Skip to main content
 

“...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”  

“ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”
 
1. คำนำ

ภายในระยะเวลาไม่ถึง 30 วันของปลายปี 2553 ภัยพิบัติจากธรรมชาติได้เกิดขึ้นกับประเทศไทยกว่าครึ่งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมภาคอีสาน ภาคกลาง รวมทั้งพายุและดินถล่มในภาคใต้ และถ้าเราสังเกตให้ดีจะพบว่าในระหว่างที่คนไทยกำลังประสบภัยพิบัติอยู่ ในบางประเทศก็กำลังผจญกับภัยธรรมชาติอีกแบบหนึ่งคือภูเขาไฟระเบิด

บทความนี้จะไม่ขอพรรณนาถึงความเสียหายในภาพรวมที่เกิดขึ้น เพราะท่านผู้อ่านคงได้รับทราบจากสื่อต่างๆเรียบร้อยแล้ว แต่จะขอนำผลการวิจัยทั้งของนักวิทยาศาสตร์และบริษัทประกันภัย เพื่อที่จะอธิบายว่า (1) ทำไมภัยธรรมชาติ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพายุขนาดใหญ่) จึงเกิดถี่และดุร้ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก และ (2) บริษัทประกันภัยที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลกได้ศึกษาเรื่องค่าเสียหายจากการประกันภัยในอนาคตว่าอย่างไร
 
2. ประวัติพายุในประเทศไทย

ในช่วง 50 ปีมานี้ ประเทศไทยเราได้ประสบกับภัยจากพายุหรือวาตภัยครั้งใหญ่ ๆ จำนวน 4 ครั้ง นับตั้งแต่ (1) พายุโซนร้อน
“แฮเรียต” ที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี 2505  (2) อีก 27 ปีต่อมา พายุไต้ฝุ่น “เกย์” พัดเข้าสู่จังหวัดชุมพร ปี 2532 (3) อีก 8 ปีถัดมาอีกพายุไต้ฝุ่น “ลินดา”  พฤศจิกายน 2540 ใน 11 จังหวัดภาคใต้และภาคตะวันออก  และล่าสุด (4) พายุดีเปรสชัน เมื่อ วันที่ 1  พฤศจิกายน 2553 โดยเริ่มขึ้นฝั่งที่จังหวัดปัตตานีด้วยความเร็ว 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เข้าสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ตรัง และออกจากกระบี่เวลา 13.00 น. ของวันรุ่งขึ้นด้วยความเร็วลม  45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  

ผมเองมีประสบการณ์ตรงถึง 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกและสองครั้งหลัง โดยเฉพาะครั้งแรกผมอยู่ห่างจากแหลมตะลุมพุกที่มีคนเสียชีวิตและสูญหายประมาณหนึ่งพันคนเพียง 4 กิโลเมตร เกือบเอาชีวิตไม่รอดได้เห็นศพไม่น้อยกว่า 5 ศพและยังจำภาพติดตามาถึงทุกวันนี้

แม้ความเร็วลมในครั้งหลังสุดจะน้อยกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา แต่ได้สร้างความเสียหายในทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก อาจจะมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาหลายเท่าตัว
           
3. ผลการวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์ 

จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ในวารสาร
“Nature” (3 กันยายน 2008) พาดหัวว่า “พายุเกิดถี่ขึ้นเพราะปัญหาโลกร้อน” พร้อมเสริมว่า “ความเร็วสูงสุดของพายุโซนร้อนได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา”  

ข้อโต้เถียงกันว่า ความแรงของลมพายุ ความถี่ในการเกิด และระยะเวลาในการเกิดพายุมีความสัมพันธ์กับภูมิอากาศของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นหรือไม่ จากความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์และการศึกษาด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์พบว่า   น้ำในมหาสมุทร์ที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นจะมีพลังงานมากขึ้น แล้วพลังงานนี้จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานลม

รายงานฉบับนี้ยังบอกอีกว่า
“อุณหภูมิของน้ำที่ผิวบนของทะเลที่สูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส จะทำให้ความถี่ในเกิดพายุ (ชนิดความเร็วระดับสูงสุดและรองสูงสุด) ถึง 31%  คือจะเพิ่มขึ้นจากปีละ 13 ครั้งเป็น 17 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่า ในปี  ค.ศ. 2100  หรืออีก 90 ปี อุณหภูมิของน้ำทะเลจะเพิ่มเป็น 2 องศาเซียลเซียส”

ด้วยข้อมูลดังกล่าว เราคงคาดการณ์ได้เองว่า ความถี่จะเพิ่มมากขึ้นแค่ไหน ประวัติของพายุในประเทศไทยที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อที่ 2 คงพอจะเป็นพยานได้ดีถึงแนวโน้วดังกล่าว
 
4. คำเตือนจากบริษัทประกันภัย

ปัจจุบัน ภัยธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ ๆ ได้เกิดขึ้นมากและบ่อยกว่าเมื่อ 50 ปีที่แล้วถึง 3 เท่าตัว และถ้าสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้  บริษัทประกันภัยที่ชื่อย่อว่า
CGNU ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลกและใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษ ได้ทำการศึกษาแล้วพบว่า “ความสูญเสียจากภัยธรรมชาติทั่วโลกในปี พ.ศ. 2608  จะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลกรวมกัน”

เฉพาะพายุเฮอริเคน
“Katrina” เพียงครั้งเดียวในปี 2548 ที่รัฐนิวออร์ลีน สหรัฐอเมริกา บริษัทประกันภัยต้องจ่ายค่าเสียหายสูงถึง 6 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2 ล้านล้านบาทหรืองบประมาณของรัฐบาลไทยปี 2553) แต่ความเสียหายที่เจ้าของทรัพย์ต้องเสียไปจะมากกว่านี้ประมาณ 3- 4  เท่าตัว  

รายงานอีกฉบับหนึ่งกล่าวว่า
“ในประเทศยากจนหรือประเทศกำลังพัฒนา คนส่วนใหญ่ก็ไม่มีปัญญาจะทำประกันภัย มีเพียงน้อยกว่าร้อยละ 10 ของทรัพย์สินส่วนบุคคลเท่านั้นที่ได้ทำประกันภัย”

เจ้าของร้านขายคอมพิวเตอร์ร้านหนึ่งในหาดใหญ่บอกผมว่า
“ปกติร้านเราจะทำประกันภัยรวมทั้งน้ำท่วมทุกปี แต่มาถึงตอนต่อสัญญาปีนี้ทางบริษัทประกันได้ตัดเงื่อนไขน้ำท่วมออกไป โดยไม่บอกให้ทางร้านรู้เลย ราวกับบริษัทเป็นนกรู้แฮะ เพื่อน ๆ ร้านอื่นก็โดนแบบนี้เหมือนกัน”
 
5. ทัศนะของนักการเมืองกับโลกร้อน

สำหรับสาเหตุของโลกร้อนที่ทำให้เกิดพายุบ่อยและแรงขึ้น นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกได้สรุปตรงกันว่า มาจากการใช้พลังงานหลัก 3 ชนิด คือ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติรวมกันถึง 70% ของสาเหตุทั้งหมดที่มนุษย์ก่อขึ้น แต่ผู้นำทั้งระดับโลกและระดับประเทศไม่สนใจจะแก้ไขอย่างจริงยัง ทั้ง ๆ ที่มีทางเลือกจากพลังงานหมุนเวียน เช่น ลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล เป็นต้น

ในเดือนมกราคม 2548 ประธานองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (
IPCC) ได้กล่าวในที่ประชุม 114 ประเทศว่า “ชาวโลกได้มาถึงระดับที่อันตรายเรียบร้อยแล้วเพราะระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันตราย” พร้อมกับเรียกร้องให้ทั่วโลกช่วยกันลด “ในทันที” แต่ไม่มีอะไรเป็นมรรคเป็นผล   แม้กระทั่งการประชุมระดับโลกที่กรุงโคเปนเฮเกนเมื่อปลายปี 2552 ก็ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า
 
6. สรุป

จากที่ได้กล่าวมาแล้ว ภัยธรรมชาติเป็นผลมาจากปัญหาโลกร้อนซึ่งเป็นสาเหตุระดับโลกเพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่นได้ร่วมกันก่อขึ้นมา  เช่น ทิศทางการพัฒนาที่มุ่งแต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือจีดีพี โดยไม่คำนึงถึงสมดุลของระบบนิเวศน์  การสนใจแต่ภาคการส่งออกของกลุ่มทุนต่างชาติและนายทุนชาติส่วนน้อย ไม่สนใจปัญหาของประชาชนส่วนใหญ่ เป็นต้น

เมื่อสองภัยนี้มาประสาน คนส่วนใหญ่ก็เดือดร้อนอย่างที่ทราบกันแล้วและจะยิ่งรุนแรงกว่าเดิม จนสักวันหนึ่งแม้รัฐบาลและระบบทุนเองก็จะประสบกับภัยพิบัติเช่นกัน

แต่คราวนี้อาจจะไม่ใช่ภัยธรรมชาติแล้วนะครับ แต่จะเป็น “ภัยสังคม” ในความหมายของจริงที่เราเริ่มเห็นลางๆ กันบ้างแล้วนั่นเอง. 

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เคยมีคนไปถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ว่า “ท่านคิดว่าสิ่งประดิษฐ์ใดของมนุษย์ที่มีอำนาจในการทำลายล้างมากที่สุด” ผู้ถามคงจะคาดหวังว่าไอน์สไตน์น่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์” เพราะเขามีส่วนเกี่ยวข้องในการประดิษฐ์คิดค้นอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย แต่ไอน์สไตน์กลับตอบว่า “สูตรดอกเบี้ยทบต้น”
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อกลางเดือนธันวาคม ปี 2552 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ในงานนี้ได้มีโอกาสฟังปาฐกถาจากประธานศูนย์ศึกษาประเทศภูฎาน คือท่าน Dasho Karma Ura
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ “รักเจ้าจึงปลูก” เป็นชื่อโครงการที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำลังครุ่นคิดเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ผมเองได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มา 2 ตอนแล้ว
ประสาท มีแต้ม
  1. คำนำ       ภาพที่เห็นคือบริเวณชายหาดชลาทัศน์ อ.เมือง จังหวัดสงขลา (ถ่ายเมื่อพฤศจิกายน 2552) หาดนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากของชาวเมืองสงขลา อยู่ทางตอนใต้ของหาดสมิหลาที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักดีประมาณหนึ่งกิโลเมตร สิ่งที่เห็นในภาพที่มีถุงทรายสีขาว ยางรถยนต์เก่ายึดด้วยไม้หลักปักทราย รวมทั้งรูปต้นสนล้ม คงสะท้อนทั้งความรุนแรงของปัญหาและความพยายามแก้ปัญหาของผู้ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม ในตอนที่ 1 ผมได้นำข้อมูลที่มาจากงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการที่พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นของประเทศไทย ทั้งระดับ ป.6 , ม.3 และมัธยมปลายมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งทุกวิชา โดยวิชาที่สอบได้คะแนนน้อยที่สุดคือวิชาคณิตศาสตร์ ได้เพียงร้อยละ 29.6 เท่านั้น ในตอนที่ 2 นี้ ผมจะกล่าวถึงปัญหาที่ได้ตั้งไว้ในชื่อบทความ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพการศึกษาเราตกต่ำ นอกจากนี้ ผมได้นำเสนอความคิดเห็นและความพยายามของผู้บริหารระดับสูงสุดของมหาวิทยาลัยด้วย
ประสาท มีแต้ม
๑. คำนำ ผมขอเรียนกับท่านผู้อ่าน “ประชาไท” ตามตรงว่า ผมใช้เวลานานมากในการคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี เขียนทิ้งเขียนขว้างไปหลายชิ้น ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเพราะว่าผมสับสนในตัวเอง ไม่ทราบว่าจะนำเสนออะไรดีให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง
ประสาท มีแต้ม
๑. ปัญหาในภาพเล็ก ที่ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่คือ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำลังคิดทำโครงการที่จะพัฒนานักศึกษานอกเหนือจากรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทำกันอยู่ตามปกติแล้ว โครงการยังไม่เป็นรูปเป็นร่างดีนัก แต่ชื่อโครงการก็ค่อนข้างจะเห็นตรงกันคือ “โครงการรักเจ้าจึงปลูก” ที่มาจากเนื้อเพลง “อิ่มอุ่น” ของ ศุ บุญเลี้ยง
ประสาท มีแต้ม
ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวิชาบังคับให้นักศึกษาต้องเรียนอยู่วิชาหนึ่งจำนวน 3 หน่วยกิต ชื่อว่า “วิชาวิทยาเขตสีเขียว (greening the campus)” วัตถุประสงค์หลักของวิชานี้ก็คือ ให้นักศึกษาลุกขึ้นมาศึกษาปัญหาส่วนรวมหรือปัญหาสาธารณะที่อยู่ในวิทยาเขตของตนเอง แต่โดยมากมักจะเน้นไปที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาขวดน้ำพลาสติกที่มีมากอย่างไม่น่าเชื่อ ปัญหาการประหยัดพลังงาน และกระดาษ เป็นต้น
ประสาท มีแต้ม
ทั้ง ๆ ที่ประเทศเรากำลังประสบกับวิกฤติหลายด้าน ทั้งความขัดแย้งทางการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นต้น แต่สื่อกระแสหลักก็ให้ความสำคัญกับข่าวความขัดแย้งในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมทั้งความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาลโดยไม่มีอะไรใหม่สร้างสรรค์ให้กับสังคม
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่กระแสสังคมส่งสัญญาณไม่พอใจกับราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ลดการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนของ ดีเซล ลิตรละ 2 บาท
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำขณะนี้หลายท่านคงจะรู้สึกกังวลร่วมกันว่า ราคาน้ำมันกำลังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจนอาจถึงหรือสูงกว่าเมื่อกลางปี 2551 (ดูกราฟประกอบ-ต่ำสุดเดือนธันวาคม 2551 ที่ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จนมาถึงเกือบ 80 ในเดือนสิงหาคมปีนี้)   ซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาสู่เรามากน้อยแค่ไหนก็คงพอจะนึกกันออก
ประสาท มีแต้ม
ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อ"ชี้แจงแสดงความคิดเห็น" เรื่อง ค่าการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อ 1 กรกฎาคม 52 คนนอกที่นอกจากผมแล้วก็มีอีก 6 -7 ท่าน ได้แก่ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนบริษัทบางจาก, บริษัท ปตท. นายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันแห่งประเทศไทย, คุณรสนา โตสิตระกูล และนักวิชาการปิโตรเลียม เป็นต้น