Skip to main content

การจัดชุมนุมสาธารณะย่อมเป็นที่สนใจของสังคมตามความประสงค์ของผู้จัด จึงมีสื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำข่าวทั้งที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัดประจำหรือสื่อพลเมืองที่ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานข่าวตามภูมิทัศน์เทคโนโลยีสื่อสารที่ปรับตัวไป 

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้สังเกตการณ์ที่มาจากองค์กรที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเฝ้าระวังการกระทำผิดกฎหมายและการบันทึกพยานหลักฐานจากที่เกิดเหตุ

ยิ่งไปกว่านั้นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ อาสาสมัครกู้ภัย เจ้าหน้าที่ของรัฐและกระบวนการยุติธรรมก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการชุมนุม บทบาทหน้าที่และการคุ้มครองสิทธิเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของทุกฝ่ายจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาประกอบ

ท้ายที่สุดประชาชนและผู้ประกอบการทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมก็ได้รับการคุ้มครองสิทธิอันเนื่องมาจากการชุมนุมสาธารณะเช่นกัน
บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นถึงแนวทางการเข้าร่วมและดำเนินการตามมาตรฐานสากลที่ให้หลักประกันการมีส่วนร่วมของบุคคลเหล่านี้

 

1. ฝ่ายผู้สังเกตการณ์

1) สื่อมวลชน
สื่อมวลชน ย่อมได้รับการคุ้มครองจากรัฐตามมาตรฐานดูแลการชุมนุมระหว่างประเทศและมีสิทธิในการบันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการชุมนุมทั้งหมด ขณะเดียวกันสื่อมวลชนย่อมมีหน้าที่ใน การพยายามให้เสียงของผู้ชุมนุมเผยแพร่ออกมาสู่สาธารณะให้ได้รอบด้านมากที่สุด เพื่อให้เกิดดุลยภาพของข้อมูลข่าวสาร
2) องค์กรที่มีหน้าที่และอำนาจสังเกตการณ์
องค์กรอิสระหรือองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์การดำเนินงานในประเด็นเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จะต้องดำเนินการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองและฝ่ายบริหารอย่างจริงจัง ในเรื่องเกี่ยวกับการชุมนุม เช่น การติดตามสถานการณ์การชุมนุม เฝ้าระวังและจัดทำรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนของหน่วยงานรัฐที่อำนาจบังคับใช้กฎหมาย

สิ่งที่กระทำได้และควรกระทำ
- สื่อมวลชนมีสิทธิและหน้าที่นำเสนอข้อเท็จจริงและติดตามสถานการณ์การชุมนุม พยายามทำให้เสียงของผู้ชุมนุมได้รับการเผยแพร่ เพื่อให้เกิดดุลยภาพของข้อมูลข่าวสาร
- ต้องนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน ซึ่งก็ต้องทำไปพร้อมกับการสร้างความไว้วางใจระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับสื่อมวลชนด้วย
- การพยายามติดต่อประสานงานกับผู้สื่อข่าวจากสำนักอื่น ๆ เป็นเรื่องจำเป็น สำหรับการตรวจทานข้อมูลก่อนนำเสนอ
- สื่อและผู้สังเกตการณ์ ควรมีกองบรรณาธิการหรือการทำงานร่วมกันเพื่อเป็นการคัดกรองข้อมูล
- องค์กรอิสระที่มีอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์การดำเนินงานในประเด็นเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จะต้องดำเนินการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองและฝ่ายบริหารอย่างจริงจัง เช่น การติดตามสถานการณ์การชุมนุม เฝ้าระวังและจัดทำรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนของหน่วยงานรัฐที่อำนาจบังคับใช้กฎหมาย
- สื่อพลเมืองหรือผู้สังเกตการณ์ ควรต้องมีการแสดงสัญลักษณ์หรือแสดงชื่อองค์กรต้นสังกัด และเตรียมความพร้อมป้องกันเหตุอันตรายและคำนึงถึงสวัสดิภาพของตนเองเป็นสำคัญ หากไม่มีป้ายหรือสัญลักษณ์ควรแสดงตนว่าเป็นผู้สังเกตการณ์ให้แต่ละฝ่ายรับรู้
- องค์กรสื่อมวลชนต้นสังกัดต้องร่วมประเมินสถานการณ์เพื่อให้การสั่งการต่อผู้สื่อข่าวและช่างภาพในพื้นที่ได้รับความปลอดภัย รวมทั้งสนับสนุนและเน้นย้ำให้บุคคลากรในสังกัดได้รับและใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวอยู่ตลอดเวลา
- ผู้สื่อข่าวและช่างภาพที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ชุมนุมต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในการรายงานข่าวในสถานการณ์วิกฤตโดยเคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียอันอาจเกิดแก่ร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สิน

สิ่งที่เป็นข้อจำกัดของฝ่ายสื่อมวลชนและผู้สังเกตการณ์
- สื่อต้องไม่ทำให้ตนเองถูกมองว่าเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคู่ขัดแย้ง
- สื่อต้องไม่รายงานข้อมูลที่มีลักษณะละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือความเป็นส่วนตัว ประกอบกับต้องไม่เผยแพร่ภาพบางกรณีที่อาจทำให้สถานการณ์การชุมนุมโดยรวมแย่ลง

 

2. เจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่มีภารกิจอันเกี่ยวเนื่องกับผลกระทบที่เกิดจากการชุมนุม

1) แพทย์ พยาบาล อาสาสมัครกู้ภัย
เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ พยาบาล อาสาสมัครกู้ภัยที่ปฏิบัติภารกิจระหว่างการชุมนุมสาธารณะ ต้องได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ย่อมมีหน้าที่ในความช่วยเหลือด้านการแพทย์แก่ผู้ชุมนุมอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

สิ่งที่พึงกระทำ
• กรณีแพทย์ พยาบาล อาสาสมัครกู้ภัย ผู้ปฏิบัติหน้าที่ต้องเคารพกฎหมายและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและนโยบายองค์กร เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หลีกเลี่ยงทำให้ผู้อื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูถูก ถูกเกลียดชัง ถูกคุกคาม หรือกลั่นแกล้ง
• จะต้องมีการจัดตั้งศูนย์พยาบาลในพื้นที่การชุมนุม จัดเตรียมบุคลากร อุปกรณ์ทางการแพทย์ ตลอดจนเตรียมการแพทย์ฉุกเฉิน การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐและจากการชุมนุม

ขอบเขตและเงื่อนไขในการปฏิบัติหน้าที่
- แพทย์ พยาบาล อาสาสมัครกู้ภัย ต้องปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาพยาบาลโดยไม่เลือกปฏิบัติ

 

2) หน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรม
หน้าที่ของหน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรม มีหน้าที่ในการสร้างประกันสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายและบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ และต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปฏิบัติการและผู้กำหนดนโยบาย

สิ่งที่พึงกระทำ
• ต้องเคารพและรับรองสิทธิทั้งหมดของบุคคลที่เข้าร่วมการชุมนุม โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย
• การชุมนุมควรได้รับสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย การห้ามชุมนุมเป็นทางเลือกสุดท้ายที่รัฐจะนำมาพิจารณา
• การแจ้งหรือไม่แจ้งการชุมนุม ไม่ควรถูกนำมาเป็นเงื่อนไขในการตีความว่าการชุมนุมแต่ละครั้งเป็นไปโดยชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
• การรับรองการแทรกแซงการชุมนุมของฝ่ายรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักความชอบด้วยกฎหมาย หลักความจำเป็น และหลักความได้สัดส่วน
• การพิจารณากฎหมายพิเศษของรัฐ ต้องไม่เป็นการลบล้างสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
• ทำให้ พรบ.การชุมนุมสาธารณะเป็นกฎหมายฉบับเดียวในการจัดการชุมนุม และต้องมีการตีความกฎหมายไปในทางจำกัดเสรีภาพการชุมนุมของประชาชน
• กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการควบคุมดูแลการชุมนุม ต้องมีการปรับปรุงให้มีความชัดเจน และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งต้องเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการปรับปรุงกฎหมาย
• กระบวนการโต้แย้งการใช้อำนาจในการสั่งห้ามการชุมนุมสาธารณะหรือการใช้อำนาจในลักษณะอื่น ๆ ที่มีผลเป็นการคุกคามหรือปิดกั้นการชุมนุมสาธารณะในทุกขั้นตอน จะต้องมีการออกแบบเชิงกระบวนการที่ให้ทางด้านผู้จัดการชุมนุมสามารถจะโต้แย้งได้อย่างรวดเร็วและสอดคล้องกับลักษณะพื้นฐานของการชุมนุมสาธารณะ เพื่อให้สามารถมีการชี้ขาดถึงการใช้อำนาจดังกล่าวว่าเป็นไปโดยถูกต้องเหมาะสมหรือไม่
• องค์กรอัยการและศาลพึงนำหลักสากลเกี่ยวกับการจัดการการชุมนุมสาธารณะมาใช้ในการพิจารณาข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะในไทย
• ต้องให้มีกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ โดยอาจให้ศาลเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจในสถานการณ์พิเศษ ป้องกันไม่ให้มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพเกินความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน
• เด็กและเยาวชนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต้องได้รับการดูแลและช่วยเหลืออย่างเหมาะสมและทันท่วงทีตามกระบวนการของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง การคุกคาม หรือการข่มขู่ทุกรูปแบบ

ขอบเขตและเงื่อนไขในการปฏิบัติหน้าที่
- การใช้กฎหมายอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทการชุมนุมสาธารณะ มาจำกัดเสรีภาพในการชุมนุม เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น
- ข้อจำกัดที่นำมาใช้ในการชุมนุมโดยสงบสันติควรจะเป็นเพียงเรื่องเฉพาะที่มีความสำคัญต่อสังคมประชาธิปไตยเท่านั้น
- ผู้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งมิได้มีผลกระทบโดยตรงหรือสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงให้บังเกิดขึ้นต่อส่วนรวม ต้องไม่ถูกลงโทษทางอาญา

 

3. ฝ่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม
ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ได้แก่ ผู้ได้รับบาดเจ็บ ผู้ใช้เส้นทางสัญจร ผู้ค้าขายในพื้นที่ชุมนุม ผู้อาศัยในพื้นที่ชุมนุม ฯลฯ ซึ่งตามหลักการพื้นฐาน ทั้งการชุมนุมสาธารณะและการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐจะต้องหลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพหรือสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือต่อบุคคลใด ๆ หากมีกรณีฝ่าฝืนหลักการดังกล่าว รัฐมีหน้าที่การประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าว และข้อมูลเกี่ยวกับ ช่องทางการร้องเรียนให้ชดเชยความเสียหายอันเกิดจากการชุมนุมสาธารณะอย่างทั่วถึง และต้องส่งเสริมให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้ได้รับการชดเชยเยียวยาและเรียกร้องความเป็นธรรมได้อย่างเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ

สิทธิเรียกร้อง แนวทางการเรียกร้องสิทธิ
- ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการชุมนุมสาธารณะนั้น มีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุม
- ผู้ที่ได้รับผลกระทบและได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการชุมนุมสาธารณะมีสิทธิในการร้องเรียนต่อหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อให้ได้รับการชดเชยเยียวยา
- หากมีกรณีการกระทำละเมิด ทั้งจากผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกี่ยวข้องกับการชุมนุมสาธารณะ ผู้เสียหายย่อมมีสิทธิดำเนินคดีหรือฟ้องร้องต่อศาล เพื่อเรียกค่าเสียหายเป็นคดีละเมิดได้
- หากมีกรณีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นความผิดทางอาญา ทั้งจากผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกี่ยวข้องกับการชุมนุมสาธารณะ ผู้เสียหายย่อมมีสิทธิฟ้องร้องหรือร้องทุกข์กับเจ้าพนักงานเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้

ข้อควรกระทำและข้อพึงระวัง
- จำเป็นต้องเคารพการใช้เสรีภาพการชุมนุมของผู้อื่นตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย ซึ่งหากการชุมนุมสร้างความเดือดร้อนเกินขอบเขต ก็สามารถร้องเรียนต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบได้
- ยอมรับความเห็นต่างและการแสดงออกโดยสุจริตของผู้อื่น
- หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ หรือเผชิญหน้ากับสถานการณ์การชุมนุมที่อาจมีความรุนแรง
- หลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางการจราจรบริเวณใกล้เคียงพื้นที่การชุมนุม


*บทความนี้เรียบเรียงจากคู่มือการดูแลการชุมนุมสาธารณะตามมาตรฐานสากลที่พัฒนาร่วมกับ ปารณ บุญช่วย และ ภาสกร ญี่นาง

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว