Skip to main content

๑ คำนำ: วิธีการศึกษา-วิธีการเคลื่อนไหว

picture1

ภาพถ่ายข้างบนนี้มาจากภาพยนตร์สารคดีด้านสิ่งแวดล้อม เรื่อง “ความจริงที่ยอมรับได้ยาก (An Inconvenient Truth)” ที่เพิ่งได้รับรางวัลออสการ์ (Oscars award) ไปหลายรางวัลเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๐  

ในภาพมีเรือหลายลำวาง(เคยจอด)อยู่บนทรายที่มีลักษณะน่าจะเคยเป็นคลองมาก่อน   นอกจากจะสร้างความฉงนใจให้กับผู้ชมว่ามันเป็นไปได้อย่างไรแล้ว    ยังมีประโยคเด็ดที่ได้รับการอ้างถึงอยู่บ่อย ๆ ของกวีชาวอเมริกัน [1] มีความหมายเป็นไทยว่า

“เป็นการยากที่จะทำให้ใครสักคนหนึ่งเข้าใจบางสิ่งบางอย่าง ในเมื่อผลประโยชน์ของเขาขึ้นอยู่กับความไม่เข้าใจในสิ่งนั้นของเขาเอง”

ในปี ๒๕๔๙  มูลค่าการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศไทยสูงถึง ๑.๔๘๘ ล้านล้านบาท [2] เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง ๑๗ %  คิดเป็นประมาณ ๑๙ % ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ (จีดีพี)

นั่นคือ ทุกๆ ๑๐๐ บาทของรายได้ เราจ่ายเป็นค่าเชื้อเพลิงถึง ๑๙ บาท ซึ่งถือว่าเป็นหมวดค่าใช้จ่ายที่สูงมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในหมวดอื่น ๆ อีกหลายหมวด เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย การศึกษา ยารักษาโรค เป็นต้น

และสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว เช่นสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เป็นต้น

ปัญหาพลังงานไม่ได้อยู่ที่ค่าใช้จ่ายที่สูงมากเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัญหาสิ่งแวดล้อม (ซึ่งส่วนหนึ่งอยู่ในรูปถ่ายที่นำเสนอมาแล้ว) ที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกขณะ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความขัดแย้งทั้งในระดับชุมชนรอบๆ โรงไฟฟ้า จนถึงการก่อสงครามระหว่างประเทศและภูมิภาคอีกด้วย

นี่ก็เป็นความจริงหนึ่งที่ประเทศผู้ก่อสงครามแกล้งทำเป็นไม่เข้าใจ เหมือนกับที่ท่านนักประพันธ์ดังกล่าวถึง

เรื่องนโยบายสาธารณะ [3] ด้านพลังงานของประเทศไทย และอีกหลายประเทศทั่วโลก  ไม่เพียงแต่เป็น “ความจริงที่ยอมรับได้ยาก” เท่านั้น   แต่ยังมีคนกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับผลประโยชน์จากนโยบายสาธารณะด้านพลังงานคอยกีดกัน ด้วยวิธีการต่างๆนานาไม่ให้สาธารณะชนได้รับทราบความจริงอีกต่างหาก

อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์  ได้วิจารณ์นโยบายพลังงานของรัฐบาลต่างๆ ว่า
“. . . ทำให้พลังงานเป็นเรื่องเทคนิคที่คนทั่วไปถูกรอนความสามารถที่จะเข้าไปได้   แม้แต่นักการเมืองซึ่งอาสาเข้ามาบริหารประเทศ ก็เห็นเรื่องพลังงานเป็นเพียงประเด็นง่ายๆ เพียงขอให้มีพอสำหรับป้อนความต้องการของประชาชนก็เพียงพอแล้ว  ไม่ใช่เรื่องที่ตัวแทนของประชาชนจะเข้าไปตรวจสอบ และวางนโยบายทางเลือกที่มีประโยชน์ในระยะยาวแก่ส่วนรวม . . .” [4]

ความตั้งใจและความมุ่งมั่นของผมในการศึกษาเรื่องนี้จึงมี ๒ อย่างครับ คือ

หนึ่ง การค้นหาความจริงเหล่านี้ ทั้งจากเอกสาร ตัวบุคคลและองค์กร ที่ผมได้มีโอกาสสัมพันธ์ด้วย ทั้งระดับประเทศและระดับโลก แล้วนำมาทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจของผู้อ่านทั่วไปที่มีระดับความสนใจแตกต่างกัน อย่าลืมนะครับว่า “ความไม่เข้าใจเรื่องนโยบายพลังงาน” ของเราเป็นที่มาของผลประโยชน์อันมหาศาลของนักการเมือง

สอง ผมจะพยายามนำเสนอ “กระบวนการ” หรือขั้นตอนในการสร้างนโยบายสาธารณะของประเทศต่างๆ มาให้คนทำงานภาคประชาชนได้รับทราบแล้วร่วมกันเคลื่อนไหวผลักดันให้ขึ้นสู่ระดับนโยบาย เพราะผมมีความเชื่อว่า ไม่ว่านโยบายใดก็ตามย่อมมีขั้นตอน มีเหตุมีปัจจัยในการเกิดขึ้นเสมอ ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะ “เสก” ขึ้นมาเองได้   ดังนั้นถ้าผมสามารถสืบค้นหากระบวนการได้ ผมจะนำมาเล่าสู่กันฟังในที่นี้   ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็นแนวทางให้กับกลุ่มประชาสังคม กลุ่มพลเมือง ตลอดจนองค์กรต่างๆ

สิ่งที่ผมอยากจะเรียนในที่นี้ก็คือว่า ไม่ว่าเราในฐานะปัจเจกหรือในฐานะองค์กรใดก็ตาม ต่างก็ได้รับผลกระทบจากนโยบายสาธารณะด้านพลังงานเสมอ และขนาดของผลกระทบมีมากกว่าที่เราเคยรับรู้มาแล้ว

การทำงานภาคประชาสังคมไม่อำนาจในการสั่งการ  งบประมาณก็มีไม่มากนัก  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้หลักการทำงานมีประสิทธิภาพเพื่อให้สาธารณะเกิดความรู้ความเข้าใจในความจริงใหม่โดยเร็ว

นักสังคมศาสตร์ท่านหนึ่งได้แนะนำไว้ในหนังสือที่ชื่อว่า “The Tipping Point” [5] ซึ่งขยายความว่า “สิ่งเล็กๆ สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ ๆ ได้อย่างไร”  

ท่านแนะว่าการเผยแพร่ความรู้ให้มีประสิทธิภาพจะต้องประกอบด้วยคนสามฝ่าย คือ

ส่วนที่หนึ่ง ต้องมีผู้รู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เราเรียกคนพวกนี้ว่า “Maven” หรือเป็นนายธนาคารข้อมูล ส่วนที่สอง ต้องมีผู้ประสานงาน (connector) ทำหน้าที่เป็น “กาวทางสังคม” และส่วนที่สาม ต้องมีนักขาย (salesman) ที่มีทักษะในการโน้มน้าวให้คนเข้าใจ ให้คนเชื่อ   ความสัมพันธ์ของคนสามฝ่ายนี้แสดงได้ดังแผนผังข้างล่างนี้

picture2

๒. ศึกษาไปเผยแพร่ไป

การศึกษาชิ้นนี้อยู่ภายใต้โครงการที่ชื่อว่า “นโยบายสาธารณะการจัดการความรู้ด้านพลังงาน”   โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข ภาคใต้ ม.อ. โดยมีระยะเวลาศึกษาประมาณหนึ่งปี

ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่ความรู้ ความคิด ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ประกอบกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร  ผมจึงใช้วิธี “ศึกษาไป เผยแพร่ไป” ทั้งในรูปบทความลงหนังสือพิมพ์ เว็บไซต์และในรูปแบบการบรรยายตามเวทีวิชาการต่างๆ การไฮปาร์ค “ยิกทักษิณ” ออกรายการวิทยุ  รวมถึงการใช้สอนนักศึกษาในวิชา “วิทยาเขตสีเขียว” ตามหลักสูตรของคณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สถาบันที่ผมสังกัดด้วย   เนื่องจากการเผยแพร่ในลักษณะดังกล่าวต้องมีเนื้อหาที่สามารถเข้าใจได้ในตอนเดียว   ดังนั้น เมื่อนำมารวมเป็นผลงานจึงมีบางเนื้อหาที่อาจจะซ้ำหรือคาบเกี่ยวกันอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความสบายใจของผู้อ่าน ผมจะพยายามตัดส่วนที่ไม่จำเป็นทิ้งออกไปเท่าที่จะทำได้ 

๓. องค์ประกอบเนื้อหา

เนื้อหาประกอบด้วย ๒ ส่วนหลัก คือ ส่วนที่เป็นนโยบายและกระบวนการผลักดันเคลื่อนไหวโดยมี “นโยบายสาธารณะ” เป็นเข็มมุ่ง และส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระเรื่องพลังงานโดยตรง   ในแต่ละบทมักจะมีเนื้อหาทั้งสองส่วนปนกันไป (ถ้าทำได้)

ในส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระของพลังงานโดยตรง ผมจะเริ่มต้นจาก กลไกการควบคุมระบบพลังงานของโลก เชื่อมโยงให้เห็นการผลักดัน “นโยบายพลังงาน” ที่เริ่มต้นจากกลุ่มพ่อค้าน้ำมันระดับโลก ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสงครามกับน้ำมัน รวมทั้งกลไกราคาที่เพิ่มสูงขึ้นจากการพยายามก่อสงครามของประเทศมหาอำนาจ

ด้วยเหตุผลที่ว่า การศึกษาชิ้นนี้มีลักษณะ “ศึกษาไป เผยแพร่ไป” ผมจึงขออนุญาตทำความเข้าใจกับชนิดของพลังงานสักนิดก่อน

น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่เกิดจากการย่อยสลายของซากพืช ซากสัตว์นับเป็นล้านล้านปี เราเรียกรวมๆ ว่า เป็นพลังงานฟอสซิล

ลักษณะสำคัญของพลังงานฟอสซิล คือ ใช้แล้วหมดไป หมดแล้วหมดเลย เกิดใหม่ไม่ได้ ขณะเดียวกันราคาก็เพิ่มสูงขึ้นทุกวันและถูกกำหนดโดยกลุ่มพ่อค้าผูกขาด  พลังงานพวกนี้แหละที่ก่อมลพิษทั้งต่อชุมชนใกล้ๆและต่อระดับโลก ที่หนังสารคดี “An Inconvenient Truth” กำลังรณรงค์กันอยู่

พลังงานอีกประเภทหนึ่ง  เรียกรวมๆ ว่า “พลังงานหมุนเวียน (renewable energy)” ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์  ลม  พืชน้ำมันบางชนิด ไม้ฟืนผลิตไฟฟ้า  ของเสียจากครัวเรือนโรงงาน และการเกษตร เป็นต้น

พลังงานหมุนเวียนมีลักษณะตรงกันข้ามกับพลังงานฟอสซิล  ที่สำคัญ คือนอกจากไม่มีวันหมดและไม่ก่อมลพิษแล้ว  ยังผูกขาดได้ยาก  ตรงนี้แหละที่กลุ่มพ่อค้าพลังงานและนักการเมืองพยายามกีดกันไม่ให้ใช้  ไม่ให้ประชาชนรู้จักตลอดมา

สำหรับประเด็นอื่นๆ จะครอบคลุมเนื้อหาครบถ้วนตามที่ได้เกริ่นนำมาแล้ว ทั้งเรื่องการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักพัฒนาเอกชนระดับโลก ระดับประเทศไทย ประเด็นอิทธิพลของนายธนาคารระดับโลก 

การผลักดันเสนอกฎหมายที่ผมถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นหลักประกันให้ “นโยบายสาธารณะ” ที่เราร่วมกันผลักดันจนได้มาแล้ว (สมมุตินะครับสมมุติ) มีความมั่นคงขึ้น

สำหรับภาพรวมของปัญหาพลังงานในประเทศไทยนอกจากจะมีเนื้อหาตามปกติทั่วไปแล้ว ก็ยังมีเรื่องการแปรรูป ปตท. และ กฟผ. รวมอยู่ด้วย

ในการศึกษาครั้งนี้  ผมได้รับความช่วยเหลือด้านเงินทุนจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข ภาคใต้  ม.อ. (สวรส.)  นอกจากนี้ยังได้รับข้อมูลจากกลุ่มประชาสังคมต่างๆ อีกจำนวนมาก ที่ได้ร่วมกันประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน จึงขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

ขอบคุณมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ ที่ได้ให้การสนับสนุนในการไปร่วมประชุมและสนับสนุนการจัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ “พลังยกกำลังสาม” เมื่อต้นปี ๒๕๔๙

----------

[1] ชื่อ  Upton Sinclair (1878-1968)  ข้อมูลเพิ่มเติมที่ค้นได้บอกว่า นอกจากเป็นกวีแล้วยังเป็นนักการเมืองสังคมนิยม(socialist politician)ด้วย
[2] สถานการณ์พลังงานในปี 2549 และแนวโน้มปี 2550  กระทรวงพลังงาน
[3] นโยบายสาธารณะ (public policy) หมายถึง แนวทางกิจกรรม/การกระทำ/การเลือกตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้ทำการตัดสินใจและกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรม/การกระทำต่างๆ เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ โดยมรการวางแผน การจัดทำโครงการ วิธีการบริหารหรือกระบวนการดำเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และความต้องการของประชาชน/ผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง (ที่มา ค้นจากวิกีพีเดีย)
[4] คำนำ ในหนังสือ “พลังยกกำลังสาม”: พลังใจ พลังพลเมือง สร้างนโยบายพลังงาน โดย ประสาท มีแต้ม, สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน 2549
[5] http://en.wikipedia.org/wiki/The_Tipping_Point_(book) เขียนโดย Malcolm Gladwell

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
    “คดีโลกร้อน” เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย  ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
ประสาท มีแต้ม
    ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท…
ประสาท มีแต้ม
    คำนำ เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า “ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง “ความเหลื่อมล้ำ” …
ประสาท มีแต้ม
  “...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”   “ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”  
ประสาท มีแต้ม
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์  ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า 1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
ประสาท มีแต้ม
    คำว่า “ไฟต์บังคับ” เป็นภาษาในวงการมวย  หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้
ประสาท มีแต้ม
  ๑.  คำนำ บทความนี้ประกอบด้วย 6 หัวข้อย่อย ท่านสามารถอ่านหัวข้อที่ 6 ก่อนก็ได้เลย เพราะเป็นนิทานที่สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาได้ดี เรื่อง “โรงเรียนสัตว์”   ถ้าท่านรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของนิทานดังกล่าว (ซึ่งทั้งแสบ ทั้งคัน) จึงค่อยกลับมาอ่านหัวข้อที่ 2  จนจบ หากท่านไม่เกิดความรู้สึกดังกล่าว  ก็โปรดโยนทิ้งไปได้เลย ๒. ปัญหาของการศึกษากระแสหลักคืออะไร
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ชื่อบทความนี้อาจจะทำให้บางท่านรู้สึกว่าเป็นการทอนพลังของการปฏิรูป ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ผมขอเรียนว่า ไม่ใช่การทอนพลังครับ แต่เป็นการทำให้การปฏิรูปมีประเด็นที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ง่าย รวดเร็ว  เมื่อเทียบกับการปฏิรูปมหาวิทยาลัย ปฏิรูปการศึกษาที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ผมได้ตรวจสอบประเด็นของการปฏิรูปของคณะกรรมการชุดที่คุณหมอประเวศ วะสี เป็นประธานแล้วพบว่า ไม่มีประเด็นเรื่องนโยบายพลังงานเลย บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นว่า (1) ทำไมจะต้องปฏิรูปนโยบายพลังงานในทันที  (2) จะปฏิรูปไปสู่อะไร และ (3) ทำอย่างไร เริ่มต้นที่ไหนก่อน  …
ประสาท มีแต้ม
“ในการเดินทาง เรามักใช้ยานพาหนะช่วย   แต่ในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical) เราใช้อะไรเป็นเครื่องมือหรือเป็นพาหนะ”
ประสาท มีแต้ม
“คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้”   1.    คำนำ ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  
ประสาท มีแต้ม
1.    คำนำ เราคงยอมรับร่วมกันแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในระดับความคิด ความเชื่อทางการเมือง และวัฒนธรรมซึ่งนักสังคมศาสตร์จัดว่าเป็นโครงสร้างส่วนบน และความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่รวมศูนย์ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม  ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทั้งสองระดับนี้กำลังวิกฤติสุด ๆ จนอาจพลิกผันนำสังคมไทยไปสู่หายนะได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นปกหน้าและหลังของเอกสารขนาดกระดาษ A4 ที่หนาเพียง 16 หน้า แม้ว่าหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงที่ปรากฏ แต่ผมเชื่อว่าแววตาและท่าทางของเจ้าหนูน้อยในภาพคงทำให้ท่านรู้สึกได้ว่าเธอทึ่งและมีความหวัง บรรณาธิการกรุณาอย่าทำให้ภาพเล็กลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะจะทำให้เราเห็นแววตาของเธอไม่สดใสเท่าที่ควร เอกสารนี้จัดทำโดย “สภาเพื่ออนาคตโลก” หรือ World Future Council (WFC) ค้นหาได้จาก www.worldfuturecouncil.org