Skip to main content

เมื่อ 4 มิ.ย. Jonathan Stray (@jonathanstray) นักข่าว/นักคอมพิวเตอร์ ทวีตตอบ @CNN ว่า การคาดการณ์ว่าใครเป็นกลุ่มก่อการร้ายอย่างที่หน่วยข่าวกรองใช้คอมพิวเตอร์คำนวณความเป็นไปได้ ตามข่าวที่ CNN เสนอเกี่ยวกับการระเบิดที่บอสตันนั้น มันไม่เวิร์กหรอก จนกว่าความเป็นไปได้มันจะสูงกว่าจำนวน "false positives" (หรือการที่คอมพิวเตอร์ทายว่า "เป็น" แต่จริงๆ มันไม่ได้เป็น)

ปัญหาที่ Stray เจาะจงในที่นี้คือปัญหา "base rate fallacy" ซึ่งเกิดจากการที่เราคำนวณความน่าจะเป็นของ X หากเกิด Y โดยลืมไปว่า Y มันก็ไม่ได้เกิดตลอดเวลา ลืมคิดไปว่าต้องคำนวนความน่าจะเป็นของการเกิด Y อีกทีด้วย ซึ่งพอเป็นแบบนี้ ก็ทำให้เราเข้าใจผิดเกี่ยวกับความแม่นยำของโมเดล คิดไปเองว่ามันแม่นยำระดับนึง ทั้งที่จริงมันแม่นยำน้อยกว่านั้นมาก

เขาโพสต์สไลด์ที่เขาสอนวิชา Computational Journalism (วารสารศาสตร์เชิงคำนวณ) ที่มหาวิทยาลัยฮ่องกง ซึ่งเขาใช้เวลาหนึ่งคาบเต็มๆ เน้นเรื่องนี้กับนักศึกษา

สิ่งที่ Stray เสนอนั้น น่าสนใจมาก เพราะนักข่าวมีแนวโน้มจะนำเสนอข้อมูลตัวเลขมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่สมัยก่อนแล้วที่หลักการพาดหัวข่าวให้ดึงดูดอันนึงคือ ใช้ตัวเลข ใช้จำนวน ต่อมาก็มีการใช้แผนภูมิ ใช้กราฟกันมากขึ้น ดัชนีต่างๆ มาในสมัยนี้ อินโฟกราฟิกก็เป็นที่นิยมแพร่หลาย

ปัญหาก็คือ นักข่าวเข้าใจตัวเลขพวกนี้จริงๆ หรือเปล่า ก่อนจะนำเสนอ

ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ตัวเลขต่างๆ เพื่อไปสู่ข้อสรุปอะไรอีกชั้นหนึ่ง นักข่าวมั่นใจแค่ไหน ว่าจะไม่ติดกับดักของตัวเลข โดนตัวเลขหลอกซะเอง

ตัวอย่างในวิกิพีเดียที่ Stray โพสต์ พูดถึงตัวอย่างของ "สัญญาณเตือนผู้ก่อการร้าย" ที่จะดังเมื่อมีผู้ก่อการร้าย และการคำนวณความแม่นยำของสัญญาณดังกล่าว ซึ่งในโมเดลนี้ บางคนจะลืมคิดถึงโอกาสที่ผู้ก่อการร้ายจะมีอยู่ตั้งแต่แรกในหมู่ประชากร แล้วสุดท้ายสมมติฐานที่ผิดพลาดนี้ ทำให้ผลคำนวณความน่าจะเป็นต่างกันถึง 100 เท่า นั่นแปลว่าคนที่ไม่ได้เป็นผู้ก่อการร้าย มีโอกาสที่จะถูก "หน่วยข่าวกรอง" เอาป้ายมาแปะว่าเป็นผู้ก่อการร้ายแบบผิดๆ สูงมาก

ซึ่งถ้านักข่าวยังหลงๆ ลืมๆ เรื่องนี้ซะเอง การจะไปหวังให้ตั้งคำถามถึงความยุติธรรมกับการที่รัฐเอาเครื่องมือแบบนี้มาจับคนเข้าคุก ... ก็ไม่ต้องหวังครับ

บล็อกของ bact

bact
18 กันยายน 2014 วันลงคะแนนประชามติ ว่าสกอตแลนด์จะเป็นประเทศอิสระหรือไม่
bact
เหลือเวลาอีกไม่กี่ชั่วโมง การลงประชามติเพื่อตัดสินใจอนาคตของสกอตแลนด์ก็จะเริ่มขึ้นแล้ว วันนี้ผมมาอยู่ที่เอดินบะระ เมืองหลวงของสกอตแลนด์
bact
ความโกลาหลหรืองานฉลองในระยะสั้น จะเสียโอกาสกันทั้งหมดหรือเป็นประตูสู่ความรุ่งโรจน์ของชาติต่างๆ ที่เคยอยู่ร่วมสหราชอาณาจักรด้วยกันในระยะยาว เป็นประเด็นถกเถียงไม่รู้จบทั้งบนหน้าหนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์ และสื่อสังคมออนไลน์ แต่อย่างน้อยดูจะมีสิ่งหนึ่งที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกันก็คือ คนสกอตแลนด์มีสิทธิ
bact
วันนี้ได้อ่านเกี่ยวกับบริการของบริษัท FullContact ซึ่งเพิ่งไปซื้อกิจการบริษัท Cobook ผู้ผลิตโปรแกรมสมุดโทรศัพท์บนระบบปฏิบัติการ (Mac) OS X มาเมื่อปลายปีก่อน
bact
คนซานฟรานทนไม่ไหว บริษัทเทคโนโลยีบุก ทำบ้านแพง ขนส่งมวลชนพัง ผู้เช่าเดิมถูกไล่ ธุรกิจท้องถิ่นต้องปิดตัวTech workers vs. The rest of the City
bact
ข่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของกรุงลอนดอน "Man hugs driver of tipper truck that killed his cyclist girlfriend at King's Cross blackspot"&n
bact
ปีนี้เป็นปีแห่งความปวดหัวตึ๊บของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจริงๆ จากข่าวโครงการดักฟังดักรับข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา (NSA) ที่นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน เปิดโปงเมื่อกลางปี ตามมาด้วยกรณีละเมิดความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารต่างๆ นานา จนทั้งองค์กรสิทธิทั่วโลก รวมทั้งสหประชาชาติต้องวิ่งวุ่น
bact
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (3 ก.ย. 2556) ไปงาน แผนแม่บทไอซีที ระยะที่ 3 ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำลังจัดทำสำหรับ พ.ศ.
bact
นักข่าวยุคอินเทอร์เน็ต ไม่ใช่เพียงทำข่าวและส่งข่าวผ่านเน็ต แต่จำเป็นต้องรู้จักประเด็นปัญหาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมใหม่นี้ด้วย เพื่อปกป้องทั้งตัวเองและแหล่งข่าวสัปดาห์ที่แล้วมีโอกาสแลกเปลี่ยนกับนักข่าวในกลุ่มอาเซียนจำนวนหนึ่งในงาน Fellowship ของ Southeast Asian Press Alliance (SEAPA) เรื่องความเป็นส่วนตัวในส่วนที่เกี่ยวกับงานข่าวประเด็นที่สำคัญตอนนี้ น่าจะเป็นเรื่อง metadata และข้อมูลที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งถ้าหลุดหรือจัดการไม่ดี ก็จะเป็นอันตรายต่อแหล่งข่าวหรือตัวนักข่าวเอง หรือพูดในบริบทที่กว้างขึ้น ก็รวมทั้งคนทั่วไปอย่างเราๆ ท่านๆ ด้วยแหละ
bact
ความหมายของ “hate speech” หรือ “คำพูดแสดงความเกลียดชัง”/”คำชัง” นี่ ถ้าไม่จัดการมันให้แคบ จำกัด ชัดเจน และเคร่งครัด จะอันตรายมาก พูดอะไรไปสักอย่างนี่มันมีโอกาสไม่ถูกใจใครคนใดคนหนึ่งอยู่แล้ว ถ้าใครๆ ก็อ้าง “hate speech” ได้ จิตใจฉันหวั่นไหว แล้วโวยต่อไปด้วยว่า อะไรที่เป็น “hate speech” จะต้องแบน เ
bact
จะเขียนเรื่อง closed caption หลายรอบแล้วแต่ก็ยังไม่ได้เขียนเสียที (เหมือนกับอีกอื่นร้อยสิ่งอย่างที่ยังไม่ได้ทำ) วันนี้ขอเขียนเร็วๆ แบบเท่าที่นึกออก ไม่มีอ้างอิงอะไรใดๆ ทั้งสิ้น (ไม่งั้นจะไม่ได้เขียนซะที)