Skip to main content

โดย โชติศักดิ์ อ่อนสูง

 

เวลามีคนเรียกร้องเสื้อแดง/นปช./พท./รัฐบาลให้ทำเรื่องบางเรื่องที่จะทำให้สังคมไทยมีความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น (ยกตัวอย่างก็ได้ เช่นเรื่อง ม.112) หรือมีคนต่อว่าวิพากษ์วิจารณ์เสื้อแดง/นปช./พท./รัฐบาลที่ไม่ขยับเรื่องพวกนั้น ก็จะมีพวก "แดงอวย" กลุ่มหนึ่งออกมาแก้ต่างทำนองว่า ทำไม่ได้เพราะจะทำให้เสียคะแนนนิยมจากคนที่อยู่กลางๆ

 

ขณะเดียวกัน ถ้ามีคนวิจารณ์เสื้อแดง/นปช./พท./รัฐบาลว่าอย่าทำเรื่องงี่เง่า (เช่น กรณีจ่าประสิทธิ์) หรือให้แก้ปัญหางี่เง่าพวกนั้นซะ ก็จะมี "แดงอวย" อีกพวกหนึ่งออกมาแก้ต่างว่าไม่ต้องไปสนใจ เพราะคนเขาเลือกข้างกันหมดแล้ว

 

จะเห็นว่า "แดงอวย" 2 กลุ่มนี้ ประเมินสถานการณ์กันไปคนละทางเลย แต่ก็พร้อมจะอวยได้เหมือนๆกัน
 

แล้วเอาเข้าจริงแล้วสิ่งที่พวกเขายกมาพูดนั้นมันอาจจะไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นการการประเมินสถานการณ์ด้วยซ้ำ แต่มันอาจจะเป็นแค่ "ข้ออ้าง" เพื่อแก้ต่างให้กับเสื้อแดง/นปช./พท./รัฐบาลเท่านั้น

 

พวกแรก, ที่เชื่อว่ายังมีคนกลางๆ (ยังไม่เลือกข้าง/หรือเลือกแล้วแต่พร้อมจะเปลี่ยนตลอดเวลา) ก็เลยไม่อยากทำอะไรที่กระทบต่อคนกลางๆ, แต่กลับเลือกที่จะเงียบเวลามีเรื่องงี่เง่าแบบกรณีจ่าประสิทธิ์ ซึ่งมันกระทบต่อการตัดสินใจของคนกลางๆแน่ๆ

 

คือถ้าคุณซีเรียสเรื่องความนิยมจากคนกลางๆจริง ทำไมถึงเฉยๆอยู่ได้?

 

ขณะเดียวกัน พวกหลัง, ที่เชื่อว่าทุกคนในประเทศนี้เลือกข้างกันหมดแล้ว, ก็กลับเลือกที่จะเงียบที่เสื้อแดง/นปช./พท./รัฐบาลไม่ขยับเรื่อง ม.112 (หรือบางทีแดงอวยกลุ่มนี้ก็ออกมาด่าคนที่เคลื่อนไหวเรื่องพวกนี้ด้วยซ้ำ)

 

ก็ถ้าคุณเชื่อว่าทุกคนเลือกข้างหมดแล้ว แถมคุณยังอ้างว่าตัวเองต้องการประชาธิไตย แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะเงียบต่อเรื่องพวกนี้?

 

ในความเห็นของผม พวกเขาทั้ง 2 กลุ่ม เงียบก็เพราะว่าสิ่งที่เขายกมาพูดนั้นมันแค่ "ข้ออ้าง" ซึ่งตัวพวกเขาเองก็อาจจะยังไม่เชื่อในสิ่งที่เขาพูดด้วยซ้ำ พวกเขาถึงได้เฉย/เงียบ ต่อเหตุการณ์อื่นๆ แม้ว่าถ้าจะว่ากับตามสิ่งที่เขายกมาอ้างแล้วมันควรจะต้องพูดอะไรเกี่ยวกับกรณีเหล่านั้นบ้างก็ตาม

 

- - - -

 

ผมประเมินยังไง?

 

ผมประเมินเหมือนพวกแรกนะ คือผมเชื่อว่ามันมีคนที่กลางๆ, ในความหมายที่ว่ายังไม่เลือกข้างชัดเจน หรือเลือกแล้วแต่พร้อมจะเปลี่ยนข้างได้ตลอดเวลา (ไม่ได้หมายถึง "เป็นกลาง"), อยู่จริง

 

แน่นอนว่ามีคนที่เลือกข้างชัดเจน ในระยะสั้นจะไม่เปลี่ยนหรือเปลี่ยนยาก อยู่จริงๆด้วยเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ทุกคนเป็นแบบนี้

 

ทั้งหมดนี้ไม่มีงานวิจัยอะไรรองรับหรอกครับ ผมดูเอาจากคนที่รู้จักนั่นแหละ

 

ซึ่งถ้าใครไม่ "โลกแคบ" จนเกินไปก็น่าจะเห็นอยู่ว่าคนมันมีทัศนะทางการเมือง/การเลือกข้างทางการเมืองหลายเฉดจริงๆ

 

ผมรู้จักคนที่ยังไม่เลือกข้างชัดเจน/พร้อมจะเปลี่ยนข้างได้ตลอดเวลาหลายคน นั่นหมายความว่าไอ้ความเชื่อ/การประเมินแบบ "แดงอวย" กลุ่มหลัง นี่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงแน่ๆ

 

ทีนี้ถ้ามันมีคนหลายๆเฉดอย่างที่ว่า เราจะต้องยอมเอาใจพวก "กลางๆ" ทุกเรื่องหรือเปล่า?

 

ในความเห็นของผมก็คือ ไม่

 

อย่างไรก็ตาม อย่างแรกที่สุดก็คือ เราไม่ควรเสียคนกลางๆไปเพราะเรื่องงี่เง่า

(คือผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไปทำไม? ทำแล้วได้อะไร?)

 

แต่ในเรื่องที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยหรือสิทธิเสรีภาพ หรือเป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวม ฯลฯ ถึงแม้ทำแล้วจะทำให้เสียคะแนนคนกลางๆ บางทีก็จำเป็นต้อง "แลก" ครับ

 

ไม่ใช่ต้องเอาใจพวก "คนกลางๆ" ไปซะเสียทุกอย่าง ไม่งั้นก็ทำอะไรไม่ได้เลยซักอย่าง

 

ต้องยอมเสียในเรื่องที่ควรเสีย แต่อย่าไปเสียกับเรื่องงี่เง่า

 

อย่าไปทำกลับหัวกลับหางแบบพวก "แดงอวย" กลุ่มแรก คือในเรื่องงี่เง่านี่ยอมเสียได้ (อย่างน้อยที่สุดก็คือเลือกที่จะเงียบ ไม่ออกมาพูดอะไรเลย) ขณะเดียวกับพอเรื่องที่เป็นประโยชน์กลับบอกว่าทำไม่ได้เพราะกลัวเสียคะแนน

 

 

 

 

 

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
กับประเด็นศาลรัฐธรรมนูญฟ้องแกนนำเสื้อแดง การถอนประกันตัวจตุพร การช่วยเหลือเพื่อนนักโทษการเมือง การใส่เสื้อแดงของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประกายไฟ
"..เบนพูดเรื่องโอกาส โลกทุกวันนี้หลอกลวงคนจนด้วยคำว่าโอกาส แต่เบนชี้ให้เห็นทางที่เร็วกว่า คือ คว่ำมันซะ ไอ้ระบบโครงสร้างที่ครอบเราอยู่ ปลดมันซะ อย่าพยายามปรับปรุงมันเหมือนที่แบทแมนทำเลย.."
ประกายไฟ
คลิป รายการ ประกายTalk โดย DJ.Bus @KonthaiUK(25 -07-2012) แขกรับเชิญ จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ เจ้าหน้าที่โครงการณรงค์เพื่อแรงงาน ประเด็น - ปัญหาสิทธิแรงงาน ใน TPBS สหภาพแรงงานกับการเสริมสร้างประชาธิปไตย เป็นต้น
ประกายไฟ
คลิป รายการ ประกายTalk โดย DJ.Bus @KonthaiUK(18 -07-2012) แขกรับเชิญ คุณ คุณจิตรา คชเดช เจ้าของรางวัลนักสิทธิมนุษยชนที่น่ายกย่อง ในงาน ประกาศรางวัล “สมชาย นีละไพจิตร 2555” ประเด็น - สถานการณ์สิทธิมนุษยชนไทย และกรณีการหายตัวไป 8 ปีของนักป้องสิทธิอย่างคุณสมชาย นีละไพจิตร -  สิทธิแรงงานกับกา
ประกายไฟ
คลิป รายการ ประกายTalk โดย DJ.Bus @KonthaiUK ประเด็น ความคืบหน้าคดีการสังหารหมู่ 2553 ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ และ ศาลรัฐธรรมนูญ ( 11 -07-2012) แขกรับเชิญ คุณ คารม พลพรกลาง ทนายความ นปช.
ประกายไฟ
..การบังคับใช้กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านมิอาจกระทำได้โดยละเลยขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งโดยเฉพาะกระบวนการค้นหาและสถาปนาความจริงเป็นสิ่งที่ยากจะฟังขึ้น การใช้ข้ออ้างเรื่องความต่างทางวัฒนธรรม เป็นแต่เพียงการจุดชนวนระเบิดเวลาที่จะรอวันระเบิดเท่านั้น..อานนท์ ชวาลาวัณย์
ประกายไฟ
อหิงสาและการดื้อแพ่งคือตัวตนของคานธีที่ดูจะเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปแต่ทว่าตัวตนอีกด้านหนึ่งของเขาที่กระแสหลักพูดถึงไม่บ่อยนัก(หรือแทบไม่พูดถึงเลย)นั่นคือคัวตนของเขาในฐานะความเป็นศาสนา-อนุรักษ์นิยม
ประกายไฟ
คลิป รายการ ประกายTalk โดย DJ.Bus @KonthaiUK ประเด็น คณะราษฎรที่2 และ คณะบวรเดชที่3 และ รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ( 27 -06-2012) แขกรับเชิญ ดิน บัวแดง จากประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน นักกิจกรรม คณะราษฎรที่2 ภรณ์ทิพ นักกิจกรรม คณะบวรเดชที่3 
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus "80 ปี ปฎิวัติประชาธิปไตย 2475 และ ก้าวต่อไป ประเทศไทย " (20-06-2012) แ
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus "ปธ.รัฐสภาไม่ลงมติแก้รธน.วาระ3" (13-06-2012) แขกรับเชิญ รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk (6 มิ.ย. 55 ) แขกรับเชิญ "จาตุรนต์ ฉายแสง" อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย พูดคุยในประเด็น "รัฐประหารโดยตุลาการ"  
ประกายไฟ
 รายการประกาย Talk โดย DJ Bus กับ พรบ.ปรองดอง ในมุมมองนักศึกษา 30-05-2012 แขกรับเชิญ พรชัย ยวนยี เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ประเด็น พรบ.ปรองดอง ในมุมมองนักศึกษา