Skip to main content

 

กฎหมายป้องกันการผูกขาด และผังเมือง มีครับ

แต่คงรู้ว่าทำไม มันไม่มีการบังคับใช้

โชว์ห่วยประเทศอื่นมี ต้นทางทุนนิยมอย่าง ยุโรปเพียบบบบบบบบบ

ยิ่งร้านอาหารของ ผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อย นี่มีกฎหมายคุ้มครองเลย ดูที่คนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นสิครับ ใครไปกินร้านแฟรนไชส์ นี่ได้อาย

ไม่เข้าใจว่า ทำไม คนทำให้เกิด "มายาคติ" ในประเทศไทยได้เยอะขนาดนี้ครับ ว่า ทุนนิยม คือ การบดขยี้ ช่างฝีมือ/ธุรกิจ รายย่อย

ประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง มาจาก ประชากรที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่ลูกจ้าง/ผู้ถือหุ้นของบรรษัทกันครึ่งประเทศ ครับ

โชว์ห่วย กระจอกทำไม่ดี ก็ไปสนับสนุนให้พัฒนา ที่มันสู้ไม่ได้ เพราะถูกผูกขาดระบบ การกระจายสินค้า และการเชื่อมกับผู้ผลิต

เมื่อ 10 ปีก่อน มี รมช.พาณิชย์ เอาตังค์ไป ห้าร้อยล้าน จะทำโครงการพัฒนาโชว์ห่วย ก็เงียบหายไปแล้ว

สรุป เรื่องนี้พูดยากเพราะคนซื้อหุ้น CP All เยอะ CP โดยการโยนหุ้นให้คนเข้ามาช่วยปกป้องน่ะครับ

 

ส่วน โชว์ห่วย นี่ หลายรายก็ไม่ได้ตาย เพราะ ห่วย นะครับ โดนบีบ แต่เจ้าที่เหลือและทำดี ก็โดนทุบๆเรื่อยๆ ล่ะครับ ที่เหลือส่วนใหญ่จะอยู่ จังหวัดใกล้ชายแดน

 

ผมพูดเรื่อง สะดวกซื้อที่เคยให้สัญญาว่า "จะไม่แย่งอาชีพชาวบ้าน" น่ะครับ

ส่วนความ "อร่อย" เป็น รสนิยม ซึ่ง "สร้างได้" กินบ่อยๆ เดี๋ยวก็กินได้กลายเป็น อร่อยไปเอง ไหนจะการโฆษณาอีก ถึงได้มี Food Science กับ Mass Com เป็น คณะวิชา ไงครับ

ยิ่งให้กินซ้ำๆ ทำจนชิน มันจะกลายเป็น "ชอบ" ความโหดมันอยู่ตรงนี้

ส่วนเรื่องโชว์ห่วย ผมเห็นประเทศอื่นมีหลายยี่ห้อ และสัดส่วนทางการตลาดไม่ได้มีอิทธิพลเหนือตลาดขนาดไทยหรอกครับ (ไม่ผูกขาดแนวราบ)

และเขาห้ามผูกขาดแนวดิ่ง (ผลิต ขาย ขนส่ง ทำสื่อ) ไม่ได้แน่ๆ แต่ประเทศนี้ ดันทำครบทั้งหมด ถึงได้รวยขนาดนี้ มีอำนาจขนาดนี้

แล้วอยากรู้จริงๆ ใครเติมเงินรถถัง กับ จ่ายทุกพรรค เนี่ยะ

เศรษฐกิจ/การเมือง แยกกันไม่ได้นะครับ

เศรษฐศาสตร์ จึงต้องเป็น "เศรษฐศาสตร์การเมือง"

จบ. ไปซื้อหุ้น CP All กันอีก

 

ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวครับ เขาศึกษาแบบมันสัมพันธ์กัน ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ครับ

ถ้าศึกษาแยก ก็คือ พยายามไม่เอามาคิด เพราะจะรู้สึกผิดในเชิงศีลธรรม เสียมากกว่า แบบทำสงครามเพราะเศรษฐกิจ แต่บอกว่าทำเพื่อชาติไงครับ

ผมเป็น คนสนใจมากครับ ไม่ได้พูดลอยๆ ทำวิจัยมาเป็นทศวรรษ และ

โชว์ห่วย ที่ได้เป็นมิตร ก็เฉพาะแห่งแรกๆในจังหวัด ที่เหลือให้แค่ "ค่าประกอบการ" ห้องแถวละ 15,000 ต่อเดือน ครับ (ค่าเช่าต่อเดือนยังแพงกว่าเลยครับ)

เซเว่น ที่คนท้องถิ่นเป็นเจ้าของและได้ส่วนแบ่งกำไรมีน้อยมากกกกก

แต่ที่เขาไม่มาพูดกัน เพราะเจอ ข้อสัญญาปิดปาก ครับ

ถึงบอกว่า เรื่องนี้ คนรู้ก็รู้ คนไม่รู้ก็ไม่รู้ เพราะคนรู้ส่วนใหญ่ไม่กล้าพูด หรือโดนบังคับไม่ให้พูด ครับ

พ่อค้าคนกลาง ดีๆมีครับ และ คำว่า "ผูกขาด" ใครทำเข้าลักษณะก็ต้องบอกว่าผูกขาดครับ

คนที่เขาสั่งฆ่าคน ยังไม่อยากให้ใครเรียกตัวเองว่า "ฆาตกร" เลยครับ

 

ถ้าวิเคราะห์เรื่อง "สาธารณะ" กับคนอื่นๆ ควรใช้กรอบวิเคราะห์ ที่ยอมรับกันเป็น "สาธารณะ" ครับ 

ส่วน "ความเห็นส่วนตัว" นั่นอีกเรื่องน่ะครับ

แนะนำนะครับ ไม่งั้น จะมีความคลาดเคลื่อน

ผูกขาดน้อยราย ก็เรียกว่า ผูกขาด ทั้งในทาง เศรษฐศาสตร์ และกฎหมาย ครับ

ความได้เปรียบเชิงขนาดนี่เป็นศัพท์บริหารธุรกิจ และพวกเอาศาสตร์ทาง วิศวะ มาปรับใช้เชิงยุทธศาสตร์ธุรกิจนะครับ เขาเรียกพวกลูกครึ่ง พันธุ์ทาง เอามาใช้ในการวิเคราะห์ นโยบายสาธารณะไม่ได้

สรุปง่ายๆ นะครับ CP All เก็บกำไรทั้งหมด ร้านนั้นขายได้เท่าไหร่ไม่เกี่ยวเจ้าของนะครับ แต่เค้ามีสัญญาห้ามเล่าความจริงให้คนภายนอก(คนมาซื้อของ) CP แบ่งค่าประกอบการ(คำสร้าง จริงๆ คือ ค่าเช่า)

คนที่ได้เป็นเจ้าของกิจการจริงๆ ในปัจจุบันมีน้อยมาก (เก็บไว้เพื่อทำโฆษณาว่า "โตไปด้วยกัน") และพื้นที่เสี่ยง

ปัจจุบัน CP เปิดเองแทบหมดแล้วครับ เจ้าของที่เข้าไปยุ่งอะไรในกิจการแทบไม่ได้เลย มีสัญญาแค่ว่าจะต้องให้ที่ CP ใช้กี่ปี

 

ส่วนคนที่เรียกให้มาทำวิจัย คือ สสส. เพราะบอกว่า ตัวเลขคนเป็นโรคจากการ "กิน" สูงปรี้ด ให้หาสาเหตุให้หน่อย

หาไปๆ เจอว่า มาจากอาหารอุตสาหกรรม น่ะครับ

และพอหาว่าทำไมเกษตรกรผลิตอาหารอันตราย คนกินกินแต่ของไม่ปลอดภัย ก็มาเจอคำตอบนี้ล่ะครับ

ใครไม่ค่อยกิน แต่ได้กำไรจากธุรกิจแบบนี้ ก็ วิน น่ะครับ 

ก็เป็นห่วงทุกคน โดยเฉพาะคนในเมือง และคนที่มีลูกหลาน เพราะมีโรคจากการกินที่มีผลต่อพฤติกรรมทาง............ เยอะด้วย

แล้วใครเป็นคนจ่ายค่ารักษาพยาบาล นั่นก็อีกเรื่องที่ต้องคิด

แต่บอกได้ว่า ธุรกิจยา โรงพยาบาลเอกชน ประกัน ก็โตไปในทิศทางเดียวกันด้วย

มันสัมพันธ์กันไปหมดครับ แยกเป็นส่วนๆ มันหาทางออกไม่เจอ

 

สร้างความมั่นคง ให้ทันกับ ความขัดแย้งในสังคมที่เพิ่มขึ้น  - ความมั่นคงทางทหารมาหนุนอุตสาหกรรม ฆ่าตัวเล็ก   หรือความมั่นคงของมนุษย์เพื่อพัฒนาสังคม

วิธีรอดที่บอกมา คือ ความล้มเหลวของรัฐบาลไทยนะครับ ...ประวัติศาสตร์พิสูจน์อยู่แล้ว

ส่วนถ้าไม่พูดด้วยกรอบวิเคราะห์สาธารณะ นี่ ผมคงไม่ต้องถกเถียงด้วยนะครับ
ถือว่า ท่านพูดคนเดียว แต่เคารพความคิดเห็น

และขอบคุณที่นำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนครับ เป็นประโยชน์ในการหา กรณีศึกษา เพิ่มเติม มาประกอบการวิจัยมากครับ ขอบคุณครับ

รบกวนถามสักนิดครับ ที่ญี่ปุ่นนี่ เคยอยู่เมืองอะไรครับ

เพราะผมไปเมื่อสามเดือนก่อน เกียวโต กับ โอซาก้า ยังเห็นมีร้านโชว์ห่วยอยู่นะครับ ส่วนร้านยี่ห้อ ก็ตรงตามที่ท่านว่าครับ มีเยอะ แต่ก็มีหลาย แบรนด์

 

ป่าวๆ หมายถึง ถ้าพูดประเด็นร่วมกันน่ะครับ เพราะบางทีมันจะทำให้เข้าใจผิดกันได้ครับ

เวลาวิพากษ์สังคม กับคนมากกว่าหนึ่ง มันต้องให้ชัดก่อน ว่ายืนอยู่บนกรอบไหน ถ้าคิดกรอบเอง คนอื่นมันจะต้องทำสองทาง คือ ถล่มกรอบนั้น หรือ ปล่อยเขาไป

แล้วก็ไปวัดกันในอนาคตว่า ใครถูกกว่ากัน หรือ มีคนเห็นด้วยมากกว่ากัน มันถึงได้คลี่คลายมาเป็นประชาธิปไตย คือ ความเห็นทุกคนมีความหมาย แต่ถ้าคิดต่างกัน ให้วัดที่ "จำนวน" ไงครับ

เกียวโต กับ โอซาก้า โครงสร้างเศรษฐกิจเป็นอีกแบบนะ สงสัยคนละฟาก กับ คนแก่เยอะ ฟากนี้

อย่างที่บอก ได้เข้ามาทำงานนี้ เพราะ ตัวเลขคนเป็นโรคเพราะการกิน สูงปรี้ดดดด

วิธีการผลิตแบบอุตสาหกรรมมันบี้ให้ต้องผลิตอาหารแบบไม่ต้องคำนึง "สุขภาพคนกิน"

สิ่งที่ต้องห่วงอย่างเดียว คือ "Margin"

คนเสียภาษีเลยต้องมาแบกค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข

ส่วนที่พบอีกอย่าง คือ 
โชว์ห่วยที่เจ๊ง หาที่พึ่งโดยการกระโดดไปเกาะขบวนการของ "เสื้อเหลือง"

เกษตรกรที่เจ๊ง ก็ต้องพึ่งนโยบายจัดการหนี้สิน แนวที่ท่านเรียกกันว่า "ประชานิยม"

เพราะไม่มีใครแก้ปัญหาตรงกลาง มีแต่มาแก้ปลายเหตุน่ะครับ เราเลยต้องอยู่กับ ความขัดแย้งต่อเนื่องยาวนาน ถ้าไม่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

ส่วนใครบอกว่าต้องมีสงครามถึงจะเปลี่ยนได้นี่ ผมเป็นห่วงคนที่มีครอบครัว และอยู่ในเมืองนะครับ เพราะมันเป็นพื้นที่ของสงคราม และการชุมนุมทางการเมือง ทั้งปวง

 

ส่วนเกษตรพันธสัญญา นี่คือ วิธีการ "ผลักความเสี่ยง" อย่าเรียกว่าให้ความรู้เกษตรกร หรือ หาอาชีพมาให้ เลยครับ

ส่วนให้เงินกู้ นี่อย่าเรียกว่าให้ชาวบ้านเข้าถึงทุนเลยครับ หวังให้เค้าเจ๊ง แล้วขายที่ดินทอดตลาด แล้วโดนไล่ซื้อที่ดินมากกว่า

ดูสัดส่วน การกระจุกตัวของที่ดิน(ใครเป็นผู้ครอบครองรายใหญ่) กับ กำไรบรรษัท/หนี้สินเกษตรกร ก็ชัดแล้ว

แล้วเกษตรกรเข้ามาทำไม ก็ นายหน้าบริษัท มาพร้อมเจ้าหน้าที่รัฐด้านเกษตร สถาบันการเงิน พร้อมรับประกันรายได้ชัดเจน แต่พอเจ๊ง ตัวใครตัวมัน รัฐบาลถึงได้ต้องมา "ปลดหนี้" เป็นพักๆ เพราะรู้ว่าใครทำให้เกษตรกรเจ๊ง ไงครับ ไม่ได้เจ๊งเอง

 

คือ ความจริง มันเป็นเรื่อง "หลอก" อ่ะนะ

ที่คิดว่า คุยกันต่อไปม่ได้ เพราะ ผมไม่ยอมรับเรื่อง สงคราม กับ การปล่อยไปตาม ยถากรรม

วิธีคิดแบบนี้ มันนำ ญี่ปุ่น และ ยุโรป เข้าสู่สงคราม และเขาไม่กล้าพูดกันในที่สาธารณะแล้ว

คนที่สมาทานสายนี้ ไปทำงานภาคธุรกิจหมดแล้ว และโดนควบคุมโดยสังคมผ่าน รัฐสภา ศาล และภาคประชาชน

บังเอิญว่าประเทศไทยนี่ เป็น รัฐทุนนิยมชายขอบ เพิ่งได้เจอกับเรื่องนี้

แต่ภาคประชาชน การเมือง และระบบราชการ ยังไล่ไม่ทัน

มันก็ไม่สมดุลย์

ผลก็คือ มีความขัดแย้งต่อเนื่อง อย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้นะครับ

 

ที่บอกว่า "ต้องเพิ่มความมั่นคง" สงสัยเพิ่มความมั่นคงให้รัฐ/กองทัพ มากด เกษตรกร กับ พวกค้าขายรายย่อย ไว้ ไม่งั้นลุกฮือแน่ๆ

ซึ่งก็ชัดว่าใคร "เติมเงิน" ให้รถถัง กับ ทุกพรรค เพื่อคงอำนาจไว้

ทุกวันนี้ก็มาช่วยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งใหญ่โต เพราะกลียุคขึ้นมา คนมีครอบครัวอยู่ในเมือง น่าจะอันตรายที่สุด

เพราะ รัก จึ่งมาเป็นหนังหน้าไฟ

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว