Skip to main content

                                                                                                                               สมจิต  คงทน
                                                                              กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน (โลโคลแอก)

ฉันจึงยืนหยัดอยู่ที่นี่

เมื่อฉันมีโอกาสติดสอยห้อยตามทีมถ่ายทำวีซีดีสารคดีเรื่องการจัดการที่ดินโดยชุมชนของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย และได้เดินทางไปยังหมู่บ้านหนึ่งในเทือกเขาบรรทัด เพื่อบันทึกเรื่องราวของพี่น้องคนไร้ที่ดินที่ได้ร่วมกันต่อสู้เพื่อยืนหยัดอยู่ในที่ดินและชุมชนของตนเองเอาไว้ได้อย่างสง่างามและมีศักดิ์ศรี



ป่าเทือกเขาบรรทัด

บ้านทับเขือ-ปลูกหมู เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อของจังหวัดตรังและจังหวัดพัทลุง ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ เส้นทางสัญจรค่อนข้างลำบากมากต้องลงเขาขึ้นเขาสลับกันไปมาตลอดทาง ยิ่งถ้าวันไหนฝนตกทางก็จะลื่นมาก แต่ดูเหมือนว่าชาวบ้านที่นี่ค่อนข้างคุ้นชินกับการใช้ชีวิตแบบนี้แล้ว

ชาวบ้านที่นี่มีการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆละ 3-4 หลังคาเรือนแต่ละกลุ่มอยู่ห่างกันพอสมควรและส่วนใหญ่ก็เป็นเครือญาติกัน ไปมาหาสู่ระหว่างกันด้วยการเดินเท้าและมอเตอร์ไซค์เป็นหลัก มีสมาชิกทั้งหมดประมาณ 45 ครอบครัว มีอาชีพหลักทำสวนยางพาราซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูก ครอบครัวละประมาณ 5-10 ไร่ ไม่เกินนี้

ชุมชนเล็กๆแห่งนี้เริ่มก่อร่างขึ้นเมื่อ 51 ปีที่แล้วหรือประมาณปี พ.ศ.2500  เพราะต้องการที่ดินทำกินชาวบ้านจึงมาปักหลักอาศัยอยู่ที่นี่

วิถีชีวิตของชาวบ้านเป็นไปอย่างเรียบง่ายแทบไม่ต้องใช้เงินในการซื้อหาของกินเพราะทุกอย่างหาได้จากป่า อย่างวันที่พวกเราไปถึงพี่น้องที่นี่ได้ทำอาหารมื้อกลางวันสำหรับรับประทานร่วมกัน แกงหน่อไม้สด ต้มกะทิผักหวาน น้ำพริกกะปิ กินกับผัดสด เช่น ลูกเนียง สะตอ และผักพื้นบ้านอื่นๆ ตบท้ายด้วยขนุน คุณลุงสมาชิกในหมู่บ้านบอกเราว่าหน้านี้ยังไม่มีทุเรียนและจำปาดะ (ไม่อยากคิดเลยถ้าต้องกินสองอย่างหลังไปด้วยชีวิตวันนั้นจะเป็นอย่างไรนะ) อาหารมื้อนี้ทำให้พวกเราลุยงานต่อได้ทั้งวันไปจนเย็นย่ำ และก็เป็นกับข้าวที่ทุกคนประทับใจมากอย่างไม่มีวันลืมจริงๆ

 
พื้นที่ทำกินของชาวบ้าน

แต่เบื้องหลังความเป็นอยู่ของชาวบ้านหมู่บ้านทับเขือ-ปลักหมู มีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นที่ทำให้พวกเขาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "ต้องลุกขึ้นมาสู้ เพื่อปกป้องพื้นที่ทำกิน เราไม่มีที่ไปแล้ว" นายสมนึก พุฒนวล ที่ปรึกษากลุ่มฯ บอกกับพวกเราว่า "เมื่อปี 2550 มีข่าวมาทางวิทยุว่าจะมีการชุมนุมที่หน้าศาลากลางจังหวัดตรัง จากชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนเพราะอุทยานประกาศทับที่ทำกินดั้งเดิมของชาวบ้าน เมื่อฟังแล้วก็ฉุกคิดว่า ทำไมปัญหาเหมือนของเราเลย จึงตัดสินใจเดินทางไปที่ชุมนุม ไม่คิดว่า....เมือไปถึงก็เจอพี่น้องจากหมู่บ้านเดียวกันประมาณ 10 คนอย่างไม่ได้นัดหมายกันมาก่อน"

นางปราณี แท่นมาก
หนึ่งใน 10 ของชาวบ้านที่เข้าร่วม  พูดด้วยน้ำเสียงแจ่มชัดว่า "เมื่อพวกเรากลับมาถึงหมู่บ้านได้ร่วมกันวางแผนเดินสายเชิญชวนพี่น้อง ใช้เวลาประมาณ 7 วันในการเดินส่งข่าวถึงทุกคนในหมู่บ้าน เพื่อให้มาเจอกัน ซึ่งในครั้งแรกสมาชิกทุกคนได้เข้าร่วมโดยพร้อมเพรียง โดยมีพี่เลี้ยงจากเครือข่ายชุมชนรักษ์เทือกเขาบรรทัดเข้าร่วมด้วย "

เนื่องจากสถานการณ์ปัญหาตอนนั้นกำลังคุกรุ่นและรอวันคลี่คลาย เพราะเจ้าหน้าที่อุทยานมีการข่มขู่ชาวบ้านมาตลอดตั้งแต่ปี 2525 ว่าห้ามโค่นต้นยาง ห้ามซ่อมแซมทางสัญจรไปมา ห้ามซ่อมบ้าน รวมถึงการจับกุมชาวบ้านและเรียกค่าเสียหายกับชาวบ้านบางรายเป็นเงินถึง 40,000 บาท

การประชุมในครั้งแรกจึงมีโครงสร้างการทำงานที่ชัดเจน คือประกอบด้วยประธาน กรรมการ มีการตั้งกองทุนและมีมติร่วมกันว่าจะออกมาเจอกันทุกวันที่ 1 ของเดือน ทั้งนี้เพื่อพุดคุยสารทุกข์สุกดิบและประเมินสถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ชาวบ้านที่อยู่กับป่าจะมีความรัก ความผูกพันและหวงแหนทรัพยากรทุกชนิดที่อยู่ในป่าเช่นเดียวกับพี่น้องชุมชนทับเขือ-ปลักหมู ซึ่งพวกเขามีกฎกติกา การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนที่ทุกคนต้องเคารพและยึดถือเป็นต้นว่า ห้ามทำลายป่าสมบูรณ์เด็ดขาด ห้ามล่าสัตว์ที่กำลังจะสูญพันธุ์  ให้ปักเขตแดนพื้นที่ทำกินและพื้นที่ป่าให้ชัด  สมาชิกที่ต้องการเปลี่ยนมือการใช้ประโยชน์ต้องแจ้งให้กรรมการทราบ รวมถึงการมีสมุดบันทึกบอกรายละเอียดว่าที่ดินของใคร อยู่ที่ไหน จำนวนเท่าไหร่ เพื่อป้องกันการบุกรุกป่าและเปลี่ยนมือที่ดิน  ข้อห้ามเหล่านี้เกิดจากการรวมตัวขององค์กรชุมชนเพื่อปกป้องรักษาป่า และที่สำคัญคือเพื่อความสันติสุขในชุมชน       

การรวมตัวของกลุ่มชาวบ้านที่นี่ทำให้เกิดวัฒนธรรมร่วมแรงร่วมใจ นายเวียน ทองขวิด ประธานกลุ่มเล่าถึงเรื่องนี้ว่า
"เมื่อบ้านหลังหนึ่งของสมาชิกในชุมชนกำลังจะพังไม่สามารถอยู่ได้แล้ว จึงได้แจ้งต่อกรรมการชุมชนว่ามีความจำเป็นต้องสร้างใหม่ ระหว่างที่ชาวบ้านกำลังช่วยกันสร้างบ้าน ได้มีเจ้าหน้าที่อุทยานประมาณ 10 คน เดินทางมาเจอพอดีและได้สอบถามเรื่องราวเป็นอย่างไร ตนก็บอกความจริงกับเจ้าหน้าที่ไป ถ้าไม่เชื่อให้เข้าไปดู  เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าไปที่บ้านหลังดังกล่าวก็มิได้พูดว่าอะไร" เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านมีกำลังใจ กล้าหาญมากขึ้นในการยืนหยัดอยู่ที่นี่

 
วงแลกเปลี่ยน

นางปราณี แท่นมาก ปัจจุบันอายุ 28 ปีพูดถึงชุมชนแห่งนี้ว่า "เธอเป็นคนแรกที่เกิดที่นี่ รักที่นี่และผูกพันกับที่นี่มาก  สมัยเด็กตอนไปโรงเรียนต้องเดินออกจากหมู่บ้านไปไกลมาก (ลากเสียงยาว) เมื่อไปถึงปากทางก็ต้องโบกรถต่อไปอีกเพื่อขออาศัยไปลงที่โรงเรียน วันไหนโบกรถได้ช้าก็ไปโรงเรียนสาย ทำเช่นนี้จนเรียนจบม.3 ต่อมาพ่อและแม่ไม่มีเงินส่งเสียให้เรียนต่อ จึงหยุดเรียนมาระยะหนึ่ง  และเมื่อเก็บเงินได้จึงเรียนต่อศึกษาผู้ใหญ่จนจบม.6 เธอยังบอกอีกว่าเคยเข้าไปทำงานในเมือง แต่ก็อยู่ไม่ได้เพราะความวุ่นวาย จึงลาออกมาทำเกษตรที่บ้าน ดังนั้นพืชทุกตัว สมุนไพรทุกชนิดเธอรู้จักดี  และปัจจุบันเธอทำหน้าที่เป็นเลขานุการของกลุ่ม...... "


ศาลาประชุมหมู่บ้านทับเขือ 

ถึงวันนี้ชาวบ้านทับเขือ-ปลักหมูยังคงยืนหยัดคุ้มครองพื้นที่ทำกินและชุมชนของพวกเขาต่อไปตราบนานเท่านานจนกว่าชีวิตจะหาไม่  รวมทั้งพิสูจน์ให้สังคมได้รับรู้ว่า การปฏิรูปที่ดินหรือการจัดการที่ดินโดยองค์กรชุมชน ย่อมมีความยั่งยืนหรือเป็นทางออกได้มากกว่าการใช้นโยบายหรือกฎหมายป่าไม้ที่เป็นอยู่มาขับไล่ชาวบ้าน       

บล็อกของ คนไร้ที่ดิน

คนไร้ที่ดิน
โดย...สุภาภรณ์ วรพรพรรณ, ระวี ถาวร และ สมศักดิ์ สุขวงศ์   เส้นทางเข้าสู่บ้านตระ 29 มกราคม 2553 เดือนเต็มดวงในค่ำคืนนี้ อยู่ใกล้แทบจะเอามือคว้าได้ ฉันเข้านอนก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อย เมื่อหัวค่ำพี่น้องชาวบ้านตระได้เล่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านและบรรพบุรุษของพวกเขา ฉันหลับตานอนเท่าไรก็ไม่ค่อยจะหลับ ด้วยจิตใจจินตนาการถึงหนังสือของบริก แฮม ยัง ที่เขียนเรื่องหมู่บ้านโบราณที่โลกลืมของอินเดียแดงเผ่าอินคาท่ามกลางป่าดงดิบบนเทือกเขาแอนดีส (The Lost City of Incas)
คนไร้ที่ดิน
กว่าจะปรากฏเป็นรูปการณ์การดำรงอยู่และการดำเนินไปของชีวิตแห่งมวลมนุษยชาติในยุคปัจจุบันได้นั้น... ได้ผ่านความยากลำบากมากด้วยกัน ด้วยการร่วมกันดิ้นรนและต่อสู้อย่างบากบั่น ผ่านห้วงเวลา ผ่านการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยของสังคม จนผนึกแน่นเป็นสัญชาตญาณห่อหุ้มอยู่ด้วยจิตวิญญาณอันลึกซึ้ง ละเมียดละไมกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย
คนไร้ที่ดิน
อารีวรรณ คูสันเทียะ กลุ่มปฏิบัติการท้องถิ่นไร้พรมแดน     นับตั้งแต่เกิดวิกฤติด้านการเงิน ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ถูกทำให้ผิดเพี้ยนไป เมื่อพิจารณาจากรายงานข่าวของสื่อต่างๆที่ออกมา เช่น “เกาหลีใต้กำลังเช่าที่ดินครึ่งหนึ่งของมาดากัสการ์ เพื่อผลิตอาหาร” (อันที่จริงแล้วไม่ใช่รัฐบาลแต่เป็นของบริษัทแดวู) ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากมักจะให้ความสนใจว่าผู้ที่มีบทบาทนำในการกว้านซื้อที่ดินเพื่อผลิตอาหารในระดับโลกนั้นเป็นประเทศ หรือรัฐบาลไหน ความสนใจส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปที่การเกี่ยวพันของรัฐบาล เช่น ซาอุดิอาระเบีย จีน หรือเกาหลีใต้ แท้ที่จริงในขณะที่รัฐบาลเป็นผู้อำนวยการด้านการเจรจา…
คนไร้ที่ดิน
ศยามล ไกยูรวงศ์ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา     ประเด็น “โลกร้อน” เป็นเรื่องใหญ่ที่ใกล้ตัว ถ้าโลกร้อนขึ้นอีก 2 – 4 องศาเซลเซียส กล่าวกันว่ามนุษย์ทุกคนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่ที่แน่ๆคนจนและผู้ด้อยโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุด และไม่มีทางเลือกใดๆต่อการดำรงชีวิตบนโลกใบนี้ และประเด็นนี้เองที่ “คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม” มีข้อเสนอต่อการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติ ในการประชุมที่กรุงเทพฯ และที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ว่า
คนไร้ที่ดิน
รุ่งเช้าสายหมอกยังบ่จาง เด็กๆ จับกลุ่มเดินไปโรงเรียน หนุ่มสาวแบกตะกร้าหนักอึ้งกลับจากไร่ ผักกาดเขียวถูกเก็บมาสุมไว้ท้ายกระบะรถเตรียมส่งขายในเมือง ชีวิตของชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านหนองเต่ายังดำเนินเช่นทุกวัน  เพียงแต่วันนี้เป็นวันพิเศษสำหรับชาวบ้านหลายคน เพราะบ้านอยู่อู่นอนกำลังจะได้เอกสารสิทธิ์หลังรอคอยมาเกือบ  30 ปี
คนไร้ที่ดิน
นักข่าวพลเมือง เทือกเขาบรรทัดหวัดดีจ้า, เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้ไปเที่ยวบ้านไร่เหนือ ต.ในเตา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาบรรทัดรอยต่อระหว่างพัทลุงและนครศรีธรรมราช บ้านไร่เหนือก่อตั้งมาหลายร้อยปีแล้ว จากหลักฐานบ่งชี้คือ เครื่องใช้โบราณที่เป็นกระเบื้องและดินเผา โครงกระดูกที่ขุดพบ นอกจากนั้นยังมีสวนผลไม้โบราณ เช่น ทุเรียน มัดคุด มะปริง มะปราง ลางสาด เป็นต้น
คนไร้ที่ดิน
หวัดดีจ้า, 2-3 วันที่ผ่านมาได้พาทีมงานที่จะมาช่วยทำสารคดี หนังสั้น และพ็อคเก็ตบุค  ไปตะลอนทัวร์ชิมผลไม้ ในพื้นที่ทำงาน 3 หมู่บ้านของเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด เลยเก็บมุมงามๆ และอิ่มอกอิ่มใจมาฝาก ตั้งใจยั่วน้ำลายทุกคน อยากชวนไปเก็บผลไม้กินด้วยตัวเองจ้า
คนไร้ที่ดิน
การที่สังคมถูกปล่อยปละละเลยให้ดำเนินไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยคาดการณ์ว่าการพัฒนาดังกล่าวจะสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับสังคม ผู้คนมีอาชีพที่หลากหลายมีรายได้สูง ก่อเกิดการสร้างงาน สร้างสังคม สร้างชาติ และหล่อเลี้ยงระบบให้เจริญรุ่งเรืองยาวนาน โดยเน้นการผลิตที่ตอบสนองความต้องการของตลาดเพื่อสร้างรายได้และชี้วัดความสุขความเข็มแข้งมั่นคงของสังคมด้วยเงินตราและมูลค่าสมมุติต่างๆ
คนไร้ที่ดิน
คณะทำงานศึกษาแนวทางการกระจายการถือครองที่ดินฯ ที่ดินเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญขั้นพื้นฐานต่อสิทธิในที่อยู่อาศัยและสิทธิในการทำกินอันมั่นคงของประชาชนและเกษตรกร  ที่ดินเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของการเป็นปัจจัยสี่ต่อการดำรงชีวิตของมนุษยชาติ เป็นฐานความมั่นคงทางอาหารที่สำคัญ  เมื่อที่ดินในประเทศไทยนั้นไม่สามารถงอกเงยขึ้นมาได้  หากไม่มีการกระจายการถือครองที่ดินให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม   ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งและเป็นปัญหาความมั่นคงของชาติ 
คนไร้ที่ดิน
  นรัญกร กลวัชรกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  การหยิบยกประเด็นปัญหาที่ดินขึ้นมาพูดอีกครั้งของรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ โดยเฉพาะเรื่องโฉนดชุมชน และภาษีที่ดิน ได้จุดชนวนการถกเถียงในประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน และการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมขึ้นมาอีกครั้งในสังคมไทย ไม่ว่าประเด็นปัญหาที่ดินจะเป็นประเด็นปัญหาที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ต้องการผลักดันแก้ไขอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นเพียงการขายฝันสร้างภาพพจน์รัฐบาลที่เป็นธรรมก็ตาม นี่ก็ถือเป็นโอกาสอันดี ที่สังคมจะได้ทำความเข้าใจในประเด็นปัญหาที่ดินทำกินในภาคชนบท อันเป็นปัญหาพื้นฐานของสังคมไทย…
คนไร้ที่ดิน
โดย...ลูกสาวชาวเล  ถ้าเอ่ยถึงที่ดินริมทะเลแล้วหลายคนคงอยากมีและอยากได้ไว้ครอบครองสักผืนหนึ่ง พื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หมู่บ้านริมทะเลหรือบนเกาะแก่งน้อยใหญ่ของไทยที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวประมงพื้นบ้านถูกขายออกไปสู่มือนายทุนจำนวนมาก และส่วนใหญ่นายหน้าก็ไม่ใช่ใครที่ไหนมักจะเป็นคนในพื้นที่นั้นเอง ถ้าเราลองสอบถามผู้คนในหมู่บ้านริมทะเลว่ายังเหลือที่ดินเป็นกรรมสิทธิครอบครองอยู่อีกกี่ครอบครัว คำตอบที่ได้ทำให้รู้สึกหนักใจได้มากทีเดียว ส่วนใหญ่เหลืออยู่เพียงร้อยละ ๒๐ - ๓๐ เท่านั้นเอง ที่พอมีเหลืออยู่ก็เพียงแค่พื้นที่ปลูกบ้าน…
คนไร้ที่ดิน
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ กองเลขาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.) นโยบายแจก 2 พันบาทเป็นมาตรการที่เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศของรัฐบาล ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน หลังการประชุมได้ข้อสรุปว่า ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับแจก 2 พันบาท ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 กลุ่มคนนี้ คือ กลุ่มแรก คือ ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งหมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ในระบบประกันสังคมปกติ หรือออกจากงานแต่ยังจ่ายสมทบต่อเนื่องด้วยตัวเอง ตามมาตรา 39 มีประมาณ 8 ล้านคน กลุ่มที่สอง คือ ผู้ที่เป็นบุคลากรของภาครัฐ…