Skip to main content


เสียงโหม่งขนาดใหญ่ประสานกับเสียงกลอง ฆ้อง ฉาบ แม้ฟังดูอึกทึกครึกโครม แต่ก็พลิ้วไหวไปตามทำนองขุล่ยมั้งที่เป็นขลุ่ยเฉพาะของชาวกระยัน ได้เริ่มขับประโคมหมู่บ้านราวป่า ส่งสัญญาณการเริ่มต้นของงานประเพณีต้นที


กะควาง” ในภาษากระยันถูกแปรออกมาเป็นภาษาเรียกอีกอย่างว่า “ต้นที” ซึ่งหมายถึงเสาไม้สีขาวแกะสลักปลายเสาให้เป็นรูปร่างคล้ายกับศิวลึงค์ ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ในหมู่บ้านชนเผ่ากระยัน(กระเหรี่ยงคอยาว) และชนเผ่ากระยา(กระเหรี่ยงแดง)


ชาวกระยันเชื่อว่า ต้นทีเป็นต้นไม้ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งแรกบนโลกมนุษย์ การบูชาต้นทีก็เพื่อให้บรรพบุรุษของกระยัน ที่สถิตบนสวรรค์ลงมาปกป้องคุ้มครองหมู่บ้านให้มีความสงบสุข อยู่ดีกินดี ไม่มีโรคระบาด ผีร้ายหรือสัตว์ป่าเข้ามารบกวนตลอดปี


ก่อนวันงาน ทุกครอบครัวจะจัดเตรียมไม้ฟืนไว้สำหรับหุงต้มอาหาร แต่ละบ้านจะหาไม้ฟืนไว้พอใช้ทั้งปี ชายหนุ่มเข้าป่าเสาะหาไม้ล้มมาทำฟืน หญิงสาวปัดกวาดเช็ดถูบ้านเรือนครั้งใหญ่ แม่เฒ่ากระยันหุงเหล้ากลิ่นคละคลุ้งทั่วบ้าน หมูและไก่ตระเตรียมรอการเชือดเพื่อเลี้ยงแขกเหรื่อในวันรุ่งขึ้น



ในเช้าวันถัดมา “กะควางแบว่จ่า” ผู้เฒ่าหมอผีจะตีฆ้องให้สัญญาณ ผู้ชายในหมู่บ้านไม่ว่าจะเป็นคนหนุ่ม เด็ก หรือคนแก่ที่ยังพอมีเรี่ยวแรง ต่างเดินตามขบวนเครื่องดนตรีเข้าสู่ป่าใหญ่ เพื่อค้นหาต้นไม้ที่จะนำมาประกอบพิธี


ผู้หญิงจะทำหน้าที่หุงหาอาหารไว้คอยต้อนรับขบวน ที่กลับลงมาด้วยความเหนื่อยและหิว ด้วยต้องผลัดกันหามต้นไม้ขนาดเขื่อง มาจากป่าที่ไกลออกไปจากหมู่บ้าน


ต้นรัก” จะเป็นต้นไม้ที่ถูกนำมาทำเป็นต้นทีเสียส่วนใหญ่ มีเพียงบางปีเท่านั้นที่จะใช้ต้นไม้ชนิดอื่น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการเสี่ยงทาย


บางคนที่แพ้พิษต้นรักก็จะมีอาการคันคะเยอไปทั้งตัว บางรายที่แพ้มากอาจจะบวมและถึงกับเป็นไข้ แม้มีอาการแพ้พิษต้นไม้แต่ชายหนุ่มทุกคนในหมู่บ้าน ยังคงกลับบ้านมาทำหน้าที่อันสำคัญนี้ทุกปี



เมื่อเสียงฆ้องใกล้เข้ามา หญิงสาวจะตักน้ำไว้เต็มถังรอรับขบวน เมื่อขบวนแห่ต้นไม้มาถึงยังลานพิธี พวกเธอจะพรมน้ำด้วยใบไม้ให้ขบวนเต้นรำ จนเย็นชุ่มฉ่ำทั้งคนทั้งต้นไม้


ตกบ่ายหลังจากพักกินข้าวกินน้ำจนหายเหนื่อย ทุกคนจะมารวมกันที่ลานพิธี เพื่อตกแต่งต้นทีให้มีความสวยงาม โดยจะแกะเปลือกส่วนนอกออก ทาเคลือบลำต้นด้วยปูนขาว ส่วนยอดแกะสลักให้มีลักษณะคล้ายกับศิวลึงค์ ตกแต่งด้วยไม้ไผ่สานและไม้ที่ชาวบ้านนับถือว่าเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ โดยจะมีลักษณะเป็นซุ้มคล้ายฉัตรปกปิดส่วนยอด


จากนั้นต้นไม้สีขาวที่ตกแต่งอย่างสวยงาม จะถูกยกตั้งขึ้นเพื่อให้ส่วนยอดชี้ขึ้นไปบนฟ้า เสียงฆ้อง โหม่ง กลอง ประโคมระรัว ประสานพลังทั้งหมดชักดึงต้นทีที่หนักอึ้งให้ขึ้นตั้งลำด้วยความยากลำบาก เสียงโห่ร้องให้จังหวะในแต่ละครั้งดังก้องกังวานไปทั้งราวป่า


เมื่อต้นทีถูกตั้งขึ้นเป็นที่เรียบร้อย ผู้ชายจะทำการสักการะโดยการเต้นไปรอบๆ ตามจังหวะดนตรีอันเก่าแก่เนิบช้าแต่ทว่าคงที่ รอบแล้วรอบเล่าเหมือนไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย


การเต้นเช่นนี้ดูเหมือนจะจำกัดสิทธิ์ไว้ให้เฉพาะแต่เพศชาย เพื่อเป็นแสดงออกถึงความเคารพและเสมือนปลุกฟื้นวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของบรรพบุรุษอันเก่าแก่ที่มีสัญลักษณ์ในรูปแบบของต้นที



หมู่บ้านชนเผ่าที่นับถือต้นทีในทุกๆ ปี จะย่ำเท้าตามเสียงดนตรีเข้าไปในป่า เพื่อไปตัดต้นไม้หนึ่งต้นมาทำต้นที เล็กบ้างใหญ่บ้างแล้วแต่ว่าปีนั้นหมู่บ้านใดเป็นเจ้าภาพใหญ่


หมู่ห้วยเสือเฒ่าในปีนี้ค่อนข้างเงียบเหงา มีแขกต่างหมู่บ้านเข้ามาร่วมเฉลิมฉลองค่อนข้างน้อย เพราะจัดว่าเป็นงานเล็ก งานใหญ่ได้ถูกกำหนดไว้ที่หมู่บ้านป๊อกหกในศูนย์อพยพบ้านในสอย


ขบวนชายหนุ่มที่เต้นรำรอบๆ ต้นที ก็หดสั้นลงกว่าปีก่อนๆ เพราะบางครอบครัวได้อพยพไปอยู่บ้านใหม่ห้วยปูแกง ส่วนบางคนแม้ว่าจะลงชื่อย้ายไปแล้ว ก็ยังมาเต้นรำให้กับต้นทีของหมู่บ้านด้วยความเคารพ


ในวันสุดท้าย ขบวนแห่จากหมู่บ้านอื่นๆก็จะทยอยกันมา ผลัดกันเต้นสักการะต้นที พวกเขาจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาวสีขาว กางเกงสีดำ ผูกศรีษะด้วยผ้าแถบสีประจำหมู่บ้านของตน บางปีอาจจะมีการแข่งขันประกวดความสวยงาม จากการแต่งกายและการเต้นด้วยท่าที่งดงามพร้อมเพรียงกัน


บรรดาสาวหนุ่ม ต่างก็ครื้นเครงเพราะมีโอกาสได้พบปะกัน เมื่อเต้นรำตามพิธีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะได้ใกล้ชิดกัน ชักชวนกันขึ้นบ้านนี้ลงบ้านโน้น บางทีถึงกับสาดน้ำเล่นกัน เป็นที่สนุกสนาน


ตกบ่ายก็จะเริ่มจัดขบวนกันใหม่เพื่อเต้นรำ ให้กับบ้านแต่ละหลังเสมือนแทนการกล่าวคำขอบคุณและอวยพรให้กับเจ้าของบ้าน เจ้าบ้านจะยัดเหล้าให้ติดไม้ติดมือกลับบ้าน


เหล้าเจมที่มีรสชาติคล้ายสาโทในภาคอีสาน ถือเป็นเหล้าที่จะต้มกันเพียงปีละครั้งเมื่อมีงานประเพณีต้นทีเท่านั้น การตระเวนขึ้นบ้านโน้นบ้านนี้ก็เพื่อชิมรสชาติของเหล้าเจม เพราะแต่ละบ้านจะปรุงออกมาไม่เหมือนกัน บางบ้านมีรสหวานเฝื่อน บางบ้านเปรี้ยว และบางบ้านก็อร่อยจับใจ


ส่วนเหล้าขาวก็ยิ่งขาดไม่ได้ เพราะหากใครเป็นคอเหล้าจริงๆ ดื่มเหล้าเจมเท่าไรก็ไม่รู้สึกเมา ต้องเอาเหล้าขาวเข้าช่วย เหล้าเจมที่มีดีกรีไม่มากไปกว่าไวท์สักเท่าไรนั้น ผู้หญิงที่ปกติไม่ดื่มเหล้า ก็จะดื่มเหล้าเจมให้พอกรุ้มๆ


งานต้นทีจะจบลงเมื่อแขกบ้านสุดท้ายลากลับ เจ้าบ้านก็จะต้องเก็บกวาดบ้านของตนเอง เหล้าเจมจะถูกนำมาแจกจ่ายให้ดื่มจนหมดภายในสามวัน เพื่อไม่ให้โชคร้ายกลับเข้ามา


แต่เทศกาลต้นทียังคงมีอยู่ วันพรุ่งนี้จะหมู่บ้านถัดไปกำลังจะเริ่มงานต้นที และเมื่อถึงวันสุดท้ายของวันงาน ชาวบ้านที่นี่ก็จะต้องตั้งขบวนแห่ เดินทางไปเต้นรำรอบต้นทีเป็นการสักการะผีบรรพบุรุษของหมู่บ้านนั้น


จนกว่าเสียงฆ้องของหมู่บ้านสุดท้ายจะดังขึ้น และจะเวียนมาให้ได้ยินอีกครั้งในปีหน้า.


บล็อกของ เจนจิรา สุ

เจนจิรา สุ
  สาละวิน,ลูกรัก เมื่อครั้งที่แม่มาจังหวัดเชียงใหม่ครั้งแรกนั้น แม่อายุได้ 18 ปี เชียงใหม่ในความรู้สึกของแม่มันช่างกว้างใหญ่สวยงาม  แม่เป็นเพียงเด็กบ้านนอกจนๆ ที่มีเพียงเงินค่ารถติดตัวไม่กี่บาท ที่เหลือก็เป็นค่าลงทะเบียนสอบเอ็นทรานซ์ แม่มองเห็นพระธาตุดอยสุเทพจากวิวนอกเมืองยามรถแล่นผ่าน  แม่อธิษฐานในใจว่า หากมีบุญที่จะได้มาอยู่เชียงใหม่  ก็จะขึ้นไปนมัสการพระธาตุฯ ให้ได้
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก แม่ได้เล่าถึงพิธีกรรมในการเรียกขวัญลูกในบทบันทึกที่ผ่านมา แม่ก็นึกขึ้นมาได้ว่ายังมีพิธีกรรมเกี่ยวกับแม่ ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ของแม่เช่นกัน
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก พ่อกับแม่ต่างเกิดขึ้นมาในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างริบลับ แม่นั้นแม้จะเกิดที่ภาคอีสานของประเทศ แต่ก็ซึมซับวัฒนธรรมอีสานได้เพียงน้อยนิด ก็ต้องมาใช้ชีวิตและเติบโตที่ภาคเหนือจนกระทั่งเมื่อเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัย ก็ดูเหมือนจะตัดขาดกับฐานวัฒนธรรมของตัวเอง เพราะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่สังคมชั้นกลางเป็นกระแสหลักอยู่รายล้อม
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก เช้าวันที่สองของการไปคลอด ในมือของแม่ยังคงว่างเปล่า ทั้งที่ทุกคนในห้องหลังคลอดต่างมีห่อของขวัญอยู่ในมือกันคนละห่อ พ่อของลูกเทียวไปมาระหว่างห้องหลังคลอด ซึ่งอยู่ชั้นบนของห้องรอคลอด กับห้องพักเด็กอ่อน ที่อยู่ไกลออกไปอีกหนึ่งช่วงตึก ที่นั่นมีห่อของขวัญของแม่นอนอยู่ในตู้อบเล็กๆ ขนาดเท่ากับตัวลูก
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก ในเช้าที่แม่ต้องเดินทางไปคลอดลูกที่โรงพยาบาลในเมือง เป็นเช้าสุดท้ายที่แม่ได้นอนตื่นสายเช่นที่แม่เคยเป็นมาตั้งแต่ไหนแต่ไร หลังจากมีสาละวินแล้ว แม่ก็ไม่ได้ตื่นสายอีกเลย มันเป็นเช้าปกติที่แม่ตื่นขึ้นมาพบว่าอุ้มท้องลูกได้เก้าเดือนแล้ว และวันนี้หมอนัดให้แม่ไปคลอดลูกที่โรงพยาบาล
เจนจิรา สุ
 สาละวิน,ลูกรัก  ลูกมักตื่นแต่เช้า เช้าที่เรียกว่าไก่โห่เลยที่เดียว  มีคนเคยพูดไว้ว่า มีเด็กทารก กับคนแก่ที่มีพฤติกรรมคล้ายกัน คือตื่นเช้ามากๆ  แต่จุดประสงค์ของการตื่นเช้าของคนต่างวัยกลับต่างกัน เด็กทารกนั้น ตื่นเต้นกับโลกใหม่ที่ไม่คุ้นเคย และหลับมานานในท้องแม่จนกระตือรือร้นที่จะตื่นมาเรียนรู้โลกใบกว้าง  ในขณะที่คนแก่ซึ่งอยู่บนโลกมานานรู้ว่าจะเหลือเวลาอยู่ดูโลกนี้ได้อีกไม่นาน  จึงไม่อยากจะเสียเวลาไปกับการนอน
เจนจิรา สุ
แม่มองย้อนกลับไปในวัยเด็ก อุปนิสัยก้าวร้าวรุนแรง ที่เคยแสดงออกทางกายภาพนั้นมันยังคงซ่อนอยู่ในจิตใจและแสดงออกมาในรูปแบบอื่นเมื่อเราโตขึ้น เช่น เมื่อก่อนที่แม่จะมีลูก แม่เป็นนักดื่มตัวยงคนหนึ่ง เมื่อเมาจนได้ที่ ความก้าวร้าวรุนแรงก็จะปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะ จนบางครั้งเพื่อนฝูงต่างก็เอือมระอา 
คนที่ขาดพื้นฐานความรักความอบอุ่นจากครอบครัวเช่นแม่นั้น ย่อมมีผลต่อพฤติกรรมจากเด็กจนถึงผู้ใหญ่และอาจติดตัวไปตลอดชีวิตเลยก็เป็นได้ หากแม่ไม่มองย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นและไล่เรียงสิ่งผิดพลาดในชีวิตที่ผ่านมา เพื่อเป็นอุทาหรณ์และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น เพราะหากแม่มัวแต่โทษว่าสิ่งที่ตัวเองทำผิดต่างๆ…
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ในวันที่แม่เริ่มจับปากกาเขียนถึงลูก สาละวินอายุได้หนึ่งเดือนกับสิบแปดวัน แม่นั่งอยู่ข้างๆ เบาะเล็กๆสีชมพู ซึ่งลูกอาจจะแปลกใจที่แม่เลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้เป็นสีชมพูนั้น แม่ยอมรับว่าในใจตอนแรกของแม่ก็หวังจะให้ลูกคนแรกเป็นผู้หญิง
เจนจิรา สุ
นักท่องเที่ยวต่างชาติยอมจ่ายค่าตั๋วอย่างต่ำหนึ่งร้อยถึงสองร้อยห้าสิบบาทเป็นค่าเข้าชม วิถีชีวิตที่จำลองขึ้นของชาวกระยันที่ถูกเรียกขานเสียใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวว่า "กะเหรี่ยงคอยาว" และนับเป็นความสำเร็จของกลุ่มนายทุนและการโปรโมทการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ทำให้คนทั่วประเทศหลั่งไหลเข้ามาชมกระเหรี่ยงคอยาว จนเป็นที่รับรู้กันว่าหากจะมาดูชนเผ่าที่มหัศจรรย์ที่สุดต้องมาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแห่งนี้
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ลูกลืมตาดูโลกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2550 ในตอนค่ำเวลา 19.21 น. ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 4 ปีกุน แม่ให้ชื่อลูกไว้ตั้งแต่ยังไม่เกิดว่า "สาละวิน" ชึ่งหมายถึงชื่อของแม่น้ำพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า สาละวินของแม่ถือกำเนิดมาจากแม่ซึ่งเป็นคนไทยและพ่อที่อพยพมาจากพม่า ชื่อของลูกที่เปรียบเทียบได้กับแม่น้ำพรมแดนเชื่อมสายสัมพันธ์ให้เราสองคนอยู่เคียงข้างกันตลอดไปดังเช่นไทยและพม่า
เจนจิรา สุ
มะโนตัดสินใจอยู่นานกว่าสองวันหลังจากที่หญิงกระยันร่างกายผอมบางอายุ 52 ปี สะดุดล้มในห้องน้ำจนทำให้ให้เกิดอาการบวมที่ท้องด้านขวา เมื่อทนการรบเร้าจากคนรอบข้างไม่ไหวให้ไปหาหมอ เธอจึงเปิดหีบใบใหญ่ที่ใส่ข้าวของเงินทองที่มีอยู่รวมไปถึงเอกสารประจำตัวต่างๆ เพื่อค้นใบเล็กๆ สีเขียว มันเป็นบัตรเข้ารับการบริการที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด แต่จนแล้วจนรอดก็หาไม่พบ
เจนจิรา สุ
จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นอีกจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินึกถึงเมื่อเดินทางมาเยือนภาคเหนือของไทยแม้หนทางที่มุ่งสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจากจังหวัดเชียงใหม่   จะคดโค้งลาดชันน่าหวาดเสียวจนขึ้นชื่อว่า   หากใครเดินทางมาถึงแม่ฮ่องสอนจะเป็นดั่งผู้พิชิตจำนวนโค้งมากที่สุดถึง 1,864 โค้งเลยทีเดียว