Skip to main content

หัวค่ำ พี่แพท นายกสมาคมไทย เท็กซัส พาไปกินข้าวที่ร้านอาหารจีน  ภายในร้านมีคนเอเชียจากหลายประเทศ ทั้ง สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน ลาว เวียดนาม รวมทั้งพี่ไทย  แต่ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาอังกฤษคุยกันยกเว้นคนเวียดนามที่ไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษในร้านนอกจากพูดภาษาของตนเอง 

\\/--break--\>

"จริงๆแล้วเด็กเวียดนามพวกนี้เกิดที่อเมริกา พ่อแม่เขาตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม แต่ความเป็นเวียดนามของเขาแรงมาก และเขาจะรักษาความเป็นเวียดนามมากจนคนอเมริกาและคนเอเชียอื่นต่างเกรงกลัวในความเป็นคนเวียดนามที่เข้มแข็ง" พี่แพทเล่าให้ฟัง

ระหว่างที่ทานข้าวเราคุยกันถึงโปรแกรมที่ไปต่อหลังจากกินข้าวเสร็จ  ผู้ชายส่วนใหญ่เป็นนักดนตรีตกลงกันที่จะไปเที่ยวในผับที่ขึ้นชื่อในการเล่นดนตรีสดในร้าน ส่วนผู้หญิงกลัวไปแล้วต้องกลับมาดึกจึงได้แยกไปซื้อของในห้างแทน

"House of Blues เป็นร้านที่ขึ้นที่ของเมืองนี้เกี่ยวกับแนวเพลงบลูส์ ผมอยากให้พวกคุณได้ไปชมวัฒนธรรมดนตรีของคนที่นี่บ้าง" พี่ทอด์ดได้บอกกับนักดนตรีที่มาด้วยกัน ผมชักจะรู้สึกตื่นเต้นซะแล้ว

เมื่อเข้าไปถึงร้าน บรรยากาศเหมือนร้านอาหารหรูๆทั่วไป มีเวทีสำหรับดนตรี ที่นั่งโซฟาอย่างดีสำหรับลูกค้าของร้าน  พี่ทอด์ดเข้าไปหาเจ้าของร้าน แล้วแนะนำคณะจากเมืองไทยที่เดินทางมาด้วย  สีหน้าเจ้าของร้านดีใจมากที่เห็นพวกเราเขามาในร้านเขา

"เราต้องขออภัยด้วยที่วันนี้ไม่มีดนตรี เพราะเป็นวันหยุดของนักดนตรี"เจ้าของร้านบอกข่าวร้ายแก่เรา เล่นเอาเศร้าไปตามๆกันไป แต่เจ้าของร้านพาไปดูฮอล์แสดงคอนเสริตของร้าน เจ้าของร้านยังถือโอกาสชวน หากคราวหน้ามีการทัวร์คอนเสริต อย่าลืมเลยผ่านบริการฮอล์ของร้านไป

จากนั้นเราเจอเจ้าของผับอีกแห่งหนึ่งที่บังเอิญเข้ามาเที่ยวในร้านและเป็นเพื่อนกับเจ้าของร้านเมื่อเขารู้ว่าเรามาจากเอเชียเขาจึงพาเราไปที่ผับของเขาซึ่งคนที่จะเข้าไปได้ต้องเป็นสมาชิกประจำของผับเท่านั้น  แต่ครั้งนี้มีข้อยกเว้นสำหรับพวกเรา  ทั้งผับตกแต่งด้วยศิลปะอินเดียทั้งสิ้น  ตั้งแต่หน้าประตูลิฟต์ไปจนถึงห้องน้ำ  เจ้าของผับบอกว่า เขารักศิลปะของอินเดียมาก  เขาต้องการรักษาเอาไว้ ไม่ว่าลายผ้า เครื่องดนตรี เครื่องปั้น พระพุทธรูป ล้วนอยู่ในร้านนี้

ผมเองเมื่อเข้ามาในร้านรู้สึกทึ่งในความรักศิลปะอินเดียของเศรษฐีชาวอเมริกันคนหนึ่ง  แต่ผมไม่แน่ใจว่าสำหรับคนอินเดียเขาจะดีใจหรือเปล่า ในเมื่อศิลปะของเขาต้องมาอยู่ในที่แบบนี้  รูปปั้นพระพุทธรูปบางองค์ถูกตั้งอยู่ด้านหลังขวดเหล้าขวดไวน์หลายสิบขวด  บางองค์ต้องอยู่ในห้องดื่มส่วนตัว  ต่างคนคงมีต่างมุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้  ทำให้ผมนึกถึง โกละ หรือกลองมโหระทึกของคนปกาเกอะญอที่ถูกเศรษฐีโรงแรมหลายคน เอาไปตั้งเป็นโต๊ะกาแฟในโรงแรม  ในความรู้สึกคนปกาเกอะญอมันไม่ใช่  ไม่ใช่ที่อยู่ของเขา

หลังจากเราออกจากผับศิลปะอินเดีย  เราเห็นชอบร่วมกันว่า ในเมื่อไม่มีบลูส์ให้ฟัง ไปฟังร็อคแก้เซ็งก็ไม่เลว   จึงไปร้านที่มีการแสดงดนตรีร็อคที่มีชื่อเสียงในเมือง  แต่ปรากฏว่าร้านดังกล่าวกลับปิดอีก  เหมือนโชคไม่ให้เอื้อให้เราได้เสพดนตรีของเมืองนี้ในคืนนี้  จึงได้มีการเบนเข็มไปสถานที่เที่ยวดูอะไรที่ตื่นเต้นแบบผู้ชายแทน  จึงทำให้ผมลังเลมาก ไปดีหรือไม่ไปดี

"ไหนๆ คุณมาถึงอเมริกาแล้ว คุณไปดูวัฒนธรรมของคนที่นี่บ้างดิ" พี่แพทบอกผม
"ไปเถิด ไม่มีใครไปบอกภรรยาคุณหรอก" เพื่อนนักดนตรีจากอีสานบอกผม
"ไปเหอะ ไม่มีอะไรหรอก ไปเที่ยวดูเฉย พี่ก็ไป สนุกๆ" พี่ที่อาวุโสที่สุดในกลุ่มโน้มน้าวผม
"ไปดิ เผื่อกลับไปเล่าให้พี่น้องคุณฟังอีกมุมหนึ่งของที่นี่" พี่ทอด์ดบอกผม

ผมจะปฏิเสธได้อย่างไรในเมื่อทุกคนมีใจอยากไปกัน และมารถคันเดียวกัน หากผมดื้อไม่ไปคนเดียวและให้ทุกคนกลับไปส่งผมก็ดูจะเรื่องมากไปหน่อย  ผมจึงตกลงตามๆเขาไป โดยยังไม่รู้ว่าปลายทางที่แท้จริงคืออะไร

ทันทีที่ถึงสถานที่หมาย ได้รับคำสั่งให้หยิบพาสปอร์ตออกมา  เพื่อแสดงต่อพนักงานของสถานที่นั้น  มีการตรวจค้นอาวุธ กักมือถือกล้องถ่ายรูปทุกอย่างไว้  พกเพียงกระเป๋าตังค์เข้าไป  เมื่อเข้าไปในบาร์ ผมตกใจกับภาพที่เห็นต่อหน้านิดหน่อย  ย้ำว่านิดหน่อย หญิงสาวแหม่มกำลังเต้นเย้ายวนตามโต๊ะต่างๆของแขก  โดยที่นุ่งเพียงบิกินี่ ตัวเดียว เนื้อเป็นเนื้อ นมเป็นนม  ผมค่อยๆปรับอารมณ์ตนเองให้ปกติ  ทางคณะเลือกโต๊ะที่ติดขอบเวที เพื่อสามารถดูนางระบำได้อย่างใกล้ชิด และก็ไม่ผิดหวัง  นอกจากได้เห็นด้วยตาที่ระยะประชิดแล้ว เสียงหายใจของเธอยังได้ยินเลย

นางระบำออกมาโชว์ลีลาเย้ายวนคนแล้วคนเล่า จากสาวเล็ก สาวใหญ่จนถึงสาวแก่ น่าเบื่อบ้างน่าตื่นเต้นบ้าง  ก่อนที่เธอจะออกมาด้วยทรวดทรงแบบนักยิมนาสติก โดยปกติคนอื่นจะใช้เสาเหล็กสำหรับรูด แต่เธอเอามือจับแล้วดันตัวขึ้นตรง แล้วเหวี่ยงตัวตามเข็มนาฬิกา  เธอแสดงให้เห็นพละกำลังของผู้หญิงมิใช่เพียงความเย้ายวน เซ็กซี่อย่างเดียว ลีลาของเธอไม่ได้ออกมาในเชิงลามกอนาจาร แต่เต็มไปด้วยท่วงท่าจังหวะที่มีศิลปะอยู่ในตัว  คืนนี้ผมไม่ได้ประทับใจนักระบำเย้ายวนของแหม่มสาว แต่ผมกลับประทับใจนักยิมนาสติก 

ราตรีนี้ จากเพลงบลูส์ เป็นผับศิลปะอินเดีย ต่อด้วยดนตรีร็อค ตามด้วยบาร์ระบำและยิมนาสติก


ในฮอลล์แสดงคอนเสริตของ House of Bluse
 


ในผับศิลปะอินเดีย
 


ขวดเหล้า ไวน์ ต่อหน้ารูปปั้น
  


ในมุมส่วนตัว
 


อีกมุมหนึ่ง

  

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
ผมฝ่าชุมชนมูเจะคีหลายชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏร่องรอยเล็บตีนเล็บมือรวมทั้งเริ่มเห็นมูลอันเป็นของเสียแห่งระบบทุนนิยมที่ถ่ายทิ้งเอาไว้ในชุมชนปกาเกอะญอที่มีอายุหลายร้อยปีแห่งนี้ และมีแนวโน้มที่ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนและวัฒนธรรมจะถูกกลืนกินเป็นอาหารอันโอชะมากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อได้มีโอกาสกลับมา พอมาถึงหมู่บ้านแรกของชุมชนปกาเกอะญอในบริเวณมูเจะคี ทันทีที่ได้สัมผัสมันเหมือนได้กลับคืนสู่รัง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปตอนอยู่ในเมือง เมื่อผ่านชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะพยายามมองรถทุกคันที่ผ่าน มองคนทุกคนที่เจอว่าเป็นเพื่อนเราหรือเปล่า? ลุง ป้า น้า อา หรือเปล่า? ญาติพี่น้องหรือเปล่า?…
ชิ สุวิชาน
 หลังเสร็จงานศพ ความรู้สึกจำใจจากบ้านมาเยือนอีกครั้ง  แต่การกลับบ้านครั้งนี้แม้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะในวิถีประเพณี ที่มีคนตายในชุมชน  ได้เห็นสภาพของป่าช้าที่ถูกผ่าตัดตอนแล้วพยายามเปลี่ยนอวัยวะชิ้นส่วนใหม่จากภายนอกเข้ามาแทนที่ 
ชิ สุวิชาน
 โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม  ลูกชายที่เป็นศาสนาจารย์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศิษยาภิบาลได้จับดินก้อนหนึ่งกำไว้ในมือ  แล้วชูดินต่อหน้าผู้ร่วมงาน"ชีวิตเราถูกสร้างมาจากดิน แล้วพระเจ้าได้เป่าลมหายใจ คือชีวิตสู่เรา การรักษาร่างกายไม่สำคัญเท่ากับการรักษาชีวิต ชีวิตที่แม้ไม่มีร่างกายก็มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อร่างกายเราถูกสร้างมาจากดิน ถูกใช้งานมาระยะหนึ่งก็ต้องเสื่อมและต้องกลับคืนสู่ดิน แต่ชีวิตไม่ได้ถูกสร้างมาจากดิน ชีวิตถูกสร้างมาจากลมหายใจที่มาจากพระเป็นเจ้า ถ้าเรารักษาชีวิตไว้ในขณะที่อยู่บนโลกให้เป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า…
ชิ สุวิชาน
จบพิธีทางคริสต์ศาสนา แขกเหรื่อที่มาต่างทยอยเดินลงบันใด และยืนกองรวมกันที่ลานหน้าบ้านผู้ตาย รถกระบะสองคันซึ่งเป็นของลูกชายศาสนาจารย์ที่จากไปได้แล่นมาแหวกกลุ่มคนที่ยืนอยู่ลานหน้าบ้าน และจอดท่ามกลางวงห้อมล้อมของฝูงชน  "กางเขนนี้คนเอาไม่อยู่ โคตรหนักเลย" เสียงของหนึ่งในชายฉกรรจ์ พูดขึ้นหลังจากนำไม้กางเขนซีเมนต์ขนาดประมาณ 2 เมตรครึ่ง หน้ากว้างประมาณ 6 นิ้วได้ขึ้นไว้บนรถกระบะ ครั้งหนึ่งพระเยซูได้แบกไม้กางเขนของตนเองไปยังภูเขาที่พระองค์จะถูกตรึง ระหว่างทางได้อ่อนระโหยโรยแรง มีชายผู้หนึ่งที่สงสารจึงอาสาช่วยแบก แต่มาครั้งนี้คนเอาไม่อยู่ ผมเพียงแต่นึกในใจว่ากางเขนซีเมนต์นี้…
ชิ สุวิชาน
"ที่จะร้องให้ฟังต่อไปนี้เป็น ธา ปลือ ร้องเพื่อให้คนเป็นรู้ว่าคนตายได้ตายเพื่อไปที่อื่นแล้ว ร้องเพื่อให้คนตายรู้ว่าตัวว่าได้ตายและต้องไปอยู่อีกที่แล้ว ในวันที่ไม่มีคนตายห้ามพูดห้ามร้องเด็ดขาด ไม่ว่าในบ้าน ใต้ถุนบ้านหรือที่ใดก็ตาม ในวันที่มีคนตายนั้นต้องร้อง" พือพูดก่อนร้อง พือหยิบไมโครโฟน หันมาทางผม ผมจึงเริ่มบรรเลงเตหน่า
ชิ สุวิชาน
ข่าวเรื่องการละสังขารของศาสนาจารย์ผู้ก่อตั้งคริสตจักรมูเจะคีในวัย 96 ปีได้ถูกกระจายออกไป ไม่เพียงแค่ในพื้นที่มูเจะคีเท่านั้น เชียงราย กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่เกิดและที่เติบโตของพื้นที่อื่นที่เขาเคยเผยแพร่และเทศนาเรื่องราวของพระคริสต์ทั้งในพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ข่าวการจากไปของเขาไม่เลยผ่านไปได้ งานศพถูกจัดการอย่างดีตามรูปแบบของคริสเตียน ข่าวไปถึงที่ไหนผู้คนจากที่นั่นก็มา คนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ดูแล้วปริมาณไม่ต่างกันเท่าเลย เหมือนมีการจัดงานมหกรรมบางเกิดขึ้นในชุมชน ลูกหลานที่ไปทำงานจากที่ต่างๆ ของเขาก็มากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยที่งานศพถูกเก็บไปสามคืน
ชิ สุวิชาน
พี่นนท์เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้ฟังพาตี่ทองดี จึงร้องเพลงธาปลือให้ฟัง จนกระทั่งถึงท่อน โย เย็นนั้นระหว่างงาน พี่นนท์จึงถามคำแปลของเพลงเหล่านั้น หลังจากเสร็จงานนั้นเพลงเส่อเลจึงมีการต่อเติมจนเป็นเพลงขึ้นมาจนได้ “พี่นึกถึงหญิงสาวที่ต้องโตขึ้นมาอย่างลำบาก นึกถึงพัฒนาการการเติบโตของชีวิต ต้องตามพ่อตามแม่ปลูกข้าว กว่าจะโตเป็นสาวต้องผ่านการตรากตรำทำงานอย่างลำบาก พี่เลยจินตนาการการตายของเธอว่า เป็นการเสียชีวิตด้วยไข้ป่า”
ชิ สุวิชาน
แม้ว่าฤดูเกี่ยวข้าวมาถึงแล้วแต่ฝนยังคงโปรยปรายลงมาอยู่ คนทำนาได้แต่ภาวนาว่าขออย่าตกตอนตีข้าวก็แล้วกัน เพราะฝนตกตอนตีข้าวนั้นมันยิ่งกว่าค่าเงินลอยตัวเสียอีก ผมเตรียมตัวกลับบ้านอีกครั้งเพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ผืนนาที่เคยวิ่งเล่นตอนเด็กๆกวักมือเรียกผมจากเมืองคืนสู่ทุ่งข้าวเหลืองอีกฤดู ซึ่งก็ได้จังหวะพอดีที่พ่อผมลงมาทำธุระที่เชียงใหม่ ทำให้ผมได้อาศัยรถของพ่อในการกลับครั้งนี้
ชิ สุวิชาน
ด้วยความที่อยากให้เกียรติวีรบุรุษในการต่อสู้ของคนที่อยู่กับป่า ทางทีมงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเลือกเพลง ปูนุ ดอกจีมู เป็นเพลงเปิดหัวในการประชาสัมพันธ์อัลบั้มเพลงเกอะญอเก่อเรอ ที่แรกที่เราส่งไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าเป็นช่วงภาคภาษาชนเผ่า โดยเฉพาะภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีพี่มานะ หรือบิหนะ เป็นผู้ประกาศข่าวคราวต่างไปถึงพี่น้องปกาเกอะญอในเขตภูเขา หลังจากที่เพลงถูกเปิด มีพี่น้องปกาเกอะญอจากที่ต่างๆโทรมาแสดงความเห็นมากมาย “ส่วนใหญ่เค้าบอกว่า เค้าชอบเพลงนี้มาก แต่เค้าขอร้องมาว่า ถ้าถึงท่อนที่เป็น ธาโย ช่วยปิดเลยได้มั้ย เพราะเขค้าฟังแล้วขนลุก…
ชิ สุวิชาน
มีผู้อาวุโสปกาเกอะญอ                  แห่งหมู่บ้านโขล่ เหม่ ถ่า ผู้ซึ่งไม่มีชื่อเสียงเรืองนาม              เขาคือ พาตี่ ปูนุ ดอกจีมูอยู่กับลูก อยู่กับเมีย                     ตามป่าเขาลำเนาไพรท่ามกลางพืชพันธุ์แมกไม้              ทั้งคน ทั้งป่าและสัตว์ป่าทำไร่หมุนเวียน ทำนา …
ชิ สุวิชาน
เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง "ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ…
ชิ สุวิชาน
ปี 2540 สถานการณ์การต่อสู้ของชุมชนที่อยู่กับป่าร้อนระอุขึ้นมาอีกระลอก เมื่อรัฐบาลของนายหัว ชวน หลีกภัย ได้มีนโยบายอพยพคนออกจากป่า นั่นหมายถึงชะตากรรมวิถีของคนอยู่กับป่าจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวง ชุมชนเดิม ที่อยู่ ที่ทำกินเดิมนั้นจะกลายเป็นเพียงที่ที่เคยอยู่เคยกินเท่านั้น ตัวแทนขบวนคนอยู่กับป่าจึงมีการขยับเคลื่อนสู่หน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง โดยมีเครือข่ายกลุ่มสมัชชาคนจนจากภาคต่างๆมาสมทบอย่างครบครัน กลายเป็นชุมชนคนจนหน้าทำเนียบโดยปริยาย “ลูกหลานไปเรียกร้องสิทธิหลายครั้งแล้ว ไม่ได้สักที คราวนี้ฉันต้องไปเอง ถ้าเรียกร้องไม่สำเร็จฉันจะไม่กลับมาเด็ดขาด”…