Skip to main content

 

 บก.สุชาติ สวัสดิ์ศรี เทียบเชิญฉันเขียนเรื่องสั้น ช่อการะเกด ฉบับเทียบเชิญนักเขียนเก่าที่เคยเขียนช่อการะเกด


ช่อการะเกดยุคใหม่เป็นยุคเข้าไปอยู่ภายใต้บริษัททีวีบูรพา ที่รู้จักกันในรายการคนค้นตน เมื่อได้รับจดหมายก็รู้สึกยินดีเล็กน้อย และรีบตอบรับทันทีด้วยความรู้สึกอยากตอบรับบรรณาธิการ แต่ผ่านไปหกเดือน ฉันก็ยังไม่ได้เขียนและคิดว่าเขียนไม่ได้ด้วย เพราะฉันห่างมันมานาน แต่มีความจริงอยู่ข้อหนึ่งในความห่างนั้น คือฉันคิดถึงอยู่เสมอ คิดถึงเรื่องสั้น ซึ่งมันก็ไม่ต่างกับคิดถึงใครสักคนแต่ไม่ได้ไปหา

มันน่าเศร้าเหมือนกัน เพราะก่อนที่ฉันจะมาเขียนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความเรียง บทความ สารคดี หรือนิยายสั้น ฉันเขียนเรื่องสั้นมาก่อน หรือจะเรียกว่า ฉันเริ่มต้นด้วยการเขียนเรื่องสั้นก็ว่าได้ และลึกลงไปกว่านั้น ฉันเริ่มอ่านหนังสืออ่านเล่น ที่ไม่ใช่หนังสือเรียน ด้วยการอ่านเรื่องสั้น เพราะในช่วงที่ฉันเรียน ป. 1 พี่ชายคนโตเป็นครู เขามีหนังสืออ่านเล่นชื่อว่ามิตรครู ฉันจึงได้อ่านเรื่องสั้นของ นิมิต ภูถาวร ต่อมาอ่านของ นิเวศน์ กันไทยราษฏร์ ฉันเป็นเด็กที่ไม่ได้อ่านนิทานแต่ได้อ่านเรื่องสั้น เพราะชนบทในยุคสมัย ปี 2512 ไม่มีหนังสืออ่านเล่นสำหรับเด็ก ฉันพิเศษกว่าเด็กทั่วไปในชนบทสมัยนั้นเพราะเป็นน้องครู

เมื่อฉันเขียนหนังสือ ฉันก็เขียนออกมาเป็นเรื่องสั้น ฉันเคยเขียนเรื่องสั้นทุกวัน เป็นเวลานานนับปี ไม่เคยมีสักวันเดียวทีฉันไม่เขียนเรื่องสั้น เห็นอะไรก็จะคิดเป็นเรื่องสั้น ฉันเคยมีเรื่องสั้นลงเดือนละหลายเรื่อง ตามหน้านิตยสารต่าง ๆ ซึ่งในยุคสมัยปี 2531-2532 นิตยสารเกือบทุกเล่มให้ความสำคัญกับเรื่องสั้น ซึ่งต่างจากสมัยนี้นิตยสารเกือบทุกเล่มไม่มีเรื่องสั้น และถึงมีก็ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องสั้น 
 


ฉันมีหนังสือรวมเรื่องสั้นสามสี่เล่ม ถ้าใครถามว่า เขียนหนังสือแนวไหนหรือเขียนอะไร ฉันก็จะบอกไปว่า เขียนเรื่องสั้น ทุกครั้งที่ตกงานฉันจะมีความสุขกับการเขียนเรื่องสั้น ฉันจึงไม่หวั่นการตกงานหรือเรียกว่า ชอบที่จะตกงานเป็นระยะ ๆ เพื่อจะได้นั่งเขียนเรื่องสั้นให้สบายใจ

ครั้งหนึ่ง สิงห์ สนามหลวง เขียนในคอลัมน์ของเขา ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ คล้าย ๆ กับสรุปแห่งปีว่า แพร จารุ นักเขียนเป็นนักที่ขยันที่สุดแห่งปี ฉันจำไม่ได้แล้วปีไหน แต่รู้สึกยินดีมากกับข้อเขียนหนึ่งบรรทัดนั้น

ผ่านมายี่สิบปี ในปี 2552 ฉันยังคงเขียนหนังสืออยู่ แต่ฉันไม่เขียนเรื่องสั้นแล้ว หลายครั้งที่ใคร ๆ ถามว่าทำไมไม่เขียนเรื่องสั้นแล้ว ฉันก็จะตอบไปด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่นว่า เดี๋ยวนี้ฉันคิดไม่เป็นเรื่องสั้นแล้ว ไม่มีที่ให้เรื่องสั้นฉันอยู่ และอีกคำตอบหนึ่ง ซึ่งตอบหลายคนไปเหมือนกันคือ ฉันไม่ชอบพี่เลี้ยงนอกเวที ตั้งแต่มีพี่เลี้ยงนอกเวทีเกิดขึ้น ข้าง ๆ คอลัมน์เรื่องสั้น ฉันก็เลิกส่งเรื่องสั้น พี่เลี้ยงนอกเวทีหรือการแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องสั้นมีมากขึ้นหรือเกือบทุกฉบับที่มีเรื่องสั้น ซึ่งขัดหูขัดตาขัดใจฉันยิ่งนัก โดยเฉพาะครั้งหนึ่งฉันอ่านเรื่องสั้นแล้วมาอ่าน พี่เลี้ยงนอกเวทีและรู้สึกว่ามันทำให้เรื่องสั้นเรื่องนั้นด้อยค่าลงไปเลยหากคนอ่านเชื่อตามนั้น

นี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ขอคนที่ตั้งตัวเป็นพี่เลี้ยง (อย่าโกรธกันเลยกับความคิดเห็นนี้) ท่านทำหน้าที่ของท่านต่อไปเถอะเพราะมีคนชอบอีกมากมาย ฉันเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

สำหรับช่อการะเกด ยุคใหม่ ยิ่งดูห่างไกลนัก เมื่อเข้าไปอยู่ในค่ายทีวีบูรพา หนังสือเล่มหนา ราคาแพงเกินกว่าที่ฉันจะซื้ออ่านได้ ธรรมดาฉันจะไม่เขียนหนังสือที่ฉันซื้ออ่านไม่ได้นิตยสารทุกเล่มที่ฉันเขียนฉันต้องอ่านมันก่อน

งานชิ้นนี้ออกจะเป็นเรื่องสั้นส่วนตัวเล็กน้อย ถือว่าเป็นจดหมายตอบ บรรณาธิการ สุชาติ สวัสดิ์ศรี ผ่านคอลัมน์ ในประชาไท


ภาพประกอบ จาก vcharkarn.com และ prachatai.com

 

  

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
  แล้วฉันก็คิดว่าทุกอย่างยังเหมือนเดิน ฉันเดินทางไปหาเพื่อนที่กรุงเทพฯ  และบอกเธอว่า ฉันอยากจะไปเยี่ยมนักเขียนผู้ใหญ่รุ่นพี่คนหนึ่ง  เพื่อนบอกว่า ไม่ได้ไปนานแล้ว ช่วงหลังๆ ไม่ค่อยมีใครไปหาใครกัน  เมื่อถามว่าทำไม
แพร จารุ
ป่าสนวัดจันทร์   หลังจากที่เขียนเรื่องป่าสนวัดจันทร์ถูกโฆษณาว่าเป็นผืนป่าสนแห่งเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีชนเผ่าใช้วิถีชีวิตแบบเดิม ๆ
แพร จารุ
เมื่อเขียนเรื่อง “ป่าสนวัดจันทร์ถูกโฆษณาว่าเป็นที่สุด”  ฉันก็ได้รับจดหมายฉบับหนึ่ง เขียนถึงเรื่องอำเภอใหม่ส่งเข้ามา วันนี้จึงนำจดหมายฉบับนี้มาให้อ่านกันค่ะ  เธอเขียนมาว่า ลองเขียนเรื่องอำเภอใหม่มาให้อ่าน
แพร จารุ
ป่าสนผืนเดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มองขึ้นบนต้นสนเหมือนหนึ่งว่ามีนกเกาะอยู่บนนั้นเต็มไปหมด จนใครบางคนเผลอถามว่า นั่นนกอะไรเกาะอยู่เต็มไปหมด หลายคนหัวเราะ ไม่ใช่นกหรอกมันคือลูกสน ที่นี่มีชื่อว่า ป่าสนวัดจันทร์ เป็นครั้งที่สองที่ฉันเดินทางมาที่นี้ห่างจากครั้งแรกเกือบยี่สิบปี ฉันไม่กล้าเดินทางไปที่นั่นเพราะรู้สึกว่ามันลำบากยากเย็นเหลือเกิน เป็นการเดินทางที่โหด ๆ ในช่วงวัยเยาว์ เพราะต้องนั่งรถไฟชั้นสามมาจากกรุงเทพฯ นานกว่าสิบสองชั่วโมง ก็รู้กันอยู่ว่ารถไฟไทยเสียเวลาเสมอ ๆ ลงจากรถไฟมีนักเขียนจากเมืองเหนือรอรับอยู่
แพร จารุ
มุสโต๊ะ (มุส-สะ-โต๊ะ) อาหารมื้อไหน ๆ ก็ต้องมีมุสโต๊ะ มุสโต๊ะก็คือน้ำพริกนั่นเอง ฉันรู้จักมุสโต๊ะครั้งแรกเมื่อเที่ยวบ้านปกาเกอญอ และนับจากวันนั้นก็ชอบมุสโต๊ะแบบปกาเกอญอทันที่
แพร จารุ
คุณทำอะไรเมื่อเช้านี้  ส่วนฉันตื่นขึ้นมาพร้อมกับหยิบหนังสือเล่มเล็ก ๆ จากโต๊ะกินข้าวติดมือไปนอนอ่านในเปลใต้ต้นมะขามเล็ก  หนังสือชื่อ ไม่รักไม่บอก 5 เป็นของกลุ่มภาคีคนฮักเจียงใหม่  ฉันเป็นอาสาสมัครในกลุ่มนี้กับเขาด้วย แต่ฉันไม่ได้ทำหนังสือเล่มนี้ ดังนั้นฉันจึงเพิ่งได้อ่านจริง ๆ ครูโรงเรียนอนุบาลเพิ่งให้มาสิบเอ็ดเล่ม วันนั้นมีน้อง ๆ หนุ่ม ๆ จากไหนก็ไม่รู้มาช่วยกันขนหนังสือหลายกล่องที่นำมาขายในงานอำลา ‘รงค์ วงษ์สวรรค์  ฉันไม่มีของอะไรตอบแทนน้องจึงแจกพวกเขาไปคนละเล่มเหลือเก็บไว้เล่มหนึ่ง ภาพปกเป็นแม่มดหน้าตาน่ารักถือไม้เท้าวิเศษ มีข้อเขียนว่า จงสุภาพกับโลกใบนี้ (คำจากสาร…
แพร จารุ
  เล่าเรื่องงาน อำลา ’รงค์ วงษ์สวรรค์ เปิดงานไปเมื่อวันที่ 9 มกราคม ยามแดดร่มลมตก หน้าที่ของฉันในงานนี้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลงานขายหนังสือ ฉันรับปากไปว่า “ได้ค่ะ” ทั้งที่ไม่มีความชำนาญเรื่องการขาย หรือเรียกว่าไม่มีทักษะสักนิดเดียว และมักจะคิดตัวเลขผิด วิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่บวกลบคูณหารไม่เก่งเลย ยิ่งวิชาเลขคณิตคิดในใจนี้ไม่ได้เลย แต่ เพราะว่าในช่วงที่เขาประชุมเรื่องการดำเนินการจัดงานฉันไมได้เข้าร่วมประชุม…
แพร จารุ
ฤดูร้อนในเมืองเชียงใหม่ค่อนข้างน่าสยองค่ะ เพราะนอกจากความแห้งแล้งที่เริ่มขึ้นในปลายฤดูหนาวนี้แล้ว เมื่อฤดูร้อนมาถึงเราก็จะพบกับกลุ่มหมอกควันที่มีทั่วเมือง สำหรับประชาชนในชนชั้นเรา ๆ นั้น เตรียมอะไรได้บ้างคะ
แพร จารุ
สวัสดีนักท่องเที่ยว ระหว่างทางนักท่องเที่ยวเจออะไรมาบ้าง ฉันมาอยู่เชียงใหม่สิบกว่าปี แต่บ่อยครั้งที่รู้สึกว่า ตัวเองเหมือนนักท่องเที่ยว
แพร จารุ
  หญิงสาวมักจะกลัวอ้วนเพราะอยากสวย เราถูกทำให้เชื่อกันว่าคนอ้วนจะไม่สวย เป็นสาวเป็นนางต้องผอมเข้าไว้ ใครไม่ผอมเหมือนนางแบบ หรือนักแสดงหน้าจอโทรทัศน์ก็จะไมได้มาตรฐาน ซึ่งความจริงแล้วบางคนผอมจนเกินไป เรียกว่าแห้งแรงน้อยไม่แข็งแรง ขาแขนมีแต่กระดูก คอโปน ไหปลาร้าลึกขนาดน้ำขังยามเมื่ออาบน้ำ
แพร จารุ
ชวนมากินกันต่อค่ะ เพื่อนนักเขียนรุ่นน้องที่เชียงดาว เล่าว่าเธอปลูกข้าวไร่ที่บ้านของเธอ แต่ดูเหมือนจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่ฉันคิดว่าแค่เธอเริ่มต้นปลูกข้าวความมั่นคงทางอาหารก็เริ่มมีแล้ว ต่อมาน้องนักเขียนที่เพิ่งรู้จักยังไม่ได้เห็นหน้ากันเลย เขียนมาบอกว่า เธอปลูกข้าวได้เจ็ดกระสอบ ฉันชื่นชมยินดีกับเธออย่างจริงจังและจริงใจยิ่ง เพราะฉันมีความฝันที่จะปลูกข้าวปลูกผักไว้กินเอง แต่ไม่ได้ทำ และคิดว่าคงไม่ได้ทำ เพราะอายุปูนนี้แล้ว กล้ามเนื้อเป็นไขมัน เรี่ยวแรงหมดไปแล้ว ที่ทำได้ก็คือปลูกกล้วย ซึ่งก็เหมาะสมอยู่เพราะกล้วยเป็นอาหารนิ่ม ๆ กินง่าย…
แพร จารุ
ชวนมากินกันต่อดีกว่า   คราวนี้กินถั่วงอกผัดเห็ดสามอย่างค่ะ ดูเป็นอาหารธรรมดา ๆ นะคะ แต่พิเศษก็ตรงที่ เป็นอาหารที่ประกอบด้วยเห็ดสามอย่างนะคะ ความจริงแล้วอาหารเห็ดสามอย่างที่กินเป็นยานี้ เขาว่าหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันเป็นดีค่ะ แต่ไม่เป็นไรใช้น้อย ๆ เราเน้นความอร่อยด้วยค่ะ