Skip to main content

 ฉันเชื่อว่า หากคนเรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทุกอย่างก็จะดีได้ไปกว่าครึ่ง

บางคนบอกว่า ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน เช่น เรื่องทัศนคติที่มีต่อคนอื่น และตัดสินอย่างช้า ๆ
 
สามีของฉันบอกว่า จงรวดเร็วในการฟัง แต่จงเชื่องช้าในการตอบ คือให้ความสำคัญในการฟังมากๆ ก่อนจะตอบจึงจะดี จริงของเขาเพราะเดี๋ยวนี้มีแต่คนพูดและพูด แต่ไม่ค่อยฟังคนอื่น

ฉันเอาเรื่องนี้มาเขียนเพราะได้แรงบันดาลใจมาจากไปสังเกตการณ์เขาพูดคุยทบทวนประสบการณ์การทำงานกันของโครงการ (CHAMPION/MSM) และสมาคมฟ้าสีรุ้ง
 
 
                     
งานนี้เขาเรียกว่า การถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาว่า ทำงานได้ดีไหม สามารถไปสู่เป้าหมายได้หรือไม่ ในขณะที่นั่งฟังพวกเขาก็ทำให้คิดถึงตัวเองและแอบถอดประสบการณ์ตัวเองเงียบ ๆ ว่า งานที่ทำอยู่หรือการดำเนินชีวิตของเราในทุกวันนี้สามารถไปสู่เป้าหมายได้หรือไม่

เช่น งานปลูกต้นไม้ ฉันอยากให้หน้าบ้านมีรั้วต้นไม้แน่นหนา จนคนจากถนนมองเข้ามาในบ้านตัวเองไม่ได้ภายในหนึ่งปี หรือเพื่อนของฉันออกชวนชาวบ้านปลูกต้นไม้หวังเพิ่มพื้นที่สีเขียว ทำอยู่อย่างนี้จะเป็นไปได้ไหม

แต่ในส่วนของงานกิจกรรมโครงการ (
CHAMPION/MSM) และสมาคมฟ้าสีรุ้ง เขาทบทวนการทำงานในสายงานการป้องกันการติดเชื้อHIV ในรายใหม่ ตามเป้าหมาย 3 ปีไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย

และส่วนหนึ่งของการทำงานก็มีเรื่องความสัมพันธ์ของคนเป็นหลัก เพื่อจะไปสู่เป้าหมาย คือความสัมพันธ์กับชุมชน การยอมรับ การมีทัศนคติที่ดี การไม่ต้องตีตราว่ากล่าว
 

ชายหนุ่มคนหนึ่งพูดว่า
“ถ้าคนเรามีความเคารพต่อคนอื่น ไม่ว่าเขาจะมีรูปร่างหน้าตา จิตใจ เพศ และความคิดเห็นต่างกับเราอย่างไร เราก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ เพราะเราต่างเคารพในความต่าง”
 
มีการตั้งคำถามทบทวนว่าเราเป็นใคร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ทบทวนตนเอง ทบทวนแนวคิดและความเชื่อพื้นฐาน อันเป็นตัวกำหนดแนวคิดและแนวทางในการทำงาน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกันด้วยคำถามว่า
“อะไร คือสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่า เราเป็นคนมีวัฒนธรรม
 
คุณจะตอบว่าอย่างไร หากถูกถามหรือถามตัวเอง มีคำตอบมากมาย เช่น สามารถสืบพันธุ์ได้ เป็นคนดี คนเก่ง และทำให้เพื่อนมีความสุขได้ ด้วยการหัวเราะ มีศีลธรรม  มีให้มากกว่ารับ มีความรัก ความยุติธรรม อยู่ร่วมกับมนุษย์ได้ สามารถสื่อสารได้ สามารถพูดกับคนอื่นได้ มีสิทธิในการดำเนินชีวิตอยู่ในปัจจุบัน มีอารมณ์ความรู้สึก มีความเมตตา ฯลฯ (นี่คือในสิ่งที่ผู้คนในที่ประชุมตอบมา)
คำถามใหม่คือ ศักยภาพที่บ่งบอกความเป็นมนุษย์ 5 อย่างที่เรามี
มีความหวัง ในสิ่งที่ตนได้ตั้งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีการดูแลซึ่งกันและกัน คือ ความเห็นอกเห็นใจ รับฟังปัญหากันและกัน ร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรค์ (มีคำตอบมากมาย แต่ฉันเลือกที่ชอบ ๆ มาไว้กับตัวเองและนำมาฝากผู้อ่าน)

มีคำหนึ่งว่า  ถ้าต้นไม้โดนตัดทำอย่างไร
พวกเขาตอบว่า เรามีภาคีช่วย
คำตอบนี้แสดงว่า พวกเขามีความหวังในเครือข่าย หรือการทำงานอย่างเป็นเครือข่าย การมีภาคีเครือข่าย เป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินงาน เนื่องจากเขาต้องขยายการทำงาน และลดการติดเชื้อให้ได้ ถ้าทำเพียงกลุ่มเล็กๆ เราจะไม่เห็นพลังในการทำงาน และเครือข่ายเป็นผู้ที่ให้ความรู้ ในการทำงานกับพื้นที่ จึงทำให้เรากล้าที่จะทำงานตรงนี้อย่างภาคภูมิใจ
 
ข้อสุดท้าย เทคนิคการทำงานให้ประสบความสำเร็จ
คำตอบมีหลายอย่างเหมือนกันแต่ฉันเลือกมา คือ เราต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น  ไม่ตีตราผู้อื่น สร้างความเข้าใจ เรื่องการสื่อสาร ”คำพูด” ต้องเหมาะสมกับกลุ่มนั้นๆ ต้องมีพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ อย่าคิดว่าเด็กๆต้องอยู่ใต้เราเสมอ การสื่อสารต้องใช้ภาษาที่ง่าย เราต้องเปิดใจตนเองรับฟังผู้อื่นให้มาก โดยไม่เอาตนเป็นที่ตั้ง การเชื่อมโยง ประสานงานกับเครือข่าย แตกต่างแต่ไม่แตกแยก คำนึง
ถึงเวลาที่กลุ่มเป้าหมายมีให้ อย่าพูดมากเกินไป ทำให้น่าเบื่อ...

 
นี่คือข้อคิดที่ดี ๆ ที่ได้จากเวทีของ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย และองค์กรภาคี ร่วมจัดงานเวทีสรุปบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอการดำเนินงาน  โครงการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยส่งเสริมบูรณาการและสร้างเครือข่ายการเข้าถึงการบริการของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (CHAMPION/MSM) ในวันที่ 12-15 ที่ เชียงใหม่ ผ่านมา.
 
20 ก.ค. 54
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
มีคำกล่าวว่า "อาหารอายุสั้น คนกินอายุยืน อาหารอายุยืน คนกินอายุสั้น" แรกที่ฟังก็รู้สึกรำคาญคนพูดนิด ๆ เพราะเรากำลังกินอาหารอายุยืนแต่เราไม่อยากอายุสั้น สงสัยใช่ไหมคะว่าอาหารแบบไหนที่อายุยืน อาหารที่ปรุงแต่งมาเรียบร้อยแล้ว แช่ตู้ไว้ได้นานๆ นั่นคืออาหารอายุยืน กินกันได้นานๆ แช่ไว้ในตู้เย็น อาหารพวกนี้คนกินอายุสั้น แต่อาหารอายุสั้นก็พวกเห็ด ผักบุ้ง พวกเหล่านี้เป็นอาหารอายุสั้นอยู่ได้ไม่นาน แต่คนกินอายุยืน แต่เดี๋ยวนี้มีมะเขือเทศอายุยืนด้วยนะคะ เป็นพวกตัดต่อพันธุกรรมแบบให้ผิวแข็งไม่บอบช้ำในระหว่างขนส่ง
แพร จารุ
  1   เป็นนักเขียนมีความสุขไหม   วันหนึ่งฉันต้องตอบคำถามนี้ “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม” ผู้ที่ถามคำถามนี้เป็นเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ชั้นประถมปีที่ 5 ฉันรู้สึกดีใจที่มีเด็กถามเรื่องความสุขมากกว่าเรื่องรายได้
แพร จารุ
ฉันห่างกรุงเทพฯ มานานจริงๆ นานจนไปไหนไม่ถูก ก่อนฟ้าสางรถทัวร์จอดตรงหัวมุมถนน ฉันเดินตรงเข้าไปทางถนนข้าวสารตามพื้นถนนแฉะ หาที่นั่งรอหลานมารับแต่ก็หาไม่ได้ พื้นแฉะ ๆ ผู้คนกำลังล้างพื้นกันอยู่ จึงตัดสินใจ เดินออกจากถนนข้าวสารมุ่งตรงไปทางกองฉลากกินแบ่งรัฐบาล มีคนจรนอนห่มผ้าเก่า ๆ อยู่มากมาย ตามทางเดิน  
แพร จารุ
มีเพื่อนอย่างน้อยสองคนตกหล่นไปจากชีวิต ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราเขียนจดหมายคุยกันอยู่เสมอ ๆ ต่อมาฉันเลิกตอบจดหมายเพื่อนทั้งสองคน 
แพร จารุ
2 กันยายน 2552 นั่งกินมะขามหวานเพลิน ๆ มะขามก็เปรี้ยวขมขึ้นมาทันที เพื่อนโทรมาบอกว่า เธอไปที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ได้ยินเสียงตามสายที่ รพ.ขอบริจาคเงินช่วยเหลือเด็กชาวเขาที่แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล “แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล แสดงว่าเธอตายระหว่างคลอด” เพื่อนตอบว่าใช่ “เด็กยังอยู่รอดปลอดภัย” “ใช่”    
แพร จารุ
"อะไรเอ่ยมันโผล่ขึ้นมาจากดิน" คำถามเล่น ๆ ของเด็ก ๆ สมัยก่อนเราจะตอบว่า ขอม เพราะเคยเรียนเรื่องพระร่วง  ตอนขอมดำดิน แต่ เดี๋ยวนี้ถ้าไปตอบว่า "ขอม" เด็กไม่เข้าใจ
แพร จารุ
1 วันก่อนไปท่ากาน (ท่ากานเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ในอำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ ) พบเด็ก หญิงสองคน เอาก้านกล้วยมาแกว่งไปมากระโดดเล่นกัน ดูน่ารักดี เป็นการเล่นแบบหาของใกล้ตัวมาเล่นกัน
แพร จารุ
10 กันยายน 2552 น้องคนหนึ่งโทรศัพท์มาบอกว่า “มีเรื่องตลกเศร้ามาเล่าให้ฟัง” ฉันหัวเราะ ไม่อยากฟังเธอเล่าอะไรเลยเพราะกำลังเจ็บหูอย่างแรง กำลังจะไปหาหมอ แต่เธอรีบบอกก่อนว่า “พี่ยังไม่รู้ใช่ไหม ลุงหมื่นแกฝายพญาคำ กับพ่อหลวงสมบูรณ์ ผู้ช่วยแกฝาย เขาเซ็นยินยอมให้กรมชลประทานสร้างประตูระบายน้ำแล้ว”
แพร จารุ
   บก.สุชาติ สวัสดิ์ศรี เทียบเชิญฉันเขียนเรื่องสั้น ช่อการะเกด ฉบับเทียบเชิญนักเขียนเก่าที่เคยเขียนช่อการะเกด
แพร จารุ
เธอนิ่งเงียบหลังจากกินอาหารเสร็จ "เศร้าทำไม" ฉันถามเธอ "กำลังดูกระถางต้นไม้อยู่" เธอตอบไม่ตรงกับคำถาม ฉันมองไปที่กระถางต้นไม้ มีอะไรตายอยู่ในนั้นที่ทำให้เธอเศร้า หรือว่าเศร้าที่ต้องมากินอาหารใต้ที่เมืองเหนือทั้งที่เธอเพิ่งเดินทางมาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
แพร จารุ
 ผู้ชายคนหนึ่ง เลี้ยงปลวกเพื่อเอาปลวกไปเลี้ยงปลาดุก เขาบอกว่า เขาเฝ้ามองปลวกตัวอ้วน ๆ ที่ค่อยเติบโตขึ้น และเอาปลวกไปให้ปลาดุกกิน เขาอธิบายตัวเองว่าเป็นวิถีแห่งสัตว์โลก วิธีการใช้ชีวิตให้อยู่รอดฉันแค่สะดุดใจตรงที่เลี้ยงดูเขาไว้ก่อนแล้วค่อยจัดการ ฉันคิดว่า ถ้ามันกินกันเองตามวิถีชีวิตไม่เป็นไรฉันคิดถึงถ้อยคำหนึ่ง จำไม่ได้แล้วว่า ใครพูด "เขารัก...เหมือนคนเลี้ยงหมูรักหมูที่เลี้ยงไว้" นั่นหมายถึงรักและดูแลอย่างดีเพื่อเอาไว้ฆ่าและขาย
แพร จารุ
1  ฉันเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความตายครั้งแรกเมื่อพ่อตายจากไป ในวันที่แม่ พี่ ๆและ ญาติ ๆ ต่างช่วยกันจัดงานให้พ่อ ผู้หญิงเตรียมอาหาร ปอกหอมกระเทียม เด็ดก้านพริกขี้หนู หั่นตะไคร้ ผู้ชายเตรียมไม้ฟืนเพื่อทำอาหาร หุงข้าว ต้มแกง ต้องหุงข้าวด้วยกระทะใบใหญ่  ต้องทำอาหารจำนวนมากในเวลาหลายวัน เรามีญาติเยอะ มีเพื่อนบ้าน และคนรู้จักมากมาย เพราะเราไม่ได้มีพ่อที่ดีต่อลูกเท่านั้นแต่มีพ่อที่ดีต่อผู้อื่นด้วย