Skip to main content

เกษตรกรรมถือเป็นวิถีการผลิตที่อยู่ควบคู่กับชีวิตคนไทยจำนวนไม่น้อยมาเป็นเวลานาน   แต่ในปัจจุบันนี้การผลิตในวิถีทางเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คนในสังคมไทยมิได้ตระหนักรู้    ความคิดและจินตนาการเดิมเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่มีทุ่งนาสีเขียว ชาวนารวมตัวกันลงแขกเกี่ยวข้าว หรือทำการผลิตอย่างหลากหลายในพื้นที่เล็กๆของตนได้เปลี่ยนไปแล้ว

            จากการลงพื้นที่ทำการวิจัยภาคสนามเกี่ยวกับ “เกษตรพันธะสัญญา” เพื่อในนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของเกษตรกร พบว่า   ชีวิตของเกษตรกรจำนวนมากได้เข้าไปข้องเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมแบบพันธะสัญญา   กล่าวคือ   ทำการเกษตรที่ผูกพัน พึ่งพิง หรือแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น พาณิชย์เกษตร หรืออุตสาหกรรมเกษตร   ในรูปแบบของโรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร   ร้านขายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร   การปล่อยสินเชื่อหลากหลายชนิดให้เกษตรกร   หรือแม้กระทั่งการสร้างเครือข่ายนายหน้าธุรกิจเกษตรกับตัวเกษตรกร ในหลายพื้นที่   ข้อสังเกตที่สำคัญอีกประการ คือ เกษตรพันธะสัญญาได้ครอบคลุมไปยังหลากหลายชนิดผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น สัตว์บก สัตว์น้ำ หรือพืชผลไร่ พืชสวน รวมถึงข้าว

            อย่างที่เราทราบกันดีว่า คุณภาพชีวิตของคน ขึ้นอยู่กับคุณภาพอาหาร และผู้ที่ผลิตอาหารให้เรารับประทานก็คือภาคการเกษตร ซึ่งขอย้ำอีกครั้งว่าได้เปลี่ยนไปแล้ว   จากเดิมเส้นทางของอาหารที่เข้าปากเราอยู่ที่เกษตรกรซึ่งอยู่ในท้องถิ่นใกล้เคียงกับถิ่นที่อยู่ของเรา   ปัจจุบันอาหารมาจากสายการผลิตขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่เป็นผู้วางแผนควบคุมการผลิต ผ่าน “พันธะสัญญา” ที่มีกับเกษตรกร แล้วลำเลียงเข้าสู่สายพานการผลิตของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร   ก่อนที่จะมาวางในห้างร้านตลาด หรือเข้าสู่ห้องครัวของร้านอาหารที่เราไปนั่งกินกันเป็นประจำ   ภาพที่สะท้อนออกมาคือ ธุรกิจการเกษตรได้ผูกขาดชีวิตเกษตรกรในชนบท และชีวิตผู้บริโภคในเมือง ไว้อยู่หมัดแล้ว   (เว้นเพียงเครือข่ายผู้บริโภคและเกษตรกรรมทางเลือก ที่พูดกันจริงๆ ก็คือ คนส่วนน้อยมากๆในสังคม)

วิธีการ   “ผูกขาดชีวิต”   ประกอบด้วยแนวทางสำคัญอยู่ 5 ประการดังต่อไปนี้

  1. ผูกขาดการถือครองปัจจัยการผลิต       การผลิตทางการเกษตรจำเป็นต้องมีปัจจัยการผลิตต่างๆเข้ามาเป็นฐานเพื่อทำการผลิต อาทิ   ที่ดิน เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ตัวอ่อน อาหาร หรือทรัพยากรต่างๆที่เข้ามาเกื้อหนุนให้มีการเพาะปลูกหรือปศุสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิผล   ดังนั้นธุรกิจการเกษตรจึงต้องสร้างข้อผูกพันกับเกษตรกรว่า   ปัจจัยการผลิตทั้งหลายจะมีธุรกิจการเกษตรจัดหาให้เกษตรกร   ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทำกิน หากไม่มีก็ให้เงินไปเช่า หรือให้เช่า การให้สินเชื่อเมล็ดพันธุ์ ตัวอ่อน อาหาร หรือปุ๋ยที่เกษตรกรทั้งหลายจะเข้าถึงได้ด้วยเงินและสินเชื่อ   ทั้งนี้การกำหนดราคาหรืออำนาจในการควบคุมปัจจัยการผลิตจึงเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณา อาทิ ที่ดินจะต้องมีการจัดสรรหรือปฏิรูปเพื่อทำกิน ไม่ปล่อยให้มีการถือครองที่ดินเพื่อเก็งกำไรโดยมิได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง       เมล็ดพันธุ์ ตัวอ่อน ปุ๋ย หรืออาหารสัตว์จะต้องไม่อยู่ภายใต้การผูกขาดของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอันจะมีผลต่อการบิดเบือนตลาดสินค้าเกษตรทำให้เกษตรกรต้องซื้อปัจจัยผลิตในราคาแพง และท้ายที่สุดจะทำให้อาหารที่มาจากสินค้าเกษตรต้องมีราคาแพงตามไปด้วย   การไม่ปฏิรูประบบถือครองสิทธิในปัจจัยการผลิตจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการผูกขาดชีวิตของเกษตรกร
  2. การผูกขาดสิทธิในทรัพยากรสาธารณะ การดำรงอยู่ของภาคการเกษตรจำเป็นต้องอาศัยฐานทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ คือ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   เนื่องจากปัจจัยในการผลิตทางการเกษตรล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยทางธรรมชาติ   เช่น   ดิน น้ำ  อากาศ  และความหลากหลายทางชีวภาพ   สัจธรรมในเรื่องนี้ธุรกิจการเกษตรจึงต้องสร้างแนวร่วมกับภาครัฐที่ดูแลเรื่องการใช้ประโยชน์ทรัพยากรต่างๆ ให้เหนือกว่าเกษตรกรทั้งหลายซึ่งเป็นประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นดังกล่าวเป็นระยะเวลานาน หากเปิดโอกาสให้ธุรกิจเกษตรเข้ามามีบทบาทก็จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเกษตรกรในระบบพันธะสัญญาเองในแง่ของการใช้ประโยชน์เพื่อผลิตในระบบเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว แต่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะในแง่ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทรัพยากรเหล่านั้นอันเป็นมรดกร่วมกันของคนทั้งชาติและลูกหลานของตนในอนาคต    นอกจากนี้ยังมีทรัพยากรสาธารณะอีกส่วนหนึ่งที่ต้องปิดโอกาสเกษตรกรให้ร่วมตัดสินใจเพื่อจัดสรรแบ่งปันน้อยลง   นั่นก็คือ   ทรัพยากรของรัฐ อันได้แก่ งบประมาณ กลไก บุคคลากรของภาครัฐและบริการสาธารณะ   ทรัพยากรสาธารณะเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่สำคัญให้แก่เกษตรกรผู้ด้อยโอกาสในการพัฒนาอันเนื่องมาจากการขาดอำนาจทางเศรษฐกิจและขาดอำนาจในการมีส่วนร่วมทางการเมือง   ดังนั้นการลดโอกาสเข้ามีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากรสาธารณะน้อยลง ก็ย่อมลดโอกาสให้เกษตรกรพัฒนาตนเองมากขึ้นนั่นเอง   ดังปรากฏการรวมตัวของเกษตรกรใต้พันธะสัญญาของธุรกิจเกษตรเป็นสมาคมต่างๆ แต่มิได้ทำงานเพื่อเกษตรกรรายย่อย   หรือการพยายามส่งคนเข้าไปนั่งในสภาเกษตรกรที่กำลังจะตั้ง
  3. การผลักภาระความเสี่ยงในกระบวนการเกษตรกรรมให้แก่เกษตรกร          การประกอบธุรกิจการเกษตรในปัจจุบัน บรรษัทการเกษตรทั้งหลายไม่รวมเอาการผลิตทุกขั้นตอนมาอยู่ที่ตนเอง แต่จะพยายามผลักขั้นตอนต่างๆที่มีความเสี่ยงหรือต้องลงทุนไปให้เกษตรกรแบกรับภาระเสีย ตั้งแต่ การลงทุนปรับปรุงพื้นที่ผลิต การมีโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้ได้มาตรฐาน หรือแม้กระทั่งราคาสินค้าที่ผันผวนตามราคาตลาดโลก   ดังนั้นความมั่งคงในชีวิตของเกษตรกรจึงอาจหายไปได้ด้วย 2 ทาง คือ  

1) การทำให้เกษตรกรไม่มีปัจจัยการดำรงชีพโดยตรง  ผ่านการสร้างระบบผูกขาดในการครอบครองผลผลิตที่ตนเองผลิตได้ เนื่องจากเกษตรกรจำเป็นต้องขายออกไปเพื่อแลกเงินทั้งหมด   นั่นก็คือ การทำลายอธิปไตยเหนืออาหาร   ให้เกษตรกรตกอยู่ภายใต้อำนาจการครอบงำของกลุ่มทุนที่ดึงดูดเอาผลผลิตทั้งหมดไปจากเกษตรกรอันเนื่องมาจากภาวะรุมเร้าทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นหนี้สิน ที่เกิดจากการกู้ยืมเพื่อนำไปซื้อเมล็ดพันธุ์ ตัวอ่อน ปุ๋ย อาหารสัตว์ หรือค่าเช่าปัจจัยการผลิตต่างๆ   รวมไปถึงการตกอยู่ภายใต้ระบบเกษตรพันธะสัญญาที่มีลักษณะผูกขาดขูดรีดอย่างไม่เป็นธรรม

2) การทำให้เกษตรกรไม่มีปัจจัยการดำรงชีพทางอ้อม  ผ่านการบิดเบือนระบบประกันรายได้จากการซื้อขายผลผลิตการเกษตรกร ด้วยมาตรการแทรกแซงของภาครัฐในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น   การประกันราคาสินค้า   การกำหนดปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรล่วงหน้า   การรับซื้อรับจำนำสินค้าในราคาที่เหมาะสม  ซึ่งธุรกิจการเกษตรทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นเข้าไปมีเอี่ยวด้วยทั้งสิ้น   และในบางกรณีหากเกษตรกรประสบภัยพิบัติธรรมชาติก็อาจมีมาตรการช่วยเหลือโดยตรงไม่ว่าจะเป็นการยกเว้นดอกเบี้ยหนี้สิน หรือจัดระบบการเงินเข้าไปอุดหนุนเกษตรกรที่ประสบปัญหา   แต่ไม่อยู่ในรูปแบบสหกรณ์ หรือสถาบันการเงินภาคประชาชน   กลายเป็นภาคธุรกิจเข้ามาแทน

  1. การทำลายวิถีการผลิตที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของตน การเกษตรเป็นวิถีชีวิตที่ต้องอาศัยการสืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษสู่   ไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญาทางการผลิต การเก็บรักษาพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์ของผู้คนในชุมชน   นโยบายหรือโครงการใดที่รัฐหรือเอกชนริเริ่มในระบบพันธะสัญญาจึงทำลายความสัมพันธ์เดิมของคนในชุมชน แต่เริ่มความสัมพันธ์ใหม่ระหว่าง ธุรกิจการเกษตร กับ เกษตรกรรายย่อย แทน  ดังที่รู้จักกันในนาม   “เกษตรกรรมไร้ญาติ”   เพราะต้องไปผูกญาติกับบรรษัทแทนในระบบอุปถัมภ์ใหม่ ความต่อเนื่องของวัฒนธรรมชุมชนอันจะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีของชุมชนและเกษตรกรจึงหายไป
  2. การผูกขาดข้อมูลข่าวสาร   ข้อมูลทั้งหมดได้ถูกเปลี่ยนมือจากเกษตรกรในวิถีเดิมไปสู่ธุรกิจการเกษตรที่นำเข้าเทคโนโลยีใหม่มาสู่ทุกพื้นที่การผลิต   การบิดเบือนปิดบังข้อมูล ต้นทุนและความเสี่ยงด้านต่างๆ อันทำให้เกษตรกรต้องก้มหน้ารับกรรมเมื่อล้มเหลว ก็ด้วยการขาดข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ว่า เกษตรกรรมที่เลือกทำ มันรวยจริงหรือไม่ หรือได้ 3 ปี ที่เหลือ “เจ๊ง”

ผู้บริโภคทั้งหลายจึงพึงตระหนักว่า   “ราคา” และ “คุณภาพ” ของอาหารตกอยู่ในการควบคุมของธุรกิจการเกษตรแล้วทั้งสิ้น   หากเราต้องการ ราคาและคุณภาพอาหารที่ดี   เราก็ไม่สามารถเรียกร้องเอาจากเกษตรกรแต่เพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป   แต่เราต้องแสวงหาแนวทางในการสื่อสารกับธุรกิจการเกษตรเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน ระหว่าง ผู้บริโภค กับ ธุรกิจการเกษตร   เนื่องจากธุรกิจเกษตรได้ผูกขาดชีวิตของเกษตรกร และผู้บริโภคในเมืองไว้เกือบหมดแล้ว

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว