Skip to main content

ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช

 

\\/--break--\>
คล้ายคลึงกับเล่มก่อนหน้า “ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” อาจไม่ใช่นิยายสำหรับคนหนุ่มสาวที่กำลังงุนงงสงสัยต่อคุณค่าความหมายของชีวิตหรือโหยหาเทิดทูนเสรีภาพ อยากออกไปโลดแล่นในโลกกว้างอย่างไร้ข้อจำกัด หรืออาจไม่ใช่นิยายสำหรับคนที่คิดขบถต่อแบบแผนหลักของสังคม ทั้งยังไม่ใช่นิยายแห่งแรงดลใจสำหรับความมุ่งมั่นบางอย่างในชีวิต หากแต่เป็นนิยายของคนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป เป็นนิยายของคนที่คิดจะมีครอบครัว คนที่กำลังจะมีครอบครัว ที่มีครอบครัวแล้ว ที่กำลังจะหย่าร้าง คนที่จะแต่งงานใหม่ ที่เป็นพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงและเผชิญปัญหาเรื่องครอบครัวผสม

 

เรื่องราวทั้งหมดจึงเป็นเรื่องของการแสวงหาความลงตัวในชีวิต “ครอบครัว” มองหาความสมบูรณ์แห่งชีวิตจากครอบครัว ในขณะที่หัวใจยังไม่อิ่มเต็ม อย่างไรก็ตามการมีครอบครัวไม่ใช่สิ่งสำเร็จรูปที่จะสร้างชีวิตที่ดีให้เกิดขึ้นได้เสมอไป ตรงกันข้าม หลายคนล้มเหลว เข็ดหลาบและได้ซึ้งใจว่า “ครอบครัว” ก่อให้เกิดคำถามและปัญหาตามมามากมาย

 

ในภาคนี้มีตัวละครน่าสนใจเพิ่มเข้ามาคือ คาซึมิ ผู้หญิง “พิเศษ” ชาวญี่ปุ่นที่เดินทางแสวงโชคไกลถึงอังกฤษ

ที่ช่วยถักทอเรื่องราวให้เข้มข้นด้วยปมปัญหาที่ซับซ้อน

 

ส่วนตัวละครหลัก ๆ ยังอยู่กันครบ ไม่ว่าจะเป็น จีน่า- อดีตภรรยาของแฮร์รี่ แพ็ต-ลูกชายหัวแก้วหัวแหวน ซี้ด-ภรรยาคนใหม่ เพ็กกี้- ลูกเลี้ยง เอมอน ฟิช- เพื่อนร่วมงานผู้ซึ่งสร้างสีสันด้วยมุมมองน่าทึ่งเฉพาะตัว เขาบอกกับแฮร์รี่ในตอนหนึ่งว่า

 

ผู้หญิงน่ะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ สิ่งที่น่าต้องเข้าใจก็คือในช่วงวัยต่าง ๆ ของชีวิต ผู้หญิงก็เหมือนกับโลกเรานี่เอง ช่วงอายุสิบสามถึงสิบแปดก็เป็นเหมือนทวีปแอฟริกา ดินแดนที่ยังบริสุทธิ์ ระหว่างสิบแปดถึงสามสิบก็เหมือนเอเชีย ร้อนแรงน่าตื่นเต้น จากสามสิบถึงสี่สิบห้าก็เหมือนอเมริกา ถูกสำรวจหมดแล้วแต่ยังมีทรัพยากรให้ใช้ได้อีกมาก จากสี่สิบห้าถึงห้าสิบห้าก็ยุโรป อาจจะล้าไปสักหน่อย หมดสภาพไปสักนิด แต่ก็ยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง ทีนี้จากห้าสิบห้าขึ้นไปล่ะก็จะเหมือนออสเตรเลียเลย ทุกคนรู้ว่ามันอยู่ตรงนั้น แต่น้อยคนจะยอมลงทุนไปค้นหา” (หน้า 132)

 

เนื้อหาของเรื่องถูกขับเคลื่อนไปด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมแก่นแกนหลักว่าด้วยเรื่องการแสวงหาความลงตัวของชีวิตครอบครัว ดำดิ่งลงสู่ความรู้สึกนึกคิดอันละเอียดซึ่ง ความอ่อนแอ การโหยหาสิ่งที่เข้ามาเติมเต็มให้ชีวิตอันเนื่องมาจากความรู้สึกขาดหายอยู่ตลอดเวลา

 

หลังจากเลิกร้างกับจีน่าอันเนื่องมาจากถูกจับได้ว่านอกใจแล้ว แฮร์รี่ก็แต่งงานใหม่กับซี้ดสาวชาวอเมริกันผู้ชาญฉลาดซึ่งมีลูกเลี้ยงติดพ่วงมาด้วย ชีวิตครอบครัวดูเหมือนจะไปด้วยดีในตอนแรก ความฉลาด งามล้ำของซี้ด และความสุขสมในเพศรสช่วยพยุงชีวิตคู่ไว้ได้มาก แต่ในเวลาต่อมา ความหึงหวง ความไม่เข้าใจกัน ช่องว่างระหว่างแม่เลี้ยงกับลูกเลี้ยง คือซี้ดกับแพ็ต ระหว่างพ่อเลี้ยงกับลูกเลี้ยง คือ แฮร์รี่กับเพ็กกี้ ก็ทำให้เกิดความระหองระแหงขึ้น

 

พ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงมีหน้าที่ที่จะไม่มีวันได้รับคำขอบคุณ พวกเราไม่มีวันชนะ ถ้าไม่ใช่วุ่นวายกับคนแปลกหน้าตัวจ้อยนี่มากเกินไปก็น้อยเกินไป” (หน้า 174)

 

การค้นพบคาซึมิ ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ขยายรอยร้าวของชีวิตคู่จนเกือบแตกหักและบังคับให้แฮร์รี่ต้องตัดสินใจเลือก

 

คาซึมิ เป็นเพื่อนของจีน่าเป็นผู้หญิงอ่อนโยนโรแมนติคในแบบของคนเอเชีย เธอทำงานเป็นช่างภาพ เธอพูดเกี่ยวกับการถ่ายภาพไว้ว่า

มีคนพูดไว้เกี่ยวกับการถ่ายรูปค่ะ ฉันคิดว่าคงเป็นกวี มันเหมือนการชมดอกซากุระ ช่วงเวลานั้นน่าสนใจเพราะว่าเป็นแค่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ถนอมรักษาช่วงเวลาไว้มิให้ผ่านเลย” (หน้า 187)

 

แฮร์รี่เคยคิดว่าชีวิตคู่จะจบลงที่ซี้ด เขาคงรักใครไม่ได้อีกแล้ว เขาอยากจะสร้างครอบครัวให้มั่นคงเหมือนพ่อแม่ของเขา ที่อยู่ด้วยกันจนตายจากกันไป แต่แล้ว คาซึมิก็ทำให้เขาคิดใหม่ เขาลุ่มหลงและสับสน

 

ขณะที่คาซึมิหลับใหลอยู่ในอ้อมแขนผม ผมนึกสงสัยว่าจะทำให้ชีวิตนิ่งได้อย่างไร ด้วยการอยู่กับที่กระนั้นหรือ หรือด้วยการเริ่มใหม่อยู่ร่ำไป” (หน้า 247)

ไม่ว่าแฮร์รี่จะตัดสินใจเลือกใครต่างก็ต้องลงเอยด้วยความเจ็บปวดทั้งสิ้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ผู้หญิงดีเลิศสองคน แต่อยู่ที่ตัวเขาเอง

ผมรู้ผมสามารถทำอย่างที่คนทั่วไปมักจะปฏิบัติกัน ผมอาจพยายามทำให้ซี้ดมีความสุขเพียงครึ่งเดียว ในขณะที่เก็บคาซึมิไว้และทำให้เธอมีความสุขเพียงครึ่งหนึ่งเช่นกัน มีอะไรกับคนทั้งสองเท่าที่จะทำไหว ผมคงพอจะรอดตัวไปได้ด้วยการโกหกทุกคน ทั้งซี้ด ทั้งคาซึมิ แต่ที่หนักที่สุดคือโกหกตัวเอง บอกตัวเองว่ารักทั้งสองคนอย่างแท้จริง อย่างซาบซึ้งตรึงใจ แต่การพยายามรักผู้หญิงทั้งสองคน ในที่สุดก็จะจบลงด้วยการไม่อาจรักใครได้เลยสักคน” (หน้า 336)

 

อย่างไรก็ตาม ด้วยความผูกพันและความเป็นครอบครัว แฮร์รี่เลือกที่จะอยู่กับซี้ดต่อไป แต่แฮร์รี่นั้นอาจเปลี่ยนใจอีกก็ได้เพราะหัวใจของเขาไม่เคยอิ่มเต็ม.

 

 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมจากแดนไกลเล่มนี้ คงไม่ใช่วรรณกรรมเยาวชนในความหมายที่เหมาะสำหรับการส่งเสริมจินตนาการและการผจญภัยอันสนุกสนานของเด็ก ๆ ในแบบเดียวกับ “แฮร์รี่ พอตเตอร์” แม้ว่าชื่อเรื่องจะฟังดูชวนฝัน เสริมสร้างจินตนาการแบบเดียวกับ “เจ้าชายน้อย” ของ อังตวน เดอ เซงเตก ซูเปรี ก็ตาม ตรงกันข้ามทีเดียวนี่เป็นวรรณกรรมที่เหมาะสำหรับนักอ่านประเภท “ฮาร์ดคอร์” โดยแท้ ซึ่งวรรณกรรมประเภทนี้เนื้อหาสาระจะนำมาซึ่งความบันเทิงประทับใจ เนื้อหาสาระอันเข้มข้นและลีลาลูกเล่นในการเล่าเรื่องต่างหากที่จะก่อให้เกิดความบันเทิงเริงใจ ไม่ใช่สาระบันเทิงแบบรายการ “ตาสว่าง” ที่ดูแล้วชวนให้มืดมัวด้วยอคติและความไม่เข้าใจมากยิ่งขึ้น…
นาลกะ
เคยได้ยินชื่อ “ขบวนการนกกางเขน” มานานแล้ว แต่ไม่เคยรู้ว่าคืออะไร จนกระทั่งเห็นหนังสือชื่อเดียวกันนี้วางอยู่บนชั้นและลงมืออ่าน จึงได้รู้ว่า “ขบวนการนกกางเขน” เป็นวรรณกรรมเยาวชนต่างประเทศที่แปลโดย “แว่นแก้ว” “ขบวนการนกกางเขน” เป็นทั้งชื่อหนังสือและชื่อเรียกของกลุ่มตัวละครเด็ก ๆ ในเรื่อง เด็ก ๆ ถูกวาดให้มีหลากหลายบุคลิก ตั้งขบวนการ รวมตัวกันหาเรื่องสนุก ๆ ทำ จนกระทั่งเข้าไปผจญภัยในห้องใต้ดินและนำไปสู่การค้นพบขุมทรัพย์ในที่สุด ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้น่าจะอยู่ที่ผู้แปลมากกว่าผู้เขียน  สำหรับผู้เขียนชาวฝรั่งเศสคือ Madeleine Treherne  ตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ในภาคฝรั่งเศสว่า Rossignols…
นาลกะ
“ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ”1 แปลมาจากเรื่อง “Dibs In Search of Self” เป็นหนังสือเกี่ยวกับเด็กที่ไม่ใช่นวนิยายที่จัดได้ว่าเป็น Bestseller  อย่างไรก็ตามหนังสือเรื่องนี้อ่านสนุกน่าติดตามราวกับเป็นวรรณกรรมเยาวชน (จะว่าไปเรื่องราวของเด็ก ๆ ก็เป็นวรรณกรรมในตัวมันเองอยู่แล้ว)ผมเจอหนังสือเล่มนี้โดยบังเอิญในห้องสมุด อ่านเพียงผ่าน ๆ แต่แรงดึงดูดบางประการทำให้วางไม่ลงและอ่านต่อไปด้วยความเพลิดเพลินจนจบ ผิดกับหนังสือหลายเล่มที่ในระยะหลังผมมักจะอ่านไม่จบ ไม่ใช่ไม่มีเวลา แต่ไม่มีแรงดึงดูดให้อ่าน แต่สำหรับเรื่อง “ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ” นี้เป็นข้อยกเว้นจริง ๆ“ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ”…
นาลกะ
 อนาโตล ฟรองซ์  เขียนไกรวรรณ  สีดาฟอง แปลอนาโตล ฟรองซ์ นักเขียนชาวฝรั่งเศสได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมในปี 1921 เขาเป็นชาวปารีส กำเนิดมาท่ามกลางกองหนังสือเก่าของบิดา เขากลายเป็นนักเขียนแถวหน้าด้วยผลงานเรื่อง “ซิลเวอร์แตร์ บงนาร์ด” (1881)  หลังจากนั้นก็สร้างสรรค์นวนิยายออกมาหลายชิ้นที่โด่งดังมากก็คือ “หมู่เกาะนกเพ็นกวิน” (1908) นวนิยายเชิงเสียดสีที่มีฉากหลังเป็นการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นเยี่ยมเล่มหนึ่งของศตวรรษ 20ผลงานเรื่อง “หมู่เด็กแห่งทุ่งดอกไม้”  เขียนขึ้นตอนบั้นปลายของชีวิตของเขา น่าสังเกตว่าหลังจากเขียนงานวรรณกรรมประเภท “สร้างสรรค์…
นาลกะ
“รพินทรนาถ ฐากูร” เขียน“วิทุร  แสงสิงแก้ว” แปล“ปรีชา  ช่อปทุมมา” แปล“เยี่ยมหน้าให้เขายล อ้ายหนูเอ๋ย เพื่อว่าพวกเขาจะได้ซึมซาบในความหมายแห่งสรรพสิ่ง จงทำตัวให้พวกเขารักเพื่อว่าพวกเขาจะได้รู้จักรักใคร่ซึ่งกันและกันบ้าง”(สำนวนแปลของปรีชา ช่อปทุมมา)
นาลกะ
 จอห์น  โฮลท์  เขียนกาญจนา  ถอดความหนังสือเล่มนี้พูดถึงเด็ก ๆ ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ร่วมในสังคมเดียวกับพวกเรา โดยต้องการพิจารณาดูว่าเด็กทั้งหลายนั้นถูกจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ใดในสังคม (หรือสังคมปัจจุบันอาจจะไม่ได้มีที่ว่างไว้ให้พวกเด็ก  ๆ เลย?)  ผู้เขียนมีทัศนะที่ก้าวหน้ามากในประเด็นที่รายล้อมอยู่รอบตัวเด็ก และเต็มไปด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ค่านิยม ความเชื่อและพฤติกรรมที่มีผู้ใหญ่มีต่อเด็กอย่างถึงรากถึงโคนจนบางคนอาจจะรับไม่ได้ นอกจากหนังสือเล่มนี้ที่แปลมาจาก Escape from Childhood แล้วผู้เขียนซึ่งเคยเป็นครู มีประสบการณ์ในการคลุกคลีกับเด็กมายาวนาน  …
นาลกะ
อาการป่วยของแม่ทุเลาลง แต่ยังไม่หายเป็นปกติเพราะโรคฉวยโอกาสบางชนิดที่ยังทำให้แม่อ่อนเพลีย คุณหมอมาดูแลอาการของแม่บ่อยครั้ง คุณหมอจะยิ้มอย่างปลอดโปร่งใจทุกครั้งเมื่อตรวจดูอาการของแม่เสร็จ สายรุ้งไม่แน่ใจว่ารอยยิ้มของคุณหมอมีความหมายว่าอะไร อาจหมายถึงว่าแม่จะกลับมามีสุขภาพแข็งแรงดังเดิมหรือเพื่อปลอบใจสายรุ้งกันแน่ หรือว่าคุณหมอที่ไหน ๆ ต่างก็มีรอยยิ้มลักษณะเช่นนี้“แม่ผมเป็นยังไงบ้างครับ”คุณหมอทำท่าตรึกตรองราวกับกำลังหาคำอธิบายที่เหมาะ ๆ นั่นยิ่งทำให้สายรุ้งรู้สึกกังวลหนักขึ้น“หนูต้องดูแลแม่ดี ๆ นะ” คุณหมอตอบ “หนูรู้ไหมว่าหนูมีส่วนอย่างมากในการทำให้คุณแม่หายจากอาการป่วยไว ๆ” “…
นาลกะ
คุณตาและน้ามลมาที่บ้านสายรุ้งบ่อยขึ้น เพราะแม่ของสายรุ้งไม่สบาย แม่เป็นลมหมดสติขณะกำลังทำงาน โชคดีที่ตอนนั้นสายรุ้งอยู่ที่บ้านด้วย สายรุ้งตกใจมากที่เห็นแม่ล้มลงและหมดสติเขาวิ่งไปตามคุณตาและน้ามลสายรุ้งไม่เข้าใจเลยว่าแม่ล้มป่วยได้อย่างไรในเมื่อดูแลตัวเองดีมาโดยตลอด  แม่เคร่งครัดต่อวิถีชีวิตประจำวันอย่างมาก นอนและตื่นตรงเวลาเหมือนกันทุกวัน ระวังให้ไม่โดนแดด โดนฝน แม่เลือกทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเท่านั้น อาหารที่ผ่านการหมักดองแม่ไม่ทานเด็ดขาด ผัก ผลไม้ที่ซื้อมาจากตลาดแม่ล้างแล้วล้างอีก อาหารทอดหรือปิ้งย่าง แม่ก็ไม่ทาน ทั้งแม่ยังออกกำลังกายเป็นประจำอีกด้วย…
นาลกะ
วันเวลาเคลื่อนคล้อยไปจนใกล้สิ้นปี สายรุ้งและแม่ผ่านวันเวลาร่วมกันมาอย่างกล้าหาญ เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ยืนหยัดอยู่ท่ามกลางลมพายุ รู้จักการโอนเอนตามแรงลมเมื่อพายุกระหน่ำหนักในขณะที่รากนั้นยึดเกาะดินไว้อย่างมั่นคงสายรุ้งมีอายุเพิ่มมากขึ้นอีกปี การผ่านวันเวลาไปจนมีอายุเพิ่มขึ้นหนึ่งปีนั้นอาจเป็นเรื่องปกติสำหรับคนอื่น ๆ แต่สำหรับแม่ของสายรุ้งแล้ว เธอรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่มีความหมาย และความสำคัญอย่างยิ่งยวด เธอตระหนักถึงคุณค่าของแต่ละวินาที และรู้ว่ากาลเวลาในหนึ่งวินาทีของเธอกับของคนอื่นนั้นแตกต่างกันด้วยเหตุว่าเธอมีมาตรวัดความยาวนานของเวลาต่างออกไป ส่วนสายรุ้งอาจยังเด็กเกินไปที่จะเข้าใจในเรื่องนี้ “…
นาลกะ
สายรุ้งก็เหมือนกับเด็กคนอื่นๆ ที่เพลิดเพลินกับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์  เกมที่มีภาพสวยงามดึงดูดสายตาและสามารถติดต่อสัมพันธ์ คุยเล่นสนุกกับคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนได้ผ่านการเชื่อมต่อกับโลกไซเบอร์ การสร้างสีสันสวยงามเกินจริง การออกแบบฉากที่อลังการ ไม่ว่าจะเป็นตึกอาคาร ตัวสัตว์ประเภทต่าง ๆ  และความน่าตื่นตาตื่นใจกับสิ่งที่ปรากฏในเกม ยั่วเย้าเร้าความสนใจของสายรุ้งและเด็กคนอื่นๆ จนไม่อาจต้านทานได้หากเล่นเกมที่ร้านเกมซึ่งมีเด็กๆ ไปชุมนุมกันนั้น สายรุ้งจะนั่งเล่นไม่นานนัก แค่เพียงชั่วโมงหรือสองชั่วโมงเท่านั้น เพราะแม่ไม่ต้องการให้เขาขลุกอยู่ที่ร้านเกมนานเกินไป…
นาลกะ
เมฆฝนตั้งเค้าทำท่าเหมือนว่าจะเทน้ำลงมา แต่ก็ไม่เคยหล่นลงมาสักหยด สายลมจะพัดพาเมฆให้ลอยไปที่อื่น จากนั้นท้องฟ้าก็จะปลอดโปร่งเหมือนเดิม ชาวสวนที่เฝ้ารออยู่แหงนหน้าขึ้นฟ้าหวังจะได้เห็นเม็ดฝนโปรยปราย เมล็ดพืชที่หว่านไว้รอเพียงฝนแรกเท่านั้นก็จะแทงยอดอ่อนออกมาท้องฟ้าครึ้ม เมฆสีดำลอยต่ำและบดบังความร้อนแรงแห่งแสงอาทิตย์ อากาศยามสายขมุกขมัว  “วันนี้ฝนจะตก” ตาพูดกับเด่นและสายรุ้ง “ดูฝงมดพวกนั้นสิพากันอพยพเพราะมันรู้ว่าน้ำจะเจิ่งนองท่วมรังของมัน” สายรุ้งแหงนหน้าขึ้นมองท้องฟ้า ท้องฟ้าช่างดูอึดอัดด้วยบรรยากาศอันอึมครึม นกฝูงบินตัดก้อนเมฆที่คล้อยลงต่ำ“เราจะได้เล่นน้ำ” เด่นว่าแล้วฝนก็เทลงมาจริงๆ…
นาลกะ
วันนี้เพื่อนร่วมชั้นเรียนคนหนึ่งของสายรุ้งมาโรงเรียนสาย พอครูถามเขาก็ตอบว่าที่บ้านเขากำลังมีปัญหา พ่อของเขาป่วยหนัก เมื่อสายรุ้งเห็นแววตาเศร้าสร้อยของเพื่อนนักเรียนคนนั้นแล้วรู้สึกสงสารจับใจ เพื่อนนักเรียนกำลังจะร้องไห้อยู่แล้วตอนที่ตอบคำถามของครู เป็นไปได้ว่าสายรุ้งอาจกำลังคิดถึงตัวเองที่สูญเสียพ่อไปตั้งแต่ยังเล็ก แล้วก็เลยเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนนักเรียนคนนั้นดีว่าจะต้องเสียใจมากเพียงใดหากพ่อของเขาต้องมีอันเป็นไป อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนไม่ได้รู้สึกอย่างที่สายรุ้งรู้สึก ความทุกข์ใจของเพื่อนนักเรียนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยของพ่อซึ่งเป็นเสาหลักของครอบครัวนั้น…