Skip to main content

จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว

Kasian Tejapira(31/6/56)

 

บ่ายนี้ไปทำธุระด่วนกับครอบครัว เลยถือโอกาสไปเข้าคิวยาวเหยียดตีตั๋วดู “พี่มาก พระโขนง” ที่โรงหนังในศูนย์การค้าใกล้บ้านรอบสี่โมงเย็น ดูเสร็จก็ตลกดี ไม่เสียดายเงินเลย (ค่อนข้างต่างจากความรู้สึกเวลาเดินออกจากโรงเมื่อดูหนังไทยเรื่องอื่น ๆ และมีแง่คิดบางอย่างน่าเล่าต่อ.....
 
1.) คำสนทนาแทบจะประโยคแรกของหนัง สำนวนภาษาไทยสมัย ร.5 “....เพลา....” ทำเอาผมเตรียมเบื่อโดยอัตโนมัติ แต่แล้วตัวละครก็ขัดคอกันเองว่า “โบราณ” และเปลี่ยนเป็นภาษาจิ๊กโก๋ปัจจุบันไปตลอดเรื่อง นับว่าจงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา นึกถึงหนังการ์ตูนของ Walt Disney/Dreamworks ที่หลัง ๆ นี้ไม่ว่ากี่เรื่องต่อกี่เรื่อง ตัวละครพูดสำเนียงเมกันด้วยแสลงนิวยอร์คเหมือนกันหมด
 
2.) ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า (ล้อต๊อก, สีเทา, สมพงษ์ พงษ์มิตร, จำรูญ หนวดจิ๋ม ฯลฯ) และก็ไม่ใช่ตลกเชิญยิ้มแบบที่รู้จักกันดี, แต่เป็นตลกวัยรุ่นร่วมสมัย ชนิดที่เพื่อนนักเรียนร่วมชั้น ม.ปลาย กับลูกสาวผมแซวและฮากันเล่นนั่นแหละ ส่วนใหญ่เป็นตลกแบบ silly ทื่อ ๆ (“พี่มากขา ๆ ๆ” แล้วก็ฉายภาพแมงป่อง ตะขาบ กิ้งกือขามากมายออกมา “นาคจ๋า” แล้วก็ฉายภาพตัวนากเป็น ๆ ออกมามั่ง)
 
3.) หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง” ของหนังไทยอย่างที่คณะผู้สร้างผู้กำกับมาคุยแนะนำทางทีวี คือเปลี่ยนจากการเล่าด้วยมุมมองของแม่นาค, มาเป็นการเล่าด้วยมุมมองของพี่มากมั่ง แต่ร้ายกว่านั้น หนัง revise โครงเรื่องโดยเฉพาะตอนจบแบบไม่เกรงใจธรรมเนียมประเพณีเรื่องเล่าแม่นาคของไทยกันเลย ทำไมไม่จบแบบนี้ล่ะ? ก็จะให้จบแบบนี้อ่ะ? ไม่สมเหตุสมผลกว่าหรือ? ไม่กินใจกว่าหรือ? ต่อให้ไม่ธรรมชาติ (unnatural) และไม่ตรงตามธรรมเนียมคิดแบบไทย (ความเชื่อเรื่องผีและเรื่องพุทธ) (unThai) ก็ตาม 
 
ในแง่มุมนี้ นี่เป็นการริเริ่มลัทธิแก้ (revisionism) การเล่าเรื่องนิทาน/นิยายไทย ๆ ที่ radical, subversive ลึก ๆ มาก แต่ก็ “ปลอดภัย” ตามสมควร เพราะเป็นเรื่องเล่าของสามัญชนกับผี ไม่ใช่ของอำมาตย์หรือเจ้านาย การเสพรับเรื่องเล่าลัทธิแก้ (revisionist narrative) นี้จึงไม่ระคายคอ ราบรื่น กลมกล่อม คล่องคอพอควร อย่าว่าแต่มี humor เป็นผงชูรสซดลื่น ๆ คออย่างดี
4.) คล้ายจงใจคล้ายไร้เจตนา แต่ “สงคราม” ก็ดี (กำกวมพอสบายใจ เพราะคุณไม่เคยเห็นข้าศึกศัตรูเลย), “ชาติ/ชาตินิยม” ก็ดี, “พระ/วัด” ก็ดี ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย ไม่มีนักรบที่วีระอาจหาญ, ไม่มีชัยชนะในสงคราม, ไม่มีข้าศึกตายเกลื่อนสนามรบ, มีแต่เรื่องปลุกใจที่ถูกล้อกลางคัน, บาดแผลของฝ่ายเรา, ทหารผ่านศึกที่สารภาพว่าตลอดการรบไม่คิดถึงชาติประเทศเลย คิดถึงแต่เมีย (แม่นาคได้ยินดังนั้นก็ดุพี่มากว่าไม่ควร - ซึ่งทำให้เบาลงและปลอดภัยต่อหูพนักงานเซ็นเซ่อร์ผู้รักชาติดี), วัดที่ไม่อาจเป็นที่พึ่งกันผีได้ (ไม่ใช่เขตอภัยทานอันศักดิ์สิทธิ์นะ), และพระที่กระโดดกำแพงก่อนญาติโยมเสียอีก 555, ยังไม่ต้องพูดถึงไฟที่ลุกลามล้อมพระพุทธรูปในอุโบสถ ฯลฯ
5.) ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง (สงสัยว่าสวยที่สุดในบรรดานางเอกที่เล่นเป็นแม่นาคที่เคยแสดงมาหรือเปล่า?) แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเธอฆ่าฟันหรือหลอกใครจนตาย, แม่ค้ายาดองขี้เมาที่จมน้ำตายขึ้นอืด ผีแม่นาคก็อธิบายว่าเมาตกน้ำเอง เธอไม่ได้ฆ่า, ชาวบ้านหวาดระแวงปั้นเรื่องกล่าวหาผีแม่นาคกันไปเองต่างหาก แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
แต่คำอธิบายอย่างมีเหตุผลของผีแม่นาคได้รับการสดับตรับฟังและโต้ตอบแลกเปลี่ยนที่ผิดขนบวัฒนธรรมแบบไทย ๆ ที่เคยปฏิบัติต่อผีมาในอดีต นำไปสู่จุดจบของเรื่องที่แปลกต่างออกไป ในระหว่างเสียงหัวเราะร่ากับตลก silly ของสี่สหาย, และน้ำตาที่เอ่อซึมออกมาเพราะซาบซึ้งใจในความรักข้ามโลกของคนกับผี (โดยเฉพาะของคนที่มีต่อผี ย้ำ - ความรักของคนที่มีต่อผี) ผมอดนึกถึงชะตากรรมของผีคอมมิวนิสต์สมัย 6 ตุลาฯ, ผีเสื้อแดงเผาบ้านเผาเมืองที่ราชประสงค์, และผี BRN ที่ชายแดนภาคใต้ไม่ได้
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง