Skip to main content

1. ความเดิม


จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ


(1)
เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก
(2)
ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน

(3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ ทำให้รัฐต้องเสียเงินชดเชยราคาเป็นจำนวนมาก


ผมเกิดความสงสัยในข้อมูลดังกล่าว จึงได้ทำการสืบค้นทั้งจากกรมศุลกากรซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการเก็บภาษีนำเข้า-ส่งออกและจากกระทรวงพลังงานที่ดูแลข้อมูลนี้โดยตรง ก็ไม่พบว่าได้มีการนำเข้าก๊าซหุงต้มทั้งในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2551 แต่อย่างใด


นอกจากจะไม่ได้มีการนำเข้าแล้ว ยังมีการส่งออกอีกต่างหาก ข้อมูลของทั้งสองหน่วยงานดังกล่าวก็ช่างตรงกันพอดี ผมจึงสรุปว่า คำกล่าวข้อที่ (2) ของ ปตท. เป็นเท็จ


สำหรับข้อที่ (3) ผมวิจารณ์ว่าเป็นการให้ข้อมูลเพียงครึ่งเดียว ความจริงแล้วราคาก๊าซในประเทศที่มีอากาศหนาวราคาก๊าซจะต่างกันเกือบครึ่งต่อครึ่งในแต่ละปี


สำหรับข้อ (1) ที่ ปตท. เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคา ผมไม่ได้แสดงความเห็นใดๆ ครับ แต่ผมพอจะจำความได้ว่า เดิมทีเดียวนั้น บริษัท ปตท. มาจาก “น้ำมันสามทหาร” ที่มีปรัชญาหลักว่า “เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของทหารและชาติ”


ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของบทความที่ชื่อว่า “จับเท็จ ปตท. กรณี “นำเข้าก๊าซหุงต้ม””


2.
คำชี้แจงของบริษัท ปตท.


ต่อมาผมได้รับทราบจากข้อมูลในเว็บบอร์ดของบริษัทผู้จัดการ จำกัด ว่ามีคำชี้แจงมาจากบริษัท ปตท. แต่ผมไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ชี้แจง


ต่อมาอีกไม่นาน ผมทราบว่า มีการพูดถึงบทความที่ผมเขียนในรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้” ทางโทรทัศน์ช่อง 3 วันที่ 21 กรกฎาคม เวลาประมาณ 8 โมงเศษ พอสรุปได้ว่า


นักข่าวได้ไปสอบถามทาง ปตท. ทางบริษัท ปตท.จำกัดได้ชี้แจงดังนี้ คือ ไม่ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มโดยตรง เพราะการนำเข้าแอลพีจีโดยตรงนั้นทำได้ลำบาก ต้องใช้เรือเฉพาะ แต่ได้นำก๊าซชนิดอื่นที่เรียกว่า บิวเทน (butane) และโปรเพน (propane) เพื่อมาผสมกับก๊าซชนิดอื่นแล้วใช้แทนก๊าซหุงต้ม (หรือแอลพีจี)”


ผู้ดำเนินรายการยังได้สรุปว่า “เรื่องนี้เป็นปัญหาทางเทคนิค ถ้าใครสงสัยก็ให้ไปสอบถามที่ ปตท.ได้”


3. จับเท็จซ้ำสอง


ผมมีประเด็นที่จะขอตั้งข้อสังเกตและได้สืบค้นหาความจริงดังต่อไปนี้

(1) คำถามง่ายๆ ครับ ถ้านำเข้าก๊าซแอลพีจีเป็น “เทคนิคที่ลำบาก” แล้วทำไมการส่งออกก๊าซแอลพีจีชนิดเดียวกันจึงเป็น “เทคนิคที่ทำได้” ก๊าซชนิดเดียวกันเวลาส่งออกใช้เทคนิคหนึ่ง เวลานำเข้าต้องใช้อีกเทคนิคหนึ่ง มันสองมาตรฐานชอบกลนะ


แต่เรื่องนี้ก็ไม่ได้สำคัญอะไรมากมายเท่ากับเรื่องต่อไปนี้ครับ คือ


(2)
ผมได้สืบค้นข้อมูลอีกทั้งจากสองแหล่งเดิม เอากรณีของกรมศุลกากรก่อนนะครับ คราวนี้ผมขออนุญาตนำที่อยู่ของเว็บไซต์ของกรมศุลกากรมาแสดงด้วย เข้ายากไม่ใช้น้อยนะครับ คือเข้าไปที่ http://www.customs.go.th/Statistic/StatisticIndex.jsp ก่อน แล้วค่อยไปบอกรหัส (HD-Code) ตามที่ระบุ (แต่ไม่มีจุด เช่น 2711120006 สำหรับ Propane 27111900001 สำหรับแอลพีจี และ 2711130007 สำหรับ Butane- เข้ายากมากครับสำหรับคนที่ไม่ค่อยทีทักษะคอมพิวเตอร์)

ผลปรากฏว่า ไม่พบการนำเข้าของก๊าซทั้งสองรายการตามที่ทางบริษัท ปตท. ชี้แจงมาแต่อย่างใด ผมแนบผลการตรวจค้นมาด้วยครับ


25_7_01


25_7_02


ต่อมาผมก็สืบค้นที่กระทรวงพลังงาน ก็ไม่พบการนำเข้าก๊าซแอลพีจีหรือก๊าซหุงต้มเช่นเคย ผมตั้งใจจะแสดงผลการตรวจค้นทั้งหมด เนื่องจากตารางมันใหญ่โตเกินไป ผมจึงเลือกตัดเอาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับแอลพีจี (LPG) เท่านั้น ซึ่งตรงกับสะดมภ์ G และบรรทัดที่ 27 ข้อมูลในตำแหน่งที่กล่าวแล้ว คือข้อมูลการนำเข้าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2008


ผลคือไม่พบข้อมูลการนำเข้าก๊าซแอลพีจีแต่อย่างใด (ในวงรีสีส้ม)

 


25_7_03


นอกจากนี้ ทางกระทรวงพลังงานได้กำหนดนิยามของ LPG (ในบรรทัดที่ 30) ว่าให้นับรวมก๊าซชนิดที่เรียกว่า Propane และ Butane ด้วย ก๊าซสองชนิดนี้แหละที่ทาง ปตท. อ้างว่าได้นำเข้ามาแทนแอลพีจี เพราะเทคนิคการนำเข้าง่ายกว่า


ดังนั้น สำหรับข้อมูลของกระทรวงพลังงานแล้ว ชัดเจนดีโดยไม่ต้องค้นหาอะไรเพิ่มเติม แต่เฉพาะในเรื่องนี้เท่านั้นนะครับ เรื่องข้อมูลอื่นยังมีปัญหาที่ทำให้ผู้รับข้อมูลเข้าใจได้ยากมากหรือไม่สามารถเข้าใจได้เลย หากมีเวลาผมจะเขียนมาเล่าให้ฟังครับ


3. สรุป


เรื่องราวที่ทางบริษัท ปตท. จำกัด “อ้างถึง” และ “ชี้แจงมา” ก็มีเท่านี้แหละครับ ผมไม่อยากแสดงความเห็นใดที่มากกว่านี้ ขอให้เป็นดุลยพินิจของท่านผู้อ่านและผู้บริโภคพลังงานก็แล้วกันครับ


ศาสตราจารย์ นอม ชอมสกี นักวิชาการนามก้องโลกจากเอ็มไอทีได้แสดงความเห็นสั้นๆ ว่า “นักวิชาการมีหน้าที่สองอย่าง คือพูดความจริงและชี้ให้เห็นการโกหก”


ถ้าจะมีหน้าที่ที่สามก็ขอเพิ่มโดยอิงกับคำพูดของพลตรีจำลอง ศรีเมืองที่ว่า “มาทำบุญ” เข้าไปอีกสักข้อก็แล้วกัน


ผมมีแค่นี้เองครับ


บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
    “คดีโลกร้อน” เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย  ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
ประสาท มีแต้ม
    ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท…
ประสาท มีแต้ม
    คำนำ เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า “ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง “ความเหลื่อมล้ำ” …
ประสาท มีแต้ม
  “...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”   “ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”  
ประสาท มีแต้ม
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์  ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า 1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
ประสาท มีแต้ม
    คำว่า “ไฟต์บังคับ” เป็นภาษาในวงการมวย  หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้
ประสาท มีแต้ม
  ๑.  คำนำ บทความนี้ประกอบด้วย 6 หัวข้อย่อย ท่านสามารถอ่านหัวข้อที่ 6 ก่อนก็ได้เลย เพราะเป็นนิทานที่สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาได้ดี เรื่อง “โรงเรียนสัตว์”   ถ้าท่านรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของนิทานดังกล่าว (ซึ่งทั้งแสบ ทั้งคัน) จึงค่อยกลับมาอ่านหัวข้อที่ 2  จนจบ หากท่านไม่เกิดความรู้สึกดังกล่าว  ก็โปรดโยนทิ้งไปได้เลย ๒. ปัญหาของการศึกษากระแสหลักคืออะไร
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ชื่อบทความนี้อาจจะทำให้บางท่านรู้สึกว่าเป็นการทอนพลังของการปฏิรูป ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ผมขอเรียนว่า ไม่ใช่การทอนพลังครับ แต่เป็นการทำให้การปฏิรูปมีประเด็นที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ง่าย รวดเร็ว  เมื่อเทียบกับการปฏิรูปมหาวิทยาลัย ปฏิรูปการศึกษาที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ผมได้ตรวจสอบประเด็นของการปฏิรูปของคณะกรรมการชุดที่คุณหมอประเวศ วะสี เป็นประธานแล้วพบว่า ไม่มีประเด็นเรื่องนโยบายพลังงานเลย บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นว่า (1) ทำไมจะต้องปฏิรูปนโยบายพลังงานในทันที  (2) จะปฏิรูปไปสู่อะไร และ (3) ทำอย่างไร เริ่มต้นที่ไหนก่อน  …
ประสาท มีแต้ม
“ในการเดินทาง เรามักใช้ยานพาหนะช่วย   แต่ในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical) เราใช้อะไรเป็นเครื่องมือหรือเป็นพาหนะ”
ประสาท มีแต้ม
“คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้”   1.    คำนำ ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  
ประสาท มีแต้ม
1.    คำนำ เราคงยอมรับร่วมกันแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในระดับความคิด ความเชื่อทางการเมือง และวัฒนธรรมซึ่งนักสังคมศาสตร์จัดว่าเป็นโครงสร้างส่วนบน และความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่รวมศูนย์ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม  ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทั้งสองระดับนี้กำลังวิกฤติสุด ๆ จนอาจพลิกผันนำสังคมไทยไปสู่หายนะได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นปกหน้าและหลังของเอกสารขนาดกระดาษ A4 ที่หนาเพียง 16 หน้า แม้ว่าหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงที่ปรากฏ แต่ผมเชื่อว่าแววตาและท่าทางของเจ้าหนูน้อยในภาพคงทำให้ท่านรู้สึกได้ว่าเธอทึ่งและมีความหวัง บรรณาธิการกรุณาอย่าทำให้ภาพเล็กลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะจะทำให้เราเห็นแววตาของเธอไม่สดใสเท่าที่ควร เอกสารนี้จัดทำโดย “สภาเพื่ออนาคตโลก” หรือ World Future Council (WFC) ค้นหาได้จาก www.worldfuturecouncil.org