Skip to main content

คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว

ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้

 

1.    คำนำ


ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  


ผมได้ตั้งคำถามเชิงแนะนำนักศึกษาไปว่า
มันจะเป็นการเสียเวลาเกินความจำเป็นไปไหม?   ทำไมไม่ลองอีกวิธีหนึ่งซึ่งเปิดโอกาสให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้ดีกว่าโดยไม่ต้องลอกใหม่และเสียเวลาน้อยกว่า


วิธีที่ว่านี้คือ  วิธีการจดเลคเชอร์แบบมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์  
(Cornell Note Taking  Method) ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ของบทความนี้  แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงอย่างชนิดที่สามารถนำไปปฏิบัติใช้งานได้  ผมขออนุญาตชี้ให้เห็นปัญหาของการจดเล็คเชอร์ของนักศึกษาไทยก่อน

 

2. ปัญหาการจดเลคเชอร์


ผมเองเรียนและสอนทางสาขาคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นสาขาที่มีปัญหาในการจดเลคเชอร์น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับสาขาอื่น ๆ  เพราะอาจารย์คณิตศาสตร์ (ทั่วโลก) จะเขียนเกือบทุกตัวอักษรลงบนกระดานในขณะที่สาขาอื่น ๆ อาจารย์นิยมพูดเป็นส่วนใหญ่


ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นนิยาม ทฤษฎีบท หากเนื้อหาผิดพลาดไปแม้เพียงคำเดียวก็จะกลายเป็นความผิดพลาดที่ไม่อาจยอมรับกันได้  อาจารย์จึงต้องเขียนทุกคำบนกระดาน  นอกจากนี้ในระหว่างการ
ทำโจทย์ ยังต้องการแสดงให้เห็นถึงวิธีการคิด วิธีการทำอีกต่างหาก


อย่างไรก็ตาม ในวิชาที่ผมสอนเอง บางครั้งมีบางเนื้อหาที่ไม่จำเป็นต้องจดลงบนกระดาน เช่น การเปรียบเทียบว่าวิธีที่หนึ่งดีกว่าวิธีที่สองอย่างไร  นักศึกษาก็จดบันทึกไม่ถูก หรือไม่จดเลย เป็นต้น


ผมถามอาจารย์รุ่นใหม่ว่า
เคยมีการสอนวิธีการจดเลคเชอร์ในช่วงที่คุณเป็นนักศึกษาบ้างไหม คำตอบที่ได้คือไม่มีครับ   หากใครจดเลคเชอร์ได้ดีก็เป็นเพราะความสามารถเฉพาะตัว ไม่ใช่เพราะโดยการเรียนการสอนจากสถาบันการศึกษา


ผมเองก็ไม่เคยเรียนเรื่องเทคนิคการจดเลคเชอร์มาก่อนเช่นเดียวกัน  เพิ่งจะได้เรียนรู้ก็ตอนที่โลกเรามีอินเตอร์เนตใช้นี่เอง  ขอบคุณอินเตอร์เนตที่เปิดโอกาสให้เราได้
ท่องโลกเพื่อการเรียนรู้และนำมาถ่ายทอดต่อในที่นี้


อนึ่ง การที่เราจะจดเลคเชอร์ได้ดีหรือไม่ นอกจากจะต้องมีเทคนิควิธีการที่จะกล่าวถึงแล้ว ยังขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการฟัง การมีสมาธิและการจับประเด็น ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และใหญ่มาก ๆ สำหรับสังคมนักศึกษาไทยเราในวันนี้ รวมทั้งในสังคมของผู้ใหญ่ด้วย


นักศึกษาบางคนไม่ยอมจดเลคเชอร์ โดยอ้างว่า
ต้องการฟังให้ได้มากที่สุดและทำความเข้าใจเนื้อหาไปเลย แล้วค่อยขอยืมของเพื่อนไปถ่ายเอกสาร


เรื่องนี้นักการศึกษาบางคนถึงกับเตือนว่า
การจดเลคเชอร์และการทำโน้ตย่อขณะอ่านหนังสือ ไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่เราชอบแล้วจึงลงมือทำ แต่เป็นกิจกรรมที่ต้องทำ


การจดเล็คเชอร์เป็นการบังคับตัวเราเองให้ฟังอย่างตั้งใจ  ไม่เผลอหลับเพราะมีการเคลื่อนไหวทั้งมือและสมอง  เมื่อกลับไปเปิดเลคเชอร์โน้ตในภายหลัง เราจะพบว่ามันคือเข็มทิศที่นำเราไปสู่การค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำราต่อไป  นอกจากนี้ โน้ตของเราจะทำให้จำได้ง่ายกว่าตำรา


โดยสรุป การจดเลคเชอร์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักเรียนและนักศึกษาทุกคน แต่จะทำอย่างไรให้ได้ดี คำตอบคือต้องฝึกหัดเหมือนกับที่เราหัดเดินตอนเป็นทารก การจดเลคเชอร์ที่ดีจะส่งผลให้การเรียนของเราดีและได้เกรดดีขึ้น  ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง

 

3. การจดเล็คเชอร์แบบมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์  


วิธีนี้ได้คิดค้นโดย
Dr. Walter Pauk     ผู้ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์และได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การอ่านและการศึกษา (Cornell University's reading and study center) ของมหาวิทยาลัย เป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในสาขาพัฒนาการศึกษาและทักษะการเรียนรู้ และเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ How To Study In College  ซึ่งเป็นหนังสือที่ถูกจัดเป็นประเภทที่ขายดีที่สุด


มหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่และคิดว่ารวมถึงมหาวิทยาลัยแห่งอื่นด้วย ไม่มี
ศูนย์หรือ สถาบันในลักษณะที่ช่วยพัฒนานักศึกษาเช่นนี้   แต่มีศูนย์ทางด้านธุรกิจและอื่น ๆ มากมาย


วิธีการจดเลคเชอร์ มีหลายวิธี  แต่
Wikepedia จัดว่าวิธีที่จะกล่าวถึงนี้เป็นวิธีที่มีการใช้กันแพร่หลายมาก  โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

 

ขั้นที่ 1  การจัดแบ่งหน้ากระดาษ


ให้แบ่งหน้ากระดาษออกเป็น  2  คอลัมน์  ถ้าเป็นกระดาษขนาด
 A4  (ขนาด 8.5x11 นิ้ว) คอลัมน์ซ้ายมือกว้าง 2 นิ้วครึ่ง ส่วนที่เหลือเป็นคอลัมน์ขวามือกว้างประมาณ 6  นิ้ว    ถ้าเป็นกระดาษสมุดก็ปรับตามความเหมาะสม  แต่คอลัมน์ทางซ้ายมือไม่ควรจะกว้างน้อยกว่า 2.25 นิ้ว  เพราะจะต้องใช้พื้นที่ส่วนนี้เขียนข้อความสำคัญในภายหลัง


เว้นด้านล่างของกระดาษไว้ประมาณ 2 นิ้ว ไว้สำหรับเขียนสรุปหลังจากได้ทบทวนแล้ว  ดังรูป

 

 


 

หมายเหตุ คำว่า Cue ในที่นี้ หมายถึง สัญญาณหรือคำที่ช่วยเตือนความจำ ช่วยให้เราทำกิจกรรมอื่นต่อไป   ภาพข้างล่างนี้จะช่วยขยายความถึงการใช้หน้ากระดาษ (ซึ่งจะอธิบายต่อไป)



 


ขั้นที่ 2  คำแนะนำทั่วไป


ถ้าใช้กระดาษขนาด
 A4   ควรเขียน วันที่  รายวิชา  และเลขหน้าไว้บนหัวกระดาษ  เพราะเหมาะสำหรับการนำไปรวมกันเป็นแฟ้มของแต่ละวิชาได้สะดวก  เช่น  2 มิ.ย. 53     คณิตศาสตร์ 101   หน้า 1


นักศึกษาควรเข้าห้องเรียนก่อนเวลาเล็กน้อย เพราะโดยปกติ ในช่วง 5 นาทีแรกอาจารย์มักจะแนะนำสาระสำคัญของเนื้อหาที่จะบรรยายในคาบนี้ รวมทั้งความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับเนื้อหาเดิม
  การที่เราได้รับทราบแนวของเนื้อหาก่อนจะทำให้เราสามารถเข้าใจสิ่งที่จะได้ฟังง่ายขึ้น


ควรอ่านเอกสารล่วงหน้า (ถ้าเป็นไปได้)   และควรมีปากกาและดินสอหลายสี หากสามารถพกกล่องปากกาติดตัวได้ก็ยิ่งเป็นการดี  นักศึกษาชายใส่ในย่าม นักศึกษาหญิงใส่ที่เดียวกับเครื่องสำอาง(
!)

 

ขั้นที่ 3  การฟังและจดเลคเชอร์

-  จดเนื้อหาสำคัญลงในคอลัมน์ขวามือ (Note Taking Area)  ในชั่วโมงบรรยาย

- อย่าจดทุกคำ เลือกเฉพาะที่ประเด็นสำคัญ พร้อมเหตุผลสนับสนุน  ถ้าจดละเอียดมากเกินไปจะทำให้เป็นนักฟังแย่ลงและจดไม่ทัน

- อย่าเขียนให้เป็นประโยค ถ้าสามารถใช้วลีได้ และอย่าเขียนเป็นวลี ถ้าสามารถเขียนเป็นคำเดียวโดด ๆ ได้

- พยายามใช้ตัวย่อ สัญลักษณ์  ลูกศร   เช่น  ใช้  “&”  แทน และ”,  "~"  แทน  "ประมาณ"

- หากจับประเด็นไม่ได้หรือจับไม่ทัน  ควรเว้นกระดาษพร้อมทำเครื่องหมาย ? เพื่อถามเพื่อนหรือค้นเพิ่มเติมภายหลัง  อย่าเสียดายกระดาษ  ความรู้มีค่ามากกว่ากระดาษ

-  พยายามตั้งใจฟังประโยคสำคัญ ๆ  เช่น เรื่องนี้มีเหตุผล 3 ประการคือหรือฟังการย้ำ การเน้นเสียงของอาจารย์

 

ขั้นที่ 4  การทบทวนและทำให้เลคเชอร์โน้ตกระชับ

-  หลังจากจดเลคเชอร์มาแล้ว (เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้)  ให้อ่านที่จดมาได้ ไม่ใช่ศึกษาเพื่อทำความเข้าใจ แต่เพื่อตรวจสอบความถูกต้องกับตำรา ถ้าพบที่ผิดก็แก้ไข ปรับปรุง

- ทบทวนและทำเนื้อหาให้กระชับและสั้นลง โดยเขียนประเด็นสำคัญ (Main ideas) คำถาม แผนผัง สัญญาณเตือนความจำลงในคอลัมน์ซ้ายมือ (Cue Column)  เขียนเมื่อได้ทบทวนเนื้อหาแล้ว  ถ้าสามารถทบทวนได้ภายใน 24 - 48 ชั่วโมงหลังจากการฟังคำบรรยาย เรายังคงจำเนื้อเรื่องได้ถึง 80%  ถ้าเลยเวลานี้ไปเราจะลืมไปแล้ว 80%  นั่นหมายความว่าเราต้องเสียเวลาเรียนใหม่เกือบทั้งหมด

-  เขียนเฉพาะคำสำคัญ หรือวลี เพื่อสรุปประเด็นสำคัญ เขียนคำถามที่คาดว่าน่าจะเป็นข้อสอบ

 

ขั้นที่ 5  เขียนสรุปลงในส่วนที่สาม


สรุปเนื้อหาสัก 1- 2 ประโยคด้วยภาษาของเราเองลงในส่วนที่ 3 ของกระดาษ  โดยเขียนหลังจากที่เราได้ทบทวนและทำความเข้าใจบทเรียนแล้ว


4. สรุป 
 ข้างล่างนี้คือตัวอย่างหนึ่งที่ได้ทำครบถ้วนทุกขั้นตอนแล้ว   อาจจะช่วยให้เราเข้าใจดีขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอลัมน์แรก  อย่างไรก็ตาม ถ้าเราไม่เริ่มต้นลงมือทำ เราก็ไม่มีวันที่จะเป็น ทุกอย่างต้องมีการฝึกฝนครับ

 

 

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544 เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริ)  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “…
ประสาท มีแต้ม
นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย…
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก(2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ…
ประสาท มีแต้ม
1. ประเด็นปัญหา ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551) นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท…
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1)…
ประสาท มีแต้ม
๑.คำนำเมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล…
ประสาท มีแต้ม
ผมว่างเว้นจากการเขียนบทความมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนอันดับบทความของผมที่เรียงตามเวลาที่เขียนในเว็บไซต์ “ประชาไท” ตกไปอยู่เกือบสุดท้ายของตารางแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้เขียนเพราะผมป่วยเป็นโรคที่ทันสมัยคือ “โรคคอมพิวเตอร์กัด” ครับ มันมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปทั่วทั้งหลัง พอฝืนทนเข้าไปทำงานอีกไม่เกินห้านาทีก็ถูก “กัด” ซ้ำอีก ราวกับมันมีชีวิตแน่ะที่นำเรื่องนี้มาเล่าก่อนในที่นี้ไม่ใช่อยากจะเล่าเรื่องส่วนตัว แต่อยากนำประสบการณ์ที่ผิดๆ ของผมมาเตือนท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะเก็บเรื่องของผมไปเป็นบทเรียน…
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย…
ประสาท มีแต้ม
เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้ผมขอเริ่มเลยนะครับเราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน…
ประสาท มีแต้ม
1. ความในใจผมขอพักเรื่องนโยบายสาธารณะด้านพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ สำหรับประเทศไทยและชาวโลกไว้ชั่วคราวครับ  ในบทความนี้ผมขอนำเรื่องภายในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่มาเล่าสู่กันฟังมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้อ่าน  แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระบบราชการไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  นอกจากนี้ผมมีเรื่องวิชาใหม่ที่คาดว่าเป็นวิชาแรกในประเทศไทยคือวิชา “ชุมชนมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greening the campus)”…
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท…