Skip to main content

 

"จงจำไว้ว่า ปัญหาไม่ใช่การคอร์รัปชั่นหรือความละโมบ ปัญหามันคือระบบ มันทำให้คุณจำต้องคอร์รัปชั่นถึงจะอยู่รอด จงระวังไม่ใช่แค่ศัตรู แต่ระวังพวกมิตรเทียมๆ ที่กำลังทำให้กระบวนการประท้วงนี้เจือจางลง เช่นเดียวกับที่คุณมีกาแฟที่ไร้คาเฟอีน เบียร์ที่ปราศจากแอลกอฮอล์ ไอศกรีมไม่มีไขมัน พวกเขากำลังจะเปลี่ยนการประท้วงของพวกคุณให้กลายเป็นการประท้วงทางศีลธรรมที่ไร้พิษภัย มันคือกระบวนการสกัดคาเฟอีน แต่เหตุผลที่เราอยู่ที่นี่คือเราพอแล้วกับโลก ที่เรารู้สึกดีกับการรีไซเคิลกระป๋องโค้ก การบริจาคเงินสองสามเหรียญกับการกุศล" Slovoj Zizek  9 ตุลา 54 @ Occupy Wall Street[1]

 

วันนี้ถือเป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์บอยคอตสินค้า ‘ซีพี-เซเว่นฯ’ จากวันที่ 7 ถึง 11 พ.ค.58 เพื่อต่อต้านการผูกขาดของบริษัทยักษ์ ใหญ่ด้านการเกษตรและอาหาร ซึ่งขณะนี้ได้ขยายกิจการ มีอำนาจเหนือตลาด

ผมขอนำสเตตัสที่โพสต์ไว่ก่อนหน้านี้(6 พ.ค.58) มาปรับปรุงและเผยแพร่ต่อในนี้ เพื่อยืนยันจุดยืนผมว่า ไม่สนับสนุนการสู้โดยการบอยคอตสินค้า ไม่ว่าจะ เซเว่นฯ ซีพี หรือว่าอะไร เพราะ ซีพี ไม่ได้มีแต่เจ้าสัว เพราะถ้าไม่มี ซีพี โดยระบบที่เป็นอยู่ก็ยังมีธุรกิจอย่าง ซีพี อยู่ดี โดยผมมองว่า

1.     บอยคอตไม่มีพลังจริง : เว็บผู้จัดการออนไลน์[2] ซึ่งเป็นเว็บข่าวสำคัญที่นำมาสู่การปลุกกระแสการบอยคอตครั้งนี้ เมื่อวานที่ผ่านมา(10 พ.ค.58)ยังรายงานข่าวว่า “ประชาชนยังคงใช้บริการร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ตามปกติ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีกระแสในโซเชียลมีเดียบางกลุ่ม ออกมารณรงค์ไม่ให้สินค้าร้านสะดวกซื้อดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า มีการลอกเลียนแบบสินค้า และได้ขยายธุรกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อย”

2.     ‘ซีพี-เซเว่นฯ’ ไม่ได้มีแค่เจ้าสัว : แม้หลายคนมองว่ามันอาจจะเป็นเชิงสัญลักษณ์เพื่อนำไปสู่การตระหนักรู้ของคนต่อปัญหาการทำธุรกิจในแบบซีพี แต่การบอยคอตหากมีพลังจริงๆ ผู้ที่ได้รับผลกระทบก็ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจในการทำธุรกิจอยู่ดี หากแต่เป็น พนักงานและ SMEs ที่รับแฟรนไชส์ไปขายด้วย โดยเมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา เพจ CP ALL โพสต์ว่า กว่าครึ่งเป็นแฟรนไชส์ ซึ่งล้วนเป็นผู้ประกอบการรายย่อยของพี่น้องคนไทยทุกภูมิภาค แม้จะมีปรากฏการการเปิดร้านของ CP โดยตรงใกล้กับร้ายของแฟรนไซส์ใกล้กัน แต่การบอยคอยก็ไม่ได้หมายความว่าเหล่า SMEs จะไม่กระทบด้วย

 

 

รู้หรือไม่? ร้าน 7-Eleven กว่าครึ่งเป็นแฟรนไชส์ ซึ่งล้วนเป็นผู้ประกอบการรายย่อยของพี่น้องคนไทยทุกภูมิภาค :)

Posted by CP ALL on 5 พฤษภาคม 2015

 

ในส่วนของพนักงานของกลุ่มบริษัทนี้ที่ไม่มีอำนาจการตัดสินใจก็มีเป็นแสนคน เฉพาะ ซีพี ออลล์ ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีพี ออลล์[3] กล่าว เมื่อ ก.พ.55 ว่า ซีพี ออลล์ เป็นองค์กรที่มีพนักงานมากที่สุดในประเทศไทย คือมีมากกว่า 100,000 คน

แน่นอนว่าหากการบอยคอตนั้นมีพลัง สร้างผลสะเทือนกับธุรกิจของ ‘ซีพี-เซเว่นฯ’ คนที่ได้นรับผลกระทบย่อมไม่ใช่เฉพาะเจ้าสัวเท่านั้น แต่ยังมีคนที่ไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจเล่านี้ด้วย

3.     มูลค่าของสินค้า-บริการเกิดมาจากแรงงาน การบอยคอตสินค้าและบริการด้านหนึ่งเท่ากับเป็นการบอยคอตสิ่งที่แรงงานสร้างสรรค์ขึ้นมาด้วย หากดูจากกระแสความไม่พอใจมาจากการทำธุรกิจของเครือนี้ ไม่ว่าจะเป็นการมีอำนาจเหนือตลาด การมีแนวโน้มผูกขาด รูปแบบการดีลแบบเกษตรพันธสัญญา ซึ่งไม่ได้มีปัญหาที่ตัวสินค้าและบริการที่เกิดมาจากมูลค่าเพิ่มที่คนงานได้ผลิตขึ้นมา ทั้งแรงงานในปัจจุบันและแรงงานในอดีตที่ร่วมกันสะสมองค์ความรู้ แม้จะมีสินค้า house band ที่หลายคนไม่พอใจการลอกเลียนแบบ แต่คนงานที่ผลิตก็ไม่ได้มีอำนาจตัดสินใจอยู่ดี ดังนั้นการใช้วิธีการบอยคอตสินค้าและบริการด้านหนึ่งก็กลายเป็นการลงโทษแรงงานด้วย ทั้งที่โดยความสัมพันธ์การผลิตแล้วเขาไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใน

ขณะที่ประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์ในสินค้าและบริการ ผมคิดว่าไม่ควรมีลิขสิทธิโดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหาร  เพราะการรณรงค์ลิขสิทธิเข้มข้น คนที่เดือกร้อนคือผู้บริโภค เพราะราคามันจะแพง เนื่องจากความสามารถในการกีดกันการเข้าถึงได้ และมันจะนำไปสู่การผูกขาดอีกเช่นกัน ทั้งที่มูลค้าสินค้าและบริการเหล่านั้นล้วนเกิดจากแรงงานที่ร่วมผลิตและสะสมองค์ความรู้ ลองผิดลองถูกมาตั้งแต่ในอดีตจนเกิดการต่อยอดพัฒนามาถึงปัจจุบัน มันจึงควรเป็นกรรมสิทธิส่วนรวม เพื่อลดเงื่อนไขการกีดกันการเข้าถึงสินค้าและบริการเหล่านั้น

4.     ปัญหาอยู่ที่ระบบไม่ใช่ปัจเจคหรือเจ้าสัวคนใดคนหนึ่ง : ปัญหาที่หลายคนกังวลมันเป็นความกลัวเรื่องการผูกขาด และการบริหารจัดการของธุรกิจนี้ เช่น ระบบพันธสัญญา นั่นอยู่ภายใจอำนาจการตัดสินใจของนายทุน ก็ควรเล็งเป้าไปจัดการที่จุดนั้น และเมื่อเราทำกับ CP ก็ต้องทำกับธุรกิจอื่นเสมอหน้ากันด้วย คือไม่ใช่เลือกจัดการ และโดยระบบมันย่อมสร้างธุรกิจแบบนี้ขึ้นมาแน่นอน มันมีแนวโน้มนำไปสู่การผูกขาดอยู่แล้ว อย่างที่ Zizek เคยกล่าวไว้ว่า "จงจำไว้ว่า ปัญหาไม่ใช่การคอร์รัปชั่นหรือความละโมบ ปัญหามันคือระบบ มันทำให้คุณจำต้องคอร์รัปชั่นถึงจะอยู่รอด”

กระแสการประท้วงที่เกิดขึ้นราวกับว่าเรามีนายทุนที่ดีและมีนายทุนที่ไม่ดีหรือสามานย์ ดังนั้นเราควรบอยคอตทุนที่สามานย์ ทั้งที่โดยระบบมันก็จะนำไปสู่การผูกขาดอยู่แล้ว

 

ข้อเสนอของผม หากเราไม่ไปถึงขั้นปฏิวัติสังคม เพื่อทำให้กรรมสิทธิ์กลับคืนมาเป็นของของส่วนรวมของคนงานในฐานะผู้สรรสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าและบริการ เหล่านั้น ก็ต้องหาทางออกเชิงปฏิรูปที่มากกว่าการบอยคอตทุนใดทุนหนึ่ง แต่ต้องปฏิรุปทั้งระบบ เช่น

1.     ขับเคลื่อนให้ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า 2542 ให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ที่ตั้งมาเพื่อกันการผูกขาด มันทำงานได้จริง แม้ที่ผ่านมาจะไม่ฟังก์ชั่น แต่ก็ยังมีเครื่อไม้เครื่องมือที่จัดการเชิงระบบมากกว่าการปลุกกระแสความไม่พอใจปัจเจคหรือกลุ่มปัจเจคจำนวนหนึ่งแล้วอาจเงียบไปเมื่อกระแสลด

2.     สนับสนุนให้คนงานธุรกิจพวกนี้สามรถรวมตัวต่อรอง ตั้งสหภาพแรงงาน รวมทั้งแรงงานในเกษตรพันธสัญญา เพื่อแบ่งปันประโยชน์โภชน์จากมูลค่าเพิ่มที่เขาสร้างสรรขึ้นมา ซึ่งคนงานเหล่านี้ก็เป็นสมาชิกในสัคมเช่นกัน เงินมันก็กลับมาสู่สังคมมากขึ้น มากกว่าไปอยู่ที่เจ้าสัวหรือกลุ่มนายทุน

3.     รัฐก็เก็บภาษีทรัพย์สินทางตรงมากขึ้น  เป็นต้น



[1] เมื่อ 'สลาวอย ชิเชก' มาเยือนขบวนการ 'ยึดครองวอลล์สตรีท' http://prachatai.com/journal/2011/10/37445

[2] ปชช.ยังใช้บริการร้านเซเว่นฯ ปกติ หลังโซเชียลต้านไม่ให้ซื้อสินค้าร้าน http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000053128

[3] "ซีพี ออลล์" ประกาศนโยบายและทิศทางองค์กร ประจำปี 2555 http://www.cpall.co.th/News-Center/corporate-news/ข่าวบริษัท/1/ซีพีออลล์-ประกาศนโยบายและทิศทางองค์กรประจำปี2555

 

บล็อกของ เทวฤทธิ์ มณีฉาย

เทวฤทธิ์ มณีฉาย
อย่าเพิ่งไปกดประชาชนที่ถูกกดจนไม่ไปใช้สิทธิ ว่าเขา 'นอนหลับทับสิทธิ' อย่าเพิ่งไปสร้างความชอบธรรมให้ประชามติแบบเผด็จการของไทย โดยการยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบผมขออนุญาตทำ 'ความเห็นแย้ง' ท่านที่ยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบกับไทย รวมทั้งยกวาทกรรม 'นอนหลับทับสิทธิ' มาลงโทษซ้ำประชาชนที่ 'เลือก' ไม่ไปใช้สิทธิ (เบื้องต้น) ดังนี้
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
จากโครงสร้างผลการตอบในนิด้าโพลเกี่ยวกับประชามติ พบ เป็นไปได้ที่คนเปลี่ยนใจจาก "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" เป็น "ยังไม่ตัดสินใจ"  หลังสถานการณ์การปราบปรามผู้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประชามติอย่างหนัก
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
"สื่อที่อิสระย่อมเป็นได้ทั้งสื่อที่ดีและสื่อที่เลว แต่ถ้าหากปราศจากเสรีภาพ สื่อ นั้นจะไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากการเป็นสื่อที่เลว"
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รวมคำอธิบายอารมณ์-นิสัยตัวเองของ พล.อ.ประยุทธ์ ว่า เป็นคนอารมณ์ดี เป็นคนตลก ใจร้อน ขี้โมโห น้อยใจ เสียใจ กล้าหาญ ตอบไปเรื่อย เป็นมนุษย์ปุตุชนธรรมดาคนหนึ่ง สุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อม ฯลฯ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถามนักข่าวปมดำเนินคดี 14 นักศึกษานักกิจกรรมขบวนการประชาธิปไตยใหม่ในศาลทหาร ว่า ทำผิดรัฐธรรมนูญตรงไหนไหม คำตอบคือ ผิด มาตรา 4 รัฐธรรมนูญ ชั่วคราว 2557 รัฐธรรมนูญที่คณะท่านเขียนมาเลยครับ #จบข่าว  
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ต้นไม้พิษย่อมให้ผลไม้พิษ และผลไม้พิษย่อมเป็นผลไม้พิษไม่ว่ามันจะเคลือบด้วย "ประชามติ" กี่ชั้น / ผู้มีบทบาทในการร่างส่วนมากโน้มเอียงไปทางฝั่งฝ่ายเดียว / เนื้อหาที่ร่างออกมามีหลายอย่างที่มีปัญหา / หากผ่านก็จะน้ำท่วมปาก / คสช.ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง มีแนวโน้มว่าจะทำและถ้าทำก็จะผ่าน แต่ไม่ผ่านก็เท่ากับต่ออายุ คสช. 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
‘ซีพี-เซเว่นฯ’ ไม่ได้มีแค่เจ้าสัว แต่ยังมีคนงานและ SMEs รวมอยู่ด้วย หากการบอยคอตมีพลังคนที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจเหล่านั้นก็จะซวยด้วย ปัญหาผูกขาดอยู่ที่ระบบไม่ใช่เจ้าสัวคนใดคนหนึ่ง เสนอ ผลักดัน กม.การแข่งขันทางการค้าให้ฟังก์ชั่น ตั้งสหภาพแรงงานและเก็บภาษีทรัพย์สินมากขึ้น ฯลฯ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ขณะที่เรายังไม่มีเสรีภาพ แต่องค์กรสื่อรณรงค์ 'เสรีภาพบนความรับผิดชอบ' จะกลายกระบวนการเซ็นเซอร์สร้างสังคมที่ขาด ‘วิจารณญาณ’ หรือไม่? พร้อมสำรวจประเด็นการจำกัดเสรีภาพสื่อหลังรัฐประการ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 97, 103 วิจารณ์ คสช.ก็ต้องโดยสุจริต การปิด PEACE TV และ ร่าง รธน. ฉบับใหม่
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
การนำพลเมืองขึ้นศาลทหาร ขัดกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ของ คสช. เอง ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน เหลือศาลเดียวไม่เปิดโอกาสให้แก้มือ และที่สำคัญเป็นการนำคู่กรณีมาเป็นคนตัดสิน ขาดความเป็นอิสระ ทำลายหลักประกันความยุติธรรม
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
10 ข้อโต้แย้งข้อเสนอบอนไซด้วยอคติสัดส่วนหญิงชาย 50:50 ในรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่ว่าหญิงจะปกป้องผู้หญิง และไม่ใช่ว่าชายจะไม่สนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ