Skip to main content



ภฤศ ปฐมทัศน์




ผมได้ยินข่าวเรื่อง "จังหวะแผ่นดิน World Musiq & World Bar B Q" วันเดียวก่อนวันงานนั่นเอง ได้ยินคุณทอดด์ ทองดี พูดผ่านวิทยุว่าจะมีศิลปินจากหลายประเทศทั่วโลกมาเข้าร่วม และมีการแสดงร่วมกันของเพื่อแสดงให้เห็นว่าดนตรีมันไร้พรมแดน

ผมเองเข้าใจความรู้สึกของคนที่พูดอะไรที่เป็นอุดมคติครับ และรู้สึกที่สิ่งที่คุณทอดด์แกพูดแกไม่ได้ตอแหล (แบบพวกอ้างศีลธรรม) ผมรู้สึกได้จากน้ำเสียงและการไหว้วอนขอให้ภาครัฐและกระทรวงวัฒนธรรมหันมาสนใจ ทำให้รู้สึกว่าแกมีความตั้งใจตรงนี้จริง ๆ

แต่ว่าอุดมคติที่สวยงามบางทีมันเป็นแค่สิ่งที่ฉาบเคลือบอะไรที่ยังแหว่งโหว่อยู่ภายใน ซึ่งมันยากที่จะชี้ตัวว่าความแหว่งโหว่นี้เป็นความผิดของใคร เรื่องนี้ผมจะพูดในภายหลัง ในตอนนี้ผมกำลังรู้สึกสนุกกับสิ่งที่ได้เห็นอยู่บนเวที ที่ลานของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ล

งานจำพวกศิลปินกับลานเบียร์นี้มีให้เห็นกันทั่วไป แต่สิ่งที่โดดเด่นในงานนี้คือวงดนตรีที่เข้าร่วม แน่นอนว่าผมไม่เคยได้ยินเพลงจากวงดนตรีของทวีปแอฟริกามาก่อน ถึงผมจะพอเดาทางได้จากอิทธิพลของดนตรีซึ่งส่งผ่านไปยังดนตรีของคนผิวสีแบบอื่น ๆ เช่น เร้กเก้, แจ็ซซ์ , ฟังค์ หรืออิเล็กโทรนิกบางจำพวก เนื่องจากดนตรีของชาวแอฟริกันโดดเด่นมากในส่วนของการให้จังหวะ (Rhythm Section)

และวง Yunasi วงจากประเทศเคนย่าที่มาเล่นในงานนี้ก็ทำได้น่าประทับใจ พวกเขาแสดงสดได้เยี่ยมและเอนเตอร์เทนคนดูได้อยู่หมัด ราวกับเคยผ่านเวทีประมาณนี้มานักต่อนักแล้ว ดนตรีของวง Yunasi ไม่เชิงเป็นแนวแอฟริกันดั้งเดิมเสียทีเดียว เพราะมันคือการผสมผสานกันของดนตรีสมัยใหม่โดยยังคงความเป็นแอฟริกันไว้ในส่วนของจังหวะเท่านั้นเอง ผมเคยลองฟัง Yunasi จากแหล่งอื่นครั้งหนึ่งก็พบว่าเสียงกีต้าร์ในเพลงนั้นสุดละม้ายคล้ายของเพลงเซิ้งภาคอิสานบ้านเราเหลือเกิน ขณะที่เสียงขลุ่ย (ซึ่งจริง ๆ มาจากเสียงคีย์บอร์ด) ในงานนี้ก็ไม่วายชวนให้นึกถึงเพลงพื้นบ้านของบ้านเราอยู่ดี

ตัวนักร้องของวง Yunasi บอกว่าดนตรีในบ้านเขามีไว้เฉลิมฉลอง เพลงของพวกจึงเต็มไปด้วยจังหวะเต้นรำสนุก ๆ วง Yunasi อาจเป็นแค่อีกวงหนึ่งที่นำเสนอความเป็นเคนย่าในแบบร่วมสมัย เพราะเคนย่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางดนตรีสูงมากแห่งหนึ่ง

 


การแสดงของวงต่อมาเป็นวงดนตรีจากชนเผ่าของไต้หวัน ผมไม่ทันได้ฟังเพลงแรก ๆ เพราะมัวไปดูการแจมกลองและเครื่องให้จังหวะในอีกมุมหนึ่ง จนเริ่มเมาจากเครื่องดนตรีเน้นจังหวะทั้งหลายแล้วจึงวกกลับมาดูเวที

ประเทศไต้หวันก่อนหน้าการเข้ามาของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ มีชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่หลายสิบกลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีเชื้อสายออสโตรเนเชี่ยน คือเชื้อสายของหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้อย่างชาวอินโดนีเซีย หรือ ฟิลิปปินส์ พวกเขาต้องต่อสู้ขับเคี่ยวเพื่อรักษาอัตลักษณ์ของตนไว้ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา

ในแง่ของดนตรีแล้ว ชาวพื้นเมืองของไต้หวันมีบทบาทในวงการดนตรีป็อบของไต้หวันอย่างมาก แต่ก็ในแง่ของดนตรีป็อบแบบเต็ม ๆ ล่ะครับ เช่น นักร้องสาวที่ชื่อ A-mei ที่ร้องเพลงด้วยภาษาจีนกลาง ส่วนดนตรีของชนเผ่าไต้หวันที่นำมาแสดงในงานนี้ พอผมได้ฟังเมโลดี้จากเสียงร้องของเขาแล้วก็พาลนึกถึงดนตรีพื้นบ้านของชนเผ่าที่ราบสูงทางภาคเหนือ (ซึ่งผมมีโอกาสได้ฟังสดหลายครั้งมาก ส่วนใหญ่ในงานที่จัดเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยเรื่องพม่า) ขึ้นมาอย่างช่วยไม่ได้

แน่ละว่าดนตรีพื้นบ้านหลายพื้นที่ในโลกอาจมีลักษณะบางอย่างร่วมกันอยู่ เนื่องจากมนุษย์แม้จะอยู่ในต่างวัฒนธรรมกันแต่ก็ล้วนมีความรู้สึกบางอย่างในแบบของมนุษย์ทั่วไปที่แสดงออกผ่านศิลปะที่เรียกว่าดนตรี แต่ลึก ๆ แล้วผมเชื่อว่ามันต้องมีจุดต่างที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรมอยู่



เวลาเราพูดถึงดนตรีที่เป็นพื้นฐานของโลกแล้ว มักจะมีแต่คนพูดถึงดนตรีคลาสสิก เนื่องจากประวัติศาสตร์ของดนตรีทางตะวันตกถูกรวบรวมมาสอนกันแบบนี้ (และผมเองก็ยอมรับว่าเรียนรู้ทฤษฎีอะไรหลายอย่างจากดนตรีคลาสสิกเหมือนกัน) อาจมีนักวิชาการบางสายที่เน้นไปศึกษาเรื่องดนตรีของชนเผ่าพวก Ethnic music อยู่บ้าง และมีบางคนที่เน้นพูดถึงชนชาวแอฟริกันในแง่ของความเป็นต้นธารอารยธรรมทางดนตรีที่แท้จริง (บางคนเสนอว่าจังหวะร็อคไม่ได้เพิ่งจะมีในศตวรรษที่ผ่านมา แต่มีมาตั้งแต่ชนชาวแอฟริกันรู้จักเคาะจังหวะกันแล้ว)

โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยชอบคำว่า World music หรือ Ethnic music เท่าไหร่ คำว่า World music (ที่แปลตรงตัวว่าดนตรีโลก) มันเหมือนเป็นคำที่วงการป็อบตะวันตกคิดมาเพื่อใช้เรียกดนตรีอะไรสักอย่างที่พวกเขาไม่เคยรู้จัก และส่วนใหญ่จะเป็นดนตรีพื้นบ้าน ไม่ก็ป็อบที่มีอิทธิพลจากดนตรีพื้นบ้าน ขณะที่คำว่า โฟล์ค (Folk) กลับถูกใช้เรียกดนตรีพื้นบ้านยุโรปเสียมากกว่า

แต่ผมเชื่อว่าดนตรีมันไม่ได้มาจากที่ใดอื่นไกลนอกจากอะไรพื้น ๆ รอบตัวมนุษย์ ดนตรีป็อบหลายแขนงซึ่งปัจจุบันมีชื่อเรียกเป็นร้อยเป็นพัน มีพื้นฐานมาจากดนตรีพื้นบ้านทั้งนั้น และการเรียกว่า World music พูดตรง ๆ คือมันเหมือนการบรรจุหีบห่อแบบเอ็กโซติก (Exotic) เข้าไปแบบเหมารวม แล้วไม่ได้ให้ความสำคัญกับอัตลักษณ์เฉพาะของมันจริง ๆ

(...เอาง่าย ๆ มันเหมือนกับเวลาที่ชาวต่างชาติบอกว่าไอ่พวกคนจีน คนญี่ปุ่น คนพม่า นี้หน้าตาเหมือนกันไปหมด เรียกว่าเป็น World Faces ซะดีไหม)

ดนตรีบลูส์ (Blues) มันก็คือดนตรีพื้นบ้านของทาสผิวดำพลัดถิ่นที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นดนตรีที่ไม่ได้เล่นแต่กับในหมู่คนผิวดำอีกต่อไป ทั้งยังกลายเป็นพื้นฐานของดนตรีแนวอื่น ๆ ส่วนดนตรีพวกเรกเก้ และสกา ก็พัฒนามาจากดนตรีพื้นบ้านของจาไมก้าที่เรียกว่าเมนโต (Mento)

ขณะที่คำว่า Ethnic music อาจใช้อธิบายดนตรีของชนกลุ่มน้อยได้ แต่ในระยะยาวมันจะกลายเป็นการแบ่งดนตรีพื้นเมืองของพวกเขาออกจากดนตรีพื้นเมืองของ 'ชนกลุ่มใหญ่' เสียเปล่า ๆ ผมอาจคิดแบบโหดร้ายต่อผู้นิยมรักษาอัตลักษณ์ดั้งเดิมไปเสียหน่อยว่า ในความเป้นจริงแล้วดนตรีพวกนี้ควรถูกทำให้ป็อบหรือปรับเข้ากับดนตรีร่วมสมัยให้ได้

ผมก็เป็นคนที่ไม่ได้คิดว่า เราควรรักษาความเป็นพื้นบ้านอะไรเอาไว้แบบแช่แข็ง อย่างที่ผมเปรยไว้ก่อนหน้านี้ ถ้าคนผิวสียังคงแช่แข็งบลูส์เอาไว้ ป่านนี้เราคงไม่มีแจ็ซซ์ให้ฟัง และแม้ดนตรีป็อบตะวันตก อย่างพวกร็อค หรือแดนซ์ จะมีอิทธิพลอย่างมากทั่วโลก แต่ผมเชื่อว่าตัวดนตรีป็อบในแต่ละประเทศเองก็มีคาแรกเตอร์ของมันอยู่ และตรงจุดนี้แหละคือความไร้พรมแดนที่แท้จริง

(...จุดนี้ขออภัยด้วยที่ผู้เขียนยังหาคำอธิบายเป็นทฤษฎี หรือเป็นคำพูดไม่ได้ว่ามันมีลักษณะเฉพาะยังไง แต่เชื่อว่าส่วนหนึ่งมันมาจากความเป็นโฟล์คในตัวของทุกคนนั่นแหละครับ)



ผู้ขึ้นเวทีรายต่อไปคือหลวงไก่ นักร้องลูกทุ่งจากภาคใต้ เป็นตัวแทนของประเทศไทยในวันนี้ อาจเป็นเพราะช่วงเวทีของเขาเป็นช่วงเวลาที่ดึกไปหน่อย และพบเจอกับวัฒนธรรมคนดูที่แตกต่าง ทำให้หลวงไก่ดูตื่นเวทีไปนิด ความพยายามแสดงให้เห็นวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างเพลงหนังตะลุง ก็ดูไม่สามารถสื่อสารกับผู้ชมได้มากนัก และโดยส่วนตัวผมคิดว่า การจะแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมไทย ไม่จำเป็นต้องใช้เพลงพื้นบ้านขนาดนั้นก็ได้

แต่ต่อมาหลวงไก่ก็กลับมากับดนตรีลูกทุ่งร่วมสมัยแบบไทย ๆ ในเพลงดังที่ชื่อ "ขวัญใจพี่หลวง" ซึ่งผมว่านี่แหละคือความเป็นไทยในระดับของวัฒนธรรมมวลชนจริง ๆ และเรื่องการแสดงดนตรีสดแง่มุมทางวัฒนธรรมของมันไม่ได้มีแต่เรื่องดนตรีอย่างเดียว การสื่อสาร ทักทาย หรือเอนเตอร์เทนคนดู ก็เป็นส่วนหนึ่ง

หลวงไก่และวงพยายามเอนเตอร์เทนคนดูด้วยการทักทายและปล่อยมุขกันแบบตลกคาเฟ่ แต่ในงานที่ครึ่งหนึ่งเป็นชาวต่างชาติและกลุ่มคนดูที่เป็นชนชั้นกลางในเมือง เสียงตอบรับจึงเป็นความเงียบ ตรงนี้ผมแอบคิดเองเออเองว่าไม่ใช่ว่ามุขเขาไม่ขำ แต่คงเป็นเรื่องของกลุ่มคนดูเองที่ไม่ได้แสดงปฏิสัมพันธ์กับเวที

ตรงนี้หลวงไก่แกถึงขั้นแสดงความน้อยใจ เปรย ๆ ว่าได้มาแสดงเวทีแบบนี้เป็นครั้งแรก ทุกครั้งเคยแต่ไปแสดงในงานวัดให้คนที่กินเหล้าขาว ไม่เคยมาแสดงในลานเบียร์แบบนี้

แต่ชีวิตคือ เดอะ โชว์ มัสโก ออน แกยังคงไม่เลิกปล่อยมุขแม้จะไม่มีปฏิกิริยาตอบรับมากนัก (ผมเห็นมีวัยรุ่นบางกลุ่มดูเชียร์ ๆ แกอยู่) และต่อด้วยการคัฟเวอร์เพลงของเสือ ธนพล ซึ่งคนที่ผ่าน "18 ฝน" มาแล้วคงคุ้นเคยดี

จบงานในคืนนี้แม้ว่าดนตรีต่างชาติ ต่างภาษา จะสามารถข้ามผ่านพรมแดนของผู้ฟังในคนละซีกโลกได้ ผมอาจจะยินดีกับการที่ผู้จัดสนใจศิลปินเป็น Mass อย่างหลวงไก่ นำมาขึ้นเวทีเดียวกับศิลปินหลากหลายชาติ แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีพรมแดนบางอย่างในระดับของกลุ่มผู้ฟังที่ท้าทายให้ก้าวข้าม

พรมแดนทางรสนิยมยังคงบดบังให้ผู้ฟังดนตรีคลาสสิคหลายคนดูถูกดนตรีป็อบ ผู้ฟังดนตรีป็อบกระแสหลักทับถมดนตรีป็อบกระแสรอง เหล่าผู้ฟังกระแสรองก็เดียจฉันท์กระแสหลักเป็นการตอบโต้

ผมออกจากลานที่เต็มไปด้วยการสังสรรค์ของแสงสีที่หลากหลาย มานั่งครุ่นคิดถึงโลกความจริง

...คลอด้วยเสียงเพลงโฆษณาในรถไฟฟ้า ที่ให้ความรู้สึกต่างจากจังหวะกลองแอฟริกันโดยสิ้นเชิง


สุดท้ายนี้ก็ขอเก็บบรรยากาศงานวันแรกมาฝากกันหน่อย
ต้องขออภัยด้วยที่คุณภาพไม่ดีเท่าไหร่ทั้งจากคุณภาพกล้องและฝีมือคนถ่ายเอง

(...ช่วงท้าย ปลาย ๆ นาทีที่ 2 มีเซอร์ไพรซ์ ...This is it!!)

 

บล็อกของ Music

Music
     จำได้ว่าเทปเพลงที่ผมได้ฟังเป็นม้วนสุดท้ายคือเทปรวมเพลงของ Bob Dylan ซึ่งผมไปอัดเอามาจากคนอื่นอีกที  ผมฟังมันจากเครื่องเล่นเทปพกพา (Walkman-ของปลอมเท่านั้น) แบบเปิดลำโพงได้ รถที่ผมใช้นั้นเครื่องเล่นเทปมันพังไปตั้งแต่ช่วงที่ถูกน้ำท่วมแล้ว ช่วงหนึ่งผมจึกมักจะเอา Walkman ตัวนี้มาวางเปิดไว้ในรถแทน และเวลาเดินทางด้วยรถทัวร์หรือรถไฟก็มักจะติดเจ้าเครื่องเล่นนี้เสียบหูฟัง ฟังเทปที่ว่านี้ไปขณะเดินทางทุกครั้ง จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็น เทป Cassette คู่การเดินทางของผมไม่ว่าจะในระยะใกล้หรือระยะไกลเลยก็ว่าได้คุณภาพเสียงจากเครื่องเล่นของผมในตอนนั้น…
Music
 ที่ผ่านมาผมพูดถึงการที่ดนตรีไม่ได้ทำให้ใครกลายเป็นปัจเจกเทียมก็แล้ว พูดถึงโลกอันหลากหลายหลังปี 1970 ก็แล้ว พูดถึงการที่ตัวดนตรี Serious Music หรือ Popular Music ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการ Liberate อะไรโดยตรง (เว้นแต่วัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย จะว่าไป หากนับวัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย Popular Music น่ะ ช่วย “ปลดปล่อย” ผู้คนได้มากกว่าด้วยซ้ำ) ก็แล้วสำหรับในบทนี้ก็จะมาพูดถึงสิ่งที่อดอร์โนทำผิดพลาดมากที่สุด นั่นคือการปฏิเสธดนตรีป็อบโดยสิ้นเชิง ไม่ร่วมสังฆกรรมใด ๆ กับมันอีก เพราะเขาได้ตีกรอบมาแล้วว่าดนตรีป็อบมันย่อมเป็นอะไรที่ถูกทำให้มีมาตรฐานเดียวกัน (Standardize) และความที่มันมีมาตรฐานเดียวกันนี่เอง…
Music
   In The Flesh?"Tell me is something eluding you sunshine?Is this not what you expected to see?If you'd like to find out what's behind these cold eyesYou'll just have to claw your way through this disguise"จากเพลง ‘In The Flesh?'ของ Pink Floydอดอร์โน...ผมศึกษาและเขียนแย้งแนวคิดของคุณในเรื่องป็อบปูล่าร์มิวสิคมาพอสมควร แต่สิ่งที่ผมค้นพบได้จากตัวคุณมันมีแต่เรื่องเกี่ยวกับความคิดทฤษฎีทั้งนั้นบางขณะที่ผมเคาะแป้นคีย์บอร์ดถกเถียงกับทฤษฎีของคุณ ผมก็ไพล่นึกไปว่า ในช่วงที่คุณมีชีวิตอยู่นั้น อะไรที่ทำให้คุณบันเทิงใจกับดนตรีที่มีซาวด์แบบ Atonal จนคุณถึงกับเขียนชมมันเป็นวรรคเป็นเวรขนาดนี้ (…
Music
    Arnold Schoenberg(นักประพันธ์เพลงคนโปรดของ Adorno)ดูเหมือนความตายของ Adorno ในปี 1969 จะทำให้ผู้ที่ใช้แนวคิดของ Adorno มาวิพากษ์ Popular Music หยุดเติบโตไปด้วย พวกเขามักจะมองดนตรีที่มีอิทธิพลตั้งแต่ยุค 70's เป็นต้นมาอย่างเหมารวมและติ้นเขิน พวกเขาถึงขั้นจัด The Beatles, Nirvana และ Linkin Park ไว้ในประเภทเดียวกันผมไม่ปฏิเสธความเป็นป็อบและร็อคของทั้งสามวงที่ยกตัวอย่างมานี้ หากความเป็นร็อคคือความหนัก และการมีจังหวะที่ชัดเจน หากความป็อบคือความติดหู ฟังง่าย ผมก็เชื่อว่าทั้ง สี่เต่าทอง, กรันจ์เจอร์นิพพาน และ สวนสาธารณะของลินคอร์น ต่างก็มีความเป็นป็อบและความเป็นร็อคทั้งสิ้น (…
Music
Theodor W. Adornoผมได้อ่านบทความเรื่อง "ทบทวนแนวคิด ‘อุตสาหกรรมวัฒนธรรม' : เมื่อวัฒนธรรมกลายเป็นอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมสร้างวัฒนธรรม" ของ อ.เกษม เพ็ญภินันท์ จากวิภาษาฉบับที่ 7 แล้วก็นึกขึ้นได้ว่าเคยอ่านเรื่องของนักคิด/นักวิจารณ์ ที่ชื่อ Theodor Adorno นี้ จากบทความชื่อ "อดอร์โนกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรม : กรณีศึกษาเพลงสมัยนิยม (Popular Music)" ในหนังสือชื่อ "เหลียวหน้าแลหลัง วัฒนธรรมป็อบ" ซึ่งเป็นบทความที่พูดถึงเกี่ยวกับดนตรีโดยเฉพาะAdorno เป็นนักคิดสังคมนิยมชาวเยอรมัน ผู้นำเอาแนวคิดของทั้ง Max Waber, Marx และ แม้แต่ Sigmund Freud เข้ามาจับในงานเขียนเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของเขา…
Music
ยามใกล้เที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม หรือวันสิ้นปี ในหลาย ๆ พื้นที่ของโลกจะมีการร้องเพลงที่ชื่อ "โอลด์ แลงค์ ซายน์" (Auld Lang Syne) ซึ่งนับเป็น New year's Anthem ฉบับสากล เช่นเดียวกับที่ในไทยมีเพลงตามประเพณีอย่าง "สวัสดีปีใหม่" นั่นแลเพลง "สวัสดีปีใหม่" ของไทยที่ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กแล้ว ผ่านเลยมาไม่ว่ากี่ปี ๆ ก็ยังได้ยิน โดยตามประวัติศาสตร์เพลงนี้มีมาตั้งแต่ สมัยช่วงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของ จอมพล ป. (ไม่มีกุ้งเผา) เป็นช่วงที่เปลี่ยนวันปีใหม่ไทยจาก 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม เพื่อความเป็นสากล (ข้ออ้างยอดฮิตของชนชั้นนำในยุคนั้น) และ "สวัสดีปีใหม่" ก็เป็นหนึ่งในเพลงเทศกาล ที่มาจากวงสุนทราภรณ์…
Music
"ถึงรู้ว่ามันจะต้องเกิดขึ้น แต่ก็ยากจะทำใจ"คำๆ นี้ใช้ได้ดีกับสถานการณ์ในช่วงวันที่ 19-21 ที่ผ่านมา กับการที่พวก Elite ทั้งหลายที่นั่งเออออห่อหมกกับร่างกฏหมายที่จะมีผลกับประชาชนทั้งประเทศ ดูตัวเลขก็รู้แล้วว่าพวกเขาเออออห่อหมกกันขนาดไหน ไม่โปร่งใสมากขนาดไหน และเผด็จการกันขนาดไหน!เป็นที่รู้กันว่า พวก Elite ทั้งหลายนี้มาจากการคัดเลือกแต่งตั้งกันเองของคนบางกลุ่ม ซึ่งทำให้ได้กลิ่นคณาธิปไตยตุๆ แล้ว กระบวนการพิจารณากฏหมาย ที่พากันออกถี่ระรัว จนราวกับว่าพวกเขาไม่ได้คลอด กม.ลูกทั้งหลายอย่างมีสติ แต่เหมือนคนเมาสำรอกอาเจียนเอาทุกสิ่งทุกอย่างในใส้ในพุงออกมา!ใช่แล้ว!…
Music
นึกย้อนไปถึงวันที่ได้เข้ามหาวิทยาลัยวันแรกๆ ชุดยูนิฟอร์มถูกระเบียบกับตำราเรียนเล่มใหญ่ๆ หอพักในมหาวิทยาลัยที่ทำให้พานพบกับผู้คนมากหน้าหลายตา ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่ต่างไปจากตอนเรียนในโรงเรียนมัธยม คือความรู้สึกว่า ที่นี่ ฉันจะมีเสรีภาพมากขึ้น มีชีวิตที่หลากหลายกว่าเก่า และพื้นที่ทางความคิดที่จะปลดปล่อยฉันจากกรงขังอันแปลกแยกของโลกใบเดิมได้แต่แล้วก็ได้พบว่า สิ่งที่คาดหวังเอาไว้มันเป็นความจริงเพียงแค่บางส่วน นอกนั้นเป็นมายาภาพที่ฉันนึกฝันเอาเองใช่ๆ ฉันเคยถูกเสี้ยมสอนเช่นเดียวกับอีกหลายๆ คนว่าผู้ใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ สิ่งที่พวกเขามอบให้เราต้องเป็นสิ่งที่ดีแน่ๆ แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ…
Music
"ไม่ว่าจะสูงต่ำดำขาว ทุกคนล้วนมีชีวิตเฉกเช่นเดียวกัน ไม่มีชีวิตของใครที่มีค่ามากกว่าของใคร ท่านทั้งหลาย...ประโยคสุดท้ายในเพลง Imagine ของ จอห์น เลนนอน ไม่ได้มีความหมายแบบนี้หรอกหรือ"
Music
Magic เป็นชื่ออัลบั้มล่าสุดของ Bruce Springsteen (หรือที่เรียกกันว่า The Boss*) ในอัลบั้มนี้เขากลับมาร่วมงานกับวงแบ็คอัพที่ชื่อ E Street band อีกครั้ง ทำให้ทิศทางของอัลบั้มนี้เน้นไปที่แนวทางของร็อคอีกครั้ง หลังจากอัลบั้มที่แล้วคือ Devils and Dust ออกเป็นงานแนวโฟล์คมากกว่าแต่ไม่ว่าจะเป็น Bruce Springsteen ในแบบของโฟล์คหรือ Bruce Springsteen ในแบบของร็อค ผมก็รู้สึกว่าดนตรีของ The Boss ผู้นี้ก็ช่างเต็มไปด้วยกลิ่นอายของความเป็นอเมริกันอยู่เสมอมาซึ่งดนตรีในอัลบั้ม Magic นี้ไม่เพียงแค่กลิ่นของความเป็นอเมริกันที่ยังคงมีอยู่ถ้วนทั่วอย่างเดียวเท่านั้น แต่ละเพลงที่ถ่ายทอดออกมาจาก The Boss กับวง E…
Music
ในคืนวันที่ 10 ของเดือนที่แล้ว (ตุลาคม)...ผมนั่งหน้าจอคอมพ์ใจจดใจจ่ออยู่กับเว็บไซต์ http://www.inrainbows.com/ เพราะได้ข่าวว่าวง Radiohead จะประกาศขายเพลงแบบ Digital Download ผ่านทางเว็บไซต์นี้และที่ทำให้คนตื่นเต้นกันอย่างหนึ่งก็คือ การที่ทางวง Radiohead ประกาศว่า จะสามารถสั่งซื้อในแบบที่ผู้ซื้อสามารถให้ราคาเองได้ตามใจชอบ ...ตามใจชอบในที่นี้หมายความว่า แม้แต่จะใส่เงินเป็น 0.00 (ซึ่งก็เหมือนขอโหลดมาฟรี ๆ นั่นแหละ) ก็สามารถทำได้ ! ซึ่งจะว่าไปเรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ขนาดนั้น เพราะผมเคยเจอวงที่ชื่อว่า Craw เปิดเว็บไซต์ที่ใช้ชื่อง่าย ๆ ว่า http://www.craw.com/…
Music
"ความฉาบฉวยและความสับสนอาจจะทำให้บางคนคิดว่ามันเวอร์ไปหรือเปล่า ยุคสมัยมันหม่นมืดขนาดนี้จริงๆ หรือ ต้องไม่ลืมว่าวง Porcupine Tree มาจากประเทศอังกฤษ มิวสิควีดิโอเพลง Fear of a Blank Planet เองก็อาจชวนให้นึกถึงเหตุการณ์บางอย่างที่เคยเกิดขึ้นจริง (หลายครั้ง) ในสหรัฐฯ และที่สำคัญคือการเล่าของพวกเขาก็ไม่ได้ตัดสินอะไรแทนเราว่าสิ่งที่บอกผ่านออกมานี้ดีหรือไม่ดี" วง Porcupine Tree อาจจะเป็นที่รู้จักน้อยมากสำหรับคนทั่วไป และอาจจะเป็นที่รู้จักบ้างพอสมควรสำหรับคนที่ชอบฟังเพลงแนว Progressive Rock ซึ่ง Porcupine Tree ถือเป็นวงที่มีแนวทางของ Psychedelic/Space อันหลอนและล่องลอยแบบ Pink Floyd เป็นหลัก…