Skip to main content

 

 บก.สุชาติ สวัสดิ์ศรี เทียบเชิญฉันเขียนเรื่องสั้น ช่อการะเกด ฉบับเทียบเชิญนักเขียนเก่าที่เคยเขียนช่อการะเกด


ช่อการะเกดยุคใหม่เป็นยุคเข้าไปอยู่ภายใต้บริษัททีวีบูรพา ที่รู้จักกันในรายการคนค้นตน เมื่อได้รับจดหมายก็รู้สึกยินดีเล็กน้อย และรีบตอบรับทันทีด้วยความรู้สึกอยากตอบรับบรรณาธิการ แต่ผ่านไปหกเดือน ฉันก็ยังไม่ได้เขียนและคิดว่าเขียนไม่ได้ด้วย เพราะฉันห่างมันมานาน แต่มีความจริงอยู่ข้อหนึ่งในความห่างนั้น คือฉันคิดถึงอยู่เสมอ คิดถึงเรื่องสั้น ซึ่งมันก็ไม่ต่างกับคิดถึงใครสักคนแต่ไม่ได้ไปหา

มันน่าเศร้าเหมือนกัน เพราะก่อนที่ฉันจะมาเขียนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความเรียง บทความ สารคดี หรือนิยายสั้น ฉันเขียนเรื่องสั้นมาก่อน หรือจะเรียกว่า ฉันเริ่มต้นด้วยการเขียนเรื่องสั้นก็ว่าได้ และลึกลงไปกว่านั้น ฉันเริ่มอ่านหนังสืออ่านเล่น ที่ไม่ใช่หนังสือเรียน ด้วยการอ่านเรื่องสั้น เพราะในช่วงที่ฉันเรียน ป. 1 พี่ชายคนโตเป็นครู เขามีหนังสืออ่านเล่นชื่อว่ามิตรครู ฉันจึงได้อ่านเรื่องสั้นของ นิมิต ภูถาวร ต่อมาอ่านของ นิเวศน์ กันไทยราษฏร์ ฉันเป็นเด็กที่ไม่ได้อ่านนิทานแต่ได้อ่านเรื่องสั้น เพราะชนบทในยุคสมัย ปี 2512 ไม่มีหนังสืออ่านเล่นสำหรับเด็ก ฉันพิเศษกว่าเด็กทั่วไปในชนบทสมัยนั้นเพราะเป็นน้องครู

เมื่อฉันเขียนหนังสือ ฉันก็เขียนออกมาเป็นเรื่องสั้น ฉันเคยเขียนเรื่องสั้นทุกวัน เป็นเวลานานนับปี ไม่เคยมีสักวันเดียวทีฉันไม่เขียนเรื่องสั้น เห็นอะไรก็จะคิดเป็นเรื่องสั้น ฉันเคยมีเรื่องสั้นลงเดือนละหลายเรื่อง ตามหน้านิตยสารต่าง ๆ ซึ่งในยุคสมัยปี 2531-2532 นิตยสารเกือบทุกเล่มให้ความสำคัญกับเรื่องสั้น ซึ่งต่างจากสมัยนี้นิตยสารเกือบทุกเล่มไม่มีเรื่องสั้น และถึงมีก็ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องสั้น 
 


ฉันมีหนังสือรวมเรื่องสั้นสามสี่เล่ม ถ้าใครถามว่า เขียนหนังสือแนวไหนหรือเขียนอะไร ฉันก็จะบอกไปว่า เขียนเรื่องสั้น ทุกครั้งที่ตกงานฉันจะมีความสุขกับการเขียนเรื่องสั้น ฉันจึงไม่หวั่นการตกงานหรือเรียกว่า ชอบที่จะตกงานเป็นระยะ ๆ เพื่อจะได้นั่งเขียนเรื่องสั้นให้สบายใจ

ครั้งหนึ่ง สิงห์ สนามหลวง เขียนในคอลัมน์ของเขา ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ คล้าย ๆ กับสรุปแห่งปีว่า แพร จารุ นักเขียนเป็นนักที่ขยันที่สุดแห่งปี ฉันจำไม่ได้แล้วปีไหน แต่รู้สึกยินดีมากกับข้อเขียนหนึ่งบรรทัดนั้น

ผ่านมายี่สิบปี ในปี 2552 ฉันยังคงเขียนหนังสืออยู่ แต่ฉันไม่เขียนเรื่องสั้นแล้ว หลายครั้งที่ใคร ๆ ถามว่าทำไมไม่เขียนเรื่องสั้นแล้ว ฉันก็จะตอบไปด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่นว่า เดี๋ยวนี้ฉันคิดไม่เป็นเรื่องสั้นแล้ว ไม่มีที่ให้เรื่องสั้นฉันอยู่ และอีกคำตอบหนึ่ง ซึ่งตอบหลายคนไปเหมือนกันคือ ฉันไม่ชอบพี่เลี้ยงนอกเวที ตั้งแต่มีพี่เลี้ยงนอกเวทีเกิดขึ้น ข้าง ๆ คอลัมน์เรื่องสั้น ฉันก็เลิกส่งเรื่องสั้น พี่เลี้ยงนอกเวทีหรือการแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องสั้นมีมากขึ้นหรือเกือบทุกฉบับที่มีเรื่องสั้น ซึ่งขัดหูขัดตาขัดใจฉันยิ่งนัก โดยเฉพาะครั้งหนึ่งฉันอ่านเรื่องสั้นแล้วมาอ่าน พี่เลี้ยงนอกเวทีและรู้สึกว่ามันทำให้เรื่องสั้นเรื่องนั้นด้อยค่าลงไปเลยหากคนอ่านเชื่อตามนั้น

นี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ขอคนที่ตั้งตัวเป็นพี่เลี้ยง (อย่าโกรธกันเลยกับความคิดเห็นนี้) ท่านทำหน้าที่ของท่านต่อไปเถอะเพราะมีคนชอบอีกมากมาย ฉันเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

สำหรับช่อการะเกด ยุคใหม่ ยิ่งดูห่างไกลนัก เมื่อเข้าไปอยู่ในค่ายทีวีบูรพา หนังสือเล่มหนา ราคาแพงเกินกว่าที่ฉันจะซื้ออ่านได้ ธรรมดาฉันจะไม่เขียนหนังสือที่ฉันซื้ออ่านไม่ได้นิตยสารทุกเล่มที่ฉันเขียนฉันต้องอ่านมันก่อน

งานชิ้นนี้ออกจะเป็นเรื่องสั้นส่วนตัวเล็กน้อย ถือว่าเป็นจดหมายตอบ บรรณาธิการ สุชาติ สวัสดิ์ศรี ผ่านคอลัมน์ ในประชาไท


ภาพประกอบ จาก vcharkarn.com และ prachatai.com

 

  

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
มีคำกล่าวว่า "อาหารอายุสั้น คนกินอายุยืน อาหารอายุยืน คนกินอายุสั้น" แรกที่ฟังก็รู้สึกรำคาญคนพูดนิด ๆ เพราะเรากำลังกินอาหารอายุยืนแต่เราไม่อยากอายุสั้น สงสัยใช่ไหมคะว่าอาหารแบบไหนที่อายุยืน อาหารที่ปรุงแต่งมาเรียบร้อยแล้ว แช่ตู้ไว้ได้นานๆ นั่นคืออาหารอายุยืน กินกันได้นานๆ แช่ไว้ในตู้เย็น อาหารพวกนี้คนกินอายุสั้น แต่อาหารอายุสั้นก็พวกเห็ด ผักบุ้ง พวกเหล่านี้เป็นอาหารอายุสั้นอยู่ได้ไม่นาน แต่คนกินอายุยืน แต่เดี๋ยวนี้มีมะเขือเทศอายุยืนด้วยนะคะ เป็นพวกตัดต่อพันธุกรรมแบบให้ผิวแข็งไม่บอบช้ำในระหว่างขนส่ง
แพร จารุ
  1   เป็นนักเขียนมีความสุขไหม   วันหนึ่งฉันต้องตอบคำถามนี้ “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม” ผู้ที่ถามคำถามนี้เป็นเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ชั้นประถมปีที่ 5 ฉันรู้สึกดีใจที่มีเด็กถามเรื่องความสุขมากกว่าเรื่องรายได้
แพร จารุ
ฉันห่างกรุงเทพฯ มานานจริงๆ นานจนไปไหนไม่ถูก ก่อนฟ้าสางรถทัวร์จอดตรงหัวมุมถนน ฉันเดินตรงเข้าไปทางถนนข้าวสารตามพื้นถนนแฉะ หาที่นั่งรอหลานมารับแต่ก็หาไม่ได้ พื้นแฉะ ๆ ผู้คนกำลังล้างพื้นกันอยู่ จึงตัดสินใจ เดินออกจากถนนข้าวสารมุ่งตรงไปทางกองฉลากกินแบ่งรัฐบาล มีคนจรนอนห่มผ้าเก่า ๆ อยู่มากมาย ตามทางเดิน  
แพร จารุ
มีเพื่อนอย่างน้อยสองคนตกหล่นไปจากชีวิต ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราเขียนจดหมายคุยกันอยู่เสมอ ๆ ต่อมาฉันเลิกตอบจดหมายเพื่อนทั้งสองคน 
แพร จารุ
2 กันยายน 2552 นั่งกินมะขามหวานเพลิน ๆ มะขามก็เปรี้ยวขมขึ้นมาทันที เพื่อนโทรมาบอกว่า เธอไปที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ได้ยินเสียงตามสายที่ รพ.ขอบริจาคเงินช่วยเหลือเด็กชาวเขาที่แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล “แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล แสดงว่าเธอตายระหว่างคลอด” เพื่อนตอบว่าใช่ “เด็กยังอยู่รอดปลอดภัย” “ใช่”    
แพร จารุ
"อะไรเอ่ยมันโผล่ขึ้นมาจากดิน" คำถามเล่น ๆ ของเด็ก ๆ สมัยก่อนเราจะตอบว่า ขอม เพราะเคยเรียนเรื่องพระร่วง  ตอนขอมดำดิน แต่ เดี๋ยวนี้ถ้าไปตอบว่า "ขอม" เด็กไม่เข้าใจ
แพร จารุ
1 วันก่อนไปท่ากาน (ท่ากานเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ในอำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ ) พบเด็ก หญิงสองคน เอาก้านกล้วยมาแกว่งไปมากระโดดเล่นกัน ดูน่ารักดี เป็นการเล่นแบบหาของใกล้ตัวมาเล่นกัน
แพร จารุ
10 กันยายน 2552 น้องคนหนึ่งโทรศัพท์มาบอกว่า “มีเรื่องตลกเศร้ามาเล่าให้ฟัง” ฉันหัวเราะ ไม่อยากฟังเธอเล่าอะไรเลยเพราะกำลังเจ็บหูอย่างแรง กำลังจะไปหาหมอ แต่เธอรีบบอกก่อนว่า “พี่ยังไม่รู้ใช่ไหม ลุงหมื่นแกฝายพญาคำ กับพ่อหลวงสมบูรณ์ ผู้ช่วยแกฝาย เขาเซ็นยินยอมให้กรมชลประทานสร้างประตูระบายน้ำแล้ว”
แพร จารุ
   บก.สุชาติ สวัสดิ์ศรี เทียบเชิญฉันเขียนเรื่องสั้น ช่อการะเกด ฉบับเทียบเชิญนักเขียนเก่าที่เคยเขียนช่อการะเกด
แพร จารุ
เธอนิ่งเงียบหลังจากกินอาหารเสร็จ "เศร้าทำไม" ฉันถามเธอ "กำลังดูกระถางต้นไม้อยู่" เธอตอบไม่ตรงกับคำถาม ฉันมองไปที่กระถางต้นไม้ มีอะไรตายอยู่ในนั้นที่ทำให้เธอเศร้า หรือว่าเศร้าที่ต้องมากินอาหารใต้ที่เมืองเหนือทั้งที่เธอเพิ่งเดินทางมาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
แพร จารุ
 ผู้ชายคนหนึ่ง เลี้ยงปลวกเพื่อเอาปลวกไปเลี้ยงปลาดุก เขาบอกว่า เขาเฝ้ามองปลวกตัวอ้วน ๆ ที่ค่อยเติบโตขึ้น และเอาปลวกไปให้ปลาดุกกิน เขาอธิบายตัวเองว่าเป็นวิถีแห่งสัตว์โลก วิธีการใช้ชีวิตให้อยู่รอดฉันแค่สะดุดใจตรงที่เลี้ยงดูเขาไว้ก่อนแล้วค่อยจัดการ ฉันคิดว่า ถ้ามันกินกันเองตามวิถีชีวิตไม่เป็นไรฉันคิดถึงถ้อยคำหนึ่ง จำไม่ได้แล้วว่า ใครพูด "เขารัก...เหมือนคนเลี้ยงหมูรักหมูที่เลี้ยงไว้" นั่นหมายถึงรักและดูแลอย่างดีเพื่อเอาไว้ฆ่าและขาย
แพร จารุ
1  ฉันเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความตายครั้งแรกเมื่อพ่อตายจากไป ในวันที่แม่ พี่ ๆและ ญาติ ๆ ต่างช่วยกันจัดงานให้พ่อ ผู้หญิงเตรียมอาหาร ปอกหอมกระเทียม เด็ดก้านพริกขี้หนู หั่นตะไคร้ ผู้ชายเตรียมไม้ฟืนเพื่อทำอาหาร หุงข้าว ต้มแกง ต้องหุงข้าวด้วยกระทะใบใหญ่  ต้องทำอาหารจำนวนมากในเวลาหลายวัน เรามีญาติเยอะ มีเพื่อนบ้าน และคนรู้จักมากมาย เพราะเราไม่ได้มีพ่อที่ดีต่อลูกเท่านั้นแต่มีพ่อที่ดีต่อผู้อื่นด้วย