าฉันขาหัก เขาจึงเปิดขาข้างหักให้ฉันดู มันมีร่องรอยคล้ายๆของฉัน“อย่าไปเชื่อหมอนะน้อง หมอก็ห้ามพี่เล่นกิฬาแรงๆ แต่พี่ไม่เชื่อ ในที่สุดพี่ก็กลับมาลงทีมชาติได้เหมือนเดิม”คำของพี่บลู กังวานอยู่ในความทรงจำ คู่ขนานไปกับคำของหมอ หากไม่ใช่พี่บลู ฉันคงไม่เชื่อ แต่เพราะเขาเป็นนักกิฬา และเป็นนักกิฬาที่เอาจริงเอาจังมากกว่าฉัน ฉันจึงต้องเชื่อและเริ่มมีความหวังว่าจะเอาชนะความพิการได้อีกสิ่งหนึ่งที่พี่บลูมอบให้ เมื่อรู้ว่าฉันท้อแท้ถึงขนาดเข้าไปอยู่ในวัดปฏิบัติธรรมเพื่อลดความเศร้าโศกมาระยะหนึ่งแล้ว พี่บลูหัวเราะฮึ ฮึ เหมือนฉันเป็นเด็กน้อย“จะอยู่ในวัดหรือนอกวัดก็ต้องมีสติ การมีสติเหมือนการขับรถ ประคองพวงมาลัยไปให้สบายๆ พี่เรียนรู้การมีสติจากการขับรถ อย่าให้ตัวเองเครียดกับอะไรๆ ก็ใช้ได้แล้ว” สองสิ่งที่ฉันได้มา มีคุณค่ามหาศาล โดยที่พี่บลูอาจไม่รู้ เพราะนับแต่นั้น ฉันไม่ได้เจอกับพี่บลูอีกเลยแต่ความหวาดหวั่นยังมีอยู่ ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่อย่างไรหากเดินไม่ได้ หรือต้องเดินขาเดียวพร้อมไม้ค้ำยัน แต่ที่แย่กว่านั้นคือตอนนี้ ฉันจะต้องมีคนช่วยนวดขาให้ทุกคืนก่อนนอน จึงจะนอนหลับได้ เมื่อไม่มีใครนวดให้ฉันต้องเรียนรู้การนวดตัวเอง เหมือนโชคช่วยอีกหน ในปีที่สี่ของการบาดเจ็บ งานที่เข้ามาให้เลือกในขณะนั้นคือ โครงการศึกษาวิจัย และสร้างเครือข่ายหมอยาพื้นบ้าน ฉันรับทำงานทันที มันช่างสอดคล้องกับปัญหาของฉัน เหมือนฟ้าประทานมาทีเดียวฉันตระเวนเก็บข้อมูล สัมภาษณ์หมอยาสมุนไพร หมอนวดพื้นบ้าน และหมอตำแย ในภาคอีสานหลายจังหวัด มีโอกาสเรียนรู้เคล็ดวิชานวดของแต่ละหมอ และได้สูตรยาสมุนไพร หลายขนาน ตอนนั้น ฉันคิดว่า เราเริ่มทำงานช้าไป ในราวๆ ปี พ.ศ. 2531 บางหมู่บ้านเมื่อฉันไปถึง คำตอบที่ได้คือ หมอยาเสียชีวิตไปแล้ว เมื่อปีที่แล้ว เหลือแต่ห่อยา “ฮากไม้” ไว้ให้ลูกหลานดูต่างหน้า หรือบางรายชราภาพมากจนไม่สามารถรักษาใครได้อีก แต่ก็ยังโชคดี ที่ยังเหลือหมอยาเก่งๆ ให้ฉันได้พบ จนกระทั่งเกิดเป็นเครือข่ายหมอพื้นบ้านขึ้นในที่สุด กลุ่มหมอยา มีการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งได้ถ่ายทอดวิชาให้แก่คนหนุ่มสาว และได้เดินป่าศึกษาสมุนไพรหลายครั้ง บางครั้งพ่อใหญ่สม พ่อหมอใหญ่แห่งอำเภอพล พาฉันเดินลุยตามป่าโคกเป็นวันๆ เพื่อรู้จักกับต้นยาและสรรพคุณยา แม้แข้งขาของฉันจะโอดโอยฉันก็ไม่ย่อท้อ ด้วยความอยากรู้ฉันได้รับการถ่ายทอดวิชาแบบวิถีโบราณอย่างน่าภูมิใจ แต่บางวิชาต้องใช้คาถา ฉันไม่กล้าที่จะรับเพราะพ่อหมอบอกว่า ต้องมีข้อปฏิบัติ ที่ทางอีสานเรียกว่า “คะลำ” หรือข้อห้าม สำหรับคนที่จะใช้คาถานั้น เช่น ห้ามนั่งบนกี่ทอผ้า ห้ามนั่งหัวบันได ห้ามลอดราวตากผ้า หรืออื่นๆ อีก ...ฉันพิจารณาตัวเองแล้ว คงรับมาปฏิบัติไม่ได้ จึงไม่ได้มาสักคาถาเดียวเรื่องคาถา น่าเชื่อถือไม่น้อย เพราะเจอกับตัวเองครั้งหนึ่ง ตอนไปช่วยชาวบ้านเกี่ยวข้าว ฉันถูกแมลงป่อง ต่อยที่ปลายนิ้ว หมอเป่ามาเป่าให้เพี้ยงเดียว หายเป็นปลิดทิ้ง ฉันเชื่ออย่างไม่สงสัย เพราะว่ามันหายปวดในบัดดล (ไม่กล้าถามว่าคาถาอะไร กลัวความเจ็บปวดจะกลับมา)การทำงานกับหมอพื้นบ้านฉันมีความสุขมาก ได้ความรู้ ได้รับความเอ็นดูจากพ่อหมอแม่หมอ และที่สำคัญเหนืออื่นใด เขาไม่รำคาญยามฉันขอร้องให้ช่วยนวดขาที่แสนจะเจ็บปวดของฉัน จนฉันรู้ว่าวิธีการนวดของแต่ละคน ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไรข้อดีของคนที่ใกล้พิการ คือความต้องการจะหาย ฉันจึงกระหายที่จะเรียนรู้วิชานวด และในที่สุดฉันก็ทำได้...ฉันเป็นหมอนวด ที่รู้จักภาวะความเจ็บปวดของคนประเภทเดียวกับฉัน ฉันรู้ว่าลักษณะกล้ามเนื้อแบบนี้ สภาพเอ็นและกระดูกอย่างนี้ ควรจะนวดอย่างไร ฉันนวดให้คนอื่นได้ แต่ฉันก็ยังเจ็บปวดขาอยู่ดีผ่านมาหลายปี ฉันได้วิชามากขึ้น ทั้งการนวด การอบสมุนไพร การทำยาหม่อง การทำน้ำมันนวดชนิดพิเศษ โดยเอาความต้องการของเองเป็นที่ตั้ง ฉันได้ใช้สิ่งเหล่านี้มาเพื่อการดูแลตัวเอง คิดว่า ถ้าฉันจะกลายเป็นคนพิการ แต่ฉันก็ยังทำอะไรได้หลายอย่าง โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพของตัวเองและคนอื่นๆการเป็นหมอนวดที่ทำอย่างไม่หวังผลตอบแทนทางการเงิน กลับทำให้ฉันมีเงิน การเป็นคนที่รู้จักสมุนไพร ทำให้ฉันมีความสุข ที่ได้อยู่กับต้นไม้อย่างรู้จักคุณค่าของเขามากกว่าแค่เป็นต้นไม้ต้นหนึ่ง การปลูกสมุนไพรและเฝ้าดูเขาเติบโตเป็นสมบัติของโลก ฉันว่าแค่นี้ก็น่าจะพอสำหรับคนอย่างฉันทุกวันนี้ เวลาใครถามว่า เรียนวิชาเหล่านี้มาจากไหน ฉันจะบอกว่า “เรียนจากหมอพื้นบ้านภาคอีสาน” เพราะที่ฉันเรียนรู้ไม่ใช่แค่วิชาหมอ แต่ฉันได้เรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมของความเป็นหมอพื้นบ้าน ที่มีค่าครูค่าคายในการรักษาเพียงไม่กี่บาท แต่หมอได้รับการดูแลเรื่องอื่นๆ เช่น ช่วยงานในไร่นา บ้างก็แบ่งข้าวปลาอาหารมาให้หมอตลอดปี เมื่อมีพิธีไหว้ครู จะเห็นผู้คนจากทั่วสารทิศมารวมกัน มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเก่งกาจของหมอคนนั้น ดังนั้น ในชีวิตฉัน อีกหนึ่งคนที่จะต้องจารึกชื่อไว้ ในนามของผู้มีบุญคุณ ในการเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้ คือ คุณยงยุทธ ตรีนุชกร หัวหน้าโครงการ ที่เป็นทั้งอาจารย์และเพื่อนร่วมงานของฉันตลอดสองปีเต็ม (ซึ่งปัจจุบันนี้ ฉันได้ข่าวว่ากำลังอยู่กับโรคร้ายอย่างมีความสุข บนเทือกเขาภูพาน)มีวิชาในการดูแลตัวเอง แต่ก็ใช่ว่าจะรอดพ้นไปจากความเจ็บปวด เพียงแต่ยามก่อนนอน ฉันสามารถนวดขา กดขา หรือทำโยคะ เพื่อจัดการกล่อมเจ้าความเจ็บให้อ่อนแรงลงไปบ้างอาการเจ็บแบบฉัน เป็นเจ็บที่น่าประหลาด เพราะเวลากลางวันเคลื่อนไหวมากๆ จะไม่ค่อยรู้สึก แต่พอล้มตัวลงนอน มันจะจู่โจมเข้ามาเป็นอาการเจ็บแปลบๆวิ่งพล่านขึ้นลงไปทั้งขา สลับปวดหนึบๆในข้อเข่า ขยับเข่าจะดังกึกกัก เอ็นเส้นที่เจ็บล้ามากที่สุดคือเส้นที่พาดผ่านรอยแผลจากที่กระดูกทิ่มออกมา ฉันรู้สึกเหมือนเอ็นเส้นนี้มันอยู่ผิดที่ผิดทางยากที่จะมีหมอนวดมือดีมาคุ้ยกลับได้ หรือว่ามันเป็นเส้นประสาทที่ถูกกระทบกระเทือนจนพิการไปแล้วก็ได้ ฉันจึงได้แต่เอาไม้แหลมๆกดแรงๆ กระตุ้นให้ประสาททำงาน จนเจ็บจี๊ดอย่างสะใจ จึงปล่อยออกเป็นอันว่าต้องใช้วิธี เกลือจิ้มเกลือ เจ็บสู้เจ็บ จึงจะได้นอนหลับ ผ่านมาห้าปี ความรู้สึกวิตกว่าอาจจะเป็นคนพิการลดน้อยลง แต่ยังรู้สึกถึงอาการเสื่อมของข้อเข่าที่เพิ่มมากขึ้นทุกวันฉันจึงมองหาวิธีจัดการกับมันใหม่....อย่างสนุกในอารมณ์(โปรดติดตามตอนต่อไป)

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม