Skip to main content

กองเลขาฯเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย



ความขัดแย้งและการต่อสู้ของชนชั้นปกครองเป็นไปอย่างดุเดือดและยืดเยื้อ มากกว่า
3 ปี จนยกระดับขึ้นเป็นความขัดแย้งหลักของสังคมไทยในขณะนี้ ขั้วความขัดแย้งคือ กลุ่มทุนอนุรักษ์นิยมภายใต้อิทธิพลศักดินา ส่วนอีกฝ่ายคือ กลุ่มทุนเสรีนิยมใหม่ ความขัดแย้งครั้งนี้ไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้โดยง่าย เพราะเป็นการทำศึกวัดดุลกำลัง เพื่อนำไปสู่การจัดปรับความสัมพันธ์ทางอำนาจครั้งใหม่ ทั้งอำนาจในทางการเมือง อำนาจในการควบคุมระบบเศรษฐกิจและฐานทรัพยากรของสังคม ศึกช่วงชิงการยึดกุมความได้เปรียบในโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจละการผลิตครั้งนี้ “ชนชั้นผู้ชม” ต่างถามไถ่ว่าจะลงเอยอย่างไร


แต่ก่อนจะถึงบทสรุปแห่งการสัประยุทธในคราวนี้ มีข้อสังเกตที่พึงศึกษา เกี่ยวกับกระบวนการต่อสู้ขับเคี่ยวกันของทั้งสองฝ่าย อย่างน้อยในประเด็นเหล่านี้ ทั้งสองฝ่ายไม่ได้พูดถึงปัญหาพื้นฐาน ปัญหาใจกลางของประชาชน ชนชั้นผู้ทำการผลิต ซึ่งเป็นรากฐานของสังคมว่าจะจัดการดูแลแก้ไขอย่างไร


เช่น เรื่องรัฐสวัสดิการ การปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษี การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะระบบศาล การปฏิรูปการเมืองในทิศทางที่เพิ่มอำนาจและความเข้มแข้งของประชาชน-ของชนชั้นผู้ทำการผลิต ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อสร้างความเป็นธรรม ความเท่าเทียม และเชิดชูหลักการ “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย”


การเมืองใหม่” ที่ถูกนำเสนอขึ้นมาโดย พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) แท้ที่จริงเป็นเพียงการเมืองระบบตัวแทนแต่เพียงด้านเดียว พธม.เพียงแต่เสนอให้เปลี่ยนกระบวนการเข้าสู่อำนาจ จากการเลือกตั้งโดยประชาชนทั้งหมด (ตามรัฐธรรมนูญ 2540) มาเป็นการแต่งตั้ง 70% เลือกตั้ง 30% ซึ่งเป็นการรุกคืบเพื่อยึดพื้นที่ในโครงสร้างส่วนบน และเป็นการสานต่อแนวทางการเมืองจากรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ได้ยึดพื้นที่ในเวทีวุฒิสภาไปแล้วเกือบครึ่ง (เลือกตั้ง 76คน แต่งตั้ง 74คน ดูมาตรา 111 รัฐธรรมนูญ 2550)


ข้อเสนอเช่นนี้เป็นประโยชน์ต่อชนชั้นนำทางเศรษฐกิจการเมือง โดยเฉพาะพวกอำมาตยาศักดินานิยม ที่สำคัญเป็นข้อเสนอที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดที่มีอคติต่อชนชั้นล่าง ซึ่งก็คือประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท เป็นการหมิ่นแคลนดุลย์พินิจและการตัดสินใจของชนชั้นล่าง ซึ่งแท้จริงคือ ผู้ทำการผลิตเลี้ยงสังคม จนต้องลดสัดส่วนการเลือกตั้งจาก 100% เหลือเพียง 30% นี่เท่ากับว่าผู้นำเสนอเชิดชูระบบนี้ มองว่าผู้คนในสังคมมิได้มีสิทธิและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน


การสัประยุทธในครั้งนี้มีลักษณะเป็น “สงครามตัวแทน” นั้นหมายความว่าทั้งสองฝ่ายต่างค้ำจุนสนับสนุนไว้ด้วยผู้มากบารมีอยู่เบื้องหลัง เป็น “มือที่มองไม่เห็น” ที่ยึดกุมการเคลื่อนไหวต่อสู้และกำหนดทิศทางให้เกิดประโยชน์ต่อฝ่ายตนให้มากที่สุด โดยกลยุทธ์ทั้งปวงมุ่งไปที่การช่วงชิงการนำในตำแหน่ง ผู้นำสูงสุดในชนชั้นปกครอง นัยหนึ่งก็คือ เดิมพันอยู่ที่ใครจะได้ยึดกุมการใช้อำนาจรัฐสูงสุดไว้ในมือ


ลักษณะ “สงครามตัวแทน” ที่เป็นรูปธรรมเด่นชัดคือ ต่างฝ่ายต่างมี “มวลชนนักรบอาสา” ซึ่งมีความฮึกเหิมพร้อมที่จะเข้าประจัญบาน ประกาศศักยภาพแห่งอำนาจ และในมิติทางอุดมการณ์ “มวลชนนักรบอาสา” ของทั้งสองฝ่าย ต่างก็แบกรับฐานะผู้แทนทางความคิด ความเชื่อ ตามต้นสังกัดของตนเอง แม้ความคิดความเชื่อที่กำลังขับเคลื่อนอยู่นั้นจะไม่สอดคล้องต่อผลประโยชน์ขั้นพื้นฐานของตนเอง อาจเพราะถูกครอบไว้ด้วยทัศนะที่ว่าทำเพื่อ “ชาติ” ซึ่ง “ชาติ” ที่แท้จริงคืออะไร ใครเป็นผู้ยึดกุมการสร้างคำนิยาม ที่แน่ๆคงไม่ใช่ “มวลชนนักรับอาสา” ที่บาดเจ็บล้มตายในการต่อสู้ประจัญบานเป็นแน่แท้


ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปิดโปง ผู้มากล้นบารมีของทั้งสองฝ่าย ให้ปล้อนเปลือยต่อสายตาสาธารณะ แต่อนิจจา! ในสังคมที่ชนชั้นสูงหรือพวกอภิสิทธิ์ชน หยามหมิ่นในสิทธิและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของชนชั้นล่าง จะมีใครอาจหาญกระทำการใหญ่โตเยี่ยงนี้


สิ่งที่การเมืองเก่าและ “การเมืองใหม่” ไม่คิดอยากแตะต้องก็คือ การแก้ไขเปลี่ยนแปลง “ความสัมพันธ์ทางการผลิต” เพราะนี่คือระบบการกดขี่ขูดรีดที่พวกชนชั้นปกครอง (ทุนนิยม) ต้องพิทักษ์รักษาไว้อย่างสุดชีวิตจิตใจ นั้นเท่ากับการจำกัดขอบเขตให้ “เกษตรกร” เป็นเพียงผู้ผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรม (กรรมกรกับค่าจ้างไม่เป็นธรรม) ผ่านการกำหนดราคาของกลไกตลาดที่ “ชนชั้นผู้ทำการผลิต” ไม่มีอำนาจหรือส่วนร่วมในการกำหนดใดๆได้เลย เกษตรกรในปัจจุบันจึงเป็นเพียงแรงงานชนบทที่ถูกกำหนดให้ผลิตในที่ดินของตนเองหรือเช่า กระทั่งรับจ้างทำการผลิต


สถาบันตุลาการ ซึ่งการใช้อำนาจเชื่อมโยงผูกพันอยู่กับสถาบันเก่าแก่ของสังคมไทยอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ปัจจุบันได้เข้ามามีบทบาทในเวทีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ โดยแสดงจุดยืนแบบเลือกข้างฝ่ายอนุรักษ์ศักดินานิยม ในสถานะการณ์ที่ฝ่ายตุลาการมีบทบาทอย่างสูง ในการถ่วงดุลอำนาจฝ่ายการเมือง


ประกอบกับในสภาวะที่รัฐบาลเสรีนิยมที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ต้องรับมือกับศึกรอบด้าน โดยเฉพาะการโจมตีจากฝ่ายอนุรักษ์ศักดินานิยม ทำให้ฝ่ายการเมืองที่ปกติจะมีบทบาทบัญชาการและกำกับทางนโยบายต่อฝ่ายข้าราชการประจำ กลับเพลี่ยงพล้ำอ่อนแรง ขาดความชอบธรรมในการใช้อำนาจ สถานการณ์เช่นนี้ ทำให้ข้าราชการประจำมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการต่อสู้ของ “คนจน” ที่มักจะถูกสกัดขัดขวางด้วยมาตรการทางกฎหมายจากฝ่ายรัฐ


ดังนั้นการที่นักเคลื่อนไหวฝ่ายประชาชน คาดหวังว่าจะพลิกสถานการณ์จากตั้งรับการรุกด้วยมาตรการทางกฎหมายจากฝ่ายรัฐ มาเป็นการรุกกลับด้วยมาตรการทางการเมืองของฝ่ายประชาชน/คนจน อาจเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก ทั้งด้วยเหตุความแตกต่างด้านฐานความคิดทางการเมืองของฝ่ายที่เคลื่อนไหวอยู่กับ “คนจน” ซึ่งอย่างน้อยในปัจจุบันก็แตกตัวออกเป็นสามขั้วความคิด คือ 1. ฝ่าย พธม. 2.ฝ่าย นปช. 3.ฝ่ายที่ยืนยันการเคลื่อนไหวต่อสู้ของ “คนจน” ต้องอิสระ (โดยสัมพัทธ์) จากรัฐและทุน


อีกประการหนึ่งคือ ปัจจุบัน “ตุลาการภิวัฒน์” ถูกเชิดชูขึ้นสูง ซึ่งเท่ากับการเรียกร้องให้มีการใช้กฎหมายจัดการกับปัญหาต่างๆโดยรอบด้าน โดยมิได้คำนึงถึงว่ากฎหมายและกระบวนการใช้กฎหมายจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมหรือไม่ หรือกฎหมายจะช่วยตอกย้ำให้กระบวนการละเมิดสิทธิต่อชุมชน/คนจน มีความถูกต้องชอบธรรมมากยิ่งขึ้น


ความขัดแย้งภายในชนชั้นปกครองที่กำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น แหลมคม และดูท่าทีว่าไม่อาจประนีประนอมกันได้โดยง่าย ได้ตีแผ่ตัวเองให้ประชาชนได้เห็นว่า ฝ่ายทุนเสรีนิยมใหม่ก็ไม่เข้มแข็งกล้าหาญเพียงพอ ในการเป็นผู้นำปกป้องเสรีภาพประชาธิปไตย ซึ่งได้มาจากการอภิวัฒน์ 24 มิถุนายน 2475, 14 ตุลาคม 2516, 16-18 พฤษภาคม 2535 ฯลฯ ยังไม่ต้องคาดหวังถึงการนำมวลชนต่อสู้เพื่อปฏิวัติประชาธิปไตยของชนชั้นนายทุน


ในขณะที่ขบวนการรื้อคืน พลิกฟื้นอำนาจของฝ่ายอนุรักษ์ศักดินานิยมได้เริ่มต้นหลังจาก 24 มิถุนายน 2475 เพียง 2-3วัน และเริ่มจริงจังชัดเจนมากขึ้นหลังจากการรัฐประหาร พ.. 2490 ซึ่งมีการสะสมทางปริมาณเรื่อยมาจนถึงยุครัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และสงครามตัวแทน โดยฝ่ายอนุรักษ์ศักดินานิยมที่ใช้ พธม. เป็นองค์กรเปิดในการต่อสู้ทางการเมือง โดยพยายามดึงกองทัพเข้ามาเป็นพวก เพื่อทำรัฐประหารซ้ำอีกครั้ง


50-60 ปี ของการสะสมทางปริมาณ เพื่อการพลิกฟื้นคืนสู่การยึดกุมอำนาจสูงสุดในสังคม บัดนี้ได้แสดงออกในเชิงคุณภาพของการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยประจักษ์ชัดว่า อำนาจรัฐที่แท้จริงถูกช่วงชิงยึดกุมโดยชนชั้นปกครองฝ่ายอนุรักษ์ศักดินานิยม โดยพยายามสถาปนาระบอบอำมาตยาธิปไตยขึ้นมาแทนเสรีนิยมประชาธิปไตย และขณะเดียวกันมีผู้คนจำนวนมากที่ศรัทธาต่อระบบอำมาตยาศักดินานิยม


รวมทั้งพวก “ฉวยโอกาสเอียงขวา” หรือพวกชอบ “อุ้มไก่ตัวชนะ” ก็มีไม่น้อย แถมยังได้เห็นธาตุแท้ของชนชั้นกลางที่ทำงานคลุกคลีกับ “คนจน” หรือประชาชนรากหญ้า และเชิดชูอ้างอิงวาทกรรม “สิทธิชุมชน” และ “การเมืองแบบประชาชนมีส่วนร่วม” มาโดยตลอด แต่บัดนี้ได้หันไปร่วมเคลื่อนไหวเชิดชูอำนาจอันศักสิทธิ์ของอำมาตยาศักดินานิยม ที่ประชาชนไม่อาจแตะต้องวิพากษ์วิจารณ์ได้เลย


สถานการณ์ความขัดแย้งในหมู่ชนชั้นปกครองของระบบทุนนิยมได้ส่งผลสะเทือนไปทุกเสี้ยวส่วนของสังคม กล่าวเฉพาะในหมู่ปัญญาชน คนชั้นกลาง นักเคลื่อนไหวทางสังคม-การเมือง ได้เกิดข้อถกเถียงโต้แย้งทางความคิด ทฤษฎีในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับ การกำหนดยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี การสร้างแนวร่วม ฯลฯ ซึ่งทัศนะที่แตกต่างในประเด็นดังกล่าวสะท้อนถึง การรับรู้ทางด้านทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ตลอดถึงสำนึกทางชนชั้นที่แตกต่างกัน จึงส่งผลไปถึง การกำหนดจุดยืนและข้อเสนอทางการเมืองย่อมแตกต่างกันไปด้วย


สถานการณ์เช่นนี้ เป็นโอกาสสำคัญและเร่งด่วน ที่เราต้องทบทวนพัฒนาการของสังคมอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อการกำหนดฐานะบทบาทการเคลื่อนไหวของขบวนการสร้างอำนาจประชาชน ให้ดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับ ภาวะวิสัย และเกิดประโยชน์ ต่อการสร้างสรรค์ อำนาจการเมืองของประชาชน ซึ่งต้องไม่ตกอยู่ภายใต้การนำ การครอบงำของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็นคู่ขัดแย้งอยู่ในขณะนี้


ซึ่งบางท่านกล่าวว่า “การเมืองของภาคประชาชน” ไม่ใช่ “หางเครื่อง” ในการต่อสู้ของชนชั้นปกครอง การเมืองภาคประชาชนโดยเฉพาะการเมืองของชนชั้นผู้ใช้แรงงานทำการผลิตนั้นต้องไม่เป็นไปเพื่อการเชิดชูบูชาอำนาจใดๆ ที่ต้องการอยู่เหนือประชาชน หากแต่ต้องมุ่งมั่นสถาปนาความเข้มแข็งในอำนาจประชาชน เพื่อประชาชนเท่านั้น


ในเมื่ออนาคตของการเมืองประชาชน (คนจน ชนชั้นผู้ใช้แรงงานทำการผลิต) ไม่อาจฝากไว้กับขั้วความขัดแย้งใดๆแล้วเส้นทางใดเล่าที่ประชาชนจะพึงก้าวเดินไปสู่การสถาปนาอำนาจทางชนชั้นของตนเอง ในฐานะผู้ใช้แรงงานทำการผลิต


การศึกษาจัดตั้ง” ทางการเมืองท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อสู้ในปัญหาของประชาชน นับเป็นภาระกิจเบื้องต้นและเร่งด่วนที่นักเคลื่อนไหวฝ่ายประชาชน หรือ “ปัญญาชนอินทรียภาพ” (Intellectual Organic) ต้องเรียกร้องต่อตัวเองและมิตรสหาย เร่งขยายการต่อสู้ทางความคิดให้กว้างขวางออกไป เพื่อนำไปสู่การหลอมรวมสร้างอุดมการณ์ร่วมและสร้างองค์การจัดตั้งทางการเมืองแห่งชนชั้นผู้ใช้แรงงานทำการผลิต


ความคิดที่แจ่มชัด ว่าเราคือใคร สังกัดชนชั้นใด จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังทางวัตถุ เข้าทำการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงสังคมให้ก้าวรุดหน้าไปการเคลื่อนไหวทางความคิดกับการเคลื่อนไหวทางวัตถุ ย่อมส่งผลสะเทือนและกำหนดซึ่งกันและกัน ตามหลักสัจจะวิพากษ์

บล็อกของ คนไร้ที่ดิน

คนไร้ที่ดิน
โดย...สุภาภรณ์ วรพรพรรณ, ระวี ถาวร และ สมศักดิ์ สุขวงศ์   เส้นทางเข้าสู่บ้านตระ 29 มกราคม 2553 เดือนเต็มดวงในค่ำคืนนี้ อยู่ใกล้แทบจะเอามือคว้าได้ ฉันเข้านอนก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อย เมื่อหัวค่ำพี่น้องชาวบ้านตระได้เล่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านและบรรพบุรุษของพวกเขา ฉันหลับตานอนเท่าไรก็ไม่ค่อยจะหลับ ด้วยจิตใจจินตนาการถึงหนังสือของบริก แฮม ยัง ที่เขียนเรื่องหมู่บ้านโบราณที่โลกลืมของอินเดียแดงเผ่าอินคาท่ามกลางป่าดงดิบบนเทือกเขาแอนดีส (The Lost City of Incas)
คนไร้ที่ดิน
กว่าจะปรากฏเป็นรูปการณ์การดำรงอยู่และการดำเนินไปของชีวิตแห่งมวลมนุษยชาติในยุคปัจจุบันได้นั้น... ได้ผ่านความยากลำบากมากด้วยกัน ด้วยการร่วมกันดิ้นรนและต่อสู้อย่างบากบั่น ผ่านห้วงเวลา ผ่านการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยของสังคม จนผนึกแน่นเป็นสัญชาตญาณห่อหุ้มอยู่ด้วยจิตวิญญาณอันลึกซึ้ง ละเมียดละไมกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย
คนไร้ที่ดิน
อารีวรรณ คูสันเทียะ กลุ่มปฏิบัติการท้องถิ่นไร้พรมแดน     นับตั้งแต่เกิดวิกฤติด้านการเงิน ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ถูกทำให้ผิดเพี้ยนไป เมื่อพิจารณาจากรายงานข่าวของสื่อต่างๆที่ออกมา เช่น “เกาหลีใต้กำลังเช่าที่ดินครึ่งหนึ่งของมาดากัสการ์ เพื่อผลิตอาหาร” (อันที่จริงแล้วไม่ใช่รัฐบาลแต่เป็นของบริษัทแดวู) ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากมักจะให้ความสนใจว่าผู้ที่มีบทบาทนำในการกว้านซื้อที่ดินเพื่อผลิตอาหารในระดับโลกนั้นเป็นประเทศ หรือรัฐบาลไหน ความสนใจส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปที่การเกี่ยวพันของรัฐบาล เช่น ซาอุดิอาระเบีย จีน หรือเกาหลีใต้ แท้ที่จริงในขณะที่รัฐบาลเป็นผู้อำนวยการด้านการเจรจา…
คนไร้ที่ดิน
ศยามล ไกยูรวงศ์ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา     ประเด็น “โลกร้อน” เป็นเรื่องใหญ่ที่ใกล้ตัว ถ้าโลกร้อนขึ้นอีก 2 – 4 องศาเซลเซียส กล่าวกันว่ามนุษย์ทุกคนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่ที่แน่ๆคนจนและผู้ด้อยโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุด และไม่มีทางเลือกใดๆต่อการดำรงชีวิตบนโลกใบนี้ และประเด็นนี้เองที่ “คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม” มีข้อเสนอต่อการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติ ในการประชุมที่กรุงเทพฯ และที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ว่า
คนไร้ที่ดิน
รุ่งเช้าสายหมอกยังบ่จาง เด็กๆ จับกลุ่มเดินไปโรงเรียน หนุ่มสาวแบกตะกร้าหนักอึ้งกลับจากไร่ ผักกาดเขียวถูกเก็บมาสุมไว้ท้ายกระบะรถเตรียมส่งขายในเมือง ชีวิตของชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านหนองเต่ายังดำเนินเช่นทุกวัน  เพียงแต่วันนี้เป็นวันพิเศษสำหรับชาวบ้านหลายคน เพราะบ้านอยู่อู่นอนกำลังจะได้เอกสารสิทธิ์หลังรอคอยมาเกือบ  30 ปี
คนไร้ที่ดิน
นักข่าวพลเมือง เทือกเขาบรรทัดหวัดดีจ้า, เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้ไปเที่ยวบ้านไร่เหนือ ต.ในเตา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาบรรทัดรอยต่อระหว่างพัทลุงและนครศรีธรรมราช บ้านไร่เหนือก่อตั้งมาหลายร้อยปีแล้ว จากหลักฐานบ่งชี้คือ เครื่องใช้โบราณที่เป็นกระเบื้องและดินเผา โครงกระดูกที่ขุดพบ นอกจากนั้นยังมีสวนผลไม้โบราณ เช่น ทุเรียน มัดคุด มะปริง มะปราง ลางสาด เป็นต้น
คนไร้ที่ดิน
หวัดดีจ้า, 2-3 วันที่ผ่านมาได้พาทีมงานที่จะมาช่วยทำสารคดี หนังสั้น และพ็อคเก็ตบุค  ไปตะลอนทัวร์ชิมผลไม้ ในพื้นที่ทำงาน 3 หมู่บ้านของเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด เลยเก็บมุมงามๆ และอิ่มอกอิ่มใจมาฝาก ตั้งใจยั่วน้ำลายทุกคน อยากชวนไปเก็บผลไม้กินด้วยตัวเองจ้า
คนไร้ที่ดิน
การที่สังคมถูกปล่อยปละละเลยให้ดำเนินไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยคาดการณ์ว่าการพัฒนาดังกล่าวจะสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับสังคม ผู้คนมีอาชีพที่หลากหลายมีรายได้สูง ก่อเกิดการสร้างงาน สร้างสังคม สร้างชาติ และหล่อเลี้ยงระบบให้เจริญรุ่งเรืองยาวนาน โดยเน้นการผลิตที่ตอบสนองความต้องการของตลาดเพื่อสร้างรายได้และชี้วัดความสุขความเข็มแข้งมั่นคงของสังคมด้วยเงินตราและมูลค่าสมมุติต่างๆ
คนไร้ที่ดิน
คณะทำงานศึกษาแนวทางการกระจายการถือครองที่ดินฯ ที่ดินเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญขั้นพื้นฐานต่อสิทธิในที่อยู่อาศัยและสิทธิในการทำกินอันมั่นคงของประชาชนและเกษตรกร  ที่ดินเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของการเป็นปัจจัยสี่ต่อการดำรงชีวิตของมนุษยชาติ เป็นฐานความมั่นคงทางอาหารที่สำคัญ  เมื่อที่ดินในประเทศไทยนั้นไม่สามารถงอกเงยขึ้นมาได้  หากไม่มีการกระจายการถือครองที่ดินให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม   ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งและเป็นปัญหาความมั่นคงของชาติ 
คนไร้ที่ดิน
  นรัญกร กลวัชรกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  การหยิบยกประเด็นปัญหาที่ดินขึ้นมาพูดอีกครั้งของรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ โดยเฉพาะเรื่องโฉนดชุมชน และภาษีที่ดิน ได้จุดชนวนการถกเถียงในประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน และการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมขึ้นมาอีกครั้งในสังคมไทย ไม่ว่าประเด็นปัญหาที่ดินจะเป็นประเด็นปัญหาที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ต้องการผลักดันแก้ไขอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นเพียงการขายฝันสร้างภาพพจน์รัฐบาลที่เป็นธรรมก็ตาม นี่ก็ถือเป็นโอกาสอันดี ที่สังคมจะได้ทำความเข้าใจในประเด็นปัญหาที่ดินทำกินในภาคชนบท อันเป็นปัญหาพื้นฐานของสังคมไทย…
คนไร้ที่ดิน
โดย...ลูกสาวชาวเล  ถ้าเอ่ยถึงที่ดินริมทะเลแล้วหลายคนคงอยากมีและอยากได้ไว้ครอบครองสักผืนหนึ่ง พื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หมู่บ้านริมทะเลหรือบนเกาะแก่งน้อยใหญ่ของไทยที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวประมงพื้นบ้านถูกขายออกไปสู่มือนายทุนจำนวนมาก และส่วนใหญ่นายหน้าก็ไม่ใช่ใครที่ไหนมักจะเป็นคนในพื้นที่นั้นเอง ถ้าเราลองสอบถามผู้คนในหมู่บ้านริมทะเลว่ายังเหลือที่ดินเป็นกรรมสิทธิครอบครองอยู่อีกกี่ครอบครัว คำตอบที่ได้ทำให้รู้สึกหนักใจได้มากทีเดียว ส่วนใหญ่เหลืออยู่เพียงร้อยละ ๒๐ - ๓๐ เท่านั้นเอง ที่พอมีเหลืออยู่ก็เพียงแค่พื้นที่ปลูกบ้าน…
คนไร้ที่ดิน
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ กองเลขาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.) นโยบายแจก 2 พันบาทเป็นมาตรการที่เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศของรัฐบาล ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน หลังการประชุมได้ข้อสรุปว่า ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับแจก 2 พันบาท ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 กลุ่มคนนี้ คือ กลุ่มแรก คือ ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งหมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ในระบบประกันสังคมปกติ หรือออกจากงานแต่ยังจ่ายสมทบต่อเนื่องด้วยตัวเอง ตามมาตรา 39 มีประมาณ 8 ล้านคน กลุ่มที่สอง คือ ผู้ที่เป็นบุคลากรของภาครัฐ…