Skip to main content

แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี


หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง


มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง

ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า ถ้าแกเกี่ยวตอนที่ราคากำลังพุ่ง แกอาจจะได้มากกว่านี้

...นี่ก็ดีมากมายแล้ว ปีก่อนนู้น ข้าเหลือแค่เจ็ดพัน...” แกว่า

...แกยังดีได้ตั้งเจ็ดพัน ข้าสิโดนปุ๋ยปลอมเข้าไป ข้าวก็ไม่งาม ได้แค่สี่พัน..” ยายจันบ่นบ้าง

...ข้าเคยได้แค่แปดร้อย...” ป้าใสว่า พลางหัวเราะหึๆ

พูดไปก็เหลือเชื่อ ทำนาเหนื่อยแทบตาย แต่ข้าวหนึ่งเกวียนราคาถูกกว่าโทรศัพท์มือถือหนึ่งเครื่อง


ปุ๋ยสูตร กระสอบละ 1,000-1,300 บาท

ยาฆ่าแมลง ลิตรละ 600-800 บาท

ฮอร์โมน ลิตรละ 300-500 บาท

ค่ารถไถ ไร่ละ 700 บาท

ค่ารถเกี่ยวข้าว ไร่ละ 600 บาท

ได้ข้าวไร่ละเกวียน (100 ถัง) ก็นับว่ามากโข แต่อาจต้องหนักปุ๋ยหลายลูก หนักยาหลายลิตร หนักฮอร์โมนอีกหลายขวด ไปๆ มาๆ เหลือเข้ากระเป๋าแค่ไม่กี่พัน แถมสะสมสารเคมีไว้ในข้าวส่งต่อให้ผู้บริโภคอีกเพียบ


ปุ๋ยใส่น้อย ข้าวก็ไม่งาม พ่นยาน้อย หญ้าก็โตแซงข้าว แมลงก็ลง หอยเชอรี่ก็ระบาด พอได้ข้าวมา ยังกำหนดราคาเองไม่ได้อีกต่างหาก เท่าไรก็ต้องขาย ไม่มีสิทธิ์ต่อรอง


วันหนึ่งที่หน้าร้านป้าน้อย ร้านขายของประจำหมู่บ้าน มีคนบ่นว่า ทำไมปุ๋ยมันต้องแพง มันผลิตยาก หรือต้นทุนมันสูง หรืออย่างไรกันแน่


น้าชัย อดีตคนขับรถบรรทุก ปัจจุบันทำสวนกล้วย ดูดน้ำขวดสองทีก่อนจะเล่าว่า

...หลายปีก่อน ข้าเคยขับรถบรรทุกไปขนปุ๋ย ที่ท่าเรือ ก็ไอ้ปุ๋ยอย่างที่พวกเราใช้กันนี่แหละ ทีแรกข้าก็นึกว่ามันจะมาเป็นกระสอบ เปล่า...มันมาเป็นเม็ดๆ มีท่อต่อจากเรือมาใส่กระสอบ ปิดกระสอบแล้วก็ขนขึ้นรถบรรทุก ข้าเห็นแล้ว ก็สงสัยว่า ไอ้ปุ๋ยแบบนี้ มันแพงตรงไหนวะ ...”

ตรงไหนล่ะน้า?” ไอ้จุกถาม

กูก็ไม่รู้” น้าชัย ดูดน้ำขวดอีกสองทีแล้วก็เดินกลับบ้านไป


เจ้านายฉันที่กรุงเทพฯ...” พี่ชิน คนไปทำงานกรุงเทพฯ กลับบ้านเดือนละครั้ง เล่าบ้าง

...เขารวย ทำกิจการตั้งหลายอย่าง รถนี่มีร่วมสิบคันได้มั้ง... เขารู้ว่าที่บ้านเราทำนา เขาก็เลยบอกฉันว่า กำลังเข้าหุ้นกับเพื่อนทำบริษัทผลิตปุ๋ยกึ่งเคมีกึ่งชีวภาพราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมีเยอะ เดี๋ยวจะให้ฉันเอามาลองใช้”

กระสอบเท่าไรล่ะ?” ป้าแมวสนใจ


เห็นว่ากระสอบละสามร้อยกว่าบาทเองนะ”

งั้นเอามาให้ข้าสักสามกระสอบสิ สามกระสอบพันเดียว ยังถูกกว่าปุ๋ยสูตรอีกนา” ป้าแมวท่าจะเอาจริง แต่พี่ชินส่ายหัวบอกว่า

พอแกจะเอาไปจดทะเบียนบริษัท ข้างบนเขาไม่ให้แกจด”

อ้าว...ทำไมล่ะ?”

เขาว่า ของแกถูก เดี๋ยวไปตีตลาดทำให้ปุ๋ยแพงของเขาขายไม่ได้ ตอนนี้ก็เลยต้องทำแบบส่งขายเอง โฆษณาไม่ได้ ฉันก็อยากเอามาลองใช้ แต่เห็นแกกลุ้มๆ อยู่เลยไม่กล้าถาม”

ในวงการปุ๋ยก็มีมาเฟียด้วยหรือพี่?” ไอ้จุกถาม

มันก็มีทุกวงการนั่นแหละ”


นับแต่แผนพัฒนาประเทศ ส่งเสริมให้ผลิตข้าวเพื่อการส่งออก หน่วยงานรัฐก็มาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์นี้สิ ปลูกแล้วจะได้ผลิตผลเยอะ แล้วก็ต้องใช้ปุ๋ยสูตรนั้นสิดี ใช้ยาสูตรนี้สิได้ผล จากเคยปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งปุ๋ยพึ่งยา ก็เปลี่ยนมาเป็น “ข้าวกะหรี่ติดยา” นอกจากจะมีชื่อข้าวเป็นเบอร์นั้นเบอร์นี้ (เบอร์ตองไม่มี) แล้วยังติดยาติดปุ๋ย ต้องใส่ตลอด ถ้าไม่ใส่หรือใส่น้อย ข้าวก็ไม่โต ใส่นานปีเข้า ดินเริ่มเสื่อม เลยต้องใส่เพิ่มขึ้นทุกปี


ราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นทุกปี

ราคายาเพิ่มขึ้นทุกปี

แต่ราคาข้าวขยับอยู่แค่สี่พัน ห้าพัน

คนทำนาเอง ขายข้าวได้แค่ไม่กี่พัน

คนเช่านาเขาทำ แทบไม่เหลืออะไรเลย


ชาวนา (แท้ๆ) คนไหน ไม่เป็นหนี้ เป็นเรื่องแปลกประหลาด ครอบครัวต้องใช้เงิน ลูกต้องส่งเรียน ไม่ดิ้นรนไปรับจ้างหางานทำ ก็เอาที่เข้าธนาคาร ไม่มีปัญญาปลดหนี้ ธนาคารก็ฟ้อง ก็ยึด


ตอนเอาโฉนดไปจำนอง เจ้าหน้าที่แทบจะอุ้มเข้าไป แต่พอจะไปขอประนอมหนี้ น้ำแก้วเดียวเขาก็ไม่ให้กิน

ตอนนี้ข้าวราคาดี นายทุนเลิกให้เช่า จ้างคนมาทำนาแทน สมัยนี้เทคโนโลยีทำให้ทุกอย่างสะดวกดาย ไถ หว่านข้าว ฉีดยา ใส่ปุ๋ย เก็บเกี่ยว ใช้เครื่องจักรแทบจะทุกขั้นตอน ถ้าข้าวยังราคาดี จัดการเป็น ก็ได้กำไรเหนาะๆ ไร่ละหลายพัน


ในอนาคต อาหารและพลังงาน คือสิ่งที่กำลังจะขาดแคลน

จะแปลกอะไร เมื่อมีข่าวว่า นายทุนซาอุฯ มาลงทุนทำนาในเมืองไทย

แขกขายน้ำมัน รวยแค่ไหนก็ยังต้องกินข้าว


แต่ประเทศไทย คิดกันคนละอย่าง

ลงทุนกับเรื่องพลังงานมากมายมหาศาล แล้วก็ปล่อยให้คนทำนา ค่อยๆ แห้งตายเพราะโดนสูบเลือดสูบเนื้อจนหมดตัว พอเข้าเมืองกรุงไปประท้วง คนกรุงเทพฯ ก็ด่าว่าทำให้การจราจรติดขัด

โอหนอ...ชาวนาไทย


ถ้าไม่มีการมองโลกในแง่ดี (อย่างสูงยิ่ง) หล่อเลี้ยงจิตใจ

ชาวนาไทยคงฆ่าตัวตายกันหมดแล้ว



บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
เมื่อแรกแรกที่มีข่าวว่าโรคนี้เกิดขึ้นในโลก ใครใครก็พากันเรียกชื่อมันว่าไข้หวัดหมู เพราะว่ากันว่ามันเป็นโรคของหมูที่ดันมาติดคน(ถ้าหากมีโรคของคนไปติดหมูไม่รู้จะเรียกว่าไข้หวัดคนด้วยหรือเปล่า) แต่ต่อมาเขาไม่อยากให้เรียกไข้หวัดหมู เพราะเกรงว่าจะเป็นการใส่ร้ายหมูซึ่งไม่มีความผิด และจะทำให้หมูทั่วโลกพลอยถูกรังเกียจ แต่คงไม่ใช่ความกลัวว่าหมูจะประท้วง เพราะถึงอย่างไรหมูก็มีสิทธิ์อันชอบเพียงอย่างเดียวคือสิทธิ์ในการเป็นอาหารของมนุษย์ ไม่สามารถชูป้ายประท้วงหรือเขวี้ยงก้อนอิฐใส่ตำรวจปราบจลาจลได้แต่ประการใด
ฐาปนา
ไม่เคยมีใครถามถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งคู่เลยว่าอยากจะย้ายจากบ้านเกิดเมืองนอนที่หนาวเย็นและเต็มไปด้วยพวกพ้อง มาอยู่ในเมืองร้อนที่ห่างไกลหลายพันกิโลเมตร หรือไม่ ถึงจะมีคนถาม แต่พวกเขาก็ไม่สามารถตอบได้ หรือแม้พวกเขาจะตอบว่า "ไม่อยากไป" แต่พวกเขามีสิทธิ์ปฏิเสธละหรือ ? ...
ฐาปนา
10 คำถามตั้งต้น เพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ที่ถูกเรียกว่า "นักลงทุน"1. จากคำพูดของนักธุรกิจการเมืองที่มักจะอ้างถึง"ความเชื่อมั่นของนักลงทุน" อยู่เสมอ น่าสงสัยว่านักลงทุนจะเป็นมนุษย์ประเภทขาดความเชื่อมั่น มากกว่ามนุษย์ปกติทั่วไป หรือไม่?ตอบ ไม่มีใครทราบ แต่ถ้าสันนิษฐานอย่างไม่มีฐานอ้างอิง การลงทุนก็จำเป็นต้องใช้ความเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าการพนัน ทว่าในแง่ของเหตุผลน่าจะมากกว่า เพราะการพนันจะใช้ปัจจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ขณะที่การลงทุนจะต้องใช้เหตุผล ตัวเลข ตัวแปร เอกสารต่างๆ มากมายก่อนการตัดสินใจที่เต็มไปด้วยขั้นตอนซับซ้อน…
ฐาปนา
ลุงอู๋ ผู้ใหญ่บ้านประกาศเรียกประชุมชาวบ้านหมู่สิบสองตั้งแต่เช้าตรู่ เสียงประกาศนั้นเน้นย้ำนักหนาว่า หนึ่งทุ่มตรงวันนี้ทุกคนต้องไปร่วมประชุมให้ได้ เพราะนี่คือเรื่องความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้าน และีทุกคนจะได้ประโยชน์ โชคดีที่วันนั้น เป็นช่วงว่างจากการทำไร่ ทำนา ที่สำคัญ ละครสุดฮิตที่ชาวบ้านติดกันก็เพิ่งจะจบลงไป พอตอนค่ำ ชาวหมู่บ้านจึงมาประชุมที่ศาลาอย่างหนาตา
ฐาปนา
ลุงเหมือน อดีตทหารผ่านศึก คนปลูกแตงโมมือวางท้อปไฟว์ประจำหมู่บ้าน นั่งมองไร่แตงโมอย่างสบายอารมณ์ปีนี้แตงโมราคาดีไม่น้อย พ่อค้ามารับซื้อหน้าไร่กิโลกรัมละสิบห้าถึงยี่สิบห้าบาท ยิ่งลูกใหญ่ยิ่งได้ราคา มดแมลงก็ไม่ค่อยจะกวนเท่าไร ลุงเหมือนกะว่าปีนี้คงได้เงินจากแตงโมสักห้าหกหมื่น แล้วจากนั้นจะได้ปลูกกะเพรา โหระพา ใบแมงลัก แบบ "พอเพียง-เพียงพอ" บ้าง
ฐาปนา
ยายช้อย คนเคยรวย ชีวิตเปลี่ยนไปมาก หลังจากเป็นหนี้สหกรณ์ฯ หลายแสน ก็ใครจะไปคิดเล่า อยู่ๆ เคยเลี้ยงหมูได้กำไรทีละเป็นแสน จู่ๆ หมูราคาตก กำไรที่คาดหวังเลยเข้าเนื้อแทน เมื่อทนทำต่อไป ยิ่งทำก็ยิ่งขาดทุน ทุนหายกำไรหด จนกลายเป็นหนี้ ถึงที่สุดก็ต้องหยุดเลี้ยง ยายช้อยผู้เคยเดินชูคอสั้นๆ ป้อมๆ ของแกไปทั่วหมู่บ้าน ในฐานะเมียอดีตกำนันหลายสมัย มาบัดนี้ กลับไม่สง่าผ่าเผยเป็นคุณนายกำนันเหมือนเดิมอีกแล้ว
ฐาปนา
เกษตรทางเลือก เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรแนวใหม่ ฯลฯ ล้วนแต่น่าสนใจ และกำลังเป็นทางเลือกสำหรับการทำการเกษตรในอนาคตทว่า ชาวบ้านจำนวนมากก็ยังคงรู้จักอยู่แค่อย่างเดียวคือ เกษตรเคมี ฟังดูอาจจะขัดกับความรู้สึกของคนชั้นกลางจำนวนหนึ่ง ที่กำลังอินกับกระแสรักสุขภาพ แต่ก็โปรดรับรู้เถิดว่า ผักที่ท่านซื้อจากตลาด(ไม่ว่าจะติดแอร์หรือไม่ก็ตาม) เกือบจะร้อยเปอร์เซนต์ ล้วนมีสารเคมีทั้งสิ้น  มากบ้างน้อยบ้างตามประเภทของผัก และตามปริมาณการใช้ของผู้ปลูก
ฐาปนา
ผมยังจำได้ดี ภาพของชายวัยเจ็ดสิบนั่งอยู่บนโต๊ะไม้ตัวเล็กๆ คร่ำเคร่งอยู่กับการจิ้มนิ้วไปบนแป้นพิมพ์ดีด ขณะที่ข้างกายมีถังอ๊อกซิเจนขนาดใหญ่ต่อสายยางยาวมาสู่จมูกเป็นภาพที่ชวนให้ครั่นคร้าม ไม่น้อยไปกว่าชื่อเสียงเรียงนามในฐานะตำนานที่ยังมีชีวิตเจ้าของบ้านหันมาบอกให้รอประเดี๋ยว เดี๋ยวจะไปนั่งคุยด้วย ผู้นำทางจึงกระซิบให้ลงไปนั่งรอที่ห้องรับแขก
ฐาปนา
ชีวิตชาวนาชาวไร่ สินค้าที่ใช้ ร้อยละเก้าสิบเก้าหนีไม่พ้นซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้าน นานๆ จะได้เข้าตลาดในอำเภอ หรือ ห้างใหญ่ในตัวจังหวัดเสียที ก็ของใช้จำเป็นอย่าง สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ยาสระผม ฯลฯ มันเป็นของประเภท ที่ไหนก็มี ซื้อที่ไหนก็ไม่ต่างกัน ราคาอาจถูกแพงกว่ากันบ้างไม่กี่บาท น้อยรายที่สนใจรักสวยรักงามถึงขนาดต้องใช้เครื่องสำอางค์ราคาเป็นร้อยเป็นพัน หรือ สินค้าเกรดเอ คุณภาพเกินร้อยอย่างที่เขาชอบโฆษณา
ฐาปนา
หลายปีที่ผ่านมา พื้นที่การเกษตรขยายตัวอย่างช้าๆ จากพื้นที่ดินเค็มหรือพื้นที่ดอนอันแห้งแล้งก็แปรเปลี่ยนเป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา เมื่อพื้นที่ขยายตัวไปมาก คลองส่งน้ำก็ถูกขุดต่อไปจนถึงพื้นที่ บางแห่งคลองไปไม่ถึงก็ขุดหาแหล่งน้ำใต้ดิน เพื่อจะพลิกฟื้นผืนดินไร้ชีวิตให้กลับมามีชีวิตให้ได้อัตราเร่งเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ข้าว" มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่ดินรกร้าง ที่ป่ารกเรื้อ ถูกรถไถจัดการเสียเรียบเตียน ไม่กี่วันก็พร้อมสำหรับการเพาะปลูก คลองส่งน้ำสายใหม่(เทคอนกรีต) ที่จะถูกต่อมาจากลำคลองสายหลักอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เสียงรถเกรดดิน รถบรรทุก รถบด…
ฐาปนา
กลางเดือนกุมภาพันธ์ ดูเหมือนแดดจะแผดแสงก่อนที่ดวงตะวันจะขึ้นเสียอีก ความร้อนแห่งวันเริ่มต้นพร้อมกับเสียงไก่ขัน เด็กๆ ไปโรงเรียน ผู้ใหญ่ก็จับจอบจับเสียมเตรียมตัวไปไร่  หลังจากฤดูหนาว(กว่าปกติ)ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว หน้าร้อนปีนี้ ก็เข้าแทนที่อย่างแทบไม่ทันตั้งตัว แต่ชีวิตคนใต้ท้องฟ้า จะร้อนจะหนาวแค่ไหนก็ได้แค่บ่น แล้วก็ทนๆ กันไป กระนั้น ความร้อนตามทุ่งนา ป่า เขา ก็ยังพอมีร่มให้หลบ มีลมเย็นพัดโชยให้คลายได้บ้าง
ฐาปนา
แสงสีแดงพาดผ่านท้องฟ้าสีดำ เหนือดินแดนปาเลสไตน์เหนือหมู่ตึกอันแออัดและทรุดโทรม ลูกเหล็กบรรทุกดินระเบิดพุ่งปะทะคอนกรีตหนึ่งลูก สองลูก สิบลูก ร้อยลูก พันลูก หมื่นลูก แสนลูก ล้านลูก