Skip to main content

1. ความเดิม


จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ


(1)
เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก
(2)
ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน

(3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ ทำให้รัฐต้องเสียเงินชดเชยราคาเป็นจำนวนมาก


ผมเกิดความสงสัยในข้อมูลดังกล่าว จึงได้ทำการสืบค้นทั้งจากกรมศุลกากรซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการเก็บภาษีนำเข้า-ส่งออกและจากกระทรวงพลังงานที่ดูแลข้อมูลนี้โดยตรง ก็ไม่พบว่าได้มีการนำเข้าก๊าซหุงต้มทั้งในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2551 แต่อย่างใด


นอกจากจะไม่ได้มีการนำเข้าแล้ว ยังมีการส่งออกอีกต่างหาก ข้อมูลของทั้งสองหน่วยงานดังกล่าวก็ช่างตรงกันพอดี ผมจึงสรุปว่า คำกล่าวข้อที่ (2) ของ ปตท. เป็นเท็จ


สำหรับข้อที่ (3) ผมวิจารณ์ว่าเป็นการให้ข้อมูลเพียงครึ่งเดียว ความจริงแล้วราคาก๊าซในประเทศที่มีอากาศหนาวราคาก๊าซจะต่างกันเกือบครึ่งต่อครึ่งในแต่ละปี


สำหรับข้อ (1) ที่ ปตท. เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคา ผมไม่ได้แสดงความเห็นใดๆ ครับ แต่ผมพอจะจำความได้ว่า เดิมทีเดียวนั้น บริษัท ปตท. มาจาก “น้ำมันสามทหาร” ที่มีปรัชญาหลักว่า “เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของทหารและชาติ”


ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของบทความที่ชื่อว่า “จับเท็จ ปตท. กรณี “นำเข้าก๊าซหุงต้ม””


2.
คำชี้แจงของบริษัท ปตท.


ต่อมาผมได้รับทราบจากข้อมูลในเว็บบอร์ดของบริษัทผู้จัดการ จำกัด ว่ามีคำชี้แจงมาจากบริษัท ปตท. แต่ผมไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ชี้แจง


ต่อมาอีกไม่นาน ผมทราบว่า มีการพูดถึงบทความที่ผมเขียนในรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้” ทางโทรทัศน์ช่อง 3 วันที่ 21 กรกฎาคม เวลาประมาณ 8 โมงเศษ พอสรุปได้ว่า


นักข่าวได้ไปสอบถามทาง ปตท. ทางบริษัท ปตท.จำกัดได้ชี้แจงดังนี้ คือ ไม่ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มโดยตรง เพราะการนำเข้าแอลพีจีโดยตรงนั้นทำได้ลำบาก ต้องใช้เรือเฉพาะ แต่ได้นำก๊าซชนิดอื่นที่เรียกว่า บิวเทน (butane) และโปรเพน (propane) เพื่อมาผสมกับก๊าซชนิดอื่นแล้วใช้แทนก๊าซหุงต้ม (หรือแอลพีจี)”


ผู้ดำเนินรายการยังได้สรุปว่า “เรื่องนี้เป็นปัญหาทางเทคนิค ถ้าใครสงสัยก็ให้ไปสอบถามที่ ปตท.ได้”


3. จับเท็จซ้ำสอง


ผมมีประเด็นที่จะขอตั้งข้อสังเกตและได้สืบค้นหาความจริงดังต่อไปนี้

(1) คำถามง่ายๆ ครับ ถ้านำเข้าก๊าซแอลพีจีเป็น “เทคนิคที่ลำบาก” แล้วทำไมการส่งออกก๊าซแอลพีจีชนิดเดียวกันจึงเป็น “เทคนิคที่ทำได้” ก๊าซชนิดเดียวกันเวลาส่งออกใช้เทคนิคหนึ่ง เวลานำเข้าต้องใช้อีกเทคนิคหนึ่ง มันสองมาตรฐานชอบกลนะ


แต่เรื่องนี้ก็ไม่ได้สำคัญอะไรมากมายเท่ากับเรื่องต่อไปนี้ครับ คือ


(2)
ผมได้สืบค้นข้อมูลอีกทั้งจากสองแหล่งเดิม เอากรณีของกรมศุลกากรก่อนนะครับ คราวนี้ผมขออนุญาตนำที่อยู่ของเว็บไซต์ของกรมศุลกากรมาแสดงด้วย เข้ายากไม่ใช้น้อยนะครับ คือเข้าไปที่ http://www.customs.go.th/Statistic/StatisticIndex.jsp ก่อน แล้วค่อยไปบอกรหัส (HD-Code) ตามที่ระบุ (แต่ไม่มีจุด เช่น 2711120006 สำหรับ Propane 27111900001 สำหรับแอลพีจี และ 2711130007 สำหรับ Butane- เข้ายากมากครับสำหรับคนที่ไม่ค่อยทีทักษะคอมพิวเตอร์)

ผลปรากฏว่า ไม่พบการนำเข้าของก๊าซทั้งสองรายการตามที่ทางบริษัท ปตท. ชี้แจงมาแต่อย่างใด ผมแนบผลการตรวจค้นมาด้วยครับ


25_7_01


25_7_02


ต่อมาผมก็สืบค้นที่กระทรวงพลังงาน ก็ไม่พบการนำเข้าก๊าซแอลพีจีหรือก๊าซหุงต้มเช่นเคย ผมตั้งใจจะแสดงผลการตรวจค้นทั้งหมด เนื่องจากตารางมันใหญ่โตเกินไป ผมจึงเลือกตัดเอาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับแอลพีจี (LPG) เท่านั้น ซึ่งตรงกับสะดมภ์ G และบรรทัดที่ 27 ข้อมูลในตำแหน่งที่กล่าวแล้ว คือข้อมูลการนำเข้าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2008


ผลคือไม่พบข้อมูลการนำเข้าก๊าซแอลพีจีแต่อย่างใด (ในวงรีสีส้ม)

 


25_7_03


นอกจากนี้ ทางกระทรวงพลังงานได้กำหนดนิยามของ LPG (ในบรรทัดที่ 30) ว่าให้นับรวมก๊าซชนิดที่เรียกว่า Propane และ Butane ด้วย ก๊าซสองชนิดนี้แหละที่ทาง ปตท. อ้างว่าได้นำเข้ามาแทนแอลพีจี เพราะเทคนิคการนำเข้าง่ายกว่า


ดังนั้น สำหรับข้อมูลของกระทรวงพลังงานแล้ว ชัดเจนดีโดยไม่ต้องค้นหาอะไรเพิ่มเติม แต่เฉพาะในเรื่องนี้เท่านั้นนะครับ เรื่องข้อมูลอื่นยังมีปัญหาที่ทำให้ผู้รับข้อมูลเข้าใจได้ยากมากหรือไม่สามารถเข้าใจได้เลย หากมีเวลาผมจะเขียนมาเล่าให้ฟังครับ


3. สรุป


เรื่องราวที่ทางบริษัท ปตท. จำกัด “อ้างถึง” และ “ชี้แจงมา” ก็มีเท่านี้แหละครับ ผมไม่อยากแสดงความเห็นใดที่มากกว่านี้ ขอให้เป็นดุลยพินิจของท่านผู้อ่านและผู้บริโภคพลังงานก็แล้วกันครับ


ศาสตราจารย์ นอม ชอมสกี นักวิชาการนามก้องโลกจากเอ็มไอทีได้แสดงความเห็นสั้นๆ ว่า “นักวิชาการมีหน้าที่สองอย่าง คือพูดความจริงและชี้ให้เห็นการโกหก”


ถ้าจะมีหน้าที่ที่สามก็ขอเพิ่มโดยอิงกับคำพูดของพลตรีจำลอง ศรีเมืองที่ว่า “มาทำบุญ” เข้าไปอีกสักข้อก็แล้วกัน


ผมมีแค่นี้เองครับ


บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เคยมีคนไปถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ว่า “ท่านคิดว่าสิ่งประดิษฐ์ใดของมนุษย์ที่มีอำนาจในการทำลายล้างมากที่สุด” ผู้ถามคงจะคาดหวังว่าไอน์สไตน์น่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์” เพราะเขามีส่วนเกี่ยวข้องในการประดิษฐ์คิดค้นอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย แต่ไอน์สไตน์กลับตอบว่า “สูตรดอกเบี้ยทบต้น”
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อกลางเดือนธันวาคม ปี 2552 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ในงานนี้ได้มีโอกาสฟังปาฐกถาจากประธานศูนย์ศึกษาประเทศภูฎาน คือท่าน Dasho Karma Ura
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ “รักเจ้าจึงปลูก” เป็นชื่อโครงการที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำลังครุ่นคิดเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ผมเองได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มา 2 ตอนแล้ว
ประสาท มีแต้ม
  1. คำนำ       ภาพที่เห็นคือบริเวณชายหาดชลาทัศน์ อ.เมือง จังหวัดสงขลา (ถ่ายเมื่อพฤศจิกายน 2552) หาดนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากของชาวเมืองสงขลา อยู่ทางตอนใต้ของหาดสมิหลาที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักดีประมาณหนึ่งกิโลเมตร สิ่งที่เห็นในภาพที่มีถุงทรายสีขาว ยางรถยนต์เก่ายึดด้วยไม้หลักปักทราย รวมทั้งรูปต้นสนล้ม คงสะท้อนทั้งความรุนแรงของปัญหาและความพยายามแก้ปัญหาของผู้ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม ในตอนที่ 1 ผมได้นำข้อมูลที่มาจากงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการที่พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นของประเทศไทย ทั้งระดับ ป.6 , ม.3 และมัธยมปลายมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งทุกวิชา โดยวิชาที่สอบได้คะแนนน้อยที่สุดคือวิชาคณิตศาสตร์ ได้เพียงร้อยละ 29.6 เท่านั้น ในตอนที่ 2 นี้ ผมจะกล่าวถึงปัญหาที่ได้ตั้งไว้ในชื่อบทความ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพการศึกษาเราตกต่ำ นอกจากนี้ ผมได้นำเสนอความคิดเห็นและความพยายามของผู้บริหารระดับสูงสุดของมหาวิทยาลัยด้วย
ประสาท มีแต้ม
๑. คำนำ ผมขอเรียนกับท่านผู้อ่าน “ประชาไท” ตามตรงว่า ผมใช้เวลานานมากในการคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี เขียนทิ้งเขียนขว้างไปหลายชิ้น ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเพราะว่าผมสับสนในตัวเอง ไม่ทราบว่าจะนำเสนออะไรดีให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง
ประสาท มีแต้ม
๑. ปัญหาในภาพเล็ก ที่ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่คือ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำลังคิดทำโครงการที่จะพัฒนานักศึกษานอกเหนือจากรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทำกันอยู่ตามปกติแล้ว โครงการยังไม่เป็นรูปเป็นร่างดีนัก แต่ชื่อโครงการก็ค่อนข้างจะเห็นตรงกันคือ “โครงการรักเจ้าจึงปลูก” ที่มาจากเนื้อเพลง “อิ่มอุ่น” ของ ศุ บุญเลี้ยง
ประสาท มีแต้ม
ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวิชาบังคับให้นักศึกษาต้องเรียนอยู่วิชาหนึ่งจำนวน 3 หน่วยกิต ชื่อว่า “วิชาวิทยาเขตสีเขียว (greening the campus)” วัตถุประสงค์หลักของวิชานี้ก็คือ ให้นักศึกษาลุกขึ้นมาศึกษาปัญหาส่วนรวมหรือปัญหาสาธารณะที่อยู่ในวิทยาเขตของตนเอง แต่โดยมากมักจะเน้นไปที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาขวดน้ำพลาสติกที่มีมากอย่างไม่น่าเชื่อ ปัญหาการประหยัดพลังงาน และกระดาษ เป็นต้น
ประสาท มีแต้ม
ทั้ง ๆ ที่ประเทศเรากำลังประสบกับวิกฤติหลายด้าน ทั้งความขัดแย้งทางการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นต้น แต่สื่อกระแสหลักก็ให้ความสำคัญกับข่าวความขัดแย้งในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมทั้งความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาลโดยไม่มีอะไรใหม่สร้างสรรค์ให้กับสังคม
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่กระแสสังคมส่งสัญญาณไม่พอใจกับราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ลดการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนของ ดีเซล ลิตรละ 2 บาท
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำขณะนี้หลายท่านคงจะรู้สึกกังวลร่วมกันว่า ราคาน้ำมันกำลังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจนอาจถึงหรือสูงกว่าเมื่อกลางปี 2551 (ดูกราฟประกอบ-ต่ำสุดเดือนธันวาคม 2551 ที่ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จนมาถึงเกือบ 80 ในเดือนสิงหาคมปีนี้)   ซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาสู่เรามากน้อยแค่ไหนก็คงพอจะนึกกันออก
ประสาท มีแต้ม
ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อ"ชี้แจงแสดงความคิดเห็น" เรื่อง ค่าการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อ 1 กรกฎาคม 52 คนนอกที่นอกจากผมแล้วก็มีอีก 6 -7 ท่าน ได้แก่ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนบริษัทบางจาก, บริษัท ปตท. นายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันแห่งประเทศไทย, คุณรสนา โตสิตระกูล และนักวิชาการปิโตรเลียม เป็นต้น