Skip to main content

นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (..รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท”


เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท


ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย แผ่นภาพข้างล่างนี้ผมได้รับมาจากท่านด้วยความขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง โปรดสังเกตว่า ซ้ายมือด้านล่างของแผ่นภาพ มีตราสัญลักษณ์ของกระทรวงพลังงานอยู่ด้วยเรียบร้อย สำหรับข้อความทางขวามือเป็นของท่านครับ


5_8_01


ผมเองยังไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขนี้ แต่ก็เชื่อว่ามีความถูกต้องแล้วด้วยเหตุผล 2 ประการคือ (1) เชื่อในเจตนาดีและความสามารถของผู้ให้ข้อมูล และ (2) ข้อมูลอื่นๆ ที่ผมได้ตรวจสอบแล้ว พบว่าเป็นไปในทำนองเดียวกัน


ประเด็นที่ผมให้ความสนใจในที่นี้ก็คือว่า การจัดการผลประโยชน์จำนวนมหาศาลนี้เป็นอย่างไร ใครเป็นผู้มีอำนาจเหนือทรัพยากรนี้ ประชาชนไทยจะได้รับผลประโยชน์จำนวนเท่าใด


เราท่านทั้งหลายต่างก็คุ้นเคยกับคำว่า “ประชาธิปไตย (democracy)” เพราะคำว่า “demo” หมายถึง “people” หรือ ประชาชน ส่วนคำว่า “cracy” เป็นคำต่อท้ายซึ่งหมายถึง “รูปแบบของการปกครอง” ดังนั้น ประชาธิปไตย หมายถึง “รูปแบบการปกครองเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน”


ในบทความนี้ผมจึงขอใช้คำว่า “ปิโตรธิปไตย” (Petrocracy) ซึ่งหมายถึง “รูปแบบการถือครองหรืออำนาจในการจัดการผลประโยชน์เหนือแหล่งปิโตรเลียม”


คุณบรรจง นะแส นักพัฒนาเอกชนในภาคใต้เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้นำความจริงเรื่องแหล่งน้ำมันในอ่าวไทยมาเปิดเผยต่อสาธารณะบนเวทีพันธมิตรฯ ท่านเป็นคนแรกเสียด้วยซ้ำ สรุปความได้ว่า รัฐมนตรีพลังงานในสมัยรัฐบาลทักษิณ (นายแพทย์พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช) ได้ลงนามให้สัมปทานแหล่งพลังงานดังกล่าวกับบางบริษัทไปเรียบร้อยแล้ว บางแหล่งเป็นการต่อสัญญาล่วงหน้าหลายปี บางบริษัทที่ได้รับสัมปทานได้จดทะเบียนที่เกาะเคย์แมนซึ่งเป็นแหล่งฟอกเงินที่คนไทยบางส่วนคุ้นเคยกับชื่อนี้ดี


โดยสรุป นักการเมืองทั้งที่มาจากการเลือกตั้ง และมาจากการรัฐประหาร ได้ใช้อำนาจแทนประชาชนมาจัดการกับแหล่งทรัพยากรจำนวนมหาศาลนี้เรียบร้อยไปแล้ว


ผมไม่ทราบว่าจะมีแหล่งใดบ้างที่ยังไม่ได้จัดสัมปทาน หรือว่าทุกแหล่งได้สัมปทานไปหมดแล้วทั้ง 100 ล้านล้านบาท แต่ที่ผมสนใจก็คือว่า การมีแหล่งทรัพยากรจำนวนมหาศาลไม่ได้หมายความว่าประชาชนชาวไทยจะมีความมั่งคั่ง อยู่ดีกินดีกันอย่างทั่วหน้า ตราบใดที่การเมืองไทยยังเต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือ คอร์รัปชันแล้ว ก็อย่าหวังเลยว่าประชาชนจะอยู่ดีกินดี


บทความนี้จะนำเสนอโดยย่อๆ คือ (1) ผลประโยชน์ที่คนไทยเคยได้รับจากแหล่งทรัพยากรดังกล่าว (2) ตัวอย่างจากบางประเทศที่มีแหล่งน้ำมันมากมายแต่ประชาชนยากจน และ (3) แนวคิดในการจัดทำ “นโยบายพลังงาน” ใหม่


(1) ผลประโยชน์ที่คนไทยเคยได้รับจากแหล่งทรัพยากร


โดยปกติ ประเทศไทยจะได้ผลประโยชน์จาก 3 ส่วน คือ

  1. ค่าภาคหลวงประมาณ 12.5% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ได้

2. ผูรับสัมปทานปโตรเลียม ที่มีผลกําไรจากการประกอบกิจการปโตรเลียมในแตละรอบปปฏิทิน จะตองชําระภาษีเงินไดปโตรเลียมรอยละ 50

3. ผลประโยชนตอบแทนพิเศษภายใตเงื่อนไข Thailand III ภายในเดือนพฤษภาคมของปถัดไป


จากรายงานประจำปี 2549 ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ พบว่าตั้งแต่มีการผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2524 จนถึง 2549 ประเทศไทยผลิตได้คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้นเป็นเงิน 1.637 ล้านล้านบาท (ยังห่างไกลจาก 100 ล้านล้านบาท) โดยที่

  • เราได้รับค่าภาคหลวง 0.206 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 12.6%

  • เราได้ภาษีตามข้อ (2) จำนวน 0.216 ล้านล้านบาท

  • เราได้ภาษีพิเศษตามข้อ (3) จำนวน 0.011 ล้านล้านบาท

รวมเบ็ดเสร็จเราได้รับผลประโยชน์ร้อยละ 26.4 ของมูลค่าทั้งหมด หรือคิดเป็นเงิน 4.33 แสนล้านบาท ถ้าหาค่าเฉลี่ยตลอด 25 ปีแล้ว เราได้รับปีละ 17,320 ล้านบาท(เพราะปีแรกๆ ปริมาณการใช้น้อยและราคาถูกกว่าทุกวันนี้)

แต่ถ้าคิดเฉพาะปี 2549 ปีเดียวเราได้รับค่าภาคหลวง 35,227 ล้านบาท


ข้อมูลจากบริษัทเชฟรอน (ประเทศไทย)


บริษัทเชฟรอน (ประเทศไทย) เป็นบริษัทที่เข้ามารับช่วงต่อจากบริษัทยูโนแคล ที่คนไทยรู้จักมาก่อน จากการศึกษาจากข้อมูลของทางราชการ พบว่า ในปี 2550 บริษัทเชฟรอนถือส่วนแบ่งการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยถึง 66% และ 68% ของที่มีการผลิตทั้งหมดในประเทศไทยตามลำดับ นี่ยังไม่นับรวมการผลิตก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่า (ที่มีประมาณ 27% ของที่ประเทศไทยใช้ทั้งหมด)


ดังนั้น บริษัทนี้จึงเป็นบริษัทที่น่าจับตาเป็นพิเศษ


จากเอกสารของบริษัทรายงานว่า ตั้งแต่ปี 2505 ถึง 2550 (45 ปี) บริษัทนี้ได้จ่ายค่าภาคหลวงไปแล้วจำนวน 157,153 ล้านบาท โดยได้ลงทุนไปทั้งสิ้น 515,235 ล้านบาท


เอกสารนี้เล่นเล่ห์เหลี่ยมมาก คือไม่ยอมบอกว่า ตนเองมีรายได้เท่าใด และมีกำไรเท่าใด แต่ถ้าเราถือว่า บริษัทต้องเสียค่าภาคหลวงร้อยละ 12.6 ของรายได้ เราสามารถคำนวณได้ว่าบริษัทนี้มีรายได้ทั้งหมดประมาณ 1.247 ล้านล้านบาท หลังจากเสียค่าภาคหลวงและค่าภาษีทั้งสองชนิดแล้ว บริษัทเชฟรอนจะมีกำไรประมาณ 3.9 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 77 ของเงินลงทุนทั้งหมด


กำไรงามขนาดนี้ สามารถเป็นคำตอบได้ส่วนหนึ่งแล้วว่า ทำไมคนไทยต้องซื้อพลังงานในราคาที่แพงมาก ทั้งๆ ที่เรามีแหล่งพลังงานในบ้านของเราเอง


กำไรงามขนาดนี้ ก็สามารถเป็นคำตอบได้ว่า ทำไมนักการเมืองจึงให้สัมปทานล่วงหน้ากันนานๆ


(2) ตัวอย่างจากบางประเทศที่มีแหล่งน้ำมันมากมายแต่ประชาชนยากจน


ประเทศไนจีเรีย เป็นประเทศในทวีปแอฟริกาที่สามารถผลิตน้ำมันดิบได้มากเป็นอันดับหกของโลก และมีแหล่งการทำการเกษตรที่สมบูรณ์ แต่จากการสำรวจของทางราชการเองพบว่า นับตั้งแต่ปี 1980 ถึง 1996 ประชาชนที่ยากจนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 28 เป็น 66 ของประเทศ นอกจากนี้รายได้ต่อหัวก็ลดลงกว่าเท่าตัวในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวนประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.40 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันได้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า หรือเป็น 67 ล้านคนในปี 1996 (ประชากรทั้งประเทศประมาณ 130 ล้านคน)


ปัญหาใหญ่ของประเทศนี้คือการคอร์รัปชัน บางคนกล่าวว่า ในช่วง 40 ปีของการผลิตน้ำมัน ประมาณ 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ “ได้ถูกถูกขโมยไป”


บริษัทขุดเจาะน้ำมันไปเป็นมูลค่าประมาณ 1 แสน 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ประเทศได้รับเพียง 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6.7% เท่านั้น


(3)
ตัวอย่างจากประเทศนอรเวย์


นอรเวย์ เป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ว่าตลอด 30 ปีจะผลิตไม่เกิน 30% ของที่ประเทศมี ทั้งนี้เพื่อสำรองไว้ให้คนรุ่นหลัง


นอกจากนี้ ทางรัฐบาลได้ตั้งกองทุนน้ำมัน (Norway’s state Petroleum Fund) ซึ่งปัจจุบันกองทุนนี้มีทุนถึง 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทางรัฐบาลนำผลประโยชน์ที่ได้จากกองทุนไปช่วยเหลือสังคม


(4)
ตัวอย่างจากประเทศไทย


ที่ผ่านมา ประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติที่เรียกว่าก๊าซหุงต้ม ได้มากเกินกว่าที่คนไทยจะใช้หมด จึงต้องส่งไปขายในต่างประเทศ โดยไม่สนใจว่า คนไทยในรุ่นต่อไปไปจะเอาพลังงานที่ไหนใช้


นอกจากนี้กองทุนน้ำมัน ก็ถูกนำมาใช้เพื่อตอบสนองนโยบายประชานิยมของนักการเมือง บางช่วงบางตอนกองทุนนี้ติดลบหนึ่งเกือบหนึ่งแสนล้านบาท


(5) แนวคิดในการจัดทำ “นโยบายพลังงาน” ใหม่


เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ที่นโยบายพลังงานของประเทศไทยถูกร่างโดยกลุ่มพ่อค้าพลังงานและข้าราชการบางส่วน แนวคิดของคนกลุ่มนี้อยู่ในกรอบที่ทำให้คนใช้พลังงานที่เขาสามารถผูกขาดได้เท่านั้น เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นต้น


ในระยะหลัง เมื่อเกิดปัญหาพลังงานที่เขาผูกขาดได้เกิดขาดแคลนและแพงขึ้น ผู้กำหนด นโยบายเหล่านี้จึงนำเสนอพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งพวกเขาก็สามารถผูกขาดได้อีก


แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้รู้ด้านพลังงานได้สรุปไว้ว่า ทางออกของปัญหาพลังงานมีเพียง 2 ทางเท่านั้น คือ (1) ใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่รั่วไหล ไม่ฟุ่มเฟือย และ (2) หันไปใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งใช้แล้วไม่มีวันหมด ได้แก่ พลังงานลม แสงแดด ชีวมวล ของเสียจากเทศบาล เป็นต้น


(6) สรุป


การเมืองใหม่จะไม่สามารถแก้ปัญหาของประเทศได้เลย ถ้าไม่ให้ความสนใจกับ“นโยบายพลังงานใหม่” เพราะรายจ่ายด้านพลังงานของประเทศไทยที่มีมูลค่าถึง 18% ของรายได้ประชาชาติ การเมืองใหม่จะไม่สามารถแก้ปัญหาคนตกงานได้ เพราะ ธุรกิจพลังงานในปัจจุบันมีการจ้างงานน้อยมาก แต่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนมีการจ้างงานเยอะมากเลย เหล่านี้เป็นต้น

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เคยมีคนไปถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ว่า “ท่านคิดว่าสิ่งประดิษฐ์ใดของมนุษย์ที่มีอำนาจในการทำลายล้างมากที่สุด” ผู้ถามคงจะคาดหวังว่าไอน์สไตน์น่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์” เพราะเขามีส่วนเกี่ยวข้องในการประดิษฐ์คิดค้นอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย แต่ไอน์สไตน์กลับตอบว่า “สูตรดอกเบี้ยทบต้น”
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อกลางเดือนธันวาคม ปี 2552 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ในงานนี้ได้มีโอกาสฟังปาฐกถาจากประธานศูนย์ศึกษาประเทศภูฎาน คือท่าน Dasho Karma Ura
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ “รักเจ้าจึงปลูก” เป็นชื่อโครงการที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำลังครุ่นคิดเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ผมเองได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มา 2 ตอนแล้ว
ประสาท มีแต้ม
  1. คำนำ       ภาพที่เห็นคือบริเวณชายหาดชลาทัศน์ อ.เมือง จังหวัดสงขลา (ถ่ายเมื่อพฤศจิกายน 2552) หาดนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากของชาวเมืองสงขลา อยู่ทางตอนใต้ของหาดสมิหลาที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักดีประมาณหนึ่งกิโลเมตร สิ่งที่เห็นในภาพที่มีถุงทรายสีขาว ยางรถยนต์เก่ายึดด้วยไม้หลักปักทราย รวมทั้งรูปต้นสนล้ม คงสะท้อนทั้งความรุนแรงของปัญหาและความพยายามแก้ปัญหาของผู้ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม ในตอนที่ 1 ผมได้นำข้อมูลที่มาจากงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการที่พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นของประเทศไทย ทั้งระดับ ป.6 , ม.3 และมัธยมปลายมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งทุกวิชา โดยวิชาที่สอบได้คะแนนน้อยที่สุดคือวิชาคณิตศาสตร์ ได้เพียงร้อยละ 29.6 เท่านั้น ในตอนที่ 2 นี้ ผมจะกล่าวถึงปัญหาที่ได้ตั้งไว้ในชื่อบทความ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพการศึกษาเราตกต่ำ นอกจากนี้ ผมได้นำเสนอความคิดเห็นและความพยายามของผู้บริหารระดับสูงสุดของมหาวิทยาลัยด้วย
ประสาท มีแต้ม
๑. คำนำ ผมขอเรียนกับท่านผู้อ่าน “ประชาไท” ตามตรงว่า ผมใช้เวลานานมากในการคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี เขียนทิ้งเขียนขว้างไปหลายชิ้น ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเพราะว่าผมสับสนในตัวเอง ไม่ทราบว่าจะนำเสนออะไรดีให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง
ประสาท มีแต้ม
๑. ปัญหาในภาพเล็ก ที่ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่คือ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำลังคิดทำโครงการที่จะพัฒนานักศึกษานอกเหนือจากรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทำกันอยู่ตามปกติแล้ว โครงการยังไม่เป็นรูปเป็นร่างดีนัก แต่ชื่อโครงการก็ค่อนข้างจะเห็นตรงกันคือ “โครงการรักเจ้าจึงปลูก” ที่มาจากเนื้อเพลง “อิ่มอุ่น” ของ ศุ บุญเลี้ยง
ประสาท มีแต้ม
ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวิชาบังคับให้นักศึกษาต้องเรียนอยู่วิชาหนึ่งจำนวน 3 หน่วยกิต ชื่อว่า “วิชาวิทยาเขตสีเขียว (greening the campus)” วัตถุประสงค์หลักของวิชานี้ก็คือ ให้นักศึกษาลุกขึ้นมาศึกษาปัญหาส่วนรวมหรือปัญหาสาธารณะที่อยู่ในวิทยาเขตของตนเอง แต่โดยมากมักจะเน้นไปที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาขวดน้ำพลาสติกที่มีมากอย่างไม่น่าเชื่อ ปัญหาการประหยัดพลังงาน และกระดาษ เป็นต้น
ประสาท มีแต้ม
ทั้ง ๆ ที่ประเทศเรากำลังประสบกับวิกฤติหลายด้าน ทั้งความขัดแย้งทางการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นต้น แต่สื่อกระแสหลักก็ให้ความสำคัญกับข่าวความขัดแย้งในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมทั้งความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาลโดยไม่มีอะไรใหม่สร้างสรรค์ให้กับสังคม
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่กระแสสังคมส่งสัญญาณไม่พอใจกับราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ลดการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนของ ดีเซล ลิตรละ 2 บาท
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำขณะนี้หลายท่านคงจะรู้สึกกังวลร่วมกันว่า ราคาน้ำมันกำลังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจนอาจถึงหรือสูงกว่าเมื่อกลางปี 2551 (ดูกราฟประกอบ-ต่ำสุดเดือนธันวาคม 2551 ที่ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จนมาถึงเกือบ 80 ในเดือนสิงหาคมปีนี้)   ซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาสู่เรามากน้อยแค่ไหนก็คงพอจะนึกกันออก
ประสาท มีแต้ม
ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อ"ชี้แจงแสดงความคิดเห็น" เรื่อง ค่าการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อ 1 กรกฎาคม 52 คนนอกที่นอกจากผมแล้วก็มีอีก 6 -7 ท่าน ได้แก่ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนบริษัทบางจาก, บริษัท ปตท. นายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันแห่งประเทศไทย, คุณรสนา โตสิตระกูล และนักวิชาการปิโตรเลียม เป็นต้น