Skip to main content
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 

ผมได้ยินกิตติศัพท์บาบู Chatterjee มานานในฐานะผู้บุกเบิกก่อตั้ง Subaltern Studies (ศึกษาความทันสมัยของประเทศหลังอาณานิคมทั้งหลายจากจุดยืน/มุมมองของชนชั้นผู้ถูกกดทับ) โดยเฉพาะเมื่อแกตีพิมพ์หนังสือ Nationalist Thought and the Colonial World (1986) เพื่อวิจารณ์งานเรื่อง Imagined Communities ของครูเบ็น แอนเดอร์สัน แต่เพิ่งเจอะเจอและได้เสวนากับตัวจริงในคราวไปประชุมวิชาการที่เมืองเฟซ ประเทศโมร็อกโก เมื่อปี ๒๐๐๔ ก็เป็นผู้ใหญ่ใจดีที่รอบรู้มาก แกอภิปรายในที่เสวนาแต่ละทียังกับขนหอจดหมายเหตุยุคอาณานิคมอังกฤษในอินเดียมาแบกางให้ดูแล้ววิเคราะห์ตีความ และบ่นอุบว่ามหาวิทยาลัยโคลัมเบียในเมกาใช้งานแกหนักมาก ให้แกดูแลวิทยานิพนธ์เด็กนับสิบ ซึ่งแกก็ใจอ่อน ไม่อยากปฏิเสธ.....

หลังเจอกันหนนั้น ผมก็ตามเก็บงานวิชาการประเภทบทความและหนังสือของแกเท่าที่หาได้มาเรื่อย ๆ รวมทั้ง "Peasant cultures of the twenty-first century" (2008 http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/wp-content/uploads/2009/08/Chatterjee-peasant-cultures.pdf ) ด้วย แต่มาถูกระตุกกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของบทความนี้อีกทีเมื่ออ่านงานของ Andrew Walker เรื่อง Thailand's Political Peasants (2012 http://www.eastasiaforum.org/2012/08/29/thailands-political-peasants/ ) เมื่อต้นปีนี้แล้วพบว่า Walker ชี้แจงว่าเขาดึงแนวคิดพื้นฐานในการตีความเข้าใจสถานการณ์ชาวนาไทยมาจากบทความนี้ของบาบู Chatterjee

บทความนี้เป็นบทวิจารณ์ตัวเองของ Chatterjee ในฐานะตัวแทนสำนัก subaltern studies โดยรวมก็ว่าได้ กล่าวคือแกเสนอว่าแนวทางศึกษาชาวนาแบบเดิมของ subaltern studies ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปภายใต้เศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์และใช้ไม่ได้แล้ว จนต้องรื้อโละเครื่องมือคิดวิเคราะห์สังคมชาวนาเอเชีย (โดยเฉพาะจีน อินเดีย เอเชียอาคเนย์ รวมทั้งไทย) ใหม่หมด ในบรรดาความเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ ที่แกอ้างอิงถึง ได้แก่:

 

๑) รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ไม่ใช่ปัจจัยภายนอกอีกต่อไป

 

๒) เนื่องจากเกิดการปฏิรูปโครงสร้างทรัพย์สินภาคเกษตรใหม่ บัดนี้ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้าชนชั้นขูดรีด (เช่นเจ้าที่ดินศักดินา/กึ่งศักดินา) โดยตรงในหมู่บ้านอีกต่อไป

 

๓) ในสภาพที่ภาษีที่นาลดความสำคัญลงสำหรับรัฐ รัฐจึงไม่ได้มารีดไถชาวนาโดยตรงอีกต่อไป

 

๔) การที่ชาวชนบทจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เข้าเมือง เปลี่ยนอาชีพไปทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่เกษตรกรรม ไม่ใช่เพราะยากจน สิ้นหนทาง แต่เพราะมองเห็นโอกาสยกระดับตัวเองทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น จึงอยากเสี่ยงไปเองแม้รู้ว่าจะลำบากก็ตาม

 

๕) หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ต้องการเข้าเมืองเพื่อเลื่อนชั้นฐานะทางเศรษฐกิจสังคมและปลดปล่อยตัวเองจากเอกลักษณ์เดิม

 

ผมจะทยอยเล่าข้อวิเคราะห์ของ Chatterjee เรื่องนี้ให้ฟังต่อภายหลังนะครับ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง