Skip to main content

คนส่วนใหญ่รับรู้ว่าวัดชนะสงครามเป็นวัดมอญ ใช่ว่าคนสนใจประวัติศาสตร์จึงได้รู้ความเป็นมาของวัด แต่เป็นเพราะหน้าวัดมีป้ายโลหะสีน้ำตาลที่ทางการชอบปักไว้หน้าสถานที่ท่องเที่ยว ความระบุประวัติไว้ว่าวัดนี้เป็นวัดของพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ (มอญ) แต่ก็ไม่แน่ใจนัก คนสมัยนี้อาจเข้าใจว่ามอญเป็นชื่อต้นไม้จำพวกเห็ดราปรสิตชนิดหนึ่งก็ได้


เดี๋ยวนี้วัดชนะสงครามมีชื่อเสียงเป็นสองแรงบวก จากกิตติศัพท์ความเคร่งของพระมอญ และคำว่า “ชนะ” การประกอบกิจกรรมกิจการงานใด หากทำบุญถวายสังฆทานสะเดาะเคราะห์ที่วัดนี้จะมีโชคมีชัย แคล้วคลาด ขนาดหมอดูชื่อดังยังสร้างแนวคิดให้มาไหว้พระ ๙ วัด เมื่อปี ๒๕๔๘ มีวัดชนะสงครามเป็นหนึ่งในนั้น (เพื่อจะได้มีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง – แต่หากไปไหว้พระที่วัดชัยชนะสงคราม คลองถม ขากลับจะสามารถเลือกซื้อหนังก๊อปได้ด้วย) เรียกว่าความนิยมของวัดชนะสงครามได้มาเพราะชื่อขายได้แท้ๆ กระทั่งททท.รับลูกเอาไปเล่นต่อ สร้างจุดขายการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพฯชั้นในแต่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นบางวัด ทุกวันนี้เสาร์อาทิตย์จะผู้คนมาไหว้พระกันแน่นวัด มาอยู่กันคนละประมาณ ๕ นาที รีบไปต่อเพราะกลัวจะไม่ครบ ๙ วัด แรกเริ่มทางททท.ก็พิมพ์ประวัติวัดเล่มบางๆ มาแจก ทางวัดก็มีหนังสือธรรมะเล่มเล็กให้ญาติโยมติดไม้ติดมือกลับบ้าน ระยะหลังหนังสือหมด ทางททท.คงไม่มีงบทำต่อเพราะต้องเจียดงบไปเปิดตัวพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ขยายพื้นที่จัดแสดงของบึงฉวาก ปรับภูมิทัศน์หอคอยบรรหาร ปรับปรุงและพัฒนาถนนสายต่างๆ และเกาะกลางถนน รวมทั้งเสาไฟฟ้าส่องสว่างให้ชาวนาที่พิพิธภัณฑ์ชาวนาไทยได้ดำนาในตอนกลางคืนอวดนักท่องเที่ยว เมื่องบประมาณการท่องเที่ยวจังหวัดอื่นๆ จึงถูกตัด ทุกวันนี้คนที่มาไหว้พระที่วัดชนะสงครามจึงกลับบ้านมือเปล่า ธรรมะก็คงไม่มีเวลาฟังเพราะต้องรีบไปวัดอื่นต่อ หากนั่งอยู่ใกล้ธรรมาสน์อาจได้หยาดน้ำมนต์จางๆ กระเซ็นไปต้องผิวหนังบ้าง แต่ที่แน่ๆ มีตู้บริจาควางไว้ให้รอบทิศเกือบ ๒๐ ใบ บริจาคทรัพย์ได้ตามอัธยาศัย
 


แผนที่การเดินทางไหว้พระ ๙ วัด


ไม่นานมานี้ที่วัดชนะสงครามเกิดประเพณีใหม่ เนื่องมาจากการบนบานกับพระบรมรูปวังหน้า (สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) ได้ผลมากน้อยเพียงใดไม่มีใครรู้ แต่เห็นมีของแก้บนล้นหลามก็แสดงว่ามีผู้สมใจนึกจำนวนมาก พระเณรพากันแปลกใจ ถามไถ่ได้ความว่า มีคนเล่าลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวังหน้าใครขออะไรก็ได้ดังใจ และต้องมาแก้บนด้วยมะนาว เจ้าอาวาสได้ยินเข้าถึงกับออกปาก
อาตมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้มา ๔๐ กว่าปีแล้ว เพิ่งเคยได้ยิน”


ล่าสุดเมื่อต้นเดือนกันยายน พระวัดชนะสงครามก็ได้งานเพิ่มมาอีกอย่างคือ การปราบผี เมื่อเจ้าอาวาสและพระมอญหลายรูปได้รับนิมนต์ไปฉันภัตตาหารในงานทำบุญสถาปนากองปราบปรามครบรอบ ๖๑ ปี หลังฉันภัตตาหารเสร็จ เจ้าหน้าที่ได้นิมนต์เจ้าคุณ
(พระเมธีวราลงกรณ์) ไปพรมน้ำมนต์ที่ห้องขังเพื่อไล่ผีอดีตผู้ต้องขังที่หลอกหลอนผู้ต้องขังด้วยกัน เจ้าคุณรู้แต่ว่าวันนั้นเขานิมนต์ไปสวดมนต์ฉันเพลจึงตั้งตัวไม่ทัน พรมน้ำมนต์เสร็จกลับถึงวัดจึงบ่นขึ้น

ถ้าเรื่องสงบ ผีก็คงจะโกรธที่เราไปทำร้ายเขา แต่ถ้าผียังไม่ยอมหยุด คนก็จะหาว่าน้ำมนต์เราไม่ศักสิทธิ์ โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง”

 


พระเมธีวราลงกรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส คณะ ๗ วัดชนะสงคราม พรมน้ำมนต์ห้องขังกองปราบไล่ผี


แล้วก็เป็นจริงตามคาด รุ่งขึ้นเป็นข่าวอีกว่า น้ำมนต์ไม่ขลัง เพราะช่างภาพโทรทัศน์รายหนึ่ง (แหล่งข่าวไม่เปิดเผยชื่อและช่อง) เจอจะๆ กับตาแต่ไม่กล้าบอกใคร กลัวคนจะแตกตื่น (แต่ก็มาเปิดเผยภายหลัง) ...สื่อมวลชนยังเป็นอย่างนี้ แล้วสังคมที่เสพข่าวสารจะเป็นอย่างไร


ที่จริงแล้ววัดชนะสงครามเกี่ยวข้องกับคนมอญมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมเป็นวัดขนาดเล็กสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ท่ามกลางท้องนาจึงได้ชื่อว่า “วัดกลางนา” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อตั้งบ้านแปงเมืองในระยะแรกนั้นพม่าพยายามยกทัพมาปราบปรามเพื่อไม่ให้ตั้งตัวได้ บ้านเมืองต้องรับศึกสงครามหลายครั้ง มีทหารมอญจำนวนมากที่อพยพเข้ามาสมัยธนบุรี ได้เข้าร่วมในกองทัพของวังหน้า สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
(พระอนุชาในรัชกาลที่ ๑) ภายหลังมีชัยจากสงครามแล้ว ระหว่างทรงพักกองทัพหลังกลับจากสงครามก่อนเข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๑ ในวังหลวงย่านวัดกลางนา สมเด็จกรมพระราชวังบวรฯทรงนึกถึงคุณงามความดีของทหารมอญที่ร่วมรบในสงครามจนได้รับชัยชนะ จึงรับสั่งให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดกลางนา ให้เป็นวัดสำหรับพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ และให้ครอบครัวของนายทหารมอญเหล่านั้นปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่รายรอบวัด วัดและชุมชนรอบๆ วัดชนะสงครามจึงเป็นชุมชนมอญตั้งแต่นั้นมา


ปัจจุบันชุมชนและวัดมอญชนะสงครามเหลือเพียงประวัติศาสตร์เท่านั้น ลูกหลานของมอญสมัยนั้นกลืนกลายเป็นไทยไปหมดแล้ว ไม่หลงเหลือเอกลักษณ์วัดมอญเช่นในอดีตอีกต่อไป มีเพียงหน้าที่ตามกฏมณเฑียรบาลเท่านั้นคือ ให้พระมอญที่จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงครามเข้าไปสวดพระปริตรมอญที่หอศาสตราคม พระบรมมหาราชวังทุกวันพระ เพื่อจัดทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมพระบรมมหาราชวังและสำหรับพระมหากษัตริย์โสรจสรง ซึ่งพระมอญนั้นเหลือน้อยลงเรื่อยๆ ปัจจุบันเหลือเพียง ๗ รูป เท่านั้น

 


นายธีระ ทรงลักษณ์ (พาดผ้า) ผู้อาราธนาศีลมอญงานเทศน์มหาชาติภาษามอญ ปี ๒๕๕๑


เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม ๒ รูปก่อนหน้ารูปปัจจุบันไม่ได้มีเชื้อสายมอญ และปกครองวัดได้ไม่นานนักก็มรณภาพ ทำให้เกิดข่าวลือว่า หากเจ้าอาวาสไม่มีเชื้อสายมอญจะอยู่ไม่ได้ เมื่อเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน (สมเด็จพระมหาธีราจารย์) มาเป็นเจ้าอาวาส และคงได้ยินข่าวลือนี้ ท่านจึงกล่าวว่าท่านก็มีเชื้อมอญ ทั้งยังบวชมาจากวัดตองปุ วัดมอญที่อยุธยาเสียด้วย (เดิมวัดชนะสงครามก็มีชื่อเรียกในหมู่ชาวมอญว่าวัดตองปุ) ซึ่งท่านได้เป็นเจ้าอาวาสมาจนถึงทุกวันนี้ และท่านก็มักคุยให้คนมอญที่ไปหาท่านฟังเสมอว่าท่านมีเชื้อมอญ และมีอ่างกะปิของยายที่หอบหิ้วมาจากเมืองมอญ แม้ไม่เคยมีใครได้เห็นก็ตาม แต่เมื่อมีคนจีนเข้าไปพูดคุยท่านก็จะพูดเรื่องจีนและกล่าวว่าท่านก็มีเชื้อสายจีนด้วย แม้เรื่องนี้จะฟังดูคล้ายวิธีการของนักการเมือง แต่สำหรับเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามคงอยู่นอกเหนือจากนั้นเพราะท่านไม่ได้ต้องการขยายฐานเสียง เพียงแต่ท่านรู้ว่าควรจะคุยกับใครด้วยเรื่องอะไรจึงจะเหมาะควร


สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าเจ้าอาวาสท่านยังคงคิดถึงและให้เกียรติบรรพชนมอญผู้สร้างวัดคือ ว่ากันว่าแม้ทุกวันนี้วัดชนะสงครามจะเหลือพระมอญน้อยมากแล้วก็ตาม ท่านยังคงแบ่งวัดออกเป็น ๒ ฟาก กำหนดให้ฟากซ้ายมือเป็นที่จำพรรษาของพระมอญ (ปัจจุบันจะเหลือแต่เจ้าคณะเท่านั้นที่เป็นมอญ) ส่วนฟากขวามือเป็นพระอาคันตุกะ คือพระที่มาจากทุกสารทิศโดยไม่แบ่งแยก และอีกประการหนึ่งคือ ท่านได้กำหนดให้รื้อฟื้นการเทศน์มหาชาติภาษามอญขึ้นทุกปี โดยก่อนหน้าที่ท่านจะมาปกครองวัดนั้นเทศน์เฉพาะภาษาไทย เลิกเทศน์ภาษามอญไปนานแล้ว ครั้งแรกที่ท่านมีดำริให้เทศน์มหาชาติภาษามอญ มีผู้ท้วงว่าไม่มีพระมอญในวัดที่เทศน์มอญได้ไพเราะแล้ว รูปที่เคยเทศน์ก็เพิ่งมรณภาพไป ซ้ำคนที่ฟังออกก็มีน้อย แต่ท่านก็ยืนยันให้มีการเทศน์มหาชาติภาษามอญ ๑ กัณฑ์ ทุกปี ด้วยเหตุผลที่ว่า


เอาพระในวัดเรานี่แหละ เทศน์ธรรมดา แหล่หรือเอื้อนแบบเก่าไม่ได้ก็ช่างมัน ใครฟังไม่ออกก็ช่างเขา เทศน์ให้ผีบรรพบุรุษมอญฟัง เพราะวัดนี้เป็นวัดมอญ”

 


พระครูสุนทรวิลาศ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส คณะ ๕ วัดชนะสงคราม
เทศน์มหาชาติกัณฑ์วนประเวศน์ภาษามอญเป็นประจำทุกปี


 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
คนส่วนใหญ่รับรู้ว่าวัดชนะสงครามเป็นวัดมอญ ใช่ว่าคนสนใจประวัติศาสตร์จึงได้รู้ความเป็นมาของวัด แต่เป็นเพราะหน้าวัดมีป้ายโลหะสีน้ำตาลที่ทางการชอบปักไว้หน้าสถานที่ท่องเที่ยว ความระบุประวัติไว้ว่าวัดนี้เป็นวัดของพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ (มอญ) แต่ก็ไม่แน่ใจนัก คนสมัยนี้อาจเข้าใจว่ามอญเป็นชื่อต้นไม้จำพวกเห็ดราปรสิตชนิดหนึ่งก็ได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และเกิดการตอบสนอง นับแต่โบราณกาลมีตั้งแต่การสุมไฟให้เกิดควัน นกพิราบสื่อสาร ปัจจุบันการสื่อสารมีหลายวิธีรวดเร็วทันใจมากขึ้น อาจเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม หรือการสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต ก็ได้ ส่วนภาษาที่มาพร้อมกับวิธีการสื่อสารเหล่านั้น เป็นเครื่องมือที่สำคัญซึ่งมีพัฒนาการไม่หยุดนิ่ง มีการหยิบยืมคำในภาษาอื่น เปลี่ยนรูปแบบและความหมายตลอดเวลา…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยนั้นมีมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงแม้ว่าจะเริ่มต้นจากการหาที่เก็บของเก่าก็ตาม แต่จากประสบการณ์ที่ว่านี้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังคิดทำพิพิธภัณฑ์ว่าจะใช้เก็บของเก่าหรือใช้เป็นสถานที่เรียนรู้ โดยเฉพาะในยุคที่ผู้คนเริ่มเห็นคุณค่าท้องถิ่นของตน การตัดสินใจเกี่ยวกับท้องถิ่นจึงควรมาจากท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน     หญ้าขัดมอญ เป็นพืชล้มลุก ทรงพุ่มเตี้ย ตระกูลเดียวกับชบา ขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ต้องปลูกและดูแลรักษา คนในสังคมเมืองคงไม่คุ้นชื่อคุ้นต้นไม้ชนิดนี้ หลายคนเห็นเป็นวัชพืชอย่างหนึ่งที่ต้องกำจัด นอกจากบางคนที่ช่างสังเกตธรรมชาติรอบตัวก็อาจจะพบว่า หญ้าขัดมอญ เป็นไม้พุ่มเตี้ยแตกกิ่งก้านหนาแน่น ใบเล็กเรียวเขียวเข้ม ยิ่งเวลาออกดอก สีเหลืองอ่อนหวานพราวพรายรายเรียงอยู่ทั่วทุกช่อใบ ชวนมองไม่น้อย แถมมีประโยชน์ในครัวเรือนหลายอย่าง ทั้งด้านการใช้สอยและสรรพคุณทางสมุนไพร
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน บทสรุปย่อสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) ของศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการนำการเสนอโครงการวิจัย ชุด "โครงการประเทศพม่าศึกษา" ชื่อหัวข้อวิจัย คือ "มโนทัศน์ทางการเมืองของรัฐพม่าบนพื้นที่สื่อรัฐบาลทหาร" ที่ผ่านการอนุมัติจากสกว.
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน ๗ กรกฏาคม ที่ผ่านมาเป็นวันอาสาฬหบูชา รุ่งขึ้นก็เป็นวันเข้าพรรษา วันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เมื่อมีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ผู้คนจึงออกต่างจังหวัดกันมาก ถนนช่วงนั้นจึงโล่งอย่างเทศกาลใหญ่ๆ ทุกครั้ง เปิดทีวีมีแต่ข่าวขบวนแห่เทียนเข้าพรรษากันทัวประเทศ ยิ่งใหญ่เท่าไหร่ แปลกเท่าไหร่ยิ่งดี บางจังหวัดไม่เคยจัดก็สู้อุตส่าห์ซื้อช่างแกะเทียนค่าตัวแพงลิบมาจากอุบลราชธานี กลายเป็นว่าทุกวันนี้คนทำเทียนเข้าพรรษาเพื่อขายการท่องเที่ยว ไม่ได้ถวายให้พระใช้งานจริงขณะนั้นเวลา ๑๐.๓๐ น. ผมนั่งอยู่โคนต้นอโศกอินเดียภายในวัดชนะสงคราม ความคลุกคลีกับวัดวามานานจึงพาลห่างวัด…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนบทความชิ้นนี้ไม่มีเจตนาตั้งชื่อเลียน "ชัตเตอร์กดติดวิญญาณ" เพราะในภาพยนตร์นั้น เจ้าของกล้องกดชัตเตอร์ติดวิญญาณผีที่เขาขับรถชนและหนีไป ทว่าในที่สุดวิญญาณก็ตามทวงเอาชีวิต ซึ่งต่างจากบทความนี้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก เจ้าของกล้องถ่ายภาพนับร้อยที่กดชัตเตอร์ใส่ผีตนหนึ่ง คล้ายมหรสพที่นักการเมืองจัดให้ชาวบ้านในฤดูหาเสียง แต่ที่ร้ายก็คือ อำนาจของชัตเตอร์กลับสะกดให้ผีตกอยู่ใต้อำนาจของมนุษย์อย่างที่ผีไม่สามารถเอาคืนได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน แค่อ่านชื่อเรื่องหลายคนคงรู้จักคุ้นเคยกันดีว่านี่คือเนื้อเพลง “สยามเมืองยิ้ม” สำหรับคนที่เป็นคอลูกทุ่งยิ่งต้องรู้ว่า เพลงนี้ขับร้องโดยราชินีเพลงลูกทุ่งผู้ล่วงลับ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ส่วนผู้ประพันธ์เนื้อเพลงเป็นครูเพลงคู่บุญของเธอ ลพ บุรีรัตน์ 
ได้ฟังเพลงนี้ครั้งแรกก็สัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ในความเป็นชาติ รู้สึกทันทีว่าไพเราะกินใจ ซาบซึ้งไปกับบทเพลง ยิ่งฟังยิ่งเพราะ ขนาดที่เมื่อสิบกว่าปีก่อนเคยส่งเทปจัดรายการเพลงไปประกวดดีเจทางคลื่น “สไมล์เรดิโอ” ใช้เพลง “สยามเมืองยิ้ม” เป็นเพลงปิดรายการ ได้เข้ารอบแรกเสียด้วยแต่ตกรอบ ๒๐ คนสุดท้าย เพื่อนๆ ที่รอฟังและตามลุ้นพูดเหมือนกันว่า “สมควรแล้ว…
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน คนทั่วไปสับสนเกี่ยวกับลักษณะสายพันธุ์และชื่อเรียกของ "กระเจี๊ยบ" ว่าเป็นอย่างไรและเรียกว่าอะไรกันแน่ จะมีสักกี่คนที่รู้ถึงที่มาและคุณค่ามากมายมหาศาลของกระเจี๊ยบบ้านมอญในชนบทหลายแห่งเคยมีต้นกระเจี๊ยบริมรั้ว ริมคลองหนองบึง สำรับกับข้าวเคยมีแกงกระเจี๊ยบไม่ขาด แต่ทุกวันนี้ "กระเจี๊ยบ" เริ่มเลือนหายไปจากชีวิต ชนิดที่ไม่มีใครอาลัยอาวรณ์นัก แม้แต่จะนึกถึงความหลังที่แกงกระเจี๊ยบเคยอยู่คู่ครัวมาแต่อ้อนแต่ออก
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลายปีก่อนผู้เขียนเคยนั่งตากลม น้ำลายบูด หันซ้ายทีขวาที อยู่กลางวงสนทนาของผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมานุษยวิทยา ในวงนั้นมี รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม อยู่ด้วย ท่านพูดถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในเมืองไทยไว้ประมาณว่า สังคมไทยหลอมรวมมาจากผู้คนและวัฒนธรรมของคนหลายกลุ่ม ความเป็นไทยแท้นั้นจึงเป็นเรื่องโกหก โดยเฉพาะคนไทยที่ไม่มีสายเลือดอื่นเจือปนนั้นไม่มีจริงในโลก ในวันนั้นผมได้ยินคำอาจารย์ศรีศักรชัดถ้อยชัดคำเต็มสองหูว่า "ที่ไหนมีคนไทยแท้ช่วยมาบอกที จะเหมารถไปถ่ายรูปคู่เก็บไว้เป็นที่ระลึก และจะกราบตีนงามๆ สักที อยากเห็นจริงๆ..."
องค์ บรรจุน
 องค์ บรรจุนธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ "ใครถึงเรือนชานต้องต้อนรับ" หัวเรื่องที่จั่วไว้ด้านบนบทความนี้ ถือเป็นคุณสมบัติอันน่าภาคภูมิของคนไทยอย่างหนึ่ง คนไทยทั้งผองเชื่อกันว่าคนไทยมีข้อดีงามหลายอย่าง เป็นต้นว่า โอบอ้อมอารีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์สุจริต ยิ้มสยาม หรือแม้แต่ "รักสามัคคี" และ "ไทยนี้รักสงบ..." ล้วนเป็นความดีเด่นประจำชนชาติไทยตามลัทธิอัตตานิยม "คนไทยดีที่สุดในโลก" ดังนั้นเมื่อหมอดูทำนายคนไทยหน้าไหนก็ตามว่าเป็นคนดีดังกล่าวข้างต้น จึงไม่มีใครปฏิเสธว่าหมอดูไม่แม่น
องค์ บรรจุน
ถุงผ้าไม่ได้ลดโลกร้อน เพราะการใช้ถุงผ้าตามกระแสโดยเข้าไม่ถึงหลักใหญ่ใจความ ขณะที่ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกยังคงเดิม คงไม่ต้องไปดูไหนไกลอื่น แค่เพียงเราสำรวจดูที่บ้านว่าเรามีถุงผ้าอยู่ในครอบครองกี่ใบ แต่ละวันที่เราออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือเวลาที่ตั้งใจไปจ่ายตลาด มีใครสักกี่คนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วย และในบรรดาคนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วยนั้น จะมีใครบ้างไหมที่ปฏิเสธแม่ค้าว่าไม่เอาถุงพลาสติก โดยเฉพาะแม่ค้าในตลาดสด "ไม่ต้องใส่ถุงพลาสติกชั่งน้ำหนักแล้วเทลงถุงผ้าเลย" อย่างน้อยการซื้อแกงถุงกลับบ้าน นอกจากถุงร้อนที่ใส่แกงแล้ว ยังมีถุงหูหิ้วสวมทับอีก ๑ ใบด้วยหรือไม่