Skip to main content

กองเลขาฯเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย



ความขัดแย้งและการต่อสู้ของชนชั้นปกครองเป็นไปอย่างดุเดือดและยืดเยื้อ มากกว่า
3 ปี จนยกระดับขึ้นเป็นความขัดแย้งหลักของสังคมไทยในขณะนี้ ขั้วความขัดแย้งคือ กลุ่มทุนอนุรักษ์นิยมภายใต้อิทธิพลศักดินา ส่วนอีกฝ่ายคือ กลุ่มทุนเสรีนิยมใหม่ ความขัดแย้งครั้งนี้ไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้โดยง่าย เพราะเป็นการทำศึกวัดดุลกำลัง เพื่อนำไปสู่การจัดปรับความสัมพันธ์ทางอำนาจครั้งใหม่ ทั้งอำนาจในทางการเมือง อำนาจในการควบคุมระบบเศรษฐกิจและฐานทรัพยากรของสังคม ศึกช่วงชิงการยึดกุมความได้เปรียบในโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจละการผลิตครั้งนี้ “ชนชั้นผู้ชม” ต่างถามไถ่ว่าจะลงเอยอย่างไร


แต่ก่อนจะถึงบทสรุปแห่งการสัประยุทธในคราวนี้ มีข้อสังเกตที่พึงศึกษา เกี่ยวกับกระบวนการต่อสู้ขับเคี่ยวกันของทั้งสองฝ่าย อย่างน้อยในประเด็นเหล่านี้ ทั้งสองฝ่ายไม่ได้พูดถึงปัญหาพื้นฐาน ปัญหาใจกลางของประชาชน ชนชั้นผู้ทำการผลิต ซึ่งเป็นรากฐานของสังคมว่าจะจัดการดูแลแก้ไขอย่างไร


เช่น เรื่องรัฐสวัสดิการ การปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษี การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะระบบศาล การปฏิรูปการเมืองในทิศทางที่เพิ่มอำนาจและความเข้มแข้งของประชาชน-ของชนชั้นผู้ทำการผลิต ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อสร้างความเป็นธรรม ความเท่าเทียม และเชิดชูหลักการ “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย”


การเมืองใหม่” ที่ถูกนำเสนอขึ้นมาโดย พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) แท้ที่จริงเป็นเพียงการเมืองระบบตัวแทนแต่เพียงด้านเดียว พธม.เพียงแต่เสนอให้เปลี่ยนกระบวนการเข้าสู่อำนาจ จากการเลือกตั้งโดยประชาชนทั้งหมด (ตามรัฐธรรมนูญ 2540) มาเป็นการแต่งตั้ง 70% เลือกตั้ง 30% ซึ่งเป็นการรุกคืบเพื่อยึดพื้นที่ในโครงสร้างส่วนบน และเป็นการสานต่อแนวทางการเมืองจากรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ได้ยึดพื้นที่ในเวทีวุฒิสภาไปแล้วเกือบครึ่ง (เลือกตั้ง 76คน แต่งตั้ง 74คน ดูมาตรา 111 รัฐธรรมนูญ 2550)


ข้อเสนอเช่นนี้เป็นประโยชน์ต่อชนชั้นนำทางเศรษฐกิจการเมือง โดยเฉพาะพวกอำมาตยาศักดินานิยม ที่สำคัญเป็นข้อเสนอที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดที่มีอคติต่อชนชั้นล่าง ซึ่งก็คือประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท เป็นการหมิ่นแคลนดุลย์พินิจและการตัดสินใจของชนชั้นล่าง ซึ่งแท้จริงคือ ผู้ทำการผลิตเลี้ยงสังคม จนต้องลดสัดส่วนการเลือกตั้งจาก 100% เหลือเพียง 30% นี่เท่ากับว่าผู้นำเสนอเชิดชูระบบนี้ มองว่าผู้คนในสังคมมิได้มีสิทธิและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน


การสัประยุทธในครั้งนี้มีลักษณะเป็น “สงครามตัวแทน” นั้นหมายความว่าทั้งสองฝ่ายต่างค้ำจุนสนับสนุนไว้ด้วยผู้มากบารมีอยู่เบื้องหลัง เป็น “มือที่มองไม่เห็น” ที่ยึดกุมการเคลื่อนไหวต่อสู้และกำหนดทิศทางให้เกิดประโยชน์ต่อฝ่ายตนให้มากที่สุด โดยกลยุทธ์ทั้งปวงมุ่งไปที่การช่วงชิงการนำในตำแหน่ง ผู้นำสูงสุดในชนชั้นปกครอง นัยหนึ่งก็คือ เดิมพันอยู่ที่ใครจะได้ยึดกุมการใช้อำนาจรัฐสูงสุดไว้ในมือ


ลักษณะ “สงครามตัวแทน” ที่เป็นรูปธรรมเด่นชัดคือ ต่างฝ่ายต่างมี “มวลชนนักรบอาสา” ซึ่งมีความฮึกเหิมพร้อมที่จะเข้าประจัญบาน ประกาศศักยภาพแห่งอำนาจ และในมิติทางอุดมการณ์ “มวลชนนักรบอาสา” ของทั้งสองฝ่าย ต่างก็แบกรับฐานะผู้แทนทางความคิด ความเชื่อ ตามต้นสังกัดของตนเอง แม้ความคิดความเชื่อที่กำลังขับเคลื่อนอยู่นั้นจะไม่สอดคล้องต่อผลประโยชน์ขั้นพื้นฐานของตนเอง อาจเพราะถูกครอบไว้ด้วยทัศนะที่ว่าทำเพื่อ “ชาติ” ซึ่ง “ชาติ” ที่แท้จริงคืออะไร ใครเป็นผู้ยึดกุมการสร้างคำนิยาม ที่แน่ๆคงไม่ใช่ “มวลชนนักรับอาสา” ที่บาดเจ็บล้มตายในการต่อสู้ประจัญบานเป็นแน่แท้


ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปิดโปง ผู้มากล้นบารมีของทั้งสองฝ่าย ให้ปล้อนเปลือยต่อสายตาสาธารณะ แต่อนิจจา! ในสังคมที่ชนชั้นสูงหรือพวกอภิสิทธิ์ชน หยามหมิ่นในสิทธิและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของชนชั้นล่าง จะมีใครอาจหาญกระทำการใหญ่โตเยี่ยงนี้


สิ่งที่การเมืองเก่าและ “การเมืองใหม่” ไม่คิดอยากแตะต้องก็คือ การแก้ไขเปลี่ยนแปลง “ความสัมพันธ์ทางการผลิต” เพราะนี่คือระบบการกดขี่ขูดรีดที่พวกชนชั้นปกครอง (ทุนนิยม) ต้องพิทักษ์รักษาไว้อย่างสุดชีวิตจิตใจ นั้นเท่ากับการจำกัดขอบเขตให้ “เกษตรกร” เป็นเพียงผู้ผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรม (กรรมกรกับค่าจ้างไม่เป็นธรรม) ผ่านการกำหนดราคาของกลไกตลาดที่ “ชนชั้นผู้ทำการผลิต” ไม่มีอำนาจหรือส่วนร่วมในการกำหนดใดๆได้เลย เกษตรกรในปัจจุบันจึงเป็นเพียงแรงงานชนบทที่ถูกกำหนดให้ผลิตในที่ดินของตนเองหรือเช่า กระทั่งรับจ้างทำการผลิต


สถาบันตุลาการ ซึ่งการใช้อำนาจเชื่อมโยงผูกพันอยู่กับสถาบันเก่าแก่ของสังคมไทยอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ปัจจุบันได้เข้ามามีบทบาทในเวทีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ โดยแสดงจุดยืนแบบเลือกข้างฝ่ายอนุรักษ์ศักดินานิยม ในสถานะการณ์ที่ฝ่ายตุลาการมีบทบาทอย่างสูง ในการถ่วงดุลอำนาจฝ่ายการเมือง


ประกอบกับในสภาวะที่รัฐบาลเสรีนิยมที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ต้องรับมือกับศึกรอบด้าน โดยเฉพาะการโจมตีจากฝ่ายอนุรักษ์ศักดินานิยม ทำให้ฝ่ายการเมืองที่ปกติจะมีบทบาทบัญชาการและกำกับทางนโยบายต่อฝ่ายข้าราชการประจำ กลับเพลี่ยงพล้ำอ่อนแรง ขาดความชอบธรรมในการใช้อำนาจ สถานการณ์เช่นนี้ ทำให้ข้าราชการประจำมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการต่อสู้ของ “คนจน” ที่มักจะถูกสกัดขัดขวางด้วยมาตรการทางกฎหมายจากฝ่ายรัฐ


ดังนั้นการที่นักเคลื่อนไหวฝ่ายประชาชน คาดหวังว่าจะพลิกสถานการณ์จากตั้งรับการรุกด้วยมาตรการทางกฎหมายจากฝ่ายรัฐ มาเป็นการรุกกลับด้วยมาตรการทางการเมืองของฝ่ายประชาชน/คนจน อาจเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก ทั้งด้วยเหตุความแตกต่างด้านฐานความคิดทางการเมืองของฝ่ายที่เคลื่อนไหวอยู่กับ “คนจน” ซึ่งอย่างน้อยในปัจจุบันก็แตกตัวออกเป็นสามขั้วความคิด คือ 1. ฝ่าย พธม. 2.ฝ่าย นปช. 3.ฝ่ายที่ยืนยันการเคลื่อนไหวต่อสู้ของ “คนจน” ต้องอิสระ (โดยสัมพัทธ์) จากรัฐและทุน


อีกประการหนึ่งคือ ปัจจุบัน “ตุลาการภิวัฒน์” ถูกเชิดชูขึ้นสูง ซึ่งเท่ากับการเรียกร้องให้มีการใช้กฎหมายจัดการกับปัญหาต่างๆโดยรอบด้าน โดยมิได้คำนึงถึงว่ากฎหมายและกระบวนการใช้กฎหมายจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมหรือไม่ หรือกฎหมายจะช่วยตอกย้ำให้กระบวนการละเมิดสิทธิต่อชุมชน/คนจน มีความถูกต้องชอบธรรมมากยิ่งขึ้น


ความขัดแย้งภายในชนชั้นปกครองที่กำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น แหลมคม และดูท่าทีว่าไม่อาจประนีประนอมกันได้โดยง่าย ได้ตีแผ่ตัวเองให้ประชาชนได้เห็นว่า ฝ่ายทุนเสรีนิยมใหม่ก็ไม่เข้มแข็งกล้าหาญเพียงพอ ในการเป็นผู้นำปกป้องเสรีภาพประชาธิปไตย ซึ่งได้มาจากการอภิวัฒน์ 24 มิถุนายน 2475, 14 ตุลาคม 2516, 16-18 พฤษภาคม 2535 ฯลฯ ยังไม่ต้องคาดหวังถึงการนำมวลชนต่อสู้เพื่อปฏิวัติประชาธิปไตยของชนชั้นนายทุน


ในขณะที่ขบวนการรื้อคืน พลิกฟื้นอำนาจของฝ่ายอนุรักษ์ศักดินานิยมได้เริ่มต้นหลังจาก 24 มิถุนายน 2475 เพียง 2-3วัน และเริ่มจริงจังชัดเจนมากขึ้นหลังจากการรัฐประหาร พ.. 2490 ซึ่งมีการสะสมทางปริมาณเรื่อยมาจนถึงยุครัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และสงครามตัวแทน โดยฝ่ายอนุรักษ์ศักดินานิยมที่ใช้ พธม. เป็นองค์กรเปิดในการต่อสู้ทางการเมือง โดยพยายามดึงกองทัพเข้ามาเป็นพวก เพื่อทำรัฐประหารซ้ำอีกครั้ง


50-60 ปี ของการสะสมทางปริมาณ เพื่อการพลิกฟื้นคืนสู่การยึดกุมอำนาจสูงสุดในสังคม บัดนี้ได้แสดงออกในเชิงคุณภาพของการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยประจักษ์ชัดว่า อำนาจรัฐที่แท้จริงถูกช่วงชิงยึดกุมโดยชนชั้นปกครองฝ่ายอนุรักษ์ศักดินานิยม โดยพยายามสถาปนาระบอบอำมาตยาธิปไตยขึ้นมาแทนเสรีนิยมประชาธิปไตย และขณะเดียวกันมีผู้คนจำนวนมากที่ศรัทธาต่อระบบอำมาตยาศักดินานิยม


รวมทั้งพวก “ฉวยโอกาสเอียงขวา” หรือพวกชอบ “อุ้มไก่ตัวชนะ” ก็มีไม่น้อย แถมยังได้เห็นธาตุแท้ของชนชั้นกลางที่ทำงานคลุกคลีกับ “คนจน” หรือประชาชนรากหญ้า และเชิดชูอ้างอิงวาทกรรม “สิทธิชุมชน” และ “การเมืองแบบประชาชนมีส่วนร่วม” มาโดยตลอด แต่บัดนี้ได้หันไปร่วมเคลื่อนไหวเชิดชูอำนาจอันศักสิทธิ์ของอำมาตยาศักดินานิยม ที่ประชาชนไม่อาจแตะต้องวิพากษ์วิจารณ์ได้เลย


สถานการณ์ความขัดแย้งในหมู่ชนชั้นปกครองของระบบทุนนิยมได้ส่งผลสะเทือนไปทุกเสี้ยวส่วนของสังคม กล่าวเฉพาะในหมู่ปัญญาชน คนชั้นกลาง นักเคลื่อนไหวทางสังคม-การเมือง ได้เกิดข้อถกเถียงโต้แย้งทางความคิด ทฤษฎีในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับ การกำหนดยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี การสร้างแนวร่วม ฯลฯ ซึ่งทัศนะที่แตกต่างในประเด็นดังกล่าวสะท้อนถึง การรับรู้ทางด้านทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ตลอดถึงสำนึกทางชนชั้นที่แตกต่างกัน จึงส่งผลไปถึง การกำหนดจุดยืนและข้อเสนอทางการเมืองย่อมแตกต่างกันไปด้วย


สถานการณ์เช่นนี้ เป็นโอกาสสำคัญและเร่งด่วน ที่เราต้องทบทวนพัฒนาการของสังคมอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อการกำหนดฐานะบทบาทการเคลื่อนไหวของขบวนการสร้างอำนาจประชาชน ให้ดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับ ภาวะวิสัย และเกิดประโยชน์ ต่อการสร้างสรรค์ อำนาจการเมืองของประชาชน ซึ่งต้องไม่ตกอยู่ภายใต้การนำ การครอบงำของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็นคู่ขัดแย้งอยู่ในขณะนี้


ซึ่งบางท่านกล่าวว่า “การเมืองของภาคประชาชน” ไม่ใช่ “หางเครื่อง” ในการต่อสู้ของชนชั้นปกครอง การเมืองภาคประชาชนโดยเฉพาะการเมืองของชนชั้นผู้ใช้แรงงานทำการผลิตนั้นต้องไม่เป็นไปเพื่อการเชิดชูบูชาอำนาจใดๆ ที่ต้องการอยู่เหนือประชาชน หากแต่ต้องมุ่งมั่นสถาปนาความเข้มแข็งในอำนาจประชาชน เพื่อประชาชนเท่านั้น


ในเมื่ออนาคตของการเมืองประชาชน (คนจน ชนชั้นผู้ใช้แรงงานทำการผลิต) ไม่อาจฝากไว้กับขั้วความขัดแย้งใดๆแล้วเส้นทางใดเล่าที่ประชาชนจะพึงก้าวเดินไปสู่การสถาปนาอำนาจทางชนชั้นของตนเอง ในฐานะผู้ใช้แรงงานทำการผลิต


การศึกษาจัดตั้ง” ทางการเมืองท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อสู้ในปัญหาของประชาชน นับเป็นภาระกิจเบื้องต้นและเร่งด่วนที่นักเคลื่อนไหวฝ่ายประชาชน หรือ “ปัญญาชนอินทรียภาพ” (Intellectual Organic) ต้องเรียกร้องต่อตัวเองและมิตรสหาย เร่งขยายการต่อสู้ทางความคิดให้กว้างขวางออกไป เพื่อนำไปสู่การหลอมรวมสร้างอุดมการณ์ร่วมและสร้างองค์การจัดตั้งทางการเมืองแห่งชนชั้นผู้ใช้แรงงานทำการผลิต


ความคิดที่แจ่มชัด ว่าเราคือใคร สังกัดชนชั้นใด จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังทางวัตถุ เข้าทำการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงสังคมให้ก้าวรุดหน้าไปการเคลื่อนไหวทางความคิดกับการเคลื่อนไหวทางวัตถุ ย่อมส่งผลสะเทือนและกำหนดซึ่งกันและกัน ตามหลักสัจจะวิพากษ์

บล็อกของ คนไร้ที่ดิน

คนไร้ที่ดิน
ศยามล ไกยูรวงศ์ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา    การที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เปิดประเด็นการปฏิรูปที่ดิน แจกสปก. นับว่าโดนใจประชาชนที่เฝ้ารอคอย สปก. 4-01 และหวังว่าวันหนึ่งจะมีการออกเป็นโฉนดที่ดินตามแรงโฆษณาของเจ้าหน้าที่รัฐ และนักการเมือง ปัญหาการไม่มี สปก. 4-01 ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินมีจำนวนมาก มีโครงการปฏิรูปที่ดิน แต่ยังไม่มีการปฏิรูปที่ดิน และยังมีปัญหาความไม่ชัดเจนของความซ้ำซ้อนระหว่างแนวเขตของเขตปฏิรูปที่ดินกับที่ดินของรัฐประเภทอื่น เช่น พื้นที่ป่าตามกฎหมาย ที่ราชพัสดุ ที่สาธารณประโยชน์…
คนไร้ที่ดิน
โดย... สมจิต คงทน กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  ก่อนจะมาเป็นนารวม ชาวบ้านเขวาโคก-เขวาทุ่ง ต.สระบัว อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลและฟื้นฟูสภาพป่าสาธารณะของชุมชนที่อยู่คู่มากับหมู่บ้าน ซึ่งมีขนาดพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ ไว้สำหรับหาอยู่หากิน เก็บของป่า เก็บเห็ด เก็บฟืน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตแต่เมื่อปี 2538 มีกลุ่มทุนเอกชนจากนอกพื้นที่ทั้งหมด 8 ราย มาบุกรุก แผ้วถางป่าธรรมชาติดอนหนองโมง-หนองกลางของหมู่บ้าน เป็นเหตุให้ชาวบ้านที่นี่รวมกลุ่มกันต่อสู้เพื่อรักษาที่ดินผืนนี้ไว้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน
คนไร้ที่ดิน
กองเลขาฯเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ความขัดแย้งและการต่อสู้ของชนชั้นปกครองเป็นไปอย่างดุเดือดและยืดเยื้อ มากกว่า 3 ปี จนยกระดับขึ้นเป็นความขัดแย้งหลักของสังคมไทยในขณะนี้ ขั้วความขัดแย้งคือ กลุ่มทุนอนุรักษ์นิยมภายใต้อิทธิพลศักดินา ส่วนอีกฝ่ายคือ กลุ่มทุนเสรีนิยมใหม่ ความขัดแย้งครั้งนี้ไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้โดยง่าย เพราะเป็นการทำศึกวัดดุลกำลัง เพื่อนำไปสู่การจัดปรับความสัมพันธ์ทางอำนาจครั้งใหม่ ทั้งอำนาจในทางการเมือง อำนาจในการควบคุมระบบเศรษฐกิจและฐานทรัพยากรของสังคม ศึกช่วงชิงการยึดกุมความได้เปรียบในโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจละการผลิตครั้งนี้ “ชนชั้นผู้ชม”…
คนไร้ที่ดิน
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  เมื่อวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ ศูนย์กฎหมายและสิทธิชุมชนพื้นที่อันดามัน และเครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชายฝั่นอันดามัน ได้จัดเวทีสัมมนาเรื่อง “ทางออกกรณียึดที่ดินชุมชนสัมปทานป่า-เลให้นายทุน” ที่ศูนย์การเรียนรู้ควนปริง ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง มีผู้เข้าร่วมเวทีกว่า 150 คน ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ อาจารย์จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาที่ดินของหน่วยงานรัฐไว้อย่างน่าสนใจ…
คนไร้ที่ดิน
ศลิษา ทองสังข์ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ปัญหาเรื่องที่ดินเป็นปัญหาทางการเมืองและโครงสร้าง ปัญหาที่ดินไม่ได้จำกัดเฉพาะชาวนา หรือคนสลัม แม้แต่คนเมือง คนชั้นกลางก็ประสบปัญหาที่ดินอยู่อาศัย การใช้ประเด็นเรื่องการผูกขาดที่ดิน นักการเมือง กลุ่มผู้มีอิทธิพล ทุนข้ามชาติ และการสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคมโดยรวมและผลกระทบที่เกิดขึ้น จะทำให้สามารถเชื่อมโยงกับสังคมโดยรวมเพื่อสร้างแรงผลักดันการกระจายการถือครองที่ดินได้ ที่ผ่านมามีการผลักดันให้เกิดการแก้ไขมาตรการทางภาษีที่ดิน ตัวอย่างเช่น ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้รับความเห็นชอบจาก ครม. ตั้งแต่ปี 2541 เป็นเวลา 10 ปี เต็ม…
คนไร้ที่ดิน
นนท์ นรัญกร   ประเทศไทยมีพื้นที่ป่า 147 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ซึ่งได้แก่ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ พื้นที่ต้นน้ำชั้น 1 A และ ป่าสงวนแห่งชาติโซน C ประมาณ 80 ล้านไร่ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การบริหารจัดการพื้นที่ป่าของของกรมอุทยานแห่งชาติ พันธุ์พืชและสัตว์ป่า มีบทเรียนหลายประการ ที่ไม่ได้ถูกนำมาถกเถียงในสังคมไทยเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานให้ดีขึ้น ในขณะที่กำลังจะสร้างปัญหาใหม่ตามมา ดังที่เป็นข่าวเรื่องความพยายามใน การเซ้งพื้นที่อุทยานฯ ให้กับภาคเอกชนเช่าทำธุรกิจ บทเรียนประการแรก…
คนไร้ที่ดิน
พงษ์ทิพย์  สำราญจิตต์สังคมไทย  เป็นสังคมที่เกษตรกรและคนจนไร้ที่ดิน แทบจะไม่มีที่ยืนหรือสามารถบอกเล่าสถานะของตนเองต่อสังคมได้ โครงสร้างสังคมไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ การผลิตและการตลาด  ได้ถูกผูกขาดและกำกับควบคุมโดยคนกลุ่มเล็ก บริษัทธุรกิจเอกชนที่มีเงินลงทุนมหาศาล ในสนามเศรษฐกิจที่ถูกผูกขาดไว้แล้วเช่นนี้  แน่นอนว่าเกษตรกรรายย่อยย่อมมิอาจแข่งขันได้ นี่เป็นที่มาของสภาพการณ์ในชนบทสังคมไทยที่เกษตรกรรายย่อยกำลังกลายเป็นแรงงานรับจ้างและคนจนไร้ที่ดินมากขึ้นทุกขณะ
คนไร้ที่ดิน
                                                                                                   …
คนไร้ที่ดิน
  สมจิต  คงทนกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน (โลโคลแอค)เมื่อชาวบ้านถูกฟ้องคดี"ก่อนถูกฟ้องคดีเขาเป็นคนขยัน พอถูกจับและยึดที่ดินไป  ซึ่งเป็นที่ดินที่เขาสองคนผัวเมียได้อยู่อาศัยทำกินกันมายาวนาน เขากลายเป็นคนคิดมาก ควบคุมสติตัวเองไม่ได้  ทุบตีเมียตัวเอง และเคยคิดฆ่าตัวตาย จนกลายเป็นปัญหาครอบครัว สุดท้ายก็ต้องแยกทางกัน  ส่วนลูก 2 คนก็แบ่งกันไปคนละคน"  นางเหิม เพชรน้อย ชาวบ้านตำบลบ้านนา จังหวัดพัทลุง เล่าถึงชะตากรรมชีวิตของเพื่อนบ้านครอบครัวหนึ่งที่ถูกฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา โดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า หรือ…