Skip to main content
 
 
ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี


ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว

บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย

ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท สองราย พบว่าแต่ละรายใช้ไฟฟ้าเกิน 90 หน่วยไปเพียงเล็กน้อย  เมื่อเป็นดังนี้ ผู้ใช้ต้องจ่ายทั้งหมด เช่น ใช้ไป 112 หน่วย ก็ต้องจ่ายทั้งหมด 112 หน่วย ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่เกินจาก 90 หน่วยเท่านั้น

ค่าไฟฟ้าสำหรับ 112 หน่วย คิดเป็นเงิน 350 บาท (ในจำนวนนี้เป็นค่าเอฟทีหน่วยละ 92 สตางค์หรือ 103.04 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 22.89 บาท หมายเหตุ ในเดือนตุลาคม 2550 ค่าเอฟทีหน่วยละ 66 สตางค์) ผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสองต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า “เงิน 350 บาทนี้ไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุคนละ 500 บาทต่อเดือน”

จากการพูดคุยดังกล่าวจึงเกิดเป็นโจทย์ให้ต้องขบคิดว่า “จะต้องใช้ไฟฟ้าอย่างไร จึงไม่เกิน 90 หน่วย” เราจึงเริ่มต้นด้วยการสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าและกำลังของแต่ละชนิด        

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น ได้แก่ หลอดไฟฟ้า (หลอดละ
18 วัตต์) หม้อหุงข้าว (750 วัตต์) โทรทัศน์สี (120 วัตต์) พัดลมตั้งโต๊ะ (50 วัตต์) ตู้เย็น (125 วัตต์ ขนาด 7 คิว ใช้ไฟฟ้าเดือนละ 37 หน่วย) เครื่องซักผ้า (330 วัตต์) เตารีดผ้า (1,200 วัตต์) กระติกต้มน้ำ (750 วัตต์) และเครื่องบดเครื่องแกง (140 วัตต์)

พลังงานไฟฟ้าที่ใช้อยู่ประจำคือตู้เย็นเดือนละ
37 หน่วย ดังนั้น สิ่งที่เราจะต้องจัดการก็คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหลือตามรายการดังกล่าวรวมกันต้องไม่เกินเดือนละ 53 หน่วย

ความรู้พื้นฐานที่ใช้ในการคิดพลังงานไฟฟ้าดังกล่าวก็คือ คำว่า
“ไฟฟ้า 1 หน่วย” นั้นคิดจากอะไร

ไฟฟ้าหนึ่งหน่วยคือพลังงานไฟฟ้าที่เราเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดรวมกันหนึ่งพันวัตต์ให้ทำงานนานหนึ่งชั่วโมง  ในทางวิชาการเขาเอากำลังของเครื่องใช้ไฟฟ้าคูณกับจำนวนชั่วโมงที่เปิดใช้

เช่น ถ้ารีดผ้านานหนึ่งชั่วโมง เราต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับ
1200 วัตต์ชั่วโมง (หรือ 1,200 คูณด้วย 1 ชั่วโมงเท่ากับ 1,200 วัตต์ชั่วโมง หรือ  1.2 หน่วย)  ถ้าเรารีดนาน 3 ชั่วโมง จะต้องใช้พลังงาน 3.6 หน่วย (หรือ 1,200 คูณด้วย 3 เท่ากับ 3,600 วัตต์ชั่วโมง หรือ  3.6 หน่วย โดยที่หนึ่งหน่วยก็คือ 1,000 วัตต์ชั่วโมง)

จากนั้นเราลองสร้างตารางพลังงานไฟฟ้าที่ใช้รวมกันในแต่ละเดือน โดยพยายามคิดให้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด ได้ดังตารางข้างล่างนี้
 
ประเภท
ใช้นาน(นาที) ต่อวัน
ใช้นาน(ชั่วโมง)ต่อเดือน
พลังงานไฟฟ้า (หน่วย)
หม้อหุงข้าว(750 วัตต์)
80 นาที
40
30
โทรทัศน์สี (120 วัตต์)
180 นาที
90
10.8
หลอดละ 18 วัตต์ 2 หลอด
240 นาที
120
4.3
เครื่องซักผ้า (330 วัตต์)
 
6
1.98
พัดลมตั้งโต๊ะ (50 วัตต์)
120
60
3.0
กระติกต้มน้ำ (750 วัตต์)
30 นาที
15
11.25
เตารีดผ้า (1,200 วัตต์)
 
2
2.4
บดเครื่องแกง  (140 วัตต์)
 
8
1.12
รวม
 
 
64.85
 
จากตารางเราพบว่า พลังงานไฟฟ้าจะเกินที่รัฐบาลกำหนดให้ใช้ฟรีไปถึง 11.85 หน่วย

แม้ว่าจะเกินมาเพียง
11.85 หน่วย แต่รัฐบาลต้องให้เราจ่ายทั้งหมดตั้งแต่หน่วยแรก ถ้าเราไม่อยากจ่ายเงินจำนวนนี้เราก็ต้องมาช่วยกันลดลงมาให้อยู่ในเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนด

บ้านที่ผมคุยด้วยจะต้มน้ำด้วยกระติกไฟฟ้าเพื่อชงกาแฟวันละสองครั้งคือเช้ากับกลางคืน ผมจึงได้แนะนำไปว่า ถ้าอย่างนั้นก็อย่าต้มน้ำด้วยไฟฟ้าอีก แต่ให้ต้มด้วยแก๊สหุงต้มแทน โดยปกติบ้านหลังนี้จะใช้แก๊สหุงต้มเดือนละประมาณ
100 บาท  ดังนั้น ถ้าเราต้มน้ำเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย ค่าแก๊สก็เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย  ต่างกับเรื่องค่าไฟฟ้าอย่างสิ้นเชิง

แม้ว่า เราได้เปลี่ยนการใช้ดังกล่าวแล้ว พลังงานไฟฟ้าก็ยังเกินเกณฑ์มาอีก
0.6 หน่วย   ดังนั้นเราต้องลดการใช้อย่างอื่นอีก เช่น ลดการรีดผ้าลงจากเดือนละ 2 ชั่วโมงให้เหลือเพียง 1 ชั่วโมง (โดยปกติชาวชนบทไม่นิยมรีดอยู่แล้ว) ก็จะสามารถลดลงมาได้อีก 1.2 หน่วย

ถ้าทุกอย่างแม่นจำตามนี้จริง เราก็ใช้ไฟฟ้าเพียงเดือนละ
89.4 หน่วยเท่านั้น นั่นคือเราไม่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเลย  อย่างไรก็ตาม เพื่อความไม่ประมาท เราควรจะอ่านและจดมิเตอร์ทุก 10 วัน หากการใช้เกิน 30 หน่วยในแต่ละครั้ง เราก็ลดการใช้ลงมาให้อยู่ในเกณฑ์ให้ได้   ถ้าจำเป็นเราอาจต้องหุงข้าววันละครั้ง โดยอีกสองมื้อที่เหลือเราก็แค่อุ่นข้าวเย็นให้ร้อนก็ต้องยอม

ผมไม่ทราบข้อมูลว่า มีผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวนกี่รายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ แต่ข้อมูลต่อไปนี้พอจะทำให้เราทราบอย่างคร่าว ๆ ได้

จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศมีทั้งหมด
14 ล้านราย (หรือมิเตอร์) ร้อยละ 73 (หรือ 10.2 ล้านราย)ใช้ไฟฟ้ารวมกันเพียง  8% ของทั้งประเทศ (ปี 2552 ทั้งประเทศใช้ 134,793 ล้านหน่วย) จากข้อมูลนี้เราสามารถคำนวณได้ว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้อยู่อาศัยใช้ไฟฟ้าเดือนละ 88 หน่วย  ดังนั้นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้น่าจะอยู่ที่ 6 ถึง  7 ล้านราย คิดเป็นรายได้ที่รัฐของเสียไปประมาณ 1,700 ล้านบาทต่อเดือน

โครงการนี้ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยได้รับประโยชน์ถึงประมาณ
6 ถึง 7 ล้านราย (หรือ 18 ถึง 20 ล้านคน) ก็จริง   แต่ยังมีผู้ยากไร้อีกจำนวนมากที่ไม่มีมิเตอร์ของตนเองและต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงกว่าอัตราปกติเพราะต้องพ่วงสายไฟฟ้ามาจากบ้านอื่น คนกลุ่มนี้ไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากโครงการประชานิยมนี้เลย

อย่างไรก็ตาม แนวคิดการบริหารจัดการไฟฟ้าภายในบ้านของตนเองไม่ให้เกินเดือนละ
90 หน่วย ตามที่บทความนี้ได้เสนอไปแล้ว นอกจากช่วยให้ประหยัดเงินของตนแล้ว  ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซที่ทำให้โลกร้อนได้อีกด้วย ดังนั้นถึงไม่สนับสนุนนโยบายประชานิยมของรัฐบาลก็ต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้ชาวบ้านใช้ไฟฟ้าให้น้อยลง โอเคนะครับ
 
 
 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์
ประสาท มีแต้ม
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด…
ประสาท มีแต้ม
  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วยนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาขายไม่ได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก นักการเมืองรวมทั้งว่าที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีค่าโอนบ้าน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ผมขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แต่ขอใช้หลักคิดเดียวกันนี้เพื่อตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการพืชน้ำมันซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ซึ่งโยงใยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่เจ้าของโรงงานจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมัน ( ปาล์มน้ำมัน อ้อย ฯลฯ ) เหล่านี้บ้างเล่า?
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว” ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ก่อนจะเริ่มต้นเนื้อหา เรามาดูรูปการ์ตูนสนุก ๆ แต่บาดใจและอาจจะบาดตากันก่อนครับ ความหมายในภาพนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากบอกว่านี่ไงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าโลกเราร้อนขึ้นจริง สำหรับภาพนี้บอกว่า ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นักวิชาการ (และนักการเมือง) กำลังระดมกันแก้ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ขอขอบคุณเจ้าของภาพทั้งสองด้วย คราวนี้มาเข้าเรื่องกันครับ ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ 4 ด้านพร้อม ๆ กัน คือ (1) วิกฤติภาวะโลกร้อน (2) วิกฤติพลังงานที่ทั้งขาดแคลน ราคาแพง ผูกขาดและก่อวิกฤติด้านอื่น ๆ (3) วิกฤติการเงินที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหยก ๆ…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ “...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551 ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพราง ๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมุติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริง ๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3…
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ขณะนี้มีผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึง "การเมืองใหม่" ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่ามันคืออะไรกันแน่ ทราบแต่ว่า "การเมืองเดิม" ซึ่งก็คือการเมืองแบบตัวแทน (representative democracy) กำลังมีปัญหาหลายอย่างและรุนแรงขึ้นทุกขณะบทความนี้จะนำเสนอความล้มเหลวของ "การเมืองแบบตัวแทน" อย่างสั้นๆ พร้อมกับนำเสนอ "การเมืองแบบไฮเพอร์ (hyperpolitics)" ให้พอเป็นประกายเบื้องต้น หากสังคมนี้สนใจก็มีช่องทางให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป2. สาเหตุความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทนเราท่องกันจนขึ้นใจมาตั้งแต่วัยเด็กแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการมี "การเมืองแบบตัวแทน" คือเป็นเพราะคนมันเยอะ…