Skip to main content

กลางเดือนกุมภาพันธ์

ดูเหมือนแดดจะแผดแสงก่อนที่ดวงตะวันจะขึ้นเสียอีก

ความร้อนแห่งวันเริ่มต้นพร้อมกับเสียงไก่ขัน

เด็กๆ ไปโรงเรียน ผู้ใหญ่ก็จับจอบจับเสียมเตรียมตัวไปไร่

 

หลังจากฤดูหนาว(กว่าปกติ)ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว หน้าร้อนปีนี้ ก็เข้าแทนที่อย่างแทบไม่ทันตั้งตัว แต่ชีวิตคนใต้ท้องฟ้า จะร้อนจะหนาวแค่ไหนก็ได้แค่บ่น แล้วก็ทนๆ กันไป

กระนั้น ความร้อนตามทุ่งนา ป่า เขา ก็ยังพอมีร่มให้หลบ มีลมเย็นพัดโชยให้คลายได้บ้าง


ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจกำลังลุกลามไปทั่วประเทศราวกับไฟป่าออสเตรเลีย อีกมุมหนึ่งของประเทศ ชาวนาก็กำลังตัดสินใจว่า จะทำนาปรังปีนี้ดีหรือเปล่า

...ทางชลประทานเขาก็บอกมาแล้ว ว่ามีน้ำน้อย แล้วมีคลองตั้งสามสายจะเปิดให้หมดทุกสายพร้อมกันคงไม่พอ ก็เลยต้องแบ่งเปิดสายละสามวัน...ข้าก็เลยไม่อยากจะเสี่ยงทำนาปรังหรอก เดี๋ยวน้ำไม่พอละก็ เสร็จเลย...” ลุงเผย ปรับทุกข์กับเพื่อนวัยเดียวกันในวงกาแฟตอนเช้า

...ส่วนข้าไม่ต้องคิด ที่ข้าอยู่ห่างจากคลองตั้งเยอะ หน้าน้ำยังต้องรอทีหลังเขา หน้าแล้งนี่ยิ่งไม่ต้องคิดทำเป็นอันขาด...” ทิดเป้า พูดบ้าง

...แต่ที่เอ็ง...” ลุงเผย หันไปทางน้าอู๊ด “...อยู่ติดคลองนี่นา คงได้ทำนาปรังสินะ เออ...น่าอิจฉาจริงเว้ย ข้าวกำลังราคาดีเสียด้วย...”


แต่น้าอู๊ด ส่ายหน้า

...ยังไม่รู้เลยว่าจะทำได้หรือเปล่า คงจะต้องแบ่งทำ เพราะกลัวว่าน้ำจะไม่พอ...นี่ก็คิดอยู่ว่า จะปลูกมะเขือเทศ หรือแตงกวาคงจะเหมาะกว่า...” น้าอู๊ดสารภาพตามตรง

ทิดเป้า ดูดกาแฟสองที แล้วเปรยว่า

...เออ...หน้าแล้งบ้านเรา มันก็ต้องเอานาไปปลูกมะเขือเทศ แตงกวา แตงโม กันหมดนั่นละนะ ถ้าโชคดี ก็คงพอคืนทุนบ้าง ถ้าโชคร้ายราคาร่วง ก็คงได้กู้สหกรณ์กันอีกแล้ว...”

ลุงเผย หัวเราะ ปลอบใจกึ่งกระเซ้าว่า

...กู้สิดี ไม่มีหนี้ ไม่มีหน้า...มีหนี้สิน ก็เท่ากับมีเครดิตนะเว้ย...”


การปลูกแตงกวา มะเขือเทศ แตงโม ถั่วฝักยาว บวบ ฟัก มะระขี้นก ในฤดูแล้ง เป็นที่นิยมในแถบนี้มาแต่ไหนแต่ไร เนื่องจากพอเข้าหน้าแล้ง บางปีน้ำน้อย ทำนาปรังไม่ได้ จึงเอาที่นามาปลูกพืชล้มลุกนานาชนิดแทน


ในพื้นที่หลายร้อยตารางกิโลเมตร ตลอดคลองสามสายที่ขนานกันไปจนกระทั่งออกทะเล ที่นาถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นแปลงผัก พอเพาะกล้าจนโต ก็ยกร่อง คลุมพลาสติก ปักหลักไม้รวกแล้วขึงตะคัด รดน้ำให้ปุ๋ย ดูแลให้ต้นอ่อนเติบโต เตาะแตะต้วมเตี้ยม ไต่ตามผืนตะคัดขึ้นไป เมื่อเติบใหญ่จนออกดอก ออกผล จึงได้เวลาเก็บเกี่ยว


ว่ากันอย่างขำๆ

ปีกลาย ยายจง ปลูกมะเขือเทศ ได้ราคาดีเหลือหลาย กิโลละยี่สิบห้าบาท มีเท่าไรแม่ค้าเหมาหมด ช่วงแรกยายจงจึงทำเงินไปได้หลายหมื่น แต่ผ่านไปไม่นาน มะเขือเทศราคาตกเหลือกิโลละสองบาท แม่ค้ายังไม่ค่อยอยากจะเอา ยายจง เลยต้องเอามาแจกเพื่อนบ้านไว้เชื่อมกิน


ปีก่อนนู้น น้าโชติกับครอบครัว ช่วยกันปลูกมะเขือเทศ จังหวะดี มะเขือเทศแพง น้าโชติได้มาสามแสน ปลดหนี้สินไปจนหมด แถมถอยรถกระบะมือสองมาอีกหนึ่งคัน แต่ปีถัดมา มะเขือเทศราคาตก น้าโชติก็กลับไปเป็นหนี้ใหม่อีกครั้ง


สำหรับเกษตรกร(บางชุมชน) การปลูกอะไรสักอย่างก็เหมือนซื้อหวย เพียงแต่มันมีความเสี่ยงกว่ากันเยอะ ถ้าโชคดีก็อาจหมดหนี้ ถ้าโชคไม่ดีก็แค่พอถูไถได้กำไรพอคุ้มเหนื่อย ถ้าโชคร้ายก็เพิ่มหนี้เข้าไปอีก ความคิดที่ว่า ทำแต่พอดี เหนื่อยแต่พอดี ขาดทุนหรือได้กำไร ก็เอาแต่พอดี เป็นได้แค่ความคิด


เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับชาวบ้าน(บางชุมชน) ทั้งที่ยังเป็นหนี้ และทั้งที่รวยแล้ว จึงไม่อาจเป็นจริงได้ เพราะคำว่า “พอ” ไม่เคยเกิดขึ้นจริง


ก็ต้องเสี่ยงกันไป...อยู่เฉยๆ มันจะไปมีอะไรดีขึ้นมา” ป้าจิ๊บว่าอย่างนี้

แล้วทำไมต้องทำตั้งเยอะแยะล่ะ เปลืองปุ๋ย เปลืองยา เหนื่อยก็เหนื่อย เกิดราคาตกก็ขาดทุนสิ...ทำน้อยๆ ลงทุนน้อยๆ ก็ไม่ต้องเสี่ยงมาก” ลูกสาวแนะนำ

อ้าว...ทำน้อยๆ เวลาขายก็ขายได้น้อยๆ ด้วยสิ เรื่องอะไร มีที่ตั้งเยอะ ไม่ใช้ก็เสียเปล่าสิ” ป้าจิ๊บ ไม่เห็นด้วย แล้วแกก็ตั้งหน้าตั้งตา ทำแบบเยอะๆ ของแกต่อไป


ปลายสัปดาห์นั้นมีข่าวดี เมื่อผู้ใหญ่บ้านประกาศออกเสียงตามสายว่า ทางชลประทานนั้น ได้มีมติแล้วว่าจะเปลี่ยนแปลงให้มีการเปิดน้ำนานสองสัปดาห์ และจะปิดอีกหนึ่งสัปดาห์สลับกันไป ซึ่งน่าจะพอเพียงแก่การทำนาปรัง


ชาวบ้านได้ยินข่าวดังนั้น ที่ไม่คิดจะทำนาปรังก็เลยต้องรีบไปจองรถไถกันใหญ่

ใครเอาที่ไปปลูกแตงกวา ปลูกมะเขือเทศแล้ว ก็ไม่มีสิทธิปรับเปลี่ยน ส่วนใครที่ยัง หากต้องการทำนาก็ต้องรีบดำเนินการ

งานนี้ใครไวก็ได้เปรียบ

ทำทั้งมะเขือเทศ ทั้งแตงกวา ทั้งนา มันจะไหวหรือแม่...” ลูกสาวถามอย่างเป็นห่วง

เออน่ะ...ข้าทำของข้าได้” ยายจิ๊บยืนยันอย่างคนเชื่อมั่นในตัวเองสูง


ลูกสาวได้แต่เป็นห่วง เพราะกะเพรา โหระพา ก็ยังออกเต็มไร่หลังบ้าน แม้ราคาจะตกเหลือกิโลกรัมละห้าบาทหกบาท แต่ทำคนเดียวก็ไม่ค่อยจะทันแล้ว ไหนจะต้องคอยวิ่งไปช่วยแม่ดูแลแตงกวา กับ มะเขือเทศ อีก


แล้วมันจะพอเพียงได้ยังไง...” ลูกสาวบ่นอย่างเหนื่อยหน่าย


บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า "...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ
ฐาปนา
  ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกันซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกันนานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย…
ฐาปนา
ชาวนาชาวไร่ ฟังวิทยุ มากกว่าดูโทรทัศน์ มากกว่าดูหนัง มากกว่าอ่านหนังสือ เพราะการงานในไร่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่เอื้ออำนวยให้เอาสายตาและเวลาไปใช้อย่างอื่น เสียงเพลงและ เสียงข่าว จึงดังแว่วมาตามลมตั้งแต่ริมคลองส่งน้ำด้านทิศเหนือไปจนจรดทุ่งนาติดชายป่า ด้านทิศใต้ สมัยนี้วิทยุเครื่องเล็กๆ ใช้ถ่านก้อนเดียว เครื่องละแค่ไม่กี่ร้อย ใครๆ ก็ซื้อได้ ขนาดเจ้าโหน่ง เด็กเลี้ยงวัว ยังห้อยโทรศัพท์มือถือฟังวิทยุได้ ... น่าน! เท่ห์ซะไม่มี ฟังกันมากที่สุด ก็ต้องเป็นเพลงลูกทุ่งทั้งเก่าทั้งใหม่ รองลงมาก็สตริง ส่วนคนมีอายุก็ชอบฟังข่าว ฟังเทศน์ฟังธรรม
ฐาปนา
สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง
ฐาปนา
ปลายเดือนตุลาคม ผมกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดครั้งแรกในรอบหลายปี ทั้งที่จริง ผมไม่มีความจำเป็นจะต้องไปแต่อย่างใด เพราะครอบครัวของผม บ้านของผม ไม่ได้อยู่ที่นี่แล้ว สิ่งที่ยังเหลืออยู่ มีเพียงความทรงจำตลอดสิบแปดปีที่ผมได้เติบโตมา โรงเรียน บ้านพักอาจารย์ สนามเด็กเล่น หอนาฬิกา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สถาบันราชภัฎซึ่งเมื่อก่อนคือวิทยาลัยครู ทุกๆ สถานที่ที่คุ้นเคย ยังปรากฎภาพชัดเจนทุกครั้งที่ระลึกถึง แต่กับสิ่งที่เห็นตรงหน้าในวันนี้ เหลือเพียงแค่ร่องรอยบางส่วนจากอดีต เพราะวันนี้ เมืองเติบโตขึ้นมาก อาคารเก่าๆ ถูกรื้อถอนกลายเป็นห้างสรรพสินค้า พื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เห็นมาตั้งแต่เล็ก…
ฐาปนา
คณะลิเกมาสู่หมู่บ้านด้วยเหตุบังเอิญวันหนึ่ง ยายนุ้ยทำบุญที่บ้านตอนเช้า พอตกบ่าย ก็นิมนต์พระหลานชายที่บวชมาได้สามพรรษาสอบได้นักธรรมโท มาเทศน์ พอตกค่ำ แกก็จ้างลิเกมาเล่นที่ศาลากลางหมู่บ้านวันนั้น ที่บ้านยายนุ้ยจึงมีคนหนาตา โดยเฉพาะช่วงที่มีลิเก เพราะนานนักหนาแล้วที่ไม่มีลิเกมาเล่นในหมู่บ้าน สมัยนี้เวลามีงาน ถ้าไม่ใช่วงดนตรี(อิเลกโทน)นุ่งน้อยห่มน้อย ก็เป็นหนังกลางแปลง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ใครต่อใครก็อยากดู พระเอกรูปหล่อ นางเอกนัยตาคม ตัวโกงหน้าโหด ตัวตลกน่าเตะ เครื่องเพชรแวววับทิ่มทะแยงตา เสียงระนาด ตะโพน รัวเร้าใจ “แหม...ถ้าเป็นไชยา มิตรชัย ละก้อ...เหมาะเลยนิ..…
ฐาปนา
เรื่องมันเริ่มจากคำบอกเล่าของทิดช่วง ในงานศพงานหนึ่ง แกเล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า กลางดึกคืนก่อน แกลุกจากที่นอนมายืนฉี่ที่ริมรั้ว อากาศเย็น น้ำค้างกำลังลง ขณะที่แกกำลังระบายน้ำทิ้งอย่างสบายอารมณ์ สายตาของแกก็เหลือบไปเห็น ดวงไฟดวงใหญ่ ลอยขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในความมืดที่ปลายรั้วอีกด้านหนึ่ง ห่างจากตัวแกไปสักสี่ห้าสิบเมตร พอแกเสร็จภารกิจ ชะรอยจะคิดว่าเป็นตัวอะไรสักอย่างมาหากิน แกเลยออกปากไล่ว่า “ชิ้วๆ” เท่านั้นเอง ดวงไฟนั้นก็พุ่งตรงเข้ามาหาแก ทำเอาแกสะดุ้งโหยงจนต้องเผ่นเข้าไปใต้ถุนบ้าน แกกดสวิทช์เปิดไฟใต้ถุน สว่างพรึบ มองซ้าย...มองขวา...มองหน้า...มองหลัง มันคืออะไรกันวะ...? หรือว่า...…
ฐาปนา
บ้านนอก แม้จะไม่สะดวกแต่ก็สบาย ถึงจะร้อนแดดแต่พอเข้าร่มก็เย็น ผิดกับเมืองใหญ่ ที่ร้อนอบอ้าวตลอดปี ฝนจะตกแดดจะออก ความร้อนก็ยังคงสถิตย์อยู่เสมือนเป็นอุณหภูมิประจำเมือง ใครเลยจะคิดว่า ความร้อนจากในเมืองจะแผ่ลามเข้ามาถึงหมู่บ้านที่ปราศจากกลิ่นฟาสต์ฟู้ด ข้อมูลข่าวสารปรากฎทั้งรูปและเรื่องบนหนังสือพิมพ์ในร้านกาแฟ เสียงรายงานข่าวลอยมาจากวิทยุที่แขวนอยู่ข้างตัวเด็กเลี้ยงวัว ทั้งภาพเคลื่อนไหวทั้งเสียงส่งตรงมาเข้าจานดาวเทียมสีเหลืองสดใสเหนือหลังคาร้านค้าของป้านุ้ย ที่ๆ ใครต่อใครก็มาชุมนุมกันตั้งแต่เช้า บ้างซื้อยาสูบ ซื้อขนมเป็นเสบียงก่อนไปนาน บ้างตั้งวงกาแฟกระป๋อง เขียวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง…
ฐาปนา
ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง “ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น “อธิบายที?” ลุงใบถาม “เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน…
ฐาปนา
แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า…
ฐาปนา
ยุคข้าวยากหมากแพง สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มากอื่นๆ ก็อาทิเช่นกะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาทบวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาทกล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว
ฐาปนา
สังคมชาวบ้าน แม้จะอยู่คนละหมู่บ้าน คนละตำบล คนละอำเภอ หรือแม้แต่คนละจังหวัด ถ้าได้ชื่อว่าเป็น “คนมีตังค์” ต่อให้ไกลแค่ไหน เมื่อมีใครสักคนพูดถึง ก็จะมีคนจดจำไว้ ถ้าอยู่ใกล้หน่อยก็มีคนรู้จัก เผลอๆ รู้ไปถึงวงศ์วานว่านเครือนู่น เหมือนที่เขาว่า มีเงินก็นับเป็นญาติ ใส่ผ้าขาดถึงเป็นญาติก็ไม่นับ อย่าง ตาผล คนตำบลใกล้เคียงไปได้เมียที่สมุทรสาคร ทำบ่อเลี้ยงปลา จนกระทั่งมีรถกระบะ 2-3 คัน เปิดร้านคอมพิวเตอร์ให้น้องเมียดูแล ลุงเปลี่ยน อยู่ท้ายหมู่บ้าน ใครก็รู้ว่ามีหนี้เยอะ แต่พอไปเป็นพ่อค้าคนกลางตระเวนซื้อของจากแถวบ้านไปขายที่กรุงเทพฯ ก็เริ่มมีตังค์ ปลดหนี้สินไปจนหมด แถมกำลังจะปลูกบ้านใหม่…