Skip to main content

กลางเดือนกุมภาพันธ์

ดูเหมือนแดดจะแผดแสงก่อนที่ดวงตะวันจะขึ้นเสียอีก

ความร้อนแห่งวันเริ่มต้นพร้อมกับเสียงไก่ขัน

เด็กๆ ไปโรงเรียน ผู้ใหญ่ก็จับจอบจับเสียมเตรียมตัวไปไร่

 

หลังจากฤดูหนาว(กว่าปกติ)ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว หน้าร้อนปีนี้ ก็เข้าแทนที่อย่างแทบไม่ทันตั้งตัว แต่ชีวิตคนใต้ท้องฟ้า จะร้อนจะหนาวแค่ไหนก็ได้แค่บ่น แล้วก็ทนๆ กันไป

กระนั้น ความร้อนตามทุ่งนา ป่า เขา ก็ยังพอมีร่มให้หลบ มีลมเย็นพัดโชยให้คลายได้บ้าง


ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจกำลังลุกลามไปทั่วประเทศราวกับไฟป่าออสเตรเลีย อีกมุมหนึ่งของประเทศ ชาวนาก็กำลังตัดสินใจว่า จะทำนาปรังปีนี้ดีหรือเปล่า

...ทางชลประทานเขาก็บอกมาแล้ว ว่ามีน้ำน้อย แล้วมีคลองตั้งสามสายจะเปิดให้หมดทุกสายพร้อมกันคงไม่พอ ก็เลยต้องแบ่งเปิดสายละสามวัน...ข้าก็เลยไม่อยากจะเสี่ยงทำนาปรังหรอก เดี๋ยวน้ำไม่พอละก็ เสร็จเลย...” ลุงเผย ปรับทุกข์กับเพื่อนวัยเดียวกันในวงกาแฟตอนเช้า

...ส่วนข้าไม่ต้องคิด ที่ข้าอยู่ห่างจากคลองตั้งเยอะ หน้าน้ำยังต้องรอทีหลังเขา หน้าแล้งนี่ยิ่งไม่ต้องคิดทำเป็นอันขาด...” ทิดเป้า พูดบ้าง

...แต่ที่เอ็ง...” ลุงเผย หันไปทางน้าอู๊ด “...อยู่ติดคลองนี่นา คงได้ทำนาปรังสินะ เออ...น่าอิจฉาจริงเว้ย ข้าวกำลังราคาดีเสียด้วย...”


แต่น้าอู๊ด ส่ายหน้า

...ยังไม่รู้เลยว่าจะทำได้หรือเปล่า คงจะต้องแบ่งทำ เพราะกลัวว่าน้ำจะไม่พอ...นี่ก็คิดอยู่ว่า จะปลูกมะเขือเทศ หรือแตงกวาคงจะเหมาะกว่า...” น้าอู๊ดสารภาพตามตรง

ทิดเป้า ดูดกาแฟสองที แล้วเปรยว่า

...เออ...หน้าแล้งบ้านเรา มันก็ต้องเอานาไปปลูกมะเขือเทศ แตงกวา แตงโม กันหมดนั่นละนะ ถ้าโชคดี ก็คงพอคืนทุนบ้าง ถ้าโชคร้ายราคาร่วง ก็คงได้กู้สหกรณ์กันอีกแล้ว...”

ลุงเผย หัวเราะ ปลอบใจกึ่งกระเซ้าว่า

...กู้สิดี ไม่มีหนี้ ไม่มีหน้า...มีหนี้สิน ก็เท่ากับมีเครดิตนะเว้ย...”


การปลูกแตงกวา มะเขือเทศ แตงโม ถั่วฝักยาว บวบ ฟัก มะระขี้นก ในฤดูแล้ง เป็นที่นิยมในแถบนี้มาแต่ไหนแต่ไร เนื่องจากพอเข้าหน้าแล้ง บางปีน้ำน้อย ทำนาปรังไม่ได้ จึงเอาที่นามาปลูกพืชล้มลุกนานาชนิดแทน


ในพื้นที่หลายร้อยตารางกิโลเมตร ตลอดคลองสามสายที่ขนานกันไปจนกระทั่งออกทะเล ที่นาถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นแปลงผัก พอเพาะกล้าจนโต ก็ยกร่อง คลุมพลาสติก ปักหลักไม้รวกแล้วขึงตะคัด รดน้ำให้ปุ๋ย ดูแลให้ต้นอ่อนเติบโต เตาะแตะต้วมเตี้ยม ไต่ตามผืนตะคัดขึ้นไป เมื่อเติบใหญ่จนออกดอก ออกผล จึงได้เวลาเก็บเกี่ยว


ว่ากันอย่างขำๆ

ปีกลาย ยายจง ปลูกมะเขือเทศ ได้ราคาดีเหลือหลาย กิโลละยี่สิบห้าบาท มีเท่าไรแม่ค้าเหมาหมด ช่วงแรกยายจงจึงทำเงินไปได้หลายหมื่น แต่ผ่านไปไม่นาน มะเขือเทศราคาตกเหลือกิโลละสองบาท แม่ค้ายังไม่ค่อยอยากจะเอา ยายจง เลยต้องเอามาแจกเพื่อนบ้านไว้เชื่อมกิน


ปีก่อนนู้น น้าโชติกับครอบครัว ช่วยกันปลูกมะเขือเทศ จังหวะดี มะเขือเทศแพง น้าโชติได้มาสามแสน ปลดหนี้สินไปจนหมด แถมถอยรถกระบะมือสองมาอีกหนึ่งคัน แต่ปีถัดมา มะเขือเทศราคาตก น้าโชติก็กลับไปเป็นหนี้ใหม่อีกครั้ง


สำหรับเกษตรกร(บางชุมชน) การปลูกอะไรสักอย่างก็เหมือนซื้อหวย เพียงแต่มันมีความเสี่ยงกว่ากันเยอะ ถ้าโชคดีก็อาจหมดหนี้ ถ้าโชคไม่ดีก็แค่พอถูไถได้กำไรพอคุ้มเหนื่อย ถ้าโชคร้ายก็เพิ่มหนี้เข้าไปอีก ความคิดที่ว่า ทำแต่พอดี เหนื่อยแต่พอดี ขาดทุนหรือได้กำไร ก็เอาแต่พอดี เป็นได้แค่ความคิด


เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับชาวบ้าน(บางชุมชน) ทั้งที่ยังเป็นหนี้ และทั้งที่รวยแล้ว จึงไม่อาจเป็นจริงได้ เพราะคำว่า “พอ” ไม่เคยเกิดขึ้นจริง


ก็ต้องเสี่ยงกันไป...อยู่เฉยๆ มันจะไปมีอะไรดีขึ้นมา” ป้าจิ๊บว่าอย่างนี้

แล้วทำไมต้องทำตั้งเยอะแยะล่ะ เปลืองปุ๋ย เปลืองยา เหนื่อยก็เหนื่อย เกิดราคาตกก็ขาดทุนสิ...ทำน้อยๆ ลงทุนน้อยๆ ก็ไม่ต้องเสี่ยงมาก” ลูกสาวแนะนำ

อ้าว...ทำน้อยๆ เวลาขายก็ขายได้น้อยๆ ด้วยสิ เรื่องอะไร มีที่ตั้งเยอะ ไม่ใช้ก็เสียเปล่าสิ” ป้าจิ๊บ ไม่เห็นด้วย แล้วแกก็ตั้งหน้าตั้งตา ทำแบบเยอะๆ ของแกต่อไป


ปลายสัปดาห์นั้นมีข่าวดี เมื่อผู้ใหญ่บ้านประกาศออกเสียงตามสายว่า ทางชลประทานนั้น ได้มีมติแล้วว่าจะเปลี่ยนแปลงให้มีการเปิดน้ำนานสองสัปดาห์ และจะปิดอีกหนึ่งสัปดาห์สลับกันไป ซึ่งน่าจะพอเพียงแก่การทำนาปรัง


ชาวบ้านได้ยินข่าวดังนั้น ที่ไม่คิดจะทำนาปรังก็เลยต้องรีบไปจองรถไถกันใหญ่

ใครเอาที่ไปปลูกแตงกวา ปลูกมะเขือเทศแล้ว ก็ไม่มีสิทธิปรับเปลี่ยน ส่วนใครที่ยัง หากต้องการทำนาก็ต้องรีบดำเนินการ

งานนี้ใครไวก็ได้เปรียบ

ทำทั้งมะเขือเทศ ทั้งแตงกวา ทั้งนา มันจะไหวหรือแม่...” ลูกสาวถามอย่างเป็นห่วง

เออน่ะ...ข้าทำของข้าได้” ยายจิ๊บยืนยันอย่างคนเชื่อมั่นในตัวเองสูง


ลูกสาวได้แต่เป็นห่วง เพราะกะเพรา โหระพา ก็ยังออกเต็มไร่หลังบ้าน แม้ราคาจะตกเหลือกิโลกรัมละห้าบาทหกบาท แต่ทำคนเดียวก็ไม่ค่อยจะทันแล้ว ไหนจะต้องคอยวิ่งไปช่วยแม่ดูแลแตงกวา กับ มะเขือเทศ อีก


แล้วมันจะพอเพียงได้ยังไง...” ลูกสาวบ่นอย่างเหนื่อยหน่าย


บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
เมื่อแรกแรกที่มีข่าวว่าโรคนี้เกิดขึ้นในโลก ใครใครก็พากันเรียกชื่อมันว่าไข้หวัดหมู เพราะว่ากันว่ามันเป็นโรคของหมูที่ดันมาติดคน(ถ้าหากมีโรคของคนไปติดหมูไม่รู้จะเรียกว่าไข้หวัดคนด้วยหรือเปล่า) แต่ต่อมาเขาไม่อยากให้เรียกไข้หวัดหมู เพราะเกรงว่าจะเป็นการใส่ร้ายหมูซึ่งไม่มีความผิด และจะทำให้หมูทั่วโลกพลอยถูกรังเกียจ แต่คงไม่ใช่ความกลัวว่าหมูจะประท้วง เพราะถึงอย่างไรหมูก็มีสิทธิ์อันชอบเพียงอย่างเดียวคือสิทธิ์ในการเป็นอาหารของมนุษย์ ไม่สามารถชูป้ายประท้วงหรือเขวี้ยงก้อนอิฐใส่ตำรวจปราบจลาจลได้แต่ประการใด
ฐาปนา
ไม่เคยมีใครถามถึงความยินยอมพร้อมใจของทั้งคู่เลยว่าอยากจะย้ายจากบ้านเกิดเมืองนอนที่หนาวเย็นและเต็มไปด้วยพวกพ้อง มาอยู่ในเมืองร้อนที่ห่างไกลหลายพันกิโลเมตร หรือไม่ ถึงจะมีคนถาม แต่พวกเขาก็ไม่สามารถตอบได้ หรือแม้พวกเขาจะตอบว่า "ไม่อยากไป" แต่พวกเขามีสิทธิ์ปฏิเสธละหรือ ? ...
ฐาปนา
10 คำถามตั้งต้น เพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ที่ถูกเรียกว่า "นักลงทุน"1. จากคำพูดของนักธุรกิจการเมืองที่มักจะอ้างถึง"ความเชื่อมั่นของนักลงทุน" อยู่เสมอ น่าสงสัยว่านักลงทุนจะเป็นมนุษย์ประเภทขาดความเชื่อมั่น มากกว่ามนุษย์ปกติทั่วไป หรือไม่?ตอบ ไม่มีใครทราบ แต่ถ้าสันนิษฐานอย่างไม่มีฐานอ้างอิง การลงทุนก็จำเป็นต้องใช้ความเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าการพนัน ทว่าในแง่ของเหตุผลน่าจะมากกว่า เพราะการพนันจะใช้ปัจจัยด้านอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ขณะที่การลงทุนจะต้องใช้เหตุผล ตัวเลข ตัวแปร เอกสารต่างๆ มากมายก่อนการตัดสินใจที่เต็มไปด้วยขั้นตอนซับซ้อน…
ฐาปนา
ลุงอู๋ ผู้ใหญ่บ้านประกาศเรียกประชุมชาวบ้านหมู่สิบสองตั้งแต่เช้าตรู่ เสียงประกาศนั้นเน้นย้ำนักหนาว่า หนึ่งทุ่มตรงวันนี้ทุกคนต้องไปร่วมประชุมให้ได้ เพราะนี่คือเรื่องความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้าน และีทุกคนจะได้ประโยชน์ โชคดีที่วันนั้น เป็นช่วงว่างจากการทำไร่ ทำนา ที่สำคัญ ละครสุดฮิตที่ชาวบ้านติดกันก็เพิ่งจะจบลงไป พอตอนค่ำ ชาวหมู่บ้านจึงมาประชุมที่ศาลาอย่างหนาตา
ฐาปนา
ลุงเหมือน อดีตทหารผ่านศึก คนปลูกแตงโมมือวางท้อปไฟว์ประจำหมู่บ้าน นั่งมองไร่แตงโมอย่างสบายอารมณ์ปีนี้แตงโมราคาดีไม่น้อย พ่อค้ามารับซื้อหน้าไร่กิโลกรัมละสิบห้าถึงยี่สิบห้าบาท ยิ่งลูกใหญ่ยิ่งได้ราคา มดแมลงก็ไม่ค่อยจะกวนเท่าไร ลุงเหมือนกะว่าปีนี้คงได้เงินจากแตงโมสักห้าหกหมื่น แล้วจากนั้นจะได้ปลูกกะเพรา โหระพา ใบแมงลัก แบบ "พอเพียง-เพียงพอ" บ้าง
ฐาปนา
ยายช้อย คนเคยรวย ชีวิตเปลี่ยนไปมาก หลังจากเป็นหนี้สหกรณ์ฯ หลายแสน ก็ใครจะไปคิดเล่า อยู่ๆ เคยเลี้ยงหมูได้กำไรทีละเป็นแสน จู่ๆ หมูราคาตก กำไรที่คาดหวังเลยเข้าเนื้อแทน เมื่อทนทำต่อไป ยิ่งทำก็ยิ่งขาดทุน ทุนหายกำไรหด จนกลายเป็นหนี้ ถึงที่สุดก็ต้องหยุดเลี้ยง ยายช้อยผู้เคยเดินชูคอสั้นๆ ป้อมๆ ของแกไปทั่วหมู่บ้าน ในฐานะเมียอดีตกำนันหลายสมัย มาบัดนี้ กลับไม่สง่าผ่าเผยเป็นคุณนายกำนันเหมือนเดิมอีกแล้ว
ฐาปนา
เกษตรทางเลือก เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรแนวใหม่ ฯลฯ ล้วนแต่น่าสนใจ และกำลังเป็นทางเลือกสำหรับการทำการเกษตรในอนาคตทว่า ชาวบ้านจำนวนมากก็ยังคงรู้จักอยู่แค่อย่างเดียวคือ เกษตรเคมี ฟังดูอาจจะขัดกับความรู้สึกของคนชั้นกลางจำนวนหนึ่ง ที่กำลังอินกับกระแสรักสุขภาพ แต่ก็โปรดรับรู้เถิดว่า ผักที่ท่านซื้อจากตลาด(ไม่ว่าจะติดแอร์หรือไม่ก็ตาม) เกือบจะร้อยเปอร์เซนต์ ล้วนมีสารเคมีทั้งสิ้น  มากบ้างน้อยบ้างตามประเภทของผัก และตามปริมาณการใช้ของผู้ปลูก
ฐาปนา
ผมยังจำได้ดี ภาพของชายวัยเจ็ดสิบนั่งอยู่บนโต๊ะไม้ตัวเล็กๆ คร่ำเคร่งอยู่กับการจิ้มนิ้วไปบนแป้นพิมพ์ดีด ขณะที่ข้างกายมีถังอ๊อกซิเจนขนาดใหญ่ต่อสายยางยาวมาสู่จมูกเป็นภาพที่ชวนให้ครั่นคร้าม ไม่น้อยไปกว่าชื่อเสียงเรียงนามในฐานะตำนานที่ยังมีชีวิตเจ้าของบ้านหันมาบอกให้รอประเดี๋ยว เดี๋ยวจะไปนั่งคุยด้วย ผู้นำทางจึงกระซิบให้ลงไปนั่งรอที่ห้องรับแขก
ฐาปนา
ชีวิตชาวนาชาวไร่ สินค้าที่ใช้ ร้อยละเก้าสิบเก้าหนีไม่พ้นซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้าน นานๆ จะได้เข้าตลาดในอำเภอ หรือ ห้างใหญ่ในตัวจังหวัดเสียที ก็ของใช้จำเป็นอย่าง สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ยาสระผม ฯลฯ มันเป็นของประเภท ที่ไหนก็มี ซื้อที่ไหนก็ไม่ต่างกัน ราคาอาจถูกแพงกว่ากันบ้างไม่กี่บาท น้อยรายที่สนใจรักสวยรักงามถึงขนาดต้องใช้เครื่องสำอางค์ราคาเป็นร้อยเป็นพัน หรือ สินค้าเกรดเอ คุณภาพเกินร้อยอย่างที่เขาชอบโฆษณา
ฐาปนา
หลายปีที่ผ่านมา พื้นที่การเกษตรขยายตัวอย่างช้าๆ จากพื้นที่ดินเค็มหรือพื้นที่ดอนอันแห้งแล้งก็แปรเปลี่ยนเป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา เมื่อพื้นที่ขยายตัวไปมาก คลองส่งน้ำก็ถูกขุดต่อไปจนถึงพื้นที่ บางแห่งคลองไปไม่ถึงก็ขุดหาแหล่งน้ำใต้ดิน เพื่อจะพลิกฟื้นผืนดินไร้ชีวิตให้กลับมามีชีวิตให้ได้อัตราเร่งเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ข้าว" มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่ดินรกร้าง ที่ป่ารกเรื้อ ถูกรถไถจัดการเสียเรียบเตียน ไม่กี่วันก็พร้อมสำหรับการเพาะปลูก คลองส่งน้ำสายใหม่(เทคอนกรีต) ที่จะถูกต่อมาจากลำคลองสายหลักอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เสียงรถเกรดดิน รถบรรทุก รถบด…
ฐาปนา
กลางเดือนกุมภาพันธ์ ดูเหมือนแดดจะแผดแสงก่อนที่ดวงตะวันจะขึ้นเสียอีก ความร้อนแห่งวันเริ่มต้นพร้อมกับเสียงไก่ขัน เด็กๆ ไปโรงเรียน ผู้ใหญ่ก็จับจอบจับเสียมเตรียมตัวไปไร่  หลังจากฤดูหนาว(กว่าปกติ)ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว หน้าร้อนปีนี้ ก็เข้าแทนที่อย่างแทบไม่ทันตั้งตัว แต่ชีวิตคนใต้ท้องฟ้า จะร้อนจะหนาวแค่ไหนก็ได้แค่บ่น แล้วก็ทนๆ กันไป กระนั้น ความร้อนตามทุ่งนา ป่า เขา ก็ยังพอมีร่มให้หลบ มีลมเย็นพัดโชยให้คลายได้บ้าง
ฐาปนา
แสงสีแดงพาดผ่านท้องฟ้าสีดำ เหนือดินแดนปาเลสไตน์เหนือหมู่ตึกอันแออัดและทรุดโทรม ลูกเหล็กบรรทุกดินระเบิดพุ่งปะทะคอนกรีตหนึ่งลูก สองลูก สิบลูก ร้อยลูก พันลูก หมื่นลูก แสนลูก ล้านลูก