Skip to main content

10 ข้อโต้แย้งข้อเสนอบอนไซด้วยอคติสัดส่วนหญิงชาย 50:50 ในรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่ว่าหญิงจะปกป้องผู้หญิง และไม่ใช่ว่าชายจะไม่สนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ 


เห็นกลุ่มผู้หญิง(บางกลุ่ม)ออกมาเรียกร้องให้รัฐธรรมนูญบัญญัติสัดส่วนหญิงชาย 50:50 โดยหวังว่าจะสร้างความเสมอภาคทางเพศ ผมคิดว่า...

1. เราต้องเข้าใจว่าการมีผู้หญิงนั่งอยู่ในตำแหน่งทางการเมืองไม่ใช่ว่าเขาจะปกป้องผลประโยชน์ของผู้หญิง และถึงปกป้องก็ใช่ว่าจะเป็นผู้หญิงส่วนใหญ่ ในทางกลับกันใช่ว่าผู้ชายหรือเพศอื่นๆ จะไม่สนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ
 

2. แต่มันขึ้นอยู่กับว่า 'ใครเลือกเขามา' และเขา 'ถูกควบคุมตรวจสอบโดยใคร' นี่ต่างหากที่จะเป็นหลักประกันที่จะให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นๆ ดำเนินนโยบายไปทิศทางใด 
 

3. จากข้อ 2. ผู้หญิงใน สนช. สปช. ที่ถูกแต่งตั้งโดย คสช. ก็จะรับผิดชอบหรือดำเนินการตาม คสช. เป็นหลัก หรืออย่างน้อยก็ไม่ต่อต้าน คสช. (ตามที่ป้า ทิชา ยืนยันว่าไม่ได้ต่อต้าน คสช.)
 

4. ถ้าบรรดาผู้หญิงเหล่านั้นเชื่อว่าการที่มีผู้หญิงอยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ และจะปกป้องสิทธิของผู้หญิงจริง ผู้หญิงเหล่านั้นก็คงจะออกมาปกป้อง ยิ่งลักษณ์ อย่างเอาเป็นเอาตายอยู่แล้ว แต่ความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น หลายคนทำในสิ่งตรงข้าม หลายคนออกมาล้มการเลือกตั้ง 2 ก.พ.ด้วยซ้ำ เพราะเขาไม่ได้มองว่ายิ่งลักษณ์ในฐานะตัวแทนผู้หญิง ซึ่งก็ไม่ผิด
 

5. การที่ผู้หญิงหลายคน(ไม่ทั้งหมด)ที่เรียกร้อง 50:50 เคยเป่านกหวีดจนล้มเลือกตั้ง 2 ก.พ. ด้านหนึ่งก็เป้นการตัดความเท่าเทียมทาเพศด้วยซ้ำ เพราะการเลือกตั้งมันเป็นกระบวนการพื้นฐานสุดของการยืนยันความเท่าเทียมบนหลักการ 1 สิทธิ 1 เสียง ผู้หญิงมีสิทธิเท่ากับผู้ชา


6. ที่มาของวันสตรีสากลส่วนหนึ่งก็มาจากการเรียกร้องสิทธิในการออกเสียงที่เท่าเทียมกับชายเช่นกัน
 

7. การกำหนดโควต้าในรัฐธรรมนูญ เช่นนี้ ด้านหนึ่งมันคือ 'บอนไซ' คือไปบีบบังคับให้เขาตั้งยัดๆ ผู้หญิงเข้าไป แทนที่จะเป็นไปตามความต้องการของประชาชนที่จะเลือกหรือนิยมคนนั้นคนนี้ ตัวอย่าง หากชายคนหนึ่งมีคนที่ต้องการเลือกเขามากกว่า หญิงอีกคนหนึ่ง แต่ด้วยหลัก 50:50 ทำต้องกันที่ให้กับผู้หญิง ไม่ใช่แค่การตัดสิทธิชายคนดังกล่าวหากแต่เป็นการบิดเบือนเสียงที่แท้จริงของประชาชนที่เขาจะเลือกชายคนนั้นด้ว
 

8. และถึงที่สุดสัดส่วนดังกล่าวคนที่จะได้ภายใต้กระแสลดทอนสิทธิเสียงของประชาชนตั้งแต่การเลือกตั้งระดับชาติละท้องถิ่น ผู้หญิงที่จะเข้าไปนั่งในสัดส่วน 50:50 นั้นก็จะเป็นโอกาสของผู้หญิงชนชั้นสูงมากกว่า ด้วยการแต่งตั้ง ยัดเยียด ลากตั้งอย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้
 

9. ผมยังคงยืนยันว่าคู่ขัดแย้งหญิง-ชาย เป็นเรื่องรองมาก เมื่อเทียบกับคู่ขัดแย้งทางชนชั้น ใช่ว่าผู้หญิงจะไม่กดขี่ผู้ชาย หากผู้หญิงนั้นเป็นชนชั้นสูง เป็นนายทุน ฯลฯ ดังนั้นการพูดถึงความเสมอภาคทางเพศ โดยไร้มิติความเหลื่่อมล้ำทางสังคม ความขัดแย้งทางชนชั้นจึงไม่นำไปสู่ความเสมอภาคที่แท้จริงแต่อย่างใด นอกจากทำให้ได้รู้สึกว่ายุติธรรมบนความอยุติธรรมรองเท่านั้น
 

10.แทนที่จะบอนไซ บีบบังคับในรัฐธรรมนูญ ให้สัดส่วน 50:50 นั้น ควรรณรงค์ให้ประชาชนเขาเลือกคนที่มีนโยบายส่งเสนอมความเสมอภาคทางเพศมากกว่า เพราะถ้าเธอเหล่านั้นดีจริงเดี๋ยวประชาชนเขาก็เลือกเอง อย่าลืมว่าปัจจุบันประเทศไทยมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายด้วยซ้ำ 

ส่วนคนที่บอกว่า "ถ้าให้เลือกตั้งเสรี ผู้หญิงก็ไม่เลือกผู้หญิงอยู่ดี" นั่นล่ะครับยิ่งเป็นเครื่องยืนยันที่ดีที่สุดว่าเอาเข้าจริงใช่ว่าผู้หญิงจะสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ เพราะแม้แต่คุณยังยอมรับเลยว่าผู้หญิงด้วยกันใช่ว่าจะสนับสนุนผู้หญิงด้วยกัน

 

หมายเหตุ : ข้อโต้แย้งนี้ผมเขียนลงในเฟซบุ๊ก 'Bus Tewarit' เมื่อสตรีสากลหรือวันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมา

บล็อกของ เทวฤทธิ์ มณีฉาย

เทวฤทธิ์ มณีฉาย
อย่าเพิ่งไปกดประชาชนที่ถูกกดจนไม่ไปใช้สิทธิ ว่าเขา 'นอนหลับทับสิทธิ' อย่าเพิ่งไปสร้างความชอบธรรมให้ประชามติแบบเผด็จการของไทย โดยการยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบผมขออนุญาตทำ 'ความเห็นแย้ง' ท่านที่ยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบกับไทย รวมทั้งยกวาทกรรม 'นอนหลับทับสิทธิ' มาลงโทษซ้ำประชาชนที่ 'เลือก' ไม่ไปใช้สิทธิ (เบื้องต้น) ดังนี้
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
จากโครงสร้างผลการตอบในนิด้าโพลเกี่ยวกับประชามติ พบ เป็นไปได้ที่คนเปลี่ยนใจจาก "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" เป็น "ยังไม่ตัดสินใจ"  หลังสถานการณ์การปราบปรามผู้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประชามติอย่างหนัก
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
"สื่อที่อิสระย่อมเป็นได้ทั้งสื่อที่ดีและสื่อที่เลว แต่ถ้าหากปราศจากเสรีภาพ สื่อ นั้นจะไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากการเป็นสื่อที่เลว"
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รวมคำอธิบายอารมณ์-นิสัยตัวเองของ พล.อ.ประยุทธ์ ว่า เป็นคนอารมณ์ดี เป็นคนตลก ใจร้อน ขี้โมโห น้อยใจ เสียใจ กล้าหาญ ตอบไปเรื่อย เป็นมนุษย์ปุตุชนธรรมดาคนหนึ่ง สุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อม ฯลฯ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถามนักข่าวปมดำเนินคดี 14 นักศึกษานักกิจกรรมขบวนการประชาธิปไตยใหม่ในศาลทหาร ว่า ทำผิดรัฐธรรมนูญตรงไหนไหม คำตอบคือ ผิด มาตรา 4 รัฐธรรมนูญ ชั่วคราว 2557 รัฐธรรมนูญที่คณะท่านเขียนมาเลยครับ #จบข่าว  
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ต้นไม้พิษย่อมให้ผลไม้พิษ และผลไม้พิษย่อมเป็นผลไม้พิษไม่ว่ามันจะเคลือบด้วย "ประชามติ" กี่ชั้น / ผู้มีบทบาทในการร่างส่วนมากโน้มเอียงไปทางฝั่งฝ่ายเดียว / เนื้อหาที่ร่างออกมามีหลายอย่างที่มีปัญหา / หากผ่านก็จะน้ำท่วมปาก / คสช.ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง มีแนวโน้มว่าจะทำและถ้าทำก็จะผ่าน แต่ไม่ผ่านก็เท่ากับต่ออายุ คสช. 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
‘ซีพี-เซเว่นฯ’ ไม่ได้มีแค่เจ้าสัว แต่ยังมีคนงานและ SMEs รวมอยู่ด้วย หากการบอยคอตมีพลังคนที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจเหล่านั้นก็จะซวยด้วย ปัญหาผูกขาดอยู่ที่ระบบไม่ใช่เจ้าสัวคนใดคนหนึ่ง เสนอ ผลักดัน กม.การแข่งขันทางการค้าให้ฟังก์ชั่น ตั้งสหภาพแรงงานและเก็บภาษีทรัพย์สินมากขึ้น ฯลฯ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ขณะที่เรายังไม่มีเสรีภาพ แต่องค์กรสื่อรณรงค์ 'เสรีภาพบนความรับผิดชอบ' จะกลายกระบวนการเซ็นเซอร์สร้างสังคมที่ขาด ‘วิจารณญาณ’ หรือไม่? พร้อมสำรวจประเด็นการจำกัดเสรีภาพสื่อหลังรัฐประการ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 97, 103 วิจารณ์ คสช.ก็ต้องโดยสุจริต การปิด PEACE TV และ ร่าง รธน. ฉบับใหม่
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
การนำพลเมืองขึ้นศาลทหาร ขัดกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ของ คสช. เอง ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน เหลือศาลเดียวไม่เปิดโอกาสให้แก้มือ และที่สำคัญเป็นการนำคู่กรณีมาเป็นคนตัดสิน ขาดความเป็นอิสระ ทำลายหลักประกันความยุติธรรม
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
10 ข้อโต้แย้งข้อเสนอบอนไซด้วยอคติสัดส่วนหญิงชาย 50:50 ในรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่ว่าหญิงจะปกป้องผู้หญิง และไม่ใช่ว่าชายจะไม่สนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ