Skip to main content

คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว

ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้

 

1.    คำนำ


ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  


ผมได้ตั้งคำถามเชิงแนะนำนักศึกษาไปว่า
มันจะเป็นการเสียเวลาเกินความจำเป็นไปไหม?   ทำไมไม่ลองอีกวิธีหนึ่งซึ่งเปิดโอกาสให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้ดีกว่าโดยไม่ต้องลอกใหม่และเสียเวลาน้อยกว่า


วิธีที่ว่านี้คือ  วิธีการจดเลคเชอร์แบบมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์  
(Cornell Note Taking  Method) ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ของบทความนี้  แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงอย่างชนิดที่สามารถนำไปปฏิบัติใช้งานได้  ผมขออนุญาตชี้ให้เห็นปัญหาของการจดเล็คเชอร์ของนักศึกษาไทยก่อน

 

2. ปัญหาการจดเลคเชอร์


ผมเองเรียนและสอนทางสาขาคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นสาขาที่มีปัญหาในการจดเลคเชอร์น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับสาขาอื่น ๆ  เพราะอาจารย์คณิตศาสตร์ (ทั่วโลก) จะเขียนเกือบทุกตัวอักษรลงบนกระดานในขณะที่สาขาอื่น ๆ อาจารย์นิยมพูดเป็นส่วนใหญ่


ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นนิยาม ทฤษฎีบท หากเนื้อหาผิดพลาดไปแม้เพียงคำเดียวก็จะกลายเป็นความผิดพลาดที่ไม่อาจยอมรับกันได้  อาจารย์จึงต้องเขียนทุกคำบนกระดาน  นอกจากนี้ในระหว่างการ
ทำโจทย์ ยังต้องการแสดงให้เห็นถึงวิธีการคิด วิธีการทำอีกต่างหาก


อย่างไรก็ตาม ในวิชาที่ผมสอนเอง บางครั้งมีบางเนื้อหาที่ไม่จำเป็นต้องจดลงบนกระดาน เช่น การเปรียบเทียบว่าวิธีที่หนึ่งดีกว่าวิธีที่สองอย่างไร  นักศึกษาก็จดบันทึกไม่ถูก หรือไม่จดเลย เป็นต้น


ผมถามอาจารย์รุ่นใหม่ว่า
เคยมีการสอนวิธีการจดเลคเชอร์ในช่วงที่คุณเป็นนักศึกษาบ้างไหม คำตอบที่ได้คือไม่มีครับ   หากใครจดเลคเชอร์ได้ดีก็เป็นเพราะความสามารถเฉพาะตัว ไม่ใช่เพราะโดยการเรียนการสอนจากสถาบันการศึกษา


ผมเองก็ไม่เคยเรียนเรื่องเทคนิคการจดเลคเชอร์มาก่อนเช่นเดียวกัน  เพิ่งจะได้เรียนรู้ก็ตอนที่โลกเรามีอินเตอร์เนตใช้นี่เอง  ขอบคุณอินเตอร์เนตที่เปิดโอกาสให้เราได้
ท่องโลกเพื่อการเรียนรู้และนำมาถ่ายทอดต่อในที่นี้


อนึ่ง การที่เราจะจดเลคเชอร์ได้ดีหรือไม่ นอกจากจะต้องมีเทคนิควิธีการที่จะกล่าวถึงแล้ว ยังขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการฟัง การมีสมาธิและการจับประเด็น ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และใหญ่มาก ๆ สำหรับสังคมนักศึกษาไทยเราในวันนี้ รวมทั้งในสังคมของผู้ใหญ่ด้วย


นักศึกษาบางคนไม่ยอมจดเลคเชอร์ โดยอ้างว่า
ต้องการฟังให้ได้มากที่สุดและทำความเข้าใจเนื้อหาไปเลย แล้วค่อยขอยืมของเพื่อนไปถ่ายเอกสาร


เรื่องนี้นักการศึกษาบางคนถึงกับเตือนว่า
การจดเลคเชอร์และการทำโน้ตย่อขณะอ่านหนังสือ ไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่เราชอบแล้วจึงลงมือทำ แต่เป็นกิจกรรมที่ต้องทำ


การจดเล็คเชอร์เป็นการบังคับตัวเราเองให้ฟังอย่างตั้งใจ  ไม่เผลอหลับเพราะมีการเคลื่อนไหวทั้งมือและสมอง  เมื่อกลับไปเปิดเลคเชอร์โน้ตในภายหลัง เราจะพบว่ามันคือเข็มทิศที่นำเราไปสู่การค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำราต่อไป  นอกจากนี้ โน้ตของเราจะทำให้จำได้ง่ายกว่าตำรา


โดยสรุป การจดเลคเชอร์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักเรียนและนักศึกษาทุกคน แต่จะทำอย่างไรให้ได้ดี คำตอบคือต้องฝึกหัดเหมือนกับที่เราหัดเดินตอนเป็นทารก การจดเลคเชอร์ที่ดีจะส่งผลให้การเรียนของเราดีและได้เกรดดีขึ้น  ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง

 

3. การจดเล็คเชอร์แบบมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์  


วิธีนี้ได้คิดค้นโดย
Dr. Walter Pauk     ผู้ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์และได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การอ่านและการศึกษา (Cornell University's reading and study center) ของมหาวิทยาลัย เป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในสาขาพัฒนาการศึกษาและทักษะการเรียนรู้ และเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ How To Study In College  ซึ่งเป็นหนังสือที่ถูกจัดเป็นประเภทที่ขายดีที่สุด


มหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่และคิดว่ารวมถึงมหาวิทยาลัยแห่งอื่นด้วย ไม่มี
ศูนย์หรือ สถาบันในลักษณะที่ช่วยพัฒนานักศึกษาเช่นนี้   แต่มีศูนย์ทางด้านธุรกิจและอื่น ๆ มากมาย


วิธีการจดเลคเชอร์ มีหลายวิธี  แต่
Wikepedia จัดว่าวิธีที่จะกล่าวถึงนี้เป็นวิธีที่มีการใช้กันแพร่หลายมาก  โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

 

ขั้นที่ 1  การจัดแบ่งหน้ากระดาษ


ให้แบ่งหน้ากระดาษออกเป็น  2  คอลัมน์  ถ้าเป็นกระดาษขนาด
 A4  (ขนาด 8.5x11 นิ้ว) คอลัมน์ซ้ายมือกว้าง 2 นิ้วครึ่ง ส่วนที่เหลือเป็นคอลัมน์ขวามือกว้างประมาณ 6  นิ้ว    ถ้าเป็นกระดาษสมุดก็ปรับตามความเหมาะสม  แต่คอลัมน์ทางซ้ายมือไม่ควรจะกว้างน้อยกว่า 2.25 นิ้ว  เพราะจะต้องใช้พื้นที่ส่วนนี้เขียนข้อความสำคัญในภายหลัง


เว้นด้านล่างของกระดาษไว้ประมาณ 2 นิ้ว ไว้สำหรับเขียนสรุปหลังจากได้ทบทวนแล้ว  ดังรูป

 

 


 

หมายเหตุ คำว่า Cue ในที่นี้ หมายถึง สัญญาณหรือคำที่ช่วยเตือนความจำ ช่วยให้เราทำกิจกรรมอื่นต่อไป   ภาพข้างล่างนี้จะช่วยขยายความถึงการใช้หน้ากระดาษ (ซึ่งจะอธิบายต่อไป)



 


ขั้นที่ 2  คำแนะนำทั่วไป


ถ้าใช้กระดาษขนาด
 A4   ควรเขียน วันที่  รายวิชา  และเลขหน้าไว้บนหัวกระดาษ  เพราะเหมาะสำหรับการนำไปรวมกันเป็นแฟ้มของแต่ละวิชาได้สะดวก  เช่น  2 มิ.ย. 53     คณิตศาสตร์ 101   หน้า 1


นักศึกษาควรเข้าห้องเรียนก่อนเวลาเล็กน้อย เพราะโดยปกติ ในช่วง 5 นาทีแรกอาจารย์มักจะแนะนำสาระสำคัญของเนื้อหาที่จะบรรยายในคาบนี้ รวมทั้งความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับเนื้อหาเดิม
  การที่เราได้รับทราบแนวของเนื้อหาก่อนจะทำให้เราสามารถเข้าใจสิ่งที่จะได้ฟังง่ายขึ้น


ควรอ่านเอกสารล่วงหน้า (ถ้าเป็นไปได้)   และควรมีปากกาและดินสอหลายสี หากสามารถพกกล่องปากกาติดตัวได้ก็ยิ่งเป็นการดี  นักศึกษาชายใส่ในย่าม นักศึกษาหญิงใส่ที่เดียวกับเครื่องสำอาง(
!)

 

ขั้นที่ 3  การฟังและจดเลคเชอร์

-  จดเนื้อหาสำคัญลงในคอลัมน์ขวามือ (Note Taking Area)  ในชั่วโมงบรรยาย

- อย่าจดทุกคำ เลือกเฉพาะที่ประเด็นสำคัญ พร้อมเหตุผลสนับสนุน  ถ้าจดละเอียดมากเกินไปจะทำให้เป็นนักฟังแย่ลงและจดไม่ทัน

- อย่าเขียนให้เป็นประโยค ถ้าสามารถใช้วลีได้ และอย่าเขียนเป็นวลี ถ้าสามารถเขียนเป็นคำเดียวโดด ๆ ได้

- พยายามใช้ตัวย่อ สัญลักษณ์  ลูกศร   เช่น  ใช้  “&”  แทน และ”,  "~"  แทน  "ประมาณ"

- หากจับประเด็นไม่ได้หรือจับไม่ทัน  ควรเว้นกระดาษพร้อมทำเครื่องหมาย ? เพื่อถามเพื่อนหรือค้นเพิ่มเติมภายหลัง  อย่าเสียดายกระดาษ  ความรู้มีค่ามากกว่ากระดาษ

-  พยายามตั้งใจฟังประโยคสำคัญ ๆ  เช่น เรื่องนี้มีเหตุผล 3 ประการคือหรือฟังการย้ำ การเน้นเสียงของอาจารย์

 

ขั้นที่ 4  การทบทวนและทำให้เลคเชอร์โน้ตกระชับ

-  หลังจากจดเลคเชอร์มาแล้ว (เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้)  ให้อ่านที่จดมาได้ ไม่ใช่ศึกษาเพื่อทำความเข้าใจ แต่เพื่อตรวจสอบความถูกต้องกับตำรา ถ้าพบที่ผิดก็แก้ไข ปรับปรุง

- ทบทวนและทำเนื้อหาให้กระชับและสั้นลง โดยเขียนประเด็นสำคัญ (Main ideas) คำถาม แผนผัง สัญญาณเตือนความจำลงในคอลัมน์ซ้ายมือ (Cue Column)  เขียนเมื่อได้ทบทวนเนื้อหาแล้ว  ถ้าสามารถทบทวนได้ภายใน 24 - 48 ชั่วโมงหลังจากการฟังคำบรรยาย เรายังคงจำเนื้อเรื่องได้ถึง 80%  ถ้าเลยเวลานี้ไปเราจะลืมไปแล้ว 80%  นั่นหมายความว่าเราต้องเสียเวลาเรียนใหม่เกือบทั้งหมด

-  เขียนเฉพาะคำสำคัญ หรือวลี เพื่อสรุปประเด็นสำคัญ เขียนคำถามที่คาดว่าน่าจะเป็นข้อสอบ

 

ขั้นที่ 5  เขียนสรุปลงในส่วนที่สาม


สรุปเนื้อหาสัก 1- 2 ประโยคด้วยภาษาของเราเองลงในส่วนที่ 3 ของกระดาษ  โดยเขียนหลังจากที่เราได้ทบทวนและทำความเข้าใจบทเรียนแล้ว


4. สรุป 
 ข้างล่างนี้คือตัวอย่างหนึ่งที่ได้ทำครบถ้วนทุกขั้นตอนแล้ว   อาจจะช่วยให้เราเข้าใจดีขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอลัมน์แรก  อย่างไรก็ตาม ถ้าเราไม่เริ่มต้นลงมือทำ เราก็ไม่มีวันที่จะเป็น ทุกอย่างต้องมีการฝึกฝนครับ

 

 

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์
ประสาท มีแต้ม
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด…
ประสาท มีแต้ม
  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วยนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาขายไม่ได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก นักการเมืองรวมทั้งว่าที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีค่าโอนบ้าน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ผมขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แต่ขอใช้หลักคิดเดียวกันนี้เพื่อตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการพืชน้ำมันซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ซึ่งโยงใยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่เจ้าของโรงงานจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมัน ( ปาล์มน้ำมัน อ้อย ฯลฯ ) เหล่านี้บ้างเล่า?
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว” ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ก่อนจะเริ่มต้นเนื้อหา เรามาดูรูปการ์ตูนสนุก ๆ แต่บาดใจและอาจจะบาดตากันก่อนครับ ความหมายในภาพนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากบอกว่านี่ไงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าโลกเราร้อนขึ้นจริง สำหรับภาพนี้บอกว่า ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นักวิชาการ (และนักการเมือง) กำลังระดมกันแก้ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ขอขอบคุณเจ้าของภาพทั้งสองด้วย คราวนี้มาเข้าเรื่องกันครับ ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ 4 ด้านพร้อม ๆ กัน คือ (1) วิกฤติภาวะโลกร้อน (2) วิกฤติพลังงานที่ทั้งขาดแคลน ราคาแพง ผูกขาดและก่อวิกฤติด้านอื่น ๆ (3) วิกฤติการเงินที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหยก ๆ…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ “...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551 ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพราง ๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมุติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริง ๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3…
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ขณะนี้มีผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึง "การเมืองใหม่" ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่ามันคืออะไรกันแน่ ทราบแต่ว่า "การเมืองเดิม" ซึ่งก็คือการเมืองแบบตัวแทน (representative democracy) กำลังมีปัญหาหลายอย่างและรุนแรงขึ้นทุกขณะบทความนี้จะนำเสนอความล้มเหลวของ "การเมืองแบบตัวแทน" อย่างสั้นๆ พร้อมกับนำเสนอ "การเมืองแบบไฮเพอร์ (hyperpolitics)" ให้พอเป็นประกายเบื้องต้น หากสังคมนี้สนใจก็มีช่องทางให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป2. สาเหตุความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทนเราท่องกันจนขึ้นใจมาตั้งแต่วัยเด็กแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการมี "การเมืองแบบตัวแทน" คือเป็นเพราะคนมันเยอะ…