Skip to main content

การนำพลเมืองขึ้นศาลทหาร ขัดกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ของ คสช. เอง ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน เหลือศาลเดียวไม่เปิดโอกาสให้แก้มือ และที่สำคัญเป็นการนำคู่กรณีมาเป็นคนตัดสิน ขาดความเป็นอิสระ ทำลายหลักประกันความยุติธรรม

วันก่อนรองเจ้ากรมพระธรรมนูญ หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร ออกมาบอกว่า "กระบวนการยุติธรรมของศาลทหารกับศาลพลเรือน ไม่มีความแตกต่างกัน"

1.     ซ้ำซ้อน

นี่ถ้าเถียงแบบคอมมอนเซนส์ ก็คงตอบว่า ถ้ามันไม่ต่างกันแล้วจะเอาไปขึ้นไปศาลทหารทำไม ไม่เท่ากับว่ามันซ้ำซ้อนกันหรอ? ต่อไปก็ยุบศาลทหาร เหลือแต่ศาลยุติธรรมเท่านั้นก็ได้ เพราะมัน “ไม่มีความแตกต่างกัน”

และในความเป็นจริงแล้วมีความแตกต่างสำคัญที่ไม่สามารถสร้างความยุติธรรมได้ ดังนี้

2.     เป็นการนำคู่กรณีมาเป็นคนตัดสิน ขาดความเป็นอิสระ

ตุลาการศาลทหารขึ้นต่อกองทัพโดยตรง ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 5 ระบุศาลทหารให้สังกัดอยู่ในกระทรวงกลาโหม ม.30  ระบุด้วยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้มีอํานาจแต่งตั้งตุลาการศาลทหารกรุงเทพ

หากดูผู้บังคับบัญชาของตุลาการศาลทหารก็คือกองทัพและฝ่ายบริหาร ซึ่งขณะนี้คือฝ่ายรัฐประหารโดยทั้งหมด ดังนั้นเมื่อมีการดำเนินคดีกับผู้ออกมาคัดค้านการรัฐประหารในศาลทหารจึงเป็น การดำเนินคดีโดยคู่ขัดแย้ง และการพิพากษาโดยคู่ขัดแย้งโดยตรง ขาดความเป็นอิสระ

ถ้าเรายอมรับความยุติธรรมในการดำเนินคดีแบบนี้ได้ ต่อไปเราก็ต้องยอมรับว่าสามารถนำคนของพรรครัฐบาลมาเป็นผู้พิพากษาตัดสินความผิดของฝ่ายค้านได้ด้วยเช่นกัน

3.     เหลือศาลเดียวไม่เปิดโอกาสให้แก้มือ

ตามประกาศของ คสช. ขณะนี้ เท่ากับเป็นศาลทหารในภาวะไม่ปกติทำให้เหลือศาลเดียว ไม่สามารถอุทธรณ์และฏีกาได้ ทำให้คู่กรณีไม่สามารถแก้มือได้

4.     ขัดกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ของ คสช. เอง

มาตรา 4 ของ รธน.ชั่วคราว 57 ก็ระบุว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้"

ดังนั้นการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธที่ถูกดำเนินคดีขณะนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 4 เท่ากับการดำเนินคดีเป็นการขัดรัฐธรรมนูญเช่นกัน

รวมทั้ง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 14 (5) ซึ่งระบุว่า “บุคคลทุกคนที่ถูกลงโทษในความผิดอาญา ย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์การลงโทษ และคำพิพากษาต่อศาลสูงให้พิจารณาทบทวนอีกครั้งตามกฎหมาย” ดังนั้นตาม ม.4 ของ รธน.ชั่วคราว ประชาชนก็ต้องขึ้นศาลยุติธรรมที่สามารถอุทธรณ์ ฎีกา ได้

แม้รัฐธรรมนูญชั่คราว ฉบับนี้จะเป็นการออกมาโดยอำนาจที่มีประชาชนจำนวนมากไม่ยอมรับ แต่การดำเนินคดีพลเมืองในศาลทหารที่เป็นการขัดรัฐธรรมนูญนี้ คำถามคือยังเหลือความชอบธรรมอะไร นอกเสียจากการใช้อำนาจตามอำเภอใจหรือไม่?

 

บล็อกของ เทวฤทธิ์ มณีฉาย

เทวฤทธิ์ มณีฉาย
อย่าเพิ่งไปกดประชาชนที่ถูกกดจนไม่ไปใช้สิทธิ ว่าเขา 'นอนหลับทับสิทธิ' อย่าเพิ่งไปสร้างความชอบธรรมให้ประชามติแบบเผด็จการของไทย โดยการยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบผมขออนุญาตทำ 'ความเห็นแย้ง' ท่านที่ยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบกับไทย รวมทั้งยกวาทกรรม 'นอนหลับทับสิทธิ' มาลงโทษซ้ำประชาชนที่ 'เลือก' ไม่ไปใช้สิทธิ (เบื้องต้น) ดังนี้
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
จากโครงสร้างผลการตอบในนิด้าโพลเกี่ยวกับประชามติ พบ เป็นไปได้ที่คนเปลี่ยนใจจาก "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" เป็น "ยังไม่ตัดสินใจ"  หลังสถานการณ์การปราบปรามผู้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประชามติอย่างหนัก
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
"สื่อที่อิสระย่อมเป็นได้ทั้งสื่อที่ดีและสื่อที่เลว แต่ถ้าหากปราศจากเสรีภาพ สื่อ นั้นจะไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากการเป็นสื่อที่เลว"
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รวมคำอธิบายอารมณ์-นิสัยตัวเองของ พล.อ.ประยุทธ์ ว่า เป็นคนอารมณ์ดี เป็นคนตลก ใจร้อน ขี้โมโห น้อยใจ เสียใจ กล้าหาญ ตอบไปเรื่อย เป็นมนุษย์ปุตุชนธรรมดาคนหนึ่ง สุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อม ฯลฯ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถามนักข่าวปมดำเนินคดี 14 นักศึกษานักกิจกรรมขบวนการประชาธิปไตยใหม่ในศาลทหาร ว่า ทำผิดรัฐธรรมนูญตรงไหนไหม คำตอบคือ ผิด มาตรา 4 รัฐธรรมนูญ ชั่วคราว 2557 รัฐธรรมนูญที่คณะท่านเขียนมาเลยครับ #จบข่าว  
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ต้นไม้พิษย่อมให้ผลไม้พิษ และผลไม้พิษย่อมเป็นผลไม้พิษไม่ว่ามันจะเคลือบด้วย "ประชามติ" กี่ชั้น / ผู้มีบทบาทในการร่างส่วนมากโน้มเอียงไปทางฝั่งฝ่ายเดียว / เนื้อหาที่ร่างออกมามีหลายอย่างที่มีปัญหา / หากผ่านก็จะน้ำท่วมปาก / คสช.ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง มีแนวโน้มว่าจะทำและถ้าทำก็จะผ่าน แต่ไม่ผ่านก็เท่ากับต่ออายุ คสช. 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
‘ซีพี-เซเว่นฯ’ ไม่ได้มีแค่เจ้าสัว แต่ยังมีคนงานและ SMEs รวมอยู่ด้วย หากการบอยคอตมีพลังคนที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจเหล่านั้นก็จะซวยด้วย ปัญหาผูกขาดอยู่ที่ระบบไม่ใช่เจ้าสัวคนใดคนหนึ่ง เสนอ ผลักดัน กม.การแข่งขันทางการค้าให้ฟังก์ชั่น ตั้งสหภาพแรงงานและเก็บภาษีทรัพย์สินมากขึ้น ฯลฯ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ขณะที่เรายังไม่มีเสรีภาพ แต่องค์กรสื่อรณรงค์ 'เสรีภาพบนความรับผิดชอบ' จะกลายกระบวนการเซ็นเซอร์สร้างสังคมที่ขาด ‘วิจารณญาณ’ หรือไม่? พร้อมสำรวจประเด็นการจำกัดเสรีภาพสื่อหลังรัฐประการ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 97, 103 วิจารณ์ คสช.ก็ต้องโดยสุจริต การปิด PEACE TV และ ร่าง รธน. ฉบับใหม่
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
การนำพลเมืองขึ้นศาลทหาร ขัดกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ของ คสช. เอง ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน เหลือศาลเดียวไม่เปิดโอกาสให้แก้มือ และที่สำคัญเป็นการนำคู่กรณีมาเป็นคนตัดสิน ขาดความเป็นอิสระ ทำลายหลักประกันความยุติธรรม
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
10 ข้อโต้แย้งข้อเสนอบอนไซด้วยอคติสัดส่วนหญิงชาย 50:50 ในรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่ว่าหญิงจะปกป้องผู้หญิง และไม่ใช่ว่าชายจะไม่สนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ